พระราชบ ญญ ต ระเบ ยบข าราชการพลเร อน พ.ศ 2551 ม.36

พระราชบ ญญ ต ระเบ ยบข าราชการพลเร อน พ.ศ 2551 ม.36

  • หน้าหลัก
  • * ผู้บริหาร กกจ.
    • * ฝ่ายบริหารทั่วไป
      • กลุ่มอัตรากำลังและพัฒนาระบบงาน
      • กลุ่มพัฒนาบุคคล
      • ฝ่ายบรรจุแต่งตั้งและทะเบียนประวัติ
      • ฝ่ายสรรหาและประเมินประสบการณ์
      • กลุ่มงานเสริมสร้างวินัยและพิทักษ์คุณธรรม
      • กลุ่มงานจริยธรรม กปส.
    • อำนาจหน้าที่/วิสัยทัศน์/พันธกิจ
    • นโยบายการบริหารบุคลากร
      • HR Scorecard
      • แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
      • แผนเสริมสร้างความผูกพันของบุคลากร
      • หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
      • รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
      • นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
      • การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
    • หน่วยงานกรมประชาสัมพันธ์
  • บริการ
    • * การประเมินผลการปฏิบัติงาน
      • การทดลองปฏิบัติราชการ (ข้าราชการบรรจุใหม่)
      • บำเหน็จ บำนาญ
      • การประเมินผลงานวิชาการ
      • การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเพื่อเป็นข้าราชการ
      • เครื่องราชอิสริยาภรณ์
      • กฏ ระเบียบ หลักเกณฑ์
      • แบบฟอร์มต่างๆ
      • การทำบัตรข้าราชการ
      • ขรก.ดีเด่น / จนท.ตัวอย่าง
      • เครื่องแบบข้าราชการ
    • พนักงานราชการ
      • คู่มือ / ระเบียบ
      • ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
      • หนังสือเวียน
      • แบบฟอร์มต่างๆ
      • การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
    • ลูกจ้างประจำ
      • กฏ ระเบียบ หลักเกณฑ์
      • สิทธิประโยชน์
      • แบบฟอร์มต่างๆ
      • การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำ
    • ลูกจ้างชั่วคราว
      • กฏ ระเบียบ หลักเกณฑ์
      • แบบฟอร์มต่างๆ
    • ขั้นตอนการให้บริการใน กกจ.
    • ข้อมูล / หลักเกณฑ์
      • การวางแผนกำลังคนและกรอบอัตรากำลัง
      • การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
      • การพัฒนาบุคลากร
      • การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร
      • การประเมินผลการปฏิบัติงาน
      • การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญกำลังใจ
    • แจ้งอีเมลลงทะเบียนเข้าใช้งาน DPIS
  • * ข่าวสารประชาสัมพันธ์ทั่วไป
    • ข่าวสารกิจกรรม
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ทุนศึกษา / อบรม
    • ประกาศ / คำสั่ง / ระเบียบ / หนังสือเวียน
    • ตำแหน่งว่าง
  • Learning Zone
  • อินทราเน็ต
  • ติดต่อเรา

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551


12/10/2564 | 127 |


พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551.pdf |


พระราชบ ญญ ต ระเบ ยบข าราชการพลเร อน พ.ศ 2551 ม.36


พระราชบ ญญ ต ระเบ ยบข าราชการพลเร อน พ.ศ 2551 ม.36

กองการเจ้าหน้าที่ ชั้น 3 เลขที่ 9 กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 02-618 2323 ต่อ 1319 Email: [email protected]

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2563 กรมประชาสัมพันธ์

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2551 ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทแนวทางและวิธีการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนภารกิจของประเทศ โดยได้กำหนดบทบาทภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และให้การบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการสอดคล้องกับแนวทางการบริหารราชการแนวใหม่อย่างแท้จริง

Table of Contents

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 11 หมวด 139 มาตรา ร่างขึ้นโดยคำนึงถึง 5 หลักการสำคัญ ได้แก่ หลักคุณธรรม โดยเน้นที่ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน หลักความรู้ความสามารถที่จำเป็นและเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หลักผลงาน มีการให้คุณให้โทษโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ และหลักความสมดุลระหว่างคุณภาพชีวิตและการทำงาน

นอกจากนี้ ยังมุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อระบบบริหารข้าราชการ จากเดิมที่เน้นการพัฒนาข้าราชการให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ยึดกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพเฉพาะส่วน เปลี่ยนเป็นเน้นให้ข้าราชการเป็นผู้รู้รอบ รู้ลึก และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร มุ่งเน้นที่ประชาชน สร้างคุณค่า และผลผลิตผลลัพธ์ โดยมีตัวแปรที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนคือ การปรับระบบจำแนกตำแหน่งเพื่อเป็นฐานให้ราชการมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ตามลักษณะงาน ผลงาน และความรู้ความสามารถ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 22 ก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

ที่มา พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำนักงาน ก.พ. กุมภาพันธ์ 2551

บทนำ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

  • (1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
  • (2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
  • (3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538
  • (4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2544

มิให้นำคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 38/2519 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือน

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

  • “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน
  • “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวงกรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น
  • “กระทรวง” หมายความรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรีและทบวง
  • “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง และหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง
  • “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง
  • “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
  • “อธิบดี” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม

“ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม