ตรวจเลือด ธรรมดา จะเจอ เอดส์ ไหม

เอชไอวี/เอดส์: คนรุ่นใหม่ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีเผยอุปสรรคในชีวิตการทำงานของ "คนเลือดบวก"

  • สมิตานัน หยงสตาร์ ผู้สื่อข่าวพิเศษบีบีซีไทย
  • และ ชัยยศ ยงค์เจริญชัย ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย

3 ธันวาคม 2020

ตรวจเลือด ธรรมดา จะเจอ เอดส์ ไหม

ที่มาของภาพ, Getty Images

ท่ามกลางกระแสการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของเยาวชนคนรุ่นใหม่กลุ่มต่าง ๆ ตั้งแต่เด็กนักเรียน กลุ่ม LGBTQ ไปจนถึงเหยื่อการคุกคามทางเพศ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในปีนี้ ยังมีคนรุ่นใหม่อีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของเขาและเธออยู่อย่างเงียบ ๆ

"ฟ้า" "วินนิ่ง" และ "ไวท์" เป็นนามสมมติของคนหนุ่มสาววัย 20 ต้น ๆ ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมาตั้งแต่กำเนิด โดยได้รับเชื้อมาจากพ่อหรือแม่ ทั้งสามคนปรากฏตัวในกิจกรรมที่จัดขึ้นเนื่องในวันเอดส์โลกเมื่อ วันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อร่วมผลักดันให้ยุติการตรวจเลือดในขั้นตอนการรับเข้าทำงาน

คนรุ่นใหม่ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีเหล่านี้ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเองให้บีบีซีไทยฟังว่า นอกจากต้องต่อสู้เรื่องการเรียนและการทำงานเหมือนคนรุ่นเดียวกันแล้ว เขาและเธอยังต้องดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างดี มีวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัส พบแพทย์ตามนัดและตรวจเลือดเป็นประจำด้วย

แม้ทั้งหมดนี้จะยาก แต่ก็ยังไม่ยากเท่ากับการถูกตีตรา หรือต้องอยู่ด้วยความกังวลว่าผลเลือดที่เป็นบวกจะส่งผลให้ไม่ได้รับเข้าทำงาน หรือถูกรังเกียจจากเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้าง

เรื่องของ "ฟ้า-วินนิ่ง-ไวท์"

"ฟ้า" เป็นสาวเชียงใหม่ วัย 23 ปีที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีมาแต่กำเนิด อยู่ในสถานะคนตกงานมากว่า 10 เดือนแล้ว หลังจากที่เธอลาออกจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งซึ่งกำหนดให้พนักงานเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อทำประกันสุขภาพ

ฟ้าเล่าว่าหลังจากเรียนจบปริญญาตรี เธอได้ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยตัวแทนจำหน่ายประกันสุขภาพ และได้รับความไว้ใจจากหัวหน้าเป็นอย่างดีแล้วมีความก้าวหน้าในการทำงานตามลำดับจนสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนขายประกันได้

ต่อมาบริษัทมีนโยบายให้พนักงานทำประกันสุขภาพกับทางบริษัท ซึ่งเงื่อนไขการทำประกันระบุไว้ชัดเจนว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่สามารถทำประกันได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ฟ้าไม่เคยบอกเพื่อนร่วมงานหรือแม้แต่เพื่อนสนิทว่าเธอเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี

  • เอดส์ : ชาย “หาย” ติดเชื้อเอชไอวีเป็นรายที่ 2 ของโลกด้วยวิธีปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของแพทย์อังกฤษ
  • เอดส์: 8 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี
  • วันเอดส์โลก: 6 ปี ของความพยายามในการใช้ "ยาเพร็ป" กับสถานการณ์เอชไอวีในไทย
  • ทำไมเกย์บางคนมีเซ็กส์แบบไม่ป้องกันโดยไม่กลัวติด HIV

ฟ้าตัดสินใจยื่นใบลาออก โดยอ้างว่าต้องการไปหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ทั้งที่เธอพอใจกับงาน เงินเดือนและสวัสดิการที่นี่ซึ่งถือว่าดีมากสำหรับเด็กจบใหม่

