เขียนข้อควรปฏิบัติของการพูดรายงาน 5 ข้อ

การพูดรายงานจากการศึกษาค้นคว้า  เป็นการพูดเพื่อเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ไปค้นคว้า  โดยผู้พูดอาจเป็นผู้ทำงานนั้นด้วยตนเองหรือทำงานร่วมกับหมู่คณะแล้วเสนอรายงานนั้นด้วยข้อเขียนหรือด้วยการพูดรายงานนั้น

ข้อควรปฏิบัติในการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า

๑. การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า  ควรเลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเรียน  เรื่องที่น่าสนใจ  หรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่เป็นประโยชน์

๒. ควรวางโครงเรื่องที่สอดคล้องกับหัวข้อที่วางตั้งไว้  เช่น  รายงานเรื่องน้ำ  ควรมีหัวข้อ  ดังนี้

๒.๑ ส่วนประกอบของน้ำ

๒.๒ ประโยชน์ของน้ำ

๒.๓ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๔ การขจัดน้ำเสีย

๓. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ  ไปค้นคว้าจากหนังสือเรียน  สารสาร  สิ่งพิมพ์  หนังสืออ่านนอกเวลา  สื่ออินเตอร์เนต  หรืออื่น ๆ  และควรจดบันทึกรายชื่อที่นักเรียนศึกษาค้นคว้า  ชื่อผู้แต่ง  โรงพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เพื่อเป็นประโยชน์ในการอ้างอิง

๔. รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาเรียบเรียงสาระสำคัญและรายละเอียดที่น่าสนใจ  โดยเรียงลำดับตามโครงเรื่องที่วางไว้  รวบรวมเป็นเล่ม

๕. เตรียมพูดรายงาน  โดยการเสนอเรื่องตามลำดับ  และเลือกพูดรายละเอียดสำคัญที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง  โดยใช้ภาษาสุภาพ  ใช้สื่อประกอบการพูด  และอาจจบลงด้วยการสรุป  เนื้อเรื่องหรือเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากการศึกษาค้นคว้า

ที่มา : กรมวิชาการ  (๒๕๓๘:๙๐)

การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่น

การพูดรายงาน เป็นการพูดนำเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้ฟังการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้านี้อาจเป็นการนำเสนอในชั้นเรียน  หรือกลุ่มก็ได้

การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  คือ    การพูดชี้แจง  บอกเล่าหรืออธิบาย  เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า   เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรู้  ความเข้าใจการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับท้องถิ่น   เช่น   อาหารพื้นบ้าน   ยาสมุนไพร    หัตถกรรมพื้นบ้าน  หัวข้อภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนสามารถค้นคว้าเรียบเรียง   เช่น   ความเชื่อ  ศิลปะ   หัตถกรรมภาษา   ประเพณี   เป็นต้น

แนวทางการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า

1.             นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อนำไปพูดรายงานโดยให้มีความชัดเจน  สั้น  กระชับ

2.              พูดดำเนินเรื่องไปตามลำดับเหตุการณ์  ไม่สับสน  วกวน

3.             มีตัวอย่างหรือสถิติประกอบการพูดรายงานตามความเหมาะสม

4.             เลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้ฟัง  ไม่ควรใช้ภาษาที่ยากหรือง่ายเกินไป

5.             ไม่พูดเกินเวลา  ใช้เวลาพูดให้พอดีกับเวลาที่กำหนดไว้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

                ภูมิปัญญาไทย    หมายถึง  องค์ความรู้ความสามารถ  และทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้  เลือกสรร  ปรุงแต่ง  พัฒนาและถ่ายสืบต่อกันมา

1.            ขอบข่ายของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

ได้กำหนดไว้   9   ด้านดังนี้

1.             ด้านเกษตรกรรม   ได้แก่   ความสามารถการทำการเกษตรแบบผสมผสาน  การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด

2.             ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม  ได้แก่    การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

3.             ด้านการแพทย์แผนไทย  ได้แก่     ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน

4.             ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  

5.             ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน     ได้แก่    การจักการกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์

6.             ด้านศิลปกรรม    ได้แก่   สร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ  เช่น  จิตรกรรม   ประติมากรรม

7.             ด้านภาษาและวรรณกรรม  ได้แก่   ความสามารถในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านภาษา

8.             ด้านปรัชญา  ศาสนาและประเพณี   ได้แก่   การถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนทางศาสนา

9.             ด้านโภชนาการ  ได้แก่    ความสามารถในการเลือกสรร  ปรุงแต่งอาหารและยา

2.            ลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมท้องถิ่น

1.            เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาด้วยการเล่าปากไปสู่ปาก

2.            เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีการเคารพบรรพบุรุษผีสางเทวดาในงานพิธีต่างๆ

3.            เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาจากคนยุคหนึ่งสู่คนอีกยุคหนึ่ง

4.            จะใช้ภาษาถิ่น  เป็นคำง่ายๆ  สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา

5.            มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น

3.            ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านภาษาและวรรณกรรม

1.            ปริศนาคำทาย 

2.            ภาษิต  สำนวน  คำพังเพย

3.            เพลงพื้นบ้าน 

4.            นิทานพื้นบ้าน

5.            ภาษาถิ่น

6.            ผู้สร้างสรรค์ผลงานทางภาษาในท้องถิ่น

ขั้นตอนการเขียนรายงาน      มีดังนี้
      1.    การเลือกเรื่อง และ ตั้งชื่อเรื่อง 

      2.    การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง

      3.    การเขียนโครงเรื่อง

      4.    การเขียนเนื้อหา

      5.    บทสรุป

      6.    อ้างอิง

ให้นักเรียนเลือกหัวข้อต่อไปนี้เพื่อศึกษาค้นคว้าทำเป็นรายงาน

๑.       อาหารพื้นบ้าน

๒.     ประเพณีพื้นบ้าน

๓.     นิทานพื้นบ้าน

๔.     ความเชื่อในท้องถิ่น

๕.     หัตถกรรมพื้นบ้าน

ข้อใดควรปฏิบัติในการพูดรายงาน

A : การพูดรายงานควรปฏิบัติตัวอย่างไร.
พูดแนะนำชื่อผู้ทำรายงาน.
พูดแนะนำรายงาน อันประกอบด้วย ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีค้นคว้า สาระของรายงานหนังสืออ้างอิง และประโยชน์ที่ได้รับ.
พูดโดยใช้น้ำเสียงดังพอสมควร ออกเสียงคำและเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง ตามองผู้ฟัง.
พูดโดยมีเอกสารแสดงให้ผู้ฟังได้รับรู้ข้อมูลของรายงาน.

ข้อใดควรอยู่ตอนต้นของการพูดรายงาน

1. เริ่มพูดรายงานด้วยการกล่าวนำ เช่น ทักทายผู้ร่วมงาน บอกจุดประสงค์ของการ พูดรายงาน บอกแหล่งข้อมูลที่จะมานำเสนอ 2. ในขณะเริ่มรายงานควรพูดให้ชัดเจน ออกเสียงให้ถูกต้อง เสียงดังพอประมาณ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง 3. รายงานเรื่องตามลำดับเนื้อหา ลำดับขั้นตอน หรือลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้องและ ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ควรมีแหล่งอ้างอิง ...

ข้อใดเป็นหลักในการพูดรายงานอันดับแรก

หลักการพูดรายงาน 1. เริ่มพูดรายงานด้วยการกล่าวนำ เช่น ทักทายผู้ร่วมงาน บอกจุดประสงค์ของการพูดรายงาน บอกแหล่งข้อมูลที่จะมานำเสนอ 2. ในขณะเริ่มรายงานควรพูดให้ชัดเจน ออกเสียงให้ถูกต้อง เสียงดังพอประมาณ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง

ขั้นตอนการพูดรายงานได้แก่อะไรบ้าง

การพูดรายงาน ควรยึดหลักดังนี้ 1. เตรียมเอกสารประกอบการรายงานใหพรอม 2. กลาวทักทายผูฟง แนะนำตนเองและเรื่องที่รายงาน 3. รายงานเรื่องตามลำดับเนื้อหา ลำดับขั้นตอน หรือลำดับเหตุการณใหถูกตองและตอเนื่องสัมพันธ กัน 4. ใชภาษาพูดที่กระชับ เขาใจงาย สุภาพ ดวยเสียงที่ดังพอควร หนักแนน แสดงความมั่นใจ 5. เสนอขอมูลตรง ...