การใช ม ลต ม เตอร ว ดกระแสไฟฟ า

เราก็สามารถนำมิเตอร์ไปวัดแรงดันจากแหล่งจ่ายไฟตรงได้แล้ว เช่น แบตเตอรี่ อะแดปเตอร์ สวิชชิ่งพาวเวอร์ซัพพลาย แผงโซล่าเซลล์

2. การวัดกระแสไฟฟ้า หรืออะไรก็ตามที่หน่วยเป็นแอมป์ เนื่องจากมิเตอร์ตัวนี้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นแคลมป์มิเตอร์จำเป็นจะต้องคล้องสายไฟให้อยู่ตรงกลางของห่วงด้านบน เมื่อต้องการวัดให้ปรับมิเตอร์ไปยัง 60A หริอ 600A โดยเลือกจากค่าที่เราพอจะทราบเช่นสวิชชิ่ง 12V 50A หากเราจะวัดอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วงไม่มีทางที่กระแสจะมากกว่า 50A ได้เพราะฉะนั้นการเลือก ควรเลือกวัดกระแส60A ในทำนองเดียวกันหากเราไม่ทราบว่ากระแสที่ใช้เป็นเท่าไหร่ให้ปรับไปยังค่าสูงที่สุดก่อน (600A) แล้วถ้าค่าที่วัดมาต่ำกว่า 60A ค่อยปรับมิเตอร์ไปยัง 60A ในการใช้งานแคลป์มิเตอร์คล้องสายไฟให้คล้องสายไฟเส้นเดียวเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นหากต้องการวัดกระแสปั๊มน้ำกระแสตรง ให้คล้องแค่สายสีดำ หรือสีแดงเส้นเดียวเท่านั้น ในทำนองเดียวกันหากต้องการวัดกระแสสลับให้คล้องแค่สาย ไลน์หรือนิวทรัลเท่านั้น การวัดกระแสในขณะที่สายสองเส้นอยู่ในแคลป์ไม่สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นการวัดกระแส ที่มีสายไฟตีคู่กันมาเช่น ดำแดง หรือ LN จะไม่สามารถวัดค่าได้

3.การตรวจสอบการลัดวงจร หรือการเช็คช็อตเป็นการตรวจสอบว่าวงจรมีการช็อตหรือเชื่อมถึงกันหรือไม่ ให้ปรับไปยังโหมด ไดโอด ความต้าน ช็อต และความจุตัวเก็บประจุ โดยเมื่อเลือกโปรแกรมแรกจะเป็นการเช็คช็อต สามารถเป็นในกรณีที่ดีและร้าย ดีถ้าวงจรในช็อตจุดที่ควรช็อต เช่นปลายสายสองเส้น ฟิวส์ ,ลายวงจรที่ต่อกัน รีเลย์NC ปกติปิด และไม่ช็อตในจุดที่ไม่ควร เช่น ขั้วบวกขั้วลบพาวเวอร์ซัพพลาย หรือลายวงจรที่ผ่านไดโอดหรือตัวต้านทาน ในกรณีที่ร้ายแรงเช่นการช็อตระหว่างขั้วบวกและลบของวงจร

4.การวัดค่าความต้านทาน กด select หนึ่งครั้งเพื่อปรับไปยังการวัดค่าความต้านใช้ทดสอบในการวัดค่าความต้านทานของตัวต้านหรืออุปกรณ์ ข้อควรระวังไม่ควรวัดค่าความต้านทานในขณะที่อุปกรณ์กำลังทำงานหรือมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ และห้ามใช้วัดกับแบตเตอรี่ด้วยเช่นกัน ใช้ในการเช็คอุปกรณ์ว่าทำงานดีไหม เช่นขั้วมอเตอร์บวกลบแม้จะไม่ช็อตกันแต่จะมีค่าความต้านทานค่าๆหนึ่งอยู่ หากค่าความต้านทานไม่สูงจนเป็นอนันต์ก็สามารถดูได้คร่าวๆว่าอุปกรณ์ใช้งานได้ดีอยู่

5.การวัดค่าไดโอด ใช้สำหรับการตรวจสอบว่าไดโอดนั้นทำงานได้ดีอยู่ไหม โดยกด select อีกครั้งต่อจากการวัดค่าความต้านทาน (ส่วนมากใช้ในการตรวจสอบไดโอดบริดจ์)

6.การวัดค่าความเก็บประจุ ใช้ทดสอบว่าตัวเก็บประจุยังมีประสิทธิภาพอยู่ โดยกด select อีกครั้งต่อจากการวัดค่าไดโอด ใช้ในการตรวจสอบว่าตัวเก็บประจุยังคงค่าได้อยู่ไหม ห้ามใช้ทดสอบกับแบตเตอรี่โดยเด็ดขาด เพื่อให้เหมาะสมกับการทดลองเรื่องนั้นๆ ซึ่งมัลติมิเตอร์แต่ละเครื่องจะมีรายละเอียดปลีกย่อยและข้อควรระมัดระวังในการใช้งานแตกต่างกันไปในบทความนี้จะกล่าวถึงการใช้งานของ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters)

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters)

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (analog multimeter, AMM) เป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภทรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณต่อไปนี้

ความต่างศักย์กระแสตรง (DC voltage)- ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage)- ปริมาณกระแสตรง (DC current)- ความต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance) อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์บางแบบสามารถใช้วัดปริมาณอื่น ๆ ได้อีก เช่น กำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (AF output) การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC current amplification, hFE) กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (leakage current, lCEO) ความจุทางไฟฟ้า (capacitance) ฯลฯมัลติมิเตอร์แบบเข็ม มีลักษณะดังภาพข้างล่าง

การใช ม ลต ม เตอร ว ดกระแสไฟฟ า

หมายเลข 1 indicator Zero Conector มีหน้าที่ตั้งค่าเข็มให้อยู่ตำแหน่ง 0 หรือตำแหน่งอื่นๆที่ต้องการ หมายเลข 2 Indicator Pointer หรือ เข็มชี้บ่ง มีหน้าที่ชี้บ่งปริมาณต่างๆ หมายเลข 3 Indicator Scale สเกลต่างที่อยู่บนหน้าปัดของมิเตอ หมายเลข 4 Continuity Indicating LED ( CONTINUITY ) เป็นหลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความต่อเนื่อง หมายเลข 5 Range Selector Switch knob ลูกบิดปรับเลือกค่าที่ต้องการวัด หมายเลข 6 0-ohms adjusting knob /0- centering meter ปุ่มปรับตั้งค่าความต้านทานให้อยู่ตำแหน่ง 0 หรือตำแหน่งที่ต้องการ หมายเลข 7 Measuring Terminal + เทอร์มินอลไฟบวก หมายเลข 8 Measuring – COM เทอร์มินอลไฟลบ หรือ common หมายเลข 9 Series Terminal Capacitor OUTPUT ใช้วัดค่าแรงดันกระแสสลับ หมายเลข 10 Panel หรือ หน้าปัดมิเตอร์ หมายเลข 11 Rear Case หรือ กรอบมิเตอร์

การใช ม ลต ม เตอร ว ดกระแสไฟฟ า

1.) Resistance ‭(OHMS) scale หรือ สเกลวัดความต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม 2.) สเกลกระแสและแรงดันทั้ง AC และ DC 3.) 0-centerig (NULL) +/- DCV scale 4.) สเกลวัดแรงดัน AC 2.5 volt. 5.) สเกลวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (hFE) มีสีน้ำเงิน 6.) สเกลสำหรับทดสอบแบตเตอร์รี่ 1.5 V 0.25A. 7.) สเกลวัดกระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (LEAK, ICEO, Ll) มีสีน้ำเงิน 8.) สเกลวัดความต่างศักย์ระหว่างปลายขณะวัดความต้านทาน (LV) มีสีน้ำเงิน 9.) สเกลวัดกำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (dB) มีสีแดง 10.) Continuity Indicating LED ( CONTINUITY ) เป็นหลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความต่อเนื่อง 11.คือกระจกเงาเพื่อทำให้การอ่านค่าบนสเกลที่แสดงด้วยเข็มชี้ของมิเตอร์ถูกต้อง ที่สุด การอ่านค่าที่ถูกต้องคือตำแหน่งที่เข็มชี้ของมิเตอร์จริงกับตำแหน่งเข็มชี้ ของมิเตอร์ในกระจกเงาซ้อนกันพอดี

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง

ปรับมัลติมิเตอร์ให้เป็นโวลท์มิเตอร์ก่อน โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตาแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (DCV) (หมายเลขอ้างอิง 7) ซึ่งมี 7 ช่วงการวัดคือ 0-0.1V, 0-0.5V, 0.2.5V, 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V

หลักการนํามัลติมิเตอร์ SUNWA ไปใช้ในการวัดความต่างศักย์

1.เลือกตําแหน่งที่ต้องการวัดความต่างศักย์ และตรวจสอบทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า 2. เสียบสายวัดมิเตอร์สีดําที่ขั้วลบ(- COM) และสายวัดสีแดงที่ขั้วบวก(+)เข้ากับมัลติมิเตอร์ 3. ตั้งช่วงการวัดให้สูงกว่าความต่างศักย์ของบริเวณนั้น โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ ตําแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (DCV) 4. นําสายวัดมิเตอร์ไปต่อขนานหรือต่อคร่อมวงจร โดยใช้หัววัดแตะกับจุดที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าทางขั้วบวก (+) ของมัลติมิเตอร์เสมอ ถ้าวัดสลับขั้วเข็มวัดจะตีกลับต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจากวงจรทันที จากนั้นทําการสลับหัววัดให้ถูกต้อง

การใช ม ลต ม เตอร ว ดกระแสไฟฟ า

5. การอ่านค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ให้อ่านสเกลสีดําที่อยู่ใต้แถบเงิน ซึ่งมีค่าระบุอยู่ใต้สเกล 3 ช่วง คือ 0-10, 0-50 และ 0-250 ค่าที่อ่านได้ต้องสัมพันธ์กับช่วงการวัดที่ตั้งไว้

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่จําเป็นต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางขั้วบวกเหมือนไฟฟ้ากระแสตรง เพราะไฟฟ้ากระแสสลับไม่มีขั้วตายตัว ขั้วแรงดันจะสลับไปสลับมาตลอดเวลา กล่าวคือสามารถต่อโดยให้สายวัดเส้นใดอยู่ข้างใดก็ได้ แต่วิธีวัดค่ายังใช้หลักการเดียวกันกับโวลต์มิเตอร์กระแสตรงก่อนที่จะนํามัลติมิเตอร์ไปวัดค่า ต้องทําการปรับมัลติมิเตอร์ให้เป็นโวลท์มิเตอร์กระแสสลับก่อน

จากนั้นเลือกช่วงการวัดให้เหมาะสม โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตําแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (ACV) (หมายเลขอ้างอิง 10) ซึ่งมี 4 ช่วงการวัดคือ 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V