ทํา งาน ยืนทั้งวัน ปวดหลัง

1. หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง

เพราะการนั่งไขว่ห้างทำให้หลังและกระดูกสันหลังงอหรือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง รวมถึงทำให้สะโพกข้างหนึ่งยกขึ้น ส่งผลให้ปวดหลังได้

2. ไม่นั่งยื่นไปข้างหน้า

การนั่งยื่นคอไปด้านหน้า หรือยื่นหน้าใกล้จอคอมพิวเตอร์มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มแรงกดไปยังกระดูกสันหลังโดยไม่รู้ตัว ซึ่งแรงกดเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นถึง 4.5 กิโลกรัมต่อระยะ 1 นิ้ว ที่หน้าของคุณยื่นออกไป

3. ไม่นั่งไหล่งอ

การนั่งหลังค่อม ไหล่ห่อเป็นนานๆ นอกจากจะปวดไหล่และสะบักแล้ว อาจส่งผลไปถึงหลัง กลายเป็นความปวดไปทั่วร่างกาย

4. อย่าใช้เก้าอี้ที่ไม่มีพนัก

นอกจากจะไม่สามารถพิงหลังเพื่อผ่อนคลาย หรือขยับร่างกายเปลี่ยนท่าได้สะดวกแล้ว ยังต้องนั่งเกร็งหลังตลอดเวลา อาการปวดหลังถามหาแน่นอน

5. อย่ารับโทรศัพท์ด้วยไหล่

การยกไหล่เพื่อหนีบโทรศัพท์ ขณะที่ต้องใช้มือพิมพ์งานไปด้วยทำให้เกิดการเกร็งบริเวณไหล่และคอ ส่งผลให้กระดูกสันหลังผิดรูป หากทำเป็นเวลานานหรือบ่อยๆ อาจทำให้ปวดหลังได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าอาการปวดหลังในวัยทำงานส่วนใหญ่เกิดจากท่านั่งที่ผิด รวมถึงเก้าอี้ โต๊ะ และคอมพิวเตอร์ถูกจัดวางไม่ถูกตำแหน่ง จนส่งผลให้อาการปวดหลังกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน

ทั้งนี้หากปรับเปลี่ยนแล้วยังไม่หายปวดหลัง อาจต้องพบแพทย์เพื่อตรวจความผิดปกติอื่นๆ เช่น

  • กล้ามเนื้อหลังได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนจากการจากการยกของหนัก การตั้งครรภ์ หรือเกิดจากอุบัติเหตุ
  • กระดูกเสื่อม เนื่องจากอายุมากขึ้น โดยผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกเสื่อม ส่งผลให้ไปกดทับเส้นประสาทหลัง
  • โรคประจำตัวที่ส่งผลให้ปวดหลัง เช่น โรคกระดูก มะเร็ง ไส้เลื่อน หรือโรคข้ออักเสบ เป็นต้น

คนที่ทำงาน ที่ต้องยืนนานๆ อย่าง รปภ. การยืนขายของ หรือการยืนทำงานในโรงงานมักจะประสบปัญหาอาการปวดน่อง เท้า และหลัง เป็นประจำ รวมถึงทำให้เกิดอาการหลอดเลือดขอด จะส่งผลเสียต่อร่างกายของเราแน่ๆ

การยืนนานๆ จะส่งผลให้ร่างกายมีอาการ

  1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง และต้นขา ที่แบกรับน้ำหนักตัว ถ้าต้องทำงานที่ยืนอยู่นิ่งๆ กล้ามเนื้อน่องก็จะเกร็งตัวตลอดเวลา จะทำให้มีของเสียคั่งค้าง เกิดอาการปวดเมื่อยได้
  2. อาการปวดเมื่อยเท้า น้ำหนักตัวที่กดทับอยู่ ก็จะทำให้การไหลเวียนเลือดในกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ใต้อุ้งเท้าไม่ดี ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยคือ ฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำนั่นเอง
  3. หลอดเลือดขอด หนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดขอด คือการยืนนาน และการกดทับของหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณต้นขา พบได้บ่อยในอาชีพที่ต้องยืนทำงานนาน หญิงตั้งครรภ์ และคนอ้วน
  4. ปวดเข่าและหลัง การยืนปกติทำให้เกิดแรงกดที่หัวเข่า เพราะน้ำหนักตัวจะผ่านลงไปที่เข่า เมื่อเมื่อยล้าร่างกายจะพยายามทำการล็อกหัวเข่า ทำให้เข่าแอ่น มีแรงกดที่ผิดปกติที่หัวเข่า ทำให้ปวดบริเวณหัวเข่าได้ง่าย และการยืนในลักษณะนี้จะมีผลทำให้หลังแอ่นมากขึ้น มีผลทำให้ปวดเมื่อยหลังด้วย

วิธีป้องกันผลเสียจากการยืนนาน

  1. ยืนบนพื้นนิ่ม ซึ่งจะช่วยลดแรงกดที่เท้า
  2. ใส่รองเท้าที่มีพื้นนิ่มและหลวมเล็กน้อย
  3. ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงในการทำงาน แต่ในกรณีที่เจ็บส้นเท้า อาจใส่รองเท้าส้นสูงได้ แต่ไม่เกิน 2 นิ้ว เพื่อช่วยลดแรงกด
  4. ยืนเท้าโต๊ะสูง โดยใช้แขนหรือศอกรับน้ำหนักตัวทางด้านหน้า สลับกับการพิงผนังเป็นครั้งคราว
  5. พักการยืนบ่อยๆ หย่อนขาข้างหนึ่ง เป็นพักๆ
  6. ใช้เก้าอี้กึ่งนั่งกึ่งยืน
  7. ถ้าทำงานที่สามารถทำได้ขณะยืนและนั่ง ให้ยืนสลับนั่ง
  8. เมื่อรู้สึกเมื่อยให้เดินไปมาสัก 2-3 นาที จึงค่อยนั่งลง ยกขาให้เท้าอยู่สูงประมาณระดับเข่า
  9. เมื่อกลับถึงบ้าน ให้นอนเอาเท้ายันกำแพง ให้เท้าอยู่สูงจากพื้นประมาณครึ่งเมตร แล้วกระดกปลายเท้าขึ้น สลับกันทั้งสองข้าง ประมาณ 10 นาที รวมถึงออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ

ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิหมอช้าวบ้าน

   มารู้จักกับอาชีพที่มีผลกระทบจากการยืนนานๆ คนเราแต่ละอาชีพก็มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันไป จะยืน เดิน นั่ง มากน้อยเพียงใดก็แล้วแต่ลักษณะของงานบางอาชีพทำงานนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานทั้งวัน แต่บางอาชีพก็ต้องเดินทั้งวัน  บางอาชีพก็นั่งบ้างเดินบ้างสลับกัน  แต่มีงานหลายชนิดที่ต้องยืนทำงานอยู่กับที่ตลอดทั้งวัน โดยไม่มีหรือแทบไม่มีโอกาสได้นั่งพักเลย งานประเภทนี้ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยขาแก่ผู้ประกอบอาชีพได้มาก บางคนหลังเลิกงานจะเกิดอาการปวดทั้งที่หลังส่วนล่าง  ที่ต้นขา หรือที่เท้าเป็นประจำ  ตัวอย่างกลุ่มอาชีพที่ต้องยืนทำงานตลอดทั้งวัน โดยไม่มีหรือแทบไม่มีโอกาสได้นั่งพักเลย เช่น

1. พนักงานร้านค้าปลีก – พนักงานต้อนรับ
   “ท่ายืน” เป็นการแสดงถึงความพร้อม และเต็มใจที่จะให้บริการลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ ฉะนั้นแล้วเวลาเราไปห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ หรือโรงแรม  เราจึงมักเห็นพนักงานขาย แคชเชียร์ที่เก็บเงินตามจุดต่างๆ รวมทั้งพนักงานต้อนรับ ยืนให้บริการลูกค้ากันทั้งนั้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคนกลุ่มนี้ มักจะยืนติดต่อกันนานกว่า 6-8 ชั่วโมงโดยแทบไม่มีเวลานั่งพักเลย

ทํา งาน ยืนทั้งวัน ปวดหลัง

2. พนักงานออฟฟิศ
   พนักงานออฟฟิศทั้งหลายก็ใช่ว่าจะรอดพ้นความเสี่ยงจากโรควันหนึ่งแทบไม่ได้ยืนหรือเดินนานๆ  แต่อย่าลืมว่าเวลาส่วนใหญ่ของคุณใช้กับไปการนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานานเกือบ 8 ชั่วโมง แถมบางคนยังชอบนั่งไขว่ห้าง ก็ยิ่งทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกเกิดโรคปวดเมื่อยตามมาได้ง่ายๆ   ส่วนสาวออฟฟิศที่นิยมใส่รองเท้าส้นสูง แล้วเดินไปติดต่อเรื่องงานในแผนกต่างๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดขอดได้ไม่แพ้อาชีพอื่นเลย

ทํา งาน ยืนทั้งวัน ปวดหลัง

3. แพทย์และพยาบาล
   โดยเฉพาะศัลยแพทย์ที่ต้องใช้เวลาในการผ่าตัดเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมงต่อวัน แม้แต่แพทย์ที่ต้องนั่งตรวจคนไข้เป็นระยะเวลานานๆ โดยแทบไม่ได้ลุกเดินไปไหน หรือพยาบาลที่แทบจะต้องทำงานด้วยการยืนทั้งวัน ต่างก็มีความเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอดด้วยกันทั้งนั้น

ทํา งาน ยืนทั้งวัน ปวดหลัง

4. คนทำอาหาร
   อาชีพพ่อครัวแม่ครัวนั้น มักจะต้องยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน และยังต้องใช้งานมือกับแขนตลอดวันอีกด้วย อาจทำให้ปวดขา หลัง และไหล่ได้

ทํา งาน ยืนทั้งวัน ปวดหลัง

5. นักวิทยาศาสตร์
   นักวิจัยในห้องแลปส่วนมากจะยืนปฏิบัติงานหลายชั่วโมงติดต่อกันเพื่อทดลองสารเคมีหรืองานวิจัยด้านต่างๆ จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า สาเหตุมาจากการไหลเวียนของเลือดในกล้ามเนื้อไม่ดี

ทํา งาน ยืนทั้งวัน ปวดหลัง

6. ร้านเสริมสวย
เป็นลักษณะงานที่ต้องบริการลูกค้าในอิริยาบถด้วยท่ายืน จึงประสบปัญหาด้านสุขภาพปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง และต้นขาที่ต้องแบกรับน้ำหนักตัวทั้งหมดไว้

ทํา งาน ยืนทั้งวัน ปวดหลัง

7. พนักงานซักรีด
   เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ต้องอยู่ในอิริยาบถของท่ายืนติดต่อกันนานนับหลายชั่วโมงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย  เช่น คอ ไหล่ หลัง ขา และฝ่าเท้า

ทํา งาน ยืนทั้งวัน ปวดหลัง

หากคุณเป็นหนึ่งในอาชีพเหล่านี้ อย่าลืมดูแลกล้ามเนื้อของคุณด้วยการพักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถ หมั่นออกกำลังกาย
และใช้ผลิตภัณฑ์ แผ่นยางกันเมื่อย เพื่อไม่ให้อาการปวดเหล่านี้เข้ามารบกวนค่ะ :)

Sounce : ollicohome