"หนูไม่เคยเปิดเผยผลเลือดที่ไหน" เธอบอกกับบีบีซีไทย ก่อนจะขยายความว่าเธอไม่กล้าเสี่ยงจะบอกเรื่องนี้กับใคร เพราะไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างหากคนอื่นรู้ว่าเธอมีเลือดบวก

"ลึก ๆ แล้วยังกลัว ยังไม่อยากหางานประจำใหม่ สมัยเรียนเราเป็นคนทำกิจกรรม เป็นกรรมการนักเรียน มั่นใจมาก ๆ ว่าเรียนจบมาฉันต้องเลี้ยงดูตัวเองได้แน่ ๆ แต่ตอนนี้รู้สึกว่าเราไม่เก่งอย่างที่เราคิดไว้"

แม่ของฟ้าเป็นผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตไปแล้ว ยายเล่าว่าตอนเด็ก ๆ ฟ้าเคยตรวจเลือดครั้งหนึ่งแต่ผลเป็นลบและสุขภาพแข็งแรงดีจึงไม่เคยตรวจอีกเลย จนกระทั่งอายุ 10 ขวบมีเหตุให้ต้องตรวจเลือด จึงพบว่าเธอมีเชื้อเอชไอวี

หลังจากนั้นชีวิตของเธอเปลี่ยนไปทันที สมาชิกในครอบครัวจัดชุดอาหารแยกออกมาให้โดยเฉพาะ ญาติพี่น้องที่เคยเล่นด้วยกันก็หลีกห่าง เธอยอมรับว่ารู้สึกอึดอัดมาก เมื่อเรียนจบและเข้าสู่ชีวิตการทำงาน ครอบครัวก็พร่ำบอกเธอว่าอย่ามีครอบครัว

"เขาจะพูดตลอดว่าอย่าแต่งงาน อย่ามีลูกนะ จนเรารู้สึกว่าเราไม่ปกติ"

ที่มาของภาพ, Rachaphon Riansiri/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

เครือข่ายเยาวชนที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเยาวชนที่ได้รับเชื้อเอชไอวีจากพ่อหรือแม่มาตั้งแต่กำเนิด

"วินนิ่ง" หนุ่มกรุงเทพฯ วัย 23 ปี ถูกส่งไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์ตอนอายุ 8 ขวบ หลังจากพ่อแม่ของเขาที่ป่วยเป็นโรคเอดส์เสียชีวิตลง เขาไม่เคยบอกใคร ๆ แม้แต่เพื่อนสนิทว่ามีเชื้อเอชไอวี ทุกครั้งที่กินยาต้านไวรัส ไปหาหมอหรือตรวจเลือดเขาทำอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ มาตลอดชีวิต

"รู้สึกว่าเราต้องปิดบังเรื่องนี้กับเพื่อนและคนใกล้ตัว ไม่สามารถให้รู้ได้" วินนิ่งระบาย แต่ก็มีบางครั้งที่เขาไม่คิดว่าการบอกหรือไม่บอกใครจะเป็นเรื่องสำคัญ "เพราะมัน (เอชไอวี) ก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา"

พอเข้าสู่วัยทำงาน แม้จะโชคดีที่ได้เข้าทำงานในตำแหน่งช่างยนต์โดยที่ไม่ถูกนายจ้างขอให้แสดงผลการตรวจเลือด แต่การเป็นผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีก็ส่งผลต่อการทำงานอยู่ไม่น้อย จนทำให้เขาตัดสินใจลาออก

"ไม่มีปัญหาในการทำงาน แต่คนอื่นเขาทำงานแทบจะไม่หยุดกันเลย ส่วนเราต้องลาหยุดไป รพ. ทุก 3 เดือน ไปเจาะเลือดทุก 6 เดือน รวมกับลาป่วย บริษัทก็มองว่าเราหยุดบ่อย" วินนิ่งเล่าถึงปัญหาในการทำงาน

