Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

ปัญหาหลักๆเลยเมื่อได้กล้องมาใหม่ก็คือ ความสับสนของการตั้งค่ากล้อง เพราะเมนูการทำงานของกล้องนั้น มีอยู่ค่อนข้างเยอะเพื่อตอบโจทย์การถ่ายภาพในหลากหลายสถานการณ์ ยิ่งกล้องอย่าง Sony A7III & A7R III ที่มีระบบการทำงานในแบบมืออาชีพ แนะนำเลยว่าควรอ่านบทความนี้ เพราะนี่คือรวมเทคนิคการตั้งค่ากล้อง Sony A7III & A7R III แบบมืออาชีพ ที่จะตอบข้อสงสัยหลักๆที่หลายคนสงสัยอยู่ อาจจะไม่ได้ตั้งค่าทุกเมนู เพราะบางเมนูนั้นอาจจะไม่ได้ใช้งานบ่อย เดี๋ยวเรามาไล่เรียงกันดีกว่าว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

  • การตั้งค่าไฟล์แบบไหน ถึงจะดี

เมนูแรกเลยที่ควรตั้งค่าคือ File Format ตรงนี้ แนะนำว่าควรตั้งเป็น RAW&JPEG ไปเลยดีที่สุด เพราะว่าการบันทึกภาพแบบไฟล์ RAW เก็บไว้ด้วยนั้น เราสามารถนำภาพมาตกแต่งแก้ไขได้ดีกว่า JPG นอกเสียจากว่าคุณไม่ต้องการตกแต่งภาพใดๆเลย ถ่ายเสร็จ ส่งงาน ลบทิ้งอะไรแบบนั้นก็ตั้งเป็น JPG อย่างเดียวเพื่อประหยัดเนื้อที่เม็มโมรี่การ์ดก็ได้

แล้ว RAW File Type ล่ะ ควรตั้งเป็นแบบไหนดี ตรงนี้มีคำตอบให้ว่าถ้าตั้งเป็นแบบ Compressed แล้ว ไฟล์ที่ได้จะถูกบีบอัด ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการบันทึกข้อมูล แต่ถ้าใครต้องการจัดเต็มประเภทที่ว่ารีดทุกศักยภาพของเซ็นเซอร์ออกมาก็ตั้งเป็น Uncompressed ก็ได้ แต่จะเปลืองเนื้อที่เม็มโมรี่การ์ดหน่อยนะ เพราะไฟล์มันจะใหญ่กว่ากันเท่าตัวเลย ส่วนความแตกต่างของทั้งสองตัวนั้นอยู่ที่การบีบอัดข้อมูลนั่นแหละ ถ้าไม่ได้ทำงานชนิดละเอียดสุดๆก็ปรับไปที่ Compressed จะดีกว่า

ส่วน JPG Quality แนะนำว่าปรับไปเป็น Extra fine ก็ดี เพื่อให้ได้รายละเอียดความคมชัดและสีสันที่ดีที่สุด ส่วนถัดลงมาเป็นขนาดไฟล์ JPG แนะนำว่าเลือกตามการใช้งานเลย เพราะบางครั้งหลายคนแค่ลงรูปใน Social Media เลยทันทีอาจจะเลือกไฟล์เล็กหน่อยก็ได้ไม่เสียหาย เพราะยังไงเราก็มีไฟล์ RAW เก็บไว้อยู่แล้ว

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

แถมนิดนึงจากข้อมูลของทาง Sony เกี่ยวกับการเลือกช่องบันทึกไฟล์ เพราะ Soทy A7III & A7R III มีช่องใส่การ์ดได้สองช่อง จึงสะดวกสบายเลือกได้ว่าจะบันทึกเป็น RAW&JPG ไว้ในการ์ดเดียวกันเลย หรือแยกการ์ดกันก็ได้

