อุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้นกับอวัยวะใดมากที่สุด

ดังนั้น เมื่อต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักรต่างๆ สิ่งที่สำคัญคือต้องมีอุปกรณ์เซฟตี้สำหรับคนทำงานและมีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ติดตั้งภายในที่ทำงานแบบครบครัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อคนทำงานอย่างสูงสุด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่อาจทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง พร้อมตรวจสอบเครื่องจักรที่มีอยู่ทุกเครื่องอยู่เสมอ ให้ความรู้และอบรมพนักงานทุกคน บังคับใช้กฎและระเบียบในการทำงานที่ชัดเจน เท่านี้ก็จะสามารถทำงานร่วมกับเครื่องจักรได้อย่างปลอดภัยและไม่ต้องสูญเสียทั้งชีวิตคนทำงานกับชื่อเสียงของผู้ประกอบการอีกด้วย

คนทำงานที่ได้รับอันตรายจากการทำงาน ส่วนใหญ่มักขาดความเอาใจใส่ในเรื่องของสุขภาพความปลอดภัยทั้งในส่วนตัวคนงานเอง และสถานประกอบการที่ไม่มีนโยบายเรื่องสุขภาพความปลอดภัย รวมถึงการขาดประสิทธิภาพในการตรวจสอบให้ความรู้ บังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ และปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยโดยเคร่งครัด แล้วเราจะปลอดภัยจากอันตรายหรืออุบัติเหตุต่างๆ

อุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้นกับอวัยวะใดมากที่สุด

สาเหตุโดยทั่วไปของอุบัติเหตุ อาจแบ่งได้ดังนี้

1.ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

มักเกิดกับบุคคลที่เข้าทำงานใหม่ๆ หรือเข้าทำงานกับเครื่องมือ เครื่องจักรใหม่ โดยที่ไม่ได้รับคำอธิบายถึงการปฏิบัติและการทำงานของเครื่องมือเครื่องจักรโดยละเอียด จึงมักจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยๆ

  • การสอนเกี่ยวกับความปลอดภัยยังไม่ดีพอ
  • กฎความปลอดภัยไม่มีผลบังคับใช้
  • ไม่ได้วางแผนงานความปลอดภัยไว้เป็นส่วนหนึ่งของงาน
  • จุดอันตรายต่าง ๆ ไม่ได้ทำการแก้ไข
  • อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่ได้จัดให้
  • ขาดความรู้หรือไม่ได้ตระหนักในเรื่องความปลอดภัย

2. ความประมาท

  • เกิดจากมีความเชื่อมั่นมากเกินไปเนื่องจากทำงานมานาน
  • การละเลยไม่เอาใจใส่หรือมีทัศนคติผิด ๆในเรื่องความปลอดภัย
  • เครื่องป้องกันอันตรายหรือเครื่องกั้นจัดไว้ให้ แต่ไม่ใช้หรือถอดออก
  • ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ถูกต้องกับลักษณะของงานที่ทำ ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือที่ถูกต้องให้เลือกใช้ได้เหมาะสมก็ตาม
  • ยกของด้วยวิธีผิด ๆ จนน่าจะเกิดอันตราย
  • อิริยาบทในการเคลื่อนไหวน่าจะเกิดอันตราย เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การก้าว การปีนป่าย
  • การหยอกล้อ หรือล้อเล่นในระหว่างการทำงาน

3. สภาพร่างกายของบุคคล

  • อ่อนเพลีย เนื่องจากไม่สบายเป็นไข้แล้วเข้าทำงานหนัก
  • หูหนวก
  • สายตาไม่ดี
  • โรคหัวใจ
  • สภาพร่างกายไม่เหมาะกับงาน

4. สภาพจิตใจของบุคคล

  • ขาดความความตั้งใจในการทำงาน
  • ขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ในขณะทำงาน
  • ตื่นเต้นง่าย ขวัญอ่อน ตกใจง่าย

5. อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร มีข้อบกพร่องอาจเนื่องจากสาเหตุ เช่น

  • ใช้เครื่องมือไม่ถูกขนาด
  • ใช้เครื่องมือที่สึกหรอชำรุด ทื่อ หรือหัก
  • ใช้เครื่องมือที่ปราศจากด้ามหรือที่จับที่เหมาะสม
  • ไม่ใช้เครื่องป้องกันอันตราย
  • จับตั้งงานไม่ได้ขนาด และไม่มั่นคง
  • ละเลยต่อการบำรุงรักษา เช่น น้ำมันหล่อลื่นไม่เพียงพอ

6. สภาพของบริเวณปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น

  • แสงสว่างไม่เพียงพอ
  • เสียงดังมากเกินไป
  • การระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม
  • ความสกปรก
  • บริเวณที่คับแคบ
  • มีสารเคมี และเชื้อเพลิง
  • พื้นที่ลื่น เนื่องจากคราบน้ำมัน
  • หลุมและสิ่งกีดขวางทางเดิน
  • การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ

หลักความปลอดภัยในการทำงานโดยทั่วไป

อุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้นกับอวัยวะใดมากที่สุด
เรื่องสุขภาพความปลอดภัยไม่ใช่เรื่องของใคร คนใดคนหนึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือสถานประกอบการและลูกจ้าง ต้องตระหนักและให้ความสำคัญต่อเรื่องสุขภาพความปลอดภัย ปฎิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย วางนโยบายเรื่องนี้อย่างจริงจังเคร่งครัด และร่วมมือกับผู้ปฎิบัติงานช่วยกัน ดูแลตรวจสอบอย่างจริงจังและต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้

  • จะต้องยอมรับ และปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานโดยเคร่งครัด
  • ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกกับงาน
  • แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงงาน และใช้เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงานที่กำหนดให้ใช้เครื่องป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
  • เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เมื่อนำไปใช้งานต้องเก็บไว้ให้ถูกจุดทุกครั้ง
  • รักษาความสะอาดทางเดินในโรงงาน และติดป้ายแสดงให้ชัดเจนที่บริเวณปฏิบัติงานที่มีอันตราย
  • รู้จักตำแหน่ง หรือที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงตลอดจนวิธีการใช้
  • ปฏิบัติตามคำเตือนหรือเครื่องหมายแสดงอันตรายใดๆ ภายในโรงงาน
  • อย่าวิ่งหรือหยอกล้อกันในโรงงาน
  • ในกรณีเกิดอุบัติเหตุให้รีบช่วยเหลือทันที

เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือหลายๆ ส่วนรวมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นๆ ไม่ให้ต้องประสบกับอันตราย คือ เป็นการป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน