การทำเมน ไม ให ม นย อ เวลาเล อก

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาประมาณ 6 – 24 สัปดาห์ หลังการคลอดลูก โดยความช้า หรือความเร็วในการกลับมาของประจำเดือนนั้น ยังขึ้นอยู่กับความถี่ และระยะเวลาในการให้นมลูก เนื่องจากฮอร์โมนที่ใช้ในการผลิตนมแม่ เป็นตัวหยุดฮอร์โมนที่ควบคุมประจำเดือน

  • ประจำเดือนหลังคลอด อาจจะมีลักษณะในการมาที่ไม่เหมือนช่วงเวลาก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายยังคงใช้เวลาในการปรับสมดุลอยู่
  • ในกรณีที่ประจำเดือนหลังคลอด กลับมาในช่วงที่ยังให้นมแม่อยู่ ประจำเดือนจะไม่มีผลกระทบกับการให้นมแม่มากนัก อาจจะพบปริมาณน้ำนมที่น้อยลงในช่วงมีประจำเดือน และปริมาณจะกลับมาเป็นปกติหลังหมดประจำเดือน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

• • • • • •

การทำเมน ไม ให ม นย อ เวลาเล อก

ประจำเดือนเป็นสิ่งเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคน แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ประจำเดือนจะหยุดไปในช่วงตั้งครรภ์ และจะกลับมาอีกครั้งหลังการคลอดลูกแล้ว แต่ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาเมื่อไหร่กัน?

ประจำเดือนหลังคลอดจะมาตอนไหน


อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่า ประจำเดือนหลังคลอดของคุณแม่จะกลับมาเมื่อไหร่ เนื่องจากคุณแม่แต่ละคนมีร่างกายแตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ ฮอร์โมน ความถี่ในการให้นมแม่ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยของประจำเดือนหลังคลอด

หลังคลอดประจำเดือนจะมาเมื่อไหร่


ถึงแม้เราจะระบุไม่ได้แน่นอนว่า หลังคลอดประจำเดือนจะกลับมาเมื่อไหร่ แต่สามารถคาดคะเนระยะเวลาคร่าว ๆ ได้ ซึ่งโดยค่าเฉลี่ยแล้ว ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาประมาณ 6 – 24 สัปดาห์ หลังการคลอดลูก ทั้งนี้ ประจำเดือนหลังคลอด ยังมีตัวกำหนดในการกลับมาอีกอย่าง นั่นคือ ความถี่ และระยะเวลาในการให้นมแม่ ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

• คุณแม่ที่ไม่ได้ให้นมแม่: ในคุณแม่ที่ไม่ได้ให้นมแม่เลย ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาเร็วสุด ประมาณ 4 สัปดาห์ หลังการคลอดลูก ซึ่งอาจจะเร็วกว่าเวลาค่าเฉลี่ยทั่วไป

• คุณแม่ที่ให้นมจากเต้าในบางครั้ง: คุณแม่ที่ให้นมจากเต้า สลับกับการให้นมแม่ หรือนมผงจากขวด ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาประมาณสัปดาห์ที่ 5 – 6 หลังการคลอด

• คุณแม่ที่ให้นมจากเต้าตลอด: สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกด้วยการเข้าเต้าทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวัน หรือกลางคืน โดยไม่ใช้ขวดในการป้อมนมลูกเลย ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาก็ต่อเมื่อคุณแม่หยุดการให้นมด้วยการเข้าเต้าในช่วงเวลากลางคืน หรือเมื่อลูกเริ่มกินอาหารเสริมตามวัยเด็กทารก (Solid Foods)

ทั้งนี้ สาเหตุที่ความถี่ และระยะเวลาในการให้นมแม่ มีส่วนในการกำหนดช่วงเวลาของประจำเดือนหลังคลอด นั่นก็เพราะว่า ฮอร์โมนที่ผลิตน้ำนมแม่ เป็นฮอร์โมนที่สามารถหยุดฮอร์โมนที่มีหน้าที่ในการควบคุมประจำเดือนได้ อย่างไรก็ตาม ประเดือนหลังคลอดยังขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนอีกด้วย

การทำเมน ไม ให ม นย อ เวลาเล อก
การทำเมน ไม ให ม นย อ เวลาเล อก

หลังคลอดประจำเดือนมาไม่ปกติ อันตรายหรือเปล่า


เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับประจำเดือนหลังคลอด หากพบว่า ประจำเดือนหลังคลอดมาไม่ปกติ มาน้อยบ้าง มามากบ้าง บางทีก็มาไม่กี่วัน ไม่เหมือนประจำเดือนปกติที่คุณแม่เคยเป็นก่อนตั้งครรภ์ สาเหตุหลักเกิดจากฮอร์โมนในร่างกายกำลังปรับตัวกลับสู่ปกติ