  • ระบบออโต้โฟกัส แบบไหนทำงานอย่างไร

ระบบโฟกัสของ Sony A7III & A7R III มีให้เลือก AF-S , AF-A , AF-C , DMF และ MF โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. 1. AF-S เป็นระบบโฟกัสแบบครั้งเดียวเมื่อแตะชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง กล้องจะทำการโฟกัสและล็อคโฟกัสค้างไว้หากไม่มีการปล่อยนิ้ว เหมาะสำหรับการถ่ายภาพสิ่งที่ไม่มีการเคลื่อนที่ เช่น การถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพ Portrait ที่ตัวแบบอยู่นิ่งกับที่ เป็นต้น
    1. AF-A โหมดนี้เป็นการผสมผสานระหว่าง AF-S และ AF-C คือกล้องจะทำการตัดสินใจให้ว่าควรจะใช้ระบบโฟกัสแบบไหน ถ้าหากวัตถุเคลื่อนที่จะปรับไปใช้งาน AF-C ให้เอง แต่ถ้าวัตถุอยู่นิ่งจะใช้เป็น AF-S แทน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโหมดนี้จะทำงานได้ไม่ดีเท่าระบบ AF-C เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
    2. AF-C เป็นระบบโฟกัสภาพแบบต่อเนื่อง ใช้ในสถาการณ์ที่ต้องการโฟกัสภาพในกรณีวัตถุในภาพมีการเคลื่อนที่ เพราะกล้องจะทำการติดตามโฟกัสตลอดเวลาที่แตะชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ใชในกรณีถ่ายภาพกีฬา ภาพงานอีเวนท์ต่างๆ เป็นต้น
    3. DMF เป็นระบบโฟกัสที่ทำงานในแบบ AF-S แต่จะสามารถหมุนวงแหวนโฟกัสปรับโฟกัสเองได้ด้วย เหมือนกับกึ่ง Manual Focus เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเลือกปรับโฟกัสเองได้หลังจากที่ให้กล้องช่วยโฟกัสแล้ว เช่น การถ่ายภาพมาโคร เป็นต้น
    4. MF คือระบบ Manual Focus นั่นคือผู้ใช้งานต้องหมุนหาโฟกัสด้วยตัวเอง

แล้วควรเลือก Focus Area แบบไหน ในกล้อง Sony A7III & A7R III จะสามารถเลือกจุดโฟกัสได้แบบ Wide , Zone , Center , Flexible Spot , Expand Flexible Spot และ Lock-on AF

  1. 1. Wide กล้องจะเลือกจุดโฟกัสให้เองอัตโนมัติ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่วไป และสามารถทำงานได้ดีกับระบบ Eye-AF จึงควรใช้งานระบบนี้ร่วมกับการทำงาน Eye-AF หรือ Face Detection เมื่อถ่ายภาพบุคคล
    1. Zone เป็นการระบุโซนหรือตำแหน่งแบบกว้างๆ เพื่อที่กล้องจะได้โฟกัสในบริเวณนั้นๆ เหมาะแก่การถ่ายภาฉพแนวกีฬา ที่ต้องการกำหนดโซนสำหรับการโฟกัส เพื่อจัดองค์ประกอบภาพ
    2. Center กล้องจะโฟกัสที่จุดกึ่งกลางเพียงจุดเดียวเท่านั้น
    3. Flexible Spot เป็นระบบการเลือกจุดโฟกัสด้วยตัวเอง ว่าต้องการโฟกัสไปที่ตำแหน่งใดโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเน้นความคมชัดจุดใดขุดหนึ่ง เช่น การถ่ายภาพ Still Life เป็นต้น โดยสามารถเลือกขนาดของจุดโฟกัสตั้งแต่เล็ก กลาง ใหญ่ได้ด้วย
    4. Expand Flexible Spot จะคล้ายกับ Flexble Spot แต่กล้องจะสามารถโฟกัสภาพรอบๆจุดที่เลือกได้ด้วยกรณีที่วัตถุมีการเคลื่อนที่หลุดจากจุดที่เราตั้งไว้ เหมาะกับการถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหวเล็กน้อย
    5. Lock-on AF อันนี้จะทำงานต่อเมื่อใช้งานระบบ AF-C เพราะเป็นการล็อคติดตามวัตถุตลอดเวลา เหมาะอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพประเภทกีฬา โดยมีให้เลือกรูปแบบพื้นที่การโฟกัสในทั้ง 5 แบบข้างต้น
  2. AF Track Sens ตั้งไว้แบบไหนดี