"ไวท์" สาวกรุงเทพ ฯ วัย 20 ปี กำลังจะจบการศึกษาระดับ ปวช. ในอีกไม่ถึง 1 ปี แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถวางแผนอนาคตได้ ส่วนหนึ่งเพราะความเป็นผู้มีเชื้อเอชไอวี

เธอเล่าว่า การใช้ชีวิตของเธอไม่ได้ต่างกับวัยรุ่นคนอื่น ที่ต้องกดดันกับการวางแผนอนาคต แต่ที่มากไปกว่านั้นคือการที่เธอกังวลว่าการเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อจะมีผลกระทบกับชีวิตการทำงานหรือไม่อย่างไร

"ก่อนหน้านี้หนูทำพาร์ทไทม์ที่ร้านอาหาร เขาก็ไม่ได้ตรวจเลือดหรือถามอะไรก่อน แต่ไม่รู้ว่าต่อไปถ้าทำงานประจำจะต้องเจอแบบที่คนอื่นเจอไหม"

ไวท์บอกว่าผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีหลายคนเคยถูกกีดกันไม่ให้ทำงานในกิจการที่เกี่ยวกับอาหาร แม้ทางการแพทย์จะยืนยันว่าการติดเชื้อจากพนักงานที่มีเอชไอวีมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก

เลือกปฏิบัติ--พบทั้งในภาครัฐและเอกชน

สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์กล่าวในการเสวนาเรื่องการยุติการเลือกปฏิบัติบังคับตรวจเอชไอวีก่อนเข้าทำงาน" ที่จัด โดยเครือข่ายเยาวชนที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทยและมูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ว่าแม้จะมีการเรียกร้องในเรื่องนี้มานาน แต่ปัจจุบันก็ยังมีการเลือกปฏิบัติอยู่ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน

สุภัทราให้ข้อมูลว่าในอดีตเคยมีระเบียบว่าด้วยคุณสมบัติของคนที่จะเข้ามารับราชการว่าบุคคลนั้นต้องไม่เป็นโรคเอดส์ แต่ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้ยกเลิกระเบียบนี้ไปเมื่อปี 2550 หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติห้ามไม่ให้ใช้ผลเลือดในการกีดกันโอกาสในการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งหรือการศึกษา

อย่างไรก็ตามสุภัทรากล่าวว่า ยังมีระเบียบของข้าราชการตำรวจและทหารที่ออกมาในปี 2547 ที่ระบุว่าบุคคลที่เป็นโรคเอดส์ไม่สามารถเข้ารับราชการทหารและตำรวจได้ และเมื่อไม่นานมานี้ในประกาศรับสมัครนายสิบตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังระบุเพิ่มเติมว่าบุคคลนั้นต้องไม่เป็นทั้งโรคเอดส์และเอชไอวี

ที่มาของภาพ, Getty Images

"ทางมูลนิธิฯ ได้นำเรื่องนี้ไปร้องเรียนกรรมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งมีมติออกมาแล้วว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อ นี่เป็นตัวอย่างว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เจอเฉพาะในภาคเอกชน ในภาครัฐบาลเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วต้องเป็นแบบอย่าง"

เธอกล่าวว่าปัญหาเรื่องการปฏิเสธผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีเข้าทำงานเจอเยอะที่สุดก็คือธุรกิจที่ดำเนินกิจการด้านอาหาร

ณ ปัจจุบันมีคนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีและยังมีชีวิตอยู่ 470,000 คน และมีอยู่ประมาณ 86% ที่ได้รับยาต้านไวรัส และสุขภาพแข็งแรงดี รัฐบาลได้ลงทุนไปกับการซื้อยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ที่ปีละ 3,000 ล้านบาท

"การลงทุนตรงนี้จะสูญเปล่าเลยถ้าผู้ติดเชื้อไม่สามารถกลับไปดำเนินชีวิตเหมือนคนไม่ติดเชื้อได้" สุภัทรากล่าว

"เรายังมีชุดความเชื่อเก่าเรื่องเอดส์ เช่นเอดส์เป็นแล้วตาย รักษาไม่หาย ป่วยง่าย ตายไว แต่ชุดความรู้ใหม่บอกเราว่าเอดส์รักษาได้ เราอยู่ร่วมกับมันได้ เป็นโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ ไม่ป่วย ไม่ตาย และอายุไขเท่าคนทั่วไป ยาต้านไวรัสมีความสามารถที่จะกดเชื้อให้อยู่ในระดับที่ตรวจหาไม่เจอและผู้ที่มีเชื้อไม่สามารถกระจายเชื้อไปให้คนอื่นได้แล้ว"

ด้าน นพ.ธนัตถ์ ชินบัญชร จากสถาบันการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวีกล่าวว่าสังคมไม่ควรเหมารวมว่าผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีทุกคนจะแพร่เชื้อได้ เพราะคนที่รับประทานยาต้านไวรัสในระดับที่ดีจนไม่สามารถหาเชื้อเจอได้แล้ว โอกาสแพร่เชื้อมีต่ำมาก

เขาพูดถึงการกีดกันผู้ติดเชื้อไม่ให้ทำงานในกิจการที่เกี่ยวกับอาหารว่า ถ้ามีเลือดปนในอาหารจริง ๆ อาหารนั้นก็ควรจะต้องทิ้งไป ไม่ว่าเลือดที่ปนเปื้อนนั้นจะเป็นเลือดของผู้มีเชื้อเอชไอวีหรือไม่

"เพราะฉะนั้นก็ไม่มีข้ออ้างใดเลยว่าทำไมผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีถึงทำงานในธุรกิจอาหารไม่ได้" นพ.ธนัตถ์อธิบาย

อยู่ที่ความเข้าใจของนายจ้าง

จุฬารัตน์ อินตะเทพ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์สวัสดิการรางงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานกล่าวในงานเสวนาเดียวกันว่าทางกระทรวงแรงงานดูแลและให้ความช่วยและดูแลลูกจ้างที่ติดเชื้อมาตั้งแต่ปี 2548 โดยออกแนวปฏิบัติว่าด้วยการป้องกันและจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งมีเรื่องของการคุ้มครองสิทธิ์และการอยู่ร่วมกันในสังคม

อย่างไรก็ตามเธอให้ความคิดเห็นส่วนตัวว่าการจะออกกฎหมายมาควบคุมและกำกับดูแลเรื่องนี้เป็นการเฉพาะยังเป็นเรื่องยาก แต่หากลูกจ้างพบปัญหาก็สามารถร้องเรียนได้

"ถ้าหากว่าทางลูกจ้างหรือผู้สมัครงานถูกกีดกัน หรือถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการรับสมัครงาน และถ้าหากลูกจ้างถูกนายจ้างขอให้พ้นสภาพพนักงานด้วยเหตุจากเอชไอวีก็สามารถเรียกร้องสิทธิ์ผ่านกระทรวงแรงงานได้"

เธออธิบายเพิ่มเติมว่ากระทรวงแรงงานมองเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาแรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี พ.ศ.2555 ได้ทำการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งระบุชัดว่าการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานจะต้องไม่มีการตรวจหาเชื้อเอชไอวี และต้องไม่เอามาเป็นเงื่อนไขในการเลิกจ้าง

ที่มาของภาพ, Rachaphon Riansiri/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

เวทีเสวนาเนื่องในวันเอดส์โลกเมื่อ 1 ธ.ค. 2563 ตัวแทนเยาวชนเรียกร้องให้มีกฎหมายบังคับห้ามตรวจเลือดหาเอชไอวีก่อนเข้าทำงาน

"สิ่งสำคัญคือความรู้และความเข้าใจของตัวนายจ้างและลูกจ้าง จากที่ทางกระทรวงแรงงานออกแนวปฏิบัติไปให้แล้วแต่ก็ยังพบว่าปัญหาเหล่านี้ยังมีอยู่โดยเฉพาะในสถานประกอบการขนาดเล็กที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ" จุฬารัตน์กล่าว

"สิ่งที่สำคัญกว่าการบังคับใช้เรื่องกฎหมายก็คือการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ลูกจ้างและนายจ้าง โดยทุกคนต้องสร้างการมีส่วนร่วมด้วยกัน การป้องกันคือส่งเสริมความรับรู้และความเข้าใจร่วมกันซึ่งกันและกัน โดยอาจจะเชิญองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้กับนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ"

แค่ "นโยบาย" ไม่เพียงพอ

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงนามในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การป้องกันและการบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการเพื่อดูแลแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพอย่างทั่วถึง เสมอภาคเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่าประกาศกระทรวงแรงงานฉบับดังกล่าว ได้กำหนดสาระสำคัญไว้ 3 ประการคือ

1. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการคุ้มครองและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานประกอบกิจการอย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่การรับสมัครงาน สนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน รวมถึงการรักษาความลับส่วนบุคคล

2. ให้นายจ้างดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ การสร้างความรู้ที่ถูกต้อง การส่งเสริมการตรวจเลือด และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันให้ลูกจ้างเข้าถึงได้ง่ายและเพียงพอ

3. กำหนดให้นายจ้างช่วยเหลือดูแลผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยให้ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานกองทุนประกันสังคม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์มองว่าประกาศกระทรวงฉบับนี้เป็นเพียง "มาตรการเชิงนโยบาย" ที่ให้ผู้ประกอบการต้องไม่ตรวจหาเอดส์ ซึ่งเธอคิดว่าไม่เพียงพอ

"คนติดเอดส์ในประเทศไทยรายแรกพบตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 แต่มาถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 40 ปี แต่เรายังไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมายให้คนกลุ่มนี้เลย" สุภัทรากล่าวและยืนยันว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายที่ระบุถึงการห้ามกีดกันการเข้าทำงานด้วยเหตุทางสุขภาพ เพื่อปกป้องสิทธิและป้องกันการตีตราผู้ติดเชื้อ

การตรวจสุขภาพประจำปีตรวจเอดส์ไหม

โดยปกติจะไม่บังคับเรื่อง การตรวจเอชไอวี เนื่องจากเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งแล้วแต่คนไข้ค่ะ ว่าจะยอมหรือไม่ยอม เป็นสิทธิ์ของเรา หรือหากบริษัทมีการตรวจสุขภาพประจำปี ก็จะมีบอกว่าตรวจอะไรบ้าง ตรวจหาอะไร แต่ส่วนใหญ่ไม่ตรวจให้ จะเป็นการตรวจสุขภาพทั่วๆ ไปมากกว่า เพราะ ถ้าตรวจเลือดหา hiv ต้องใช้น้ำยาโดยเฉพาะค่ะ และหากจะมี ...

เจาะเลือดจะเห็นโรคเอดส์เลยไหม

วิธีการตรวจเอดส์ที่นิยมมากที่สุด คือ การตรวจเลือด หากผลเลือดเป็นบวก แปลว่ามีเชื้อ เอดส์หากผลเลือดเป็นลบ แปลว่าตรวจไม่พบเชื้อเอดส์

การตรวจเลือดหาโรคอะไรได้บ้าง

ตรวจเลือด ตรวจอะไรได้บ้าง?.
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ความเข้มข้นของเลือด หรือภาวะผิดปกติอย่างโลหิตจาง.
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน.

ตรวจเอดส์ได้ตอนไหน

การตรวจในปัจจุบัน สามารถตรวจพบการติดเชื้อได้เร็วที่สุดที่ระยะเวลา 2 สัปดาห์หลังการรับเชื้อ อย่างไรก็ตามการตรวจโดยวิธีต่างๆ จะมีความแม่นยำแตกต่างกัน โดยจะแม่นยำมากเมื่อมีปริมาณไวรัสมาก จึงยังคงแนะนำให้ตรวจทันทีที่มาที่หน่วยฯ และตรวจซ้ำที่ระยะเวลา 3 เดือน หากผลการตรวจครั้งแรก เป็นลบ