144 ม.มิตรภาพ 2 ซ.อ่อนนุช 46 ประเวศ

เขตสวนหลวงตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ และเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบ คลองกะจะ คลองหัวหมาก ลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตประเวศ มีคลองบึงบ้านม้า ลำรางข้างหมู่บ้านเอื้อสุข คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนองบอนเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตประเวศและเขตพระโขนง มีคลองตาสาด (คลองคู้) คลองเคล็ด ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล) คลองบ้านหลาย ลำราง คลองสวนอ้อย คลองขวางบน และคลองบางนางจีนเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองบางนางจีน คลองพระโขนง และคลองตันเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ[แก้]

เขตสวนหลวงเดิมมีฐานะเป็น ตำบลสวนหลวง เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ต่อมาใน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้โอนอำเภอพระโขนงรวมทั้งตำบลสวนหลวงมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร โดยตำบลสวนหลวงได้กลายเป็นเป็นท้องที่หนึ่งในเขตสุขาภิบาลประเวศที่ตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2506 จนกระทั่งได้รับการโอนไปเป็นท้องที่ของเทศบาลนครกรุงเทพตั้งแต่ พ.ศ. 2508

ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสวนหลวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสวนหลวง เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง

ภายหลังท้องที่เขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 (สวนหลวง) ดูแลพื้นที่แขวงสวนหลวง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็นเขตประเวศ แบ่งออกเป็น 4 แขวงซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วย เนื่องจากยังไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะขึ้นเป็นเขตใหม่ จึงให้คงฐานะเป็นสำนักงานเขตสาขาไว้ก่อน สำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง

จนกระทั่งในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงสวนหลวง บางส่วนของแขวงประเวศ เขตประเวศ และบางส่วนของแขวงคลองตัน บางส่วนของแขวงพระโขนง เขตคลองเตย มาจัดตั้งเป็น เขตสวนหลวง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงสวนหลวงเต็มพื้นที่เขต โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงอ่อนนุชและแขวงพัฒนาการแยกจากพื้นที่แขวงสวนหลวง โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตสวนหลวงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่

หมาย เลข อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่ (ตร.กม.) จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) แผนที่

1.

สวนหลวง Suan Luang

9.251

48,494

5,242.03

144 ม.มิตรภาพ 2 ซ.อ่อนนุช 46 ประเวศ

2.

อ่อนนุช On Nut

5.894

43,509

7,381.91

3.

พัฒนาการ Phatthanakan

8.533

30,673

3,594.63

ทั้งหมด

23.678

122,676

5,181.01

ประชากร[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสวนหลวง ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด 2535 106,088 ไม่ทราบ 2536 106,203 +115 2537 107,406 +1,203 2538 107,064 -342 2539 107,183 +119 2540 108,644 +1,461 2541 109,797 +1,153 2542 111,047 +1,250 2543 111,898 +851 2544 113,396 +1,498 2545 115,086 +1,690 2546 116,961 +1,875 2547 114,940 -2,021 2548 115,120 +180 2549 115,490 +370 2550 116,293 +803 2551 116,067 -226 2552 115,883 -184 2553 115,966 +83 2554 115,419 -547 2555 115,731 +312 2556 116,688 +957 2557 118,371 +1,683 2558 120,136 +1,765 2559 121,740 +1,604 2560 122,534 +794 2561 123,026 +492 2562 124,048 +1,022 2563 123,609 -439 2564 122,824 -785 2565 122,676 -148

การคมนาคม[แก้]

รถไฟฟ้า

  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สถานีหัวหมาก, สถานีกลันตัน, สถานีศรีนุช) ทางสายหลัก
  • ถนนมอเตอร์เวย์
  • ถนนศรีนครินทร์
  • ถนนพระราม 9
  • ถนนพัฒนาการ
  • ถนนรามคำแหง
  • ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)
  • ถนนอ่อนนุช
  • ทางพิเศษศรีรัช
  • ทางพิเศษฉลองรัช ทางสายรองและทางลัด
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (คู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3702 (คู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านขวา)
  • ถนนกำแพงเพชร 7
  • ซอยศรีนครินทร์ 20 / ซอยพัฒนาการ 54 (พลเทพ)
  • ซอยศรีนครินทร์ 24 / ซอยอ่อนนุช 39 (อนามัย)
  • ซอยพระราม 9 ซอย 62 (ศุภกิจ)
  • ซอยพระราม 9 ซอย 41 (เสรี 2)
  • ซอยพระราม 9 ซอย 43 (เสรี 4)
  • ซอยพระราม 9 ซอย 57 (วิเศษสุข 3)
  • ซอยพัฒนาการ 20 / ซอยอ่อนนุช 17 (สวนหลวง)
  • ซอยพัฒนาการ 25 (เป็นสุข / รามคำแหง 24-พัฒนาการ)
  • ซอยพัฒนาการ 28 (หมู่บ้านสวนแหลมทอง 2)
  • ซอยพัฒนาการ 30 (หมู่บ้านปัญญา)
  • ซอยพัฒนาการ 32 (มูซอ)
  • ซอยอ่อนนุช 30 (วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม)
  • ซอยอ่อนนุช 44 (สามพี่น้อง)
  • ซอยอ่อนนุช 46 (หมู่บ้านมิตรภาพ)
  • ซอยอ่อนนุช 64 (สุขสมาน)

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
  • วัดมหาบุศย์
  • ตลาดเอี่ยมสมบัติ
  • วัดปากบ่อ
  • วัดใต้
  • วัดยาง
  • วัดทองใน
  • วัดต้นไทรย์
  • วัดขจรศิริ (วัดขอม)
  • ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
  • สถานีตำรวจนครบาลคลองตัน

อ้างอิง[แก้]

สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2559.