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

อันนี้หลายคนอาจจะงง เพราะต้องใช้งานร่วมกับ AF-C โดยระบบการทำงานนี้ก็คือการเลือกความเร็วในการล็อคโฟกัสนั่นเอง ถ้าปรับไปที่ 1 นั้นกล้องจะล็อคค่าโฟกัสไว้ให้นานที่สุด จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เวลามีอะไรตัดหน้าผ่าน กล้องจะไม่เปลี่ยนจุดโฟกัส แต่ถ้าปรับไปสุดที่ 5 เลย กล้องจะโฟกัสตลอดเวลา เหมาะแก่การถ่ายภาพที่วัตถุเคลื่อนที่เร็วมากๆ แต่หากมีอะไรมาผ่านหน้ากล้อง กล้องก็จะปรับโฟกัสทันที อาจทำให้หลุดโฟกัสจากวัตถุที่ต้องการจะถ่ายได้

  • การตั้งค่าปุ่ม Custom สำหรับการใช้งานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ Eye-AF

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

ปุ่ม Custom เป็นปุ่มที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้งานกำหนดค่าค่างๆด้เองตามต้องการ ซึ่งจะสะดวกและเหมาะกับการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละคน เพราะจะเลือกได้เลยว่าเราต้องการปุ่มนี้ไว้ทำอะไร โดยเฉพาะการตั้งค่า Eye-AF ซึ่งจะช่วยให้การถ่ายภาพบุคคล ง่ายและสะดวกมากขึ้นด้วย ด้วยการตั้งค่าปุ่ม Center Button และปุ่ม Focus Hold Button โดยทาง Sony มีภาพประกอบแนะนำไว้ดังนี้

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

Sony a7ii ร ว ว ท ชหน าจอได ม ย

  • ระบบวัดแสงต้องเลือกแบบไหน

ในส่วนของระบบวัดแสงนั้น กล้อง Sony A7III & A7R III มีให้เลือกทั้งแบบ Multi , Center , Spot , Entire Screen Avg. และ Highlight ซึ่งแต่ละโหมดวัดแสงทำหน้าที่อย่างไร แตกต่างกันตรงไหน มาไล่เรียงดูกันเลยทีละอัน

  1. 1. Multi เป็นระบบวัดแสงแบบหลายส่วน โดยตัวกล้องจะคำนวณค่าแสงในแต่ละจุดย่อยของภาพแล้วนำมาประมวลผลจนได้ค่าที่เหมาะสม เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์และการถ่ายภาพทั่วไป และจะทำงานร่วมกับระบบ Face Detection ด้วย เมื่อเปิดระบบการทำงาน กล้องจะวัดแสงที่ใบหน้าตัวแบบเป็นหลัก แนะนำว่าเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานถ่ายภาพบุคคล
    1. Center เป็นระบบวัดแสงทั้งภาพ แต่จะเฉลี่ยน้ำหนักที่กลางภาพเป็นหลัก ดังนั้นค่าแสงที่ได้จะอิงกับบริเวณกลางภาพ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่วไป
    2. Spot เป็นการวัดแสงเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง โดยจะเลือกเป็นจุดขนาด Standard และ Large ได้ ซึ่งจะเหมาะกับการถ่ายภาพที่มีสภาพแสงซับซ้อน เช่นการถ่ายภาพย้อนแสง หรือต้องการถ่ายภาพโดยต้องการวัดแสงไปในจุดใดจุดหนึ่งเฉพาะ สำหรับระบบวัดแสงเฉพาะจุดนี้สามารถทำงานร่วมกับจุดโฟกัสได้ด้วย หากตั้งค่าการทำงานในส่วนของ Spot Metering Point ให้เป็น Focus Point Link เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแนวมาโคร หรือ Still Life
    3. Entire Screen Avg. คือระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งหน้าจอ โดยระบบวัดแสงนี้จะคล้ายกับแบบ Multi เพียงแต่ไม่ได้คำนวณค่าแสงแยกย่อยเป็นส่วนๆ ดังนั้นค่าแสงที่ได้จะค่อนข้างคงที่แม้องค์ประกอบภาพหรือวัตถุในภาพจะเปลี่ยนไป เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแสงมากนัก
    4. Highlight เป็นระบบวัดแสงที่เน้นการรักษาส่วนสว่างของภาพไม่ให้ Over เกินไป เป็นระบบวัดแสงที่เหมาะแก่การใช้งานเพื่อเก็บรายละเอียดส่วนสว่างให้ได้มากที่สุด ฉะนั้นบางส่วนในภาพจะมืดเพราะกล้องคำนวณให้รักษารายละเอียดส่วนสว่างเอาไว้
  2. DRO/Auto HDR คืออะไร

สำหรับการปรับตั้งค่าจุดนี้จะส่งผลต่อการดึงส่วนมืดให้สว่างขึ้น และลดส่วนสว่างให้มืดลงเพื่อเก็บรายละเอียด การตั้งค่าเป็นแบบ Auto ใน DRO จะช่วยให้ได้ภาพที่มีคอนทราสต์และการไล่โทนที่ดีขึ้น โดยสามารถปรับแต่งได้เองด้วย ตั้งแต่ระดับ 1-5 ส่วน HDR นั้นใช้งานได้เฉพาะไฟล์ JPG ซึ่งจะช่วยเรื่องการปรับ Dynamic Range หรือส่วนมืดและส่วนสว่างให้เหมาะสม แนะนำว่าถ้าใช้งานทั่วไปแล้วปรับเป็น DRO Auto ก็พอ

  • E-Front Curtain เปิดหรือปิดดีกว่า

อันนี้เป็นฟีเจอร์ที่หลายคนสงสัยเพราะไม่รู้ว่ามันมีประโยชน์อะไร อ่านถึงตรงนี้แล้วก็ขอบอกว่า e-Front Curtain Shutter คือระบบม่านชัตเตอร์อิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งจะทำงานด้วยระบบไฟฟ้าแทนม่านชัตเตอร์ชุดหน้าแบบปกติ และจะสิ้นสุดการทำรับแสงโดยม่านชัตเตอร์ชุดหลังปิดลงมา ซึ่งข้อดีก็คือลดปัญหาเรื่อง Shutter Lag และจะทำงานทันทีเมื่อเปิดใช้งานโหมด Silent

ส่วนข้อเสียก็คือ เมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงจะเกิดอาการภาพย้วยหรือที่เรียกว่า Rolling shutter และยังมีปัญหากรณีอาการเส้นไฟกระพริบด้วย แต่ทั้งนี้ในกล้อง Sony A7III & A7R III มีระบบป้องกันปัญหาดังกล่าวมาให้เรียบร้อยแล้ว โอกาสเกิดปัญหาจึงน้อยลงมากๆ

แนะนำว่าถ้าไม่ได้ใช้งานที่ความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ ก็เปิดเอาไว้ได้ เพราะช่วยให้กล้องทำงานได้รวดเร็วในการถ่ายภาพ

  • Live View Display เปิดกับปิด มีผลอย่างไร

สุดท้ายกับการปรับตั้งค่ากล้อง Live View Display ตรงนี้หลายคนสงสัย อธิบายง่ายๆคือ

On - ภาพที่เห็นอย่างไร ภาพก็ออกมาแบบนั้นเลย

Off - การปรับค่าต่างๆของกล้อง จะไม่แสดงผลตามที่เห็น เหมาะสำหรับการใช้งานกับแฟลช เพื่อสามารถตั้งค่ากล้องต่างๆได้ถูกต้องและจัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายขึ้นนั่นเอง (เพราะหากเปิดไว้ หน้าจออาจจะมืดจนมองอะไรไม่เห็น)