เช่นเดียวกันกับคุณแม่ที่ผ่าคลอด ประจำเดือนอาจจะมาไม่ปกติ รวมทั้งอาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องหนัก มามากเกิน 7 วัน หรือในบางรายอาจจะมาน้อย และไม่มีอาการปวดท้องเลย

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับประจำเดือนหลังคลอด หรือพบว่าประจำเดือนหลังคลอดมีความผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมามาก จนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่า 1 ครั้ง/ชั่วโมง ประจำเดือนมีระยะเวลานานกว่า 7 วัน มีลิ่มเลือดไหลออกมามาก ควรเข้ารับขอคำปรึกษากับสูตินรีแพทย์ เพื่อประเมินอาการว่าเป็นอันตรายหรือไม่

ประจำเดือนหลังคลอดมีผลต่อนมแม่ไหม


หากพบว่าประจำเดือนหลังคลอดกลับมาในช่วงที่ยังให้นมแม่อยู่ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไปว่าจะมีผลกับการให้นมลูก โดยประจำเดือนอาจจะกระทบการให้นมแม่เพียงเล็กน้อย คุณแม่ยังสามารถให้นมลูกต่อไปได้ ในบางครั้งคุณแม่อาจจะพบว่า ก่อนประจำเดือนมา ปริมาณน้ำนมอาจจะลดลงจากเดิมเล็กน้อย และปริมาณจะกลับมาปกติอีกครั้งหลังหมดประจำเดือน

ดูแลตัวเองหลังคลอดอย่างไรได้บ้าง


ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดลูกแบบธรรมชาติ หรือผ่าคลอด การดูแลตัวเองหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ยังช่วยให้คุณแม่พร้อมสำหรับการดูแลลูกน้อยต่อจากนี้อีกด้วย โดยเราสามารถดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้

• พักผ่อนให้เพียงพอ: สำหรับคุณแม่หลังคลอด ที่ไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด การนอนหลับ และพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติ ถึงแม้ในช่วงแรกหลังการคลอด อาจจะทำให้คุณแม่หลับได้ยาก ด้วยหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะแปลกที่ หรือเจ็บแผลก็ตาม อย่างน้อยพยายามนอนหลับพักผ่อนให้ได้มากที่สุด

• หลีกเลี่ยงการยกของหนัก: หลังการคลอด ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือมีน้ำหนักตัวมากกว่าตัวลูก โดยเฉพาะคุณแม่ที่ผ่าคลอด เพื่อป้องกันการ[บาดเจ็บของแผลผ่าคลอด

• ล้างมือบ่อย ๆ: อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่หลายคนมองข้าม แต่เมื่อต้องดูแลเด็กแรกเกิด การล้างมือทุกครั้งทั้งก่อน และหลังการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม รับประทานอาหาร จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรก เชื้อโรค หรือแบคทีเรีย ที่อาจจะหลุดเข้าร่างกายของคุณแม่ และลูกน้อย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพได้

• หลีกเลี่ยงการปืนขึ้นที่สูง หรือการขึ้นบันไดบ่อยครั้ง: เช่นเดียวกันกับการหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ในช่วงฟื้นตัวหลังคลอด ควรเลี่ยงการปืนที่สูง รวมถึงการขึ้นบันไดบ่อยครั้ง เพื่อให้แผลที่ช่องคลอด หรือแผลที่หน้าท้องสมานตัวได้เร็วขึ่น

• เรียนรู้ตารางกิจวัตรของลูกน้อย: ในช่วงสัปดาห์แรก การดูแลลูกน้อยอาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณแม่ คุณพ่อ และครอบครัวสับสน และมึนงงได้ เพราะยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน คุณแม่ควรจัดการแต่ละสิ่ง อย่างค่อยเป็นค่อยไป และเรียนรู้ตารางกิจวัตรประจำวันของลูก เช่น เขาหิวช่วงเวลาไหน ถ่ายกี่ครั้งในหนึ่งวัน นอนมากแค่ไหน เพื่อนำข้อมูลมาปรับใช้ให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันของคุณแม่ และช่วยให้การเตรียมการสิ่งต่าง ๆ ง่ายมากขึ้น

• หลีกเลี่ยง หรือจำกัดผู้เยี่ยม: แม้ว่าการเกิดของลูกน้อย จะเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากแสดงความยินดีด้วยก็ตาม แต่สำหรับช่วงสัปดาห์แรก ๆ ควรหลีกเลี่ยง หรือจำกัดผู้เยี่ยมทั้งที่โรงพยาบาล และที่บ้าน เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อน และฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่

นอกจากการดูแลตัวเองหลังคลอดตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การสังเกตอาการซึมเศร้าหลังคลอด ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หากคุณแม่พบว่าไม่สามารถรับมือกับอารมณ์ และความรู้สึกที่ประดังเข้ามาได้ ควรเข้ารับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาทางออกในการรับมือกับอาการซึมเศร้าหลังคลอด

ไขข้อข้องใจปัญหาประจำเดือนหลังคลอดกับ Enfa Smart Club


ประจำเดือนมาช้าหลังคลอด ผิดปกติไหม

ประจำเดือนหลังคลอด อาจจะไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอนว่าจะกลับมาช่วงไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่าง ฮอร์โมน ความถี่ในการให้นมลูก รวมทั้งร่างกายคุณแม่แต่คนมีความแตกต่างกันไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ประจำเดือนจะกลับมาประมาณ 6 – 24 สัปดาห์ หลังการคลอด หากคุณแม่พบว่าประจำเดือนมาช้ากว่าช่วงเวลานี้ หรือมีความกังวลว่าจะผิดปกติหรือไม่ สามารถขอเข้ารับคำปรึกษากับสูตินรีแพทย์ได้

ประจำเดือนหลังผ่าคลอดจะมาเมื่อไหร่

โดยทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาประมาณ 6 – 24 สัปดาห์หลังการคลอด ซึ่งยังขึ้นอยู่กับร่างกายแต่ละคน และความถี่ในการให้นมแม่อีกด้วย โดยพบว่า การกลับมาของประจำเดือนหลังคลอด ขึ้นอยู่กับความถี่ในการให้นมแม่ ซึ่งเมื่อไหร่ที่คุณแม่ลดการให้นมแม่ลง ประจำเดือนก็จะมีโอกาสกลับมาได้เร็วขึ้น เนื่องจาก อร์โมนที่ผลิตน้ำนมแม่ เป็นฮอร์โมนที่สามารถหยุดฮอร์โมนที่มีหน้าที่ในการควบคุมประจำเดือนได้

ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ ผิดปกติไหม

เป็นเรื่องปกติที่ประจำเดือนหลังคลอด จะมีลักษณะมาไม่ปกติเหมือนกับตอนก่อนตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายกำลังปรับตัวให้เป็นปกติเหมือนก่อน อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุของอาการได้

ประจำเดือนไม่มาหลังคลอด 1 ปี อันตรายหรือเปล่า

โดยปกติแล้ว ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาประมาณ 6 – 24 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากพบว่าประจำเดือนไม่มาหลังคลอด 1 ปี ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป

ประจำเดือนขาดกี่วันถึงจะขึ้น2ขีด

ก่อนใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์ควรรอให้เลยรอบเดือนประมาณ 7 วัน เพราะที่ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติอาจจะเกิดจากความเครียด และความวิตกกังวล ควรอ่านรายละเอียดขั้นตอนการใช้อย่างละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อผลทดสอบที่ถูกต้อง

อารมณ์แปรปรวนก่อนเมนส์มากี่วัน

อาการหงุดหงิดซึมเศร้า เหวี่ยงวีนง่ายกว่าปกติ รู้สึกเหมือนว่าตัวเองป่วย ไม่สบายตัว มักเกิดกับผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน 5 - 11 วัน เป็นอาการที่หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการเอาไว้ได้และก่อให้เกิดปัญหาในด้านปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้ พบได้ถึง 80% ของสาวๆ โดยเฉพาะช่วงอายุ 20 – 40 ...

ทำยังไงให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้น

ดื่มน้ำทับทิม( 3 ครั้งต่อวัน หรือ น้ำทับทิมผสมน้ำตาลอ้อย 4 ครั้งต่อวัน ทำให้รอบเดือนมาก่อนเวลาปกติได้ สับปะรด มีฤทธิ์ร้อน ถ้ารับประทานในปริมาณมากจะช่วยในการเร่งประจําเดือน ให้มาก่อนเวลาปกติ แครอท ฟักทอง และ มะละกอ มีเบต้าแคโรทีนสูง การกินอาหารเหล่านี้ ในปริมาณมากเป็นประจำ ช่วยเร่งประจำเดือนให้มาก่อนเวลาปกติได้

ทำยังไงให้ประจำเดือนมาช้า

ยาเลื่อนประจำเดือน หรือ ยาเลื่อนเมนส์ (Period Delay Tablets) คือ ยากลุ่มโปรเจสเตอโรน ซึ่งตัวยาที่เภสัชกรแนะนำโดยทั่วไป คือ Primolut N อันประกอบด้วยนอร์เอทีสเตอโรน ปริมาณ 5 มิลลิกรัม ชื่อทางการค้าเรียกว่า 'Primolut-N 5 mg' ทั้งนี้ยาเลื่อนประจำเดือนสามารถใช้ทานเพื่อชะลอให้รอบเดือนมาช้ากว่าปกติได้