ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

จุดประสงค์ในการแต่งเรื่องรามเกียรติ์

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
เมื่อ อังคาร, 24/11/2009 - 16:36 | แก้ไขล่าสุด อาทิตย์, 29/11/2009 - 17:32| โดย
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
aonny

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 

1. เพื่อเป็นการรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้มีความสมบูรณ์เป็นการสมโภชพระนคร และยังเป็นการประกาศพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชด้วย
2. เพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับเล่นละครใน และใช้อ่านเพื่อความบันเทิงของประชาชน
3. เพื่อเป็นคติธรรมใช้สอนประชาชนทั้งด้านความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูกตเวที และคุณธรรมต่าง ๆ

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

สร้างโดย: 

นางสาวอนุสรา สังข์จันทร์

แหล่งอ้างอิง: 

http://www.thainame.net/weblampang/712/p1.html

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
ล็อกอิน เพื่อแสดงความคิดเห็น | 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
อ่าน 49596 ครั้ง | 
ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
Tags: ภาษาไทย, ช่วงชั้น 4 (ม.4-6)

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เพื่อรวบรวมให้สมบูรณ์

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูวรรณคดีของไทยขึ้นมาใหม่ ผลงานที่พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ได้แก่ บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ดาหลัง อิเหนา อุณรุธ นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน กฎหมายตราสามดวง นิราศอิหร่านราชธรรม และการชำระพระราชพงศาวดาร (ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) )

จุดประสงค์ในการแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเกรงว่าวรรณคดีอันทรงคุณค่านี้จะหายไป เพราะรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่แทรกข้อคิดมากมาย นอกจากนี้ยังใช้บทประพันธ์เพื่อเล่นโขนอีกด้วย

ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ คือ กลอนบทละคร มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักขึ้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป เป็นต้น จำนวนคำไม่กำหนดตายตัว

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

เรื่องย่อบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก มีเนื้อหากล่าวถึงอดีตชาติของพระรามและทศกัณฐ์ โดยที่ทศกัณฐ์เคยเกิดเป็นยักษ์ชั้นต่ำหรือยักษ์ที่มีบุญน้อยชื่อ นนทก ทำหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวรอยู่ที่เขาไกรลาสแต่เพราะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดจึงถูกเหล่าเทวดากลั่นแกล้ง นนทกจึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรแล้วกราบทูลว่าตนเป็นยักษ์ที่ทำหน้าที่รับใช้มานานแต่ไม่เคยได้อะไรตอบแทนเลย พระอิศวรจึงประทานนิ้วเพชร ที่เมื่อชี้ใครไปก็จะทำให้คนนั้นตาย เมื่อนนทกได้รับพลังนั้น แทนที่จะใช้ปกป้องตัวเอง กลับเอาไปไล่ฆ่าเทวดาจนล้มตายกันจำนวนมาก พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์ไปปราบนนทก ก่อนตาย นนทกตัดพ้อว่าตนถูกเอาเปรียบเพราะพระนารายณ์มี มีถึง 4 มือแต่ตนเป็นยักษ์มีแค่ 2 มือ พระนารายณ์จึงท้าให้นนทกไปเกิดใหม่แล้วมี 20 มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือ เพื่อสู้กัน หลังจากที่พระนารายณ์พูดจบก็ตัดศีรษะนนทก ต่อมา
นนทกไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ยักษ์ที่มี 20 มือ ส่วนพระนารายณ์อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม

ผลงานของผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทกไปแล้ว น้อง ๆ คงเข้าใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดียถึงได้ถูกนำมาเป็นหนึ่งในบทเรียนวิชาภาษาไทยให้เราได้ศึกษากัน วรรณคดีอันทรงคุณค่านี้จะมีตัวบทเด่น ๆ บทไหนน่าสนใจบ้าง เราติดตามกันไปในบทต่อไปนะคะ แต่ตอนนี้ น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนและดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มกันนะคะ ได้ทั้งความรู้และความสนุกด้วยค่ะ

บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก