ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์
มีผู้ประกอบการหลายราย สนใจที่จะลองผลิตเครื่องดื่มประเภท RTD หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม (Ready to drink) เพราะเห็นตัวอย่างสินค้ามากมายที่มีลักษณะคล้ายนำสุรากลั่นมาผสมกับน้ำเชื่อมแต่งสีกลิ่นรส อัดก๊าซ ทำให้มีสีสวยเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภควัยรุ่น โดยคิดว่าน่าจะผลิตง่าย จำหน่ายคล่อง กำไรดี แต่ในความเป็นจริง เครื่องดื่มเหล่านี้มิได้ทำจากสุรากลั่นตามที่ภาพลักษณ์ภายนอกบ่งบอกแต่ประการใด

ไม่ได้กล่าวหาว่าใครตั้งใจหลอกลวงผู้บริโภค แต่เป็นเพราะผู้บริโภคไม่ใส่ใจอ่านฉลากให้ดีๆ สินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกอย่าง ถูกควบคุมรายละเอียดในฉลากจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะกรมสรรพสามิต ผู้มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับสุรา ดังนั้นหากเราอ่านฉลากให้ละเอียดก็จะพบความจริงที่ภาพลักษณ์ด้านหน้าของสินค้าอาจจะทำให้เราคิดไปเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่ง

ในบทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตเครื่องดื่มกลุ่มพร้อมดื่ม (Ready to Drink หรือ RTD) ซึ่งบางครั้งเรียกว่าไวน์คูลเลอร์ ซึ่งไม่ใช่ไวน์ เพราะตามความหมายสากล ไวน์คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หมักจากน้ำองุ่น เครื่องดื่มกลุ่มนี้บางครั้งก็เรียกว่าค๊อกเทลที่บรรจุขวดพร้อมดื่ม (ต่างจากค๊อกเทลที่บาร์เทนเดอร์ผสมให้ดื่มสดๆ) เพื่อให้ผู้ประกอบการที่สนใจได้รับทราบว่า RTD มิใช่จะผลิตได้ง่ายๆ

เครื่องดื่ม RTD ที่ผลิตในประเทศไทย ผลิตตามกฎหมายที่ชื่อ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องวิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. 2543 ส่วนที่ 2 ข้อ 7 ของประกาศ ความว่า

การทำและขายส่งสุราแช่ชนิดเบียร์และชนิดสุราผลไม้
7.1 การขออนุญาตทำและขายส่งสุราแช่ชนิดเบียร์
7.2 การขออนุญาตทำและขายส่งสุราแช่ชนิดสุราผลไม้

จะเห็นว่านอกจากสุรากลั่นและเบียร์แล้ว ผู้ที่จะผลิตเครื่องดื่ม RTD ที่มักมีแอลกอฮอล์ 5 % จะต้องตกอยู่ในประเภทสุราแช่ชนิดสุราผลไม้ ตามข้อ 7.2 แห่งประกาศนี้

และตามนิยามของกรมสรรพสามิต สุราแช่ชนิดสุราผลไม้ ต้องผลิตด้วยวิธีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง วิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 3) ข้อ 8

ข้อ 8 สุราแช่และผลิตภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์นี้ จะต้องทำขึ้นโดยวิธีการดังต่อไปนี้
8.1 นำวัตถุดิบซึ่งเป็นผลไม้ หรือน้ำผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรใด ๆ ไปหมักกับเชื้อสุราให้มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี
8.2 กรณีนำสุราแช่ที่ได้ตาม 8.1 ไปผสมกับสุรากลั่นแล้วมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี

นั่นคือหากจะผลิตเครื่องดื่ม RTD ในประเทศไทย จำเป็นต้องมีการนำน้ำผลไม้ หรือน้ำหวานจากผลผลิตทางการเกษตรอย่างอื่น มาหมักด้วยยีสต์ให้มีแอลกอฮอล์ และตามหลักวิชาการของการหมักนั้น แอลกอฮอล์ 5 % สามารถได้มาง่ายๆ โดยหมักน้ำผลไม้ต่างๆ โดยไม่ต้องเติมน้ำตาล

หรือเราอาจจะหมักน้ำผลไม้ให้ได้แอลกอฮอล์เกิน 5 % แล้วนำมาผสมกับน้ำหวาน อัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่งสี แต่งกลิ่น ก็สามารถปรับแอลกอฮอล์ลงมาเหลือ 5 % พร้อมรสหวาน สีสวย กลิ่นหอม พร้อมจะเป็น RTD ได้ แต่หากจะบรรจุขวดจำหน่ายก็ต้องฆ่าเชื้อด้วยการพาสเจอไรส์ให้มีอายุการเก็บพอที่จะถึงมือผู้บริโภคไม่เกิดบูดเสียไปก่อน

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

1. สปาย (Spy Wine Cooler)

เป็นตัวอย่างสินค้าสุดคลาสสิคของเครื่องดื่มตระกูลนี้ในประเทศไทย ของบริษัทสยามไวเนอรี่ ในเครือกระทิงแดง

ผลิตภัณฑ์สปาย ผลิตจากองุ่นพันธุ์ป๊อกดำ และไวท์มะละกา ที่ปลูกแถบสมุทรสาคร นำมาหมักแอลกอฮอล์ ผสมน้ำเชื่อมและแต่งสีกลิ่น จากนั้นกำจัดจุลินทรีย์ไม่พึงประสงค์ด้วยการกรองระดับ Microfiltration คือการกรองจุลินทรีย์ออกโดยไม่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ทำให้เครื่องดื่มไม่มีกลิ่นรสของการถูกความร้อน

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์

ปัจจุบันสปายได้แตกแขนงออกเป็นอีกหลายรสชาติ เป็นสินค้าสร้างรายได้มหาศาลแก่บริษัทดังกล่าว

2. บาคาร์ดี้บรีสเซอร์ (Bacardi Breezer)

เป็น RTD ที่ใช้ยี่ห้อ Bacardi เหล้ารัมชื่อก้องโลก ดังนั้น ผู้บริโภคย่อมเข้าใจว่า นี่เป็นเหล้ารัมที่นำมาผสมเป็นค๊อกเทลให้เราดื่มได้สะดวกโดยไม่ต้องนำเหล้ารัมมาผสมเอง แต่บาคาร์ดี้บรีสเซอร์ ที่จำหน่ายในประเทศไทยนั้น ผลิตที่ บ. ยูไนเต็ด ไทย ดิสทิลเลอร์ จำกัด นครชัยศรี และไม่มีที่ใดบนฉลากระบุว่าทำจากเหล้ารัม!! ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าใช้วิธีเดียวกับสปายคูลเลอร์ คือใช้น้ำผลไม้หมักผสมกับสีกลิ่นรส

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์
http://www.stockmediators.com/

ทั้งนี้เครื่องหมายการค้า Bacardi ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าอื่นๆ เช่น สิงห์ หรือช้าง ที่สามารถมีสินค้าหลายชนิด เช่นสิงห์และช้างต่างก็มีโซดาที่ใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกับเบียร์ของตน ดังนั้นจึงหาใช่ว่า Bacardi จะต้องเป็นเหล้ารัมแต่เพียงอย่างเดียวไม่

สำหรับส่วนผสมที่ระบุบนฉลาก ได้แก่ น้ำตาล น้ำโซดา กรดที่ใช้ในอาหาร และกลิ่นรส โดยมีข้อความระบุประเภทของสุราที่ขออนุญาตคือ สุราแช่ผลไม้ ปรุงแต่งกลิ่นรส (Flavored Fruit Wine) ดังภาพข้างล่าง

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์

3. สเมอร์นอฟไอซ์ (Smirnoff Ice)

เช่นเดียวกันกับบรีสเซอร์ ผลิตภัณฑ์นี้เป็นของ บ. ดิอาจิโอ โมเอ เฮนเนสซี่ ที่ใช้ชื่อของเหล้าว้อดก้าขายดีอันดับหนึ่งของโลก ก็มิได้มีที่ใดบนฉลากที่ระบุว่ามีส่วนผสมของว้อดก้าแม้แต่น้อย

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์

ถ้าไปค้นในเว็บพันธ์ทิพย์ หรือ google จะพบคำถามว่า Smirnoff Ice มีส่วนผสมของว้อดก้าไหม และมักมี “ผู้ (ที่คิดว่า) รู้” มาตอบว่ามีว้อดก้า

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์

4. สเมอร์นอฟมิดไนท์ 100 (Smirnoff Midnight 100)

เปิดตัวในประเทศไทยได้ไม่นาน มาในรูปกระป๋องขนาดเหมาะมือ ปริมาตร 250 มล. จุดเด่นคือมีความแรงแอลกอฮอล์สูงกว่าเครื่องดื่มในกลุ่มนี้โดยทั่วไปที่ 7 % ผลิตที่ ไทยสปิริต อินดัสตรี ฉะเชิงเทรา ซึ่งรับผลิตสเมอร์นอฟไอซ์ด้วย นั่นคือบริษัทดิอาจิโอจะผลิตอะไรก็ต้องโรงงานนี้แหละ ส่วนผสมได้แก่ น้ำโซดา น้ำตาล กรดที่ใช้ในอาหาร และกลิ่นรส แต่ที่ฉลากระบุว่าเป็นไวน์ผลไม้ (Fruit Wine) ก็ไม่ทราบว่ามีความเป็น Fruit ตรงไหน ฉลากไม่ได้บอกว่าใช้ผลไม้ทำ

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์

5. ฟูลมูน (Full  Moon)

ผลิตภัณฑ์นี้วางตำแหน่งการตลาดเป็นไวน์ ทำตลาดผ่านร้านอาหารและผับให้เป็นเครื่องดื่มของสาวๆ พนักงานต้อนรับในร้าน และขยายสู่ตลาดวัยรุ่นอย่างรวดเร็ว ผลิตที่ ไทยสปิริต อินดัสตรี ฉะเชิงเทรา และบริษัทนี้ยังได้รับผลิต OEM ให้กับ Smirnoff Ice ด้วย แค่นี้ก็ทำให้มองภาพออกแล้วว่าไลน์เครื่องจักรการผลิตต้องเหมือนกัน

6. Click

สินค้าจากเครือบ้านลุงทอม ผู้ผลิตที่ก้าวขึ้นมาจากสุราชุมชน ผู้ที่เชื่อในศักยภาพข้าวไทยโดยเริ่มจากทำสาโทมาก่อน และต้องการทำเครื่องดื่ม RTD ที่มีฐานจากการหมักข้าว

ไวน์ แอลกอฮอล์ กี่เปอร์เซ็นต์

การผลิตเครื่องดื่ม RTD

  1. การหมักน้ำผลไม้ ขั้นตอนนี้คงไม่ต้องอธิบายรายละเอียด ในเว็บสุราไทยมีบทความมากมายที่เกี่ยวข้อง
  2. การผสม นำสุราแช่มาผสมกับน้ำเชื่อมฟรุคโตส เพื่อลดความแรงแอลกอฮอล์และเพิ่มรสหวาน แต่งสี กลิ่น ปรับรสเปรี้ยวด้วยกรดซิตริค
  3. กรองใส
  4. บรรจุพร้อมอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขั้นนี้ต้องใช้เครื่องมืออัตโนมัติ ที่จะอัดก๊าซลงในขวดพร้อมปิดฝา
  5. พาสเจอไรส์ ถ้าใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ เมื่อบรรจุขวดแล้ว นำไปผ่านอุโมงค์น้ำร้อน 64 องศา 30 นาที แต่หากใช้วิธีกรองจุลินทรีย์ ก็จะกำจัดจุลินทรีย์ด้วยการกรองก่อน แล้วจึงนำไปบรรจุในสภาวะปลอดเชื้อโดยเครื่องบรรจุอัตโนมัติในระบบปิด

จะเห็นได้ว่ากระบวนการผลิต RTD จะต้องใช้เครื่องจักรระดับโรงงานอุตสาหกรรม และใช้การลงทุนไม่น้อย จึงไม่เหมาะกับผู้ผลิตระดับ SME แต่หากฝืนผลิตโดยใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม ก็อาจเกิดปัญหาสุราขุ่น เกิดฟอง รสเปรี้ยว มีตะกอน มีการหมักซ้ำในขวด ขวดระเบิด และปัญหาอื่นๆ

ทางเลือก

มีผลิตภัณฑ์ว้อดก้าผสมในรูปแบบ RTD และ ว้อดก้าแต่งรสชาติของ Smirnoff ที่ใช้สุรากลั่นมาผสมกับกลิ่นรส ซึ่งตามกฎหมายไทยผู้ผลิตสุราแช่ไม่สามารถทำได้ จึงใช้วิธีนำเข้าจากเวียดนาม ถ้านำสุราเข้ามาจากต่างประเทศ เราจะผลิตอย่างไรก็ได้ ไม่ติดข้อกฎหมายของไทย