ธนาคารโลก ประโยชน์ที่ไทยได้รับ

ธนาคารโลก หรือ World Bank คือ ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นมาหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยเหลือประเทศที่เป็นสมาชิกด้วยการให้กู้เงินในระยะยาวเพื่อนำไปใช้ฟื้นฟูประเทศที่เสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะนั้น

ธนาคารโลกก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ที่เบร็ตตันวูดส์ (Bretton Woods) รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นด้วยสมาชิก 38 ประเทศ โดยในปัจจุบันธนาคารโลก มีประเทศสมาชิกอยู่ทั้งหมด 188 ประเทศ

ธนาคารโลกเปรียบเสมือนสหกรณ์ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 189 ประเทศ ประเทศสมาชิกหรือผู้ถือหุ้นเหล่านี้เป็นตัวแทนของคณะกรรมการผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายขั้นสูงสุดที่ธนาคารโลก โดยทั่วไปแล้วผู้ว่าการจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาของประเทศสมาชิก

โดยพวกเขาพบกันปีละครั้งในการประชุมประจำปีของคณะกรรมการกลุ่มธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

หน้าที่ของธนาคารโลก

หน้าที่ของธนาคารโลก โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศของสมาชิก ด้วยการเป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนและความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งมั่นที่จะลดความยากจน เพิ่มความมั่งคั่งร่วมกัน และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยเป้าหมายหลักของธนาคารโลก (World Bank) ได้แก่

  • ให้กู้ยืมเงิน
  • ช่วยค้ำประกันเงินกู้
  • เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้

การให้กู้ยืมของธนาคารโลก จะเป็นการให้กู้เงินในระยะยาวและมีดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยที่เงินก้อนดังกล่าวมีเงื่อนไข คือ ต้องนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ตอนที่กู้ เช่น นำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การช่วยค้ำประกันเงินกู้ เพราะการค้ำประกันเงินกู้ให้กับประเทศสมาชิก จะทำให้สมาชิกมีต้นทุนในการกู้เงินที่ต่ำ (ดอกเบี้ยต่ำ)

เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้ เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาประเทศของตนเอง รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับประเทศสมาชิก

เป้าหมายของธนาคารโลกในปี 2030

ณ ปี 2022 ธนาคารโลกระบุเป้าหมาย 17 เป้าหมายซึ่งตั้งเป้าให้เป้าหมายบรรลุผลภายในปี 2030 หรือปี พ.ศ. 2573 โดย 2 อันดับแรกระบุไว้ในพันธกิจ ได้แก่

ประการแรกคือการยุติความยากจนขั้นรุนแรงด้วยการลดจำนวนผู้คนที่มีรายได้น้อยกว่า $1.90 ต่อวันให้ต่ำกว่า 3% ของประชากรโลก

ประการที่สองคือการเพิ่มความมั่งคั่งโดยรวมโดยการเพิ่มการเติบโตของรายได้ที่ระดับล่าง 40% ของทุกประเทศในโลก

Bretton WoodsWorld Bankธนาคาร

แชร์บทความนี้ FacebookTwitterEmail

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter

27 พฤศจิกายน 2561 กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. - คณะกรรมการบริหารธนาคารโลกได้ให้การรับรองกรอบความร่วมมือระดับประเทศฉบับใหม่สำหรับประเทศไทย โดยกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์สำหรับบทบาทของกลุ่มธนาคารโลกที่จะทำงานร่วมกับประเทศไทยในช่วงปี 2562 - 2565 ซึ่งกรอบความร่วมมือนี้จะสนับสนุนการปฏิรูปของประเทศไทยให้พัฒนาเป็นเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาด้านนวัตกรรม เป็นเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีส่วนร่วมและมีความยั่งยืน

กรอบความร่วมมือระดับประเทศนี้เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือร่วมกันระหว่างองค์กรในเครือของกลุ่มธนาคารโลก อาทิ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (International Bank for Reconstruction and Development: IBRD) บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) และสถาบันประกันการลงทุนพหุภาคี (The Multilateral Investment Guarantee Agency: MIGA) กับรัฐบาลไทย ทั้งนี้ ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา ธนาคารโลกได้ให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ทั้งในด้านการศึกษา การเกษตร การสื่อสารโทรคมนาคม โครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การพัฒนาภาครัฐ และการสาธารณสุข

"ในช่วงเกือบ 70 ปีที่ผ่านมา กลุ่มธนาคารโลกได้รับเกียรติอย่างสูงในการเป็นพันธมิตรกับประเทศไทย โดยในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยถือว่าเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดระดับความยากจน" นางมารา วาร์วิคผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเท ศบรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทยกล่าว "ความร่วมมือระหว่างเรากับประเทศไทยในช่วงต่อไปนี้จะเน้นความร่วมมือทางด้านความรู้ความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะคำนึงถึงพลวัตการพัฒนาของประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง โดยประเทศไทยนั้นสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างดีในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีประเด็นท้าทายในระยะต่อไป"

กรอบความร่วมมือระดับประเทศนี้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย (2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ของประเทศไทย

กลุ่มธนาคารโลกจะให้ความสำคัญกับการให้บริการด้านคำปรึกษาและการวิเคราะห์ที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายคืนได้หรือสามารถขอรับการสนับสนุนจากกองทุนที่เกี่ยวข้อง และจะยังคงเปิดช่องทางในการให้ความช่วยเหลือด้านการจัดหาเงินทุนในอนาคตหากรัฐบาลไทยมีความต้องการ

"ความร่าวมมือระหว่างประเทศไทยและกลุ่มธนาคารโลกในระยะต่อไปจะเป็นการวางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีส่วนร่วมและมีความยั่งยืน" นางเบอร์กิท ฮานสล์ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทยกล่าว “โดยเราจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ด้วยการสร้างงานที่ดี การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้เยาชนมีความพร้อมในการทำงานในอนาคต และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคนจนและคนชายขอบจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของประเทศไทย "

บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศจะให้บริการจัดหาเงินทุนและให้คำปรึกษากับภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมต่อไป โดยสถาบันประกันการลงทุนพหุภาคีจะให้การสนับสนุนการลงทุนที่เป็นไปตามเงื่อนไขด้วยการเพิ่มความน่าเชื่อถือของตราสารและการรับทำประกันความเสี่ยงทางการเมือง

 “บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่งยั่งยืน การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการมีบทบาทของประเทศไทยในการลงทุนในต่างประเทศและการแบ่งปันความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ให้กับประเทศและภาคส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือ” นายวิครัม คูมาร์ผู้จัดการบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศประจำประเทศไทยและเมียนมาร์กล่าว “ภายใต้กรอบความร่วมมือใหม่นี้ เราจะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ ในการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มคนด้อยโอกาสในประเทศไทยในการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลและลดต้นทุนการให้บริการของภาครัฐ”

กรอบความร่วมมือระดับประเทศนี้จะเกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบเพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาในด้านการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม ความมีภูมิคุ้นกัน และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้:

  • การพัฒนาสภาพแวดล้อมของการประกอบธุรกิจด้วยการส่งเสริมการแข่งขันและใช้นวัตกรรม
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรทางการเงินและการคลัง
  • การเพิ่มคุณภาพของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในภาคการขนส่งทางราง
  • การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการทรัพยากรน้ำ
  • ส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพ
  • สนับสนุนการมีส่วนร่วมของกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความเปราะบางและความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย

ทั้งนี้ การจัดทำกรอบความร่วมมือระดับประเทศได้มีการการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วประเทศ และได้แจ้งเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการพัฒนาแล้ว

การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารโลกส่งผลดีอย่างไร

สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันด้านงบประมาณการคลังและเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน แก้ไขปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมคุณภาพการศึกษา

ธนาคารโลกมีบทบาทสําคัญอย่างไร

เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยให้สมาชิกกู้ยืมไปเพื่อบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาประเทศ ต่อมาได้ขยายขอบเขตของการบริการออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก ตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนและตาม ...

ธนาคารโลกมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในด้านใด

1. การพัฒนาสภาพแวดล้อมของการประกอบธุรกิจด้วยการส่งเสริมการแข่งขันและใช้นวัตกรรม 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรทางการเงินและการคลัง 3. การเพิ่มคุณภาพของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในภาคการขนส่งทางราง 4. การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการทรัพยากรน้ำ

ธนาคารโลกให้ความช่วยเหลือประเทศไทยครั้งแรกเพื่อพัฒนาด้านใด

หนึ่งในโครงการเงินกู้ในระยะยแรกของประเทศไทยคือ การฟื้นฟูบูรณะการรถไฟแห่งประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2493 การปรับปรุงระบบรางนอกจากจะช่วยเชื่อมต่อภูมิภาคทั้งหมดในประเทศไทยแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญด้านการขนส่งภายในประเทศและอำนวยความสะดวกเรื่องการค้าต่างประเทศ