กล้อง วงจรปิด ทำไม เป็นภาพ ขาว ดำ

รู้หรือไม่!!?? ว่า หลาย ๆ ร้าน หลาย ๆ โฆษณา เอากล้องรุ่นถูก ๆ มาลงขายคุณ แต่บอกว่าเป็นรุ่นภาพสีทั้งวันทั้งคืน

เค้าอาจจะไม่ได้หลอกครับ...แค่พูดความจริงไม่หมดเท่านั้นเอง!!

หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นชุดโฆษณากล้อง  ถูก ๆ บางรุ่น ที่บางร้าน ลงขายโดยใช้คำโฆษณา ว่า

ภาพสี 24 ชม. ทั้งที่มันเป็นกล้องแบบธรรมดา  หรือ เป็น Ultra Low light  แล้วกล้องแบบ นี้ กับ แบบ Color Vu

แบบไหนมันเป็นภาพสี 24 ชม.กันแน่!!??? ผมจะอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด โดยใช้ศํพท์เทคนิคน้อยที่สุด

เริ่มจากกล้องวงจรปิดรุ่นธรรมดา ถูก ๆ กันก่อน

ที่ขาย ๆ กันทั่ว ๆ ไป แต่บางที่กลับเอาไปโฆษณาเกินจริงว่า ภาพสี 24 ชม.!!!??

     กล้องพวกนี้ เป็ํนกล้อง IR ธรรมดา ๆ ที่เป็นภาพสีตอนกลางวัน และ เป็นภาพขาวดำในตอนกลางคืน!!!

แต่บางที่ กลับเอามาโฆษณาเป็นกล้องภาพสี 24 ชม.แทนซะงั้น!!  ทั้งที่ความเป็นจริง

กล้องพวกนี้ อาจจะเป็นภาพสีตอนกลางคืนได้ ถ้าสภาพแวดล้อมภายนอก มีแสงสว่างที่เพียงพอ!!!

(ย้ำว่า ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ) ซึ่งหากไปอยู่ในที่ค่อนข้างมืดมาก หรือมืดสนิท ภาพมันจะเป็นขาวดำทันที!!!

แล้วอีแบบนี้จะไปบอกลูกค้าว่าเป็นกล้องสี  24 ชม.ได้ไงครับ!???

กล้องประเภท Ultra low light 

กล้องแบบนี้ ถ้าเป็นรุ่นที่ ผู้ผลิตระบุมาว่าเป็น Ultra Low light จริง

กล้องตัวนี้จะสามารถมองเห็นเป็นภาพสีในเวลากลางคืนได้ สภาพแวดล้อมต้องพอมีแสงจากภายนอกอยู่บ้าง

แม้เพียงน้อยนิด ก็ยังเห็นเป็นภาพสีได้!....แต่!!! ถ้ามืดสนิท กล้องประเภทนี้ ก็จะกลายเป็นภาพขาวดำทันที!!!

ซึ่งถ้าลูกค้าเอาไปติดในสวน หรือ ในที่ ๆ มืดสนิท มันก็ไม่เห็นเป็ํนภาพสี เช่นกัน..อ้าว...

แล้วมาบอกเป็นภาพสี 24ชม.??

ส่วนกล้องที่เป็นระบบ Color Vu ตัวนี้ หากแสงภายนอกเพียงพอ ตัวกล้องก็จะเห็นเป็นภาพสีเช่นกัน

แต่ถ้าอยู่ในที่มืดสนิทเลย!! กล้องแบบ Color Vu นี้ มันก็ยังมองเห็นเป็นภาพสีได้ครับ!!!

โดยจะอาศัย ไฟ Supply ment ส่องสว่างออกมาในเวลาที่แสงจากภายนอกไม่เพียงพอ เหมือนแสงไฟฉายอ่อน ๆ

ก็เพียงพอที่จะทำให้ภาพที่เห็นเป็นภาพสี แม้ในบริเวณที่มืดมิดสนิทแค่ไหนก็ตาม!!! ภาพก็ยังคงเห็นเป็นสี!!...

ปัจจุบันนี้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในตลาดล้วนแต่เป็นกล้องสีเกือบทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและราคาที่ถูกลง แต่ก็มีบางครั้งที่เมื่อติดตั้งกล้องแล้ว เอ๊ะ ทำไมภาพที่ออกมาดันเป็นขาว-ดำ?? คงเคยมีบ้างใช่มั๊ยครับไม่มากก็น้อยที่เกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น และคำตอบส่วนใหญ่เลยก็คือ เราตั้งระบบสัญญาณวิดีโอผิดนั่นเองครับ
ถ้าเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นให้ลองพิจารณาดูที่ 2 อันดับแรกเลยครับ หนึ่ง คือที่เครื่องบันทึกภาพ กรณีที่ใช้เครื่องบันทึกภาพแบบ Stand Alone จะมีเมนูให้กำหนดค่ามาตฐานการเผยแพร่สัญญาณภาพสี (Television Broadcast Standard) โดยปกติบ้านเราจะใช้ระบบ PAL ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดค่าตรงนี้ให้เป็น PAL ด้วย เพราะบางทีเครื่องที่ซื้อมาอาจตั้งค่าดั้งเดิมเอาไว้เป็น NTSC ซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมาเป็นขาวดำ หรือบางกรณีอาจจะไม่มีภาพออกมาเลยก็เป็นได้ครับ
ถัดมาให้ดูที่ตัวเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์หรือ จอทีวีครับ ว่าตั้งไว้เป็น PAL หรือ NTSC ซึ่งก็ต้องเลือกเป็น PAL เช่นเดียวกันครับ ไม่เช่นนั้นผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้ได้ภาพไม่มีสีสัน ทั้งๆ ที่อุตส่าซื้อกล้องสีมานั่นแหละครับ
ไหนๆ ก็พูดมาถึงเรื่องสัญญาณวิดีโอแล้วผมก็จะขอเพิ่มเติมครับว่า มาตฐานการเผยแพร่สัญญาณภาพสีที่ว่าเป็น PAL หรือ NTSC นี้คืออะไร
มาตรฐานดังกล่าวที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 แบบ คือ NTSC, PAL และ SECAM แล้วแต่ว่าประเทศไหนจะใช้มาตรฐานใด ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบ PAL ครับ ทีนี้เรามาทำความรู้จักกันทีละอันนะครับ
NTSC ย่อมาจาก The National Television Standard Committee เป็นมาตรฐานแรกของโลก พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1954 โดย FCC (Federal Communications Commission) หน่วยงานของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานนี้จะมีจำนวนเส้นทีวีแนวนอน (TV Lines) 525 เส้น และแนวตั้ง 60 เส้น และมีจำนวนภาพ 30 ภาพต่อวินาที ระบบนี้มีชื่อเล่นๆ อีกอย่างครับว่า Never Twice the Same Color เพราะระบบนี้ให้สีที่ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ อันนี้เค้าแซวกันขำๆ นะครับ ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา เป็นต้น
SECAM ย่อมาจาก Syst่me Electronique Pour Couleur Avec Mmoire พัฒนาขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1967 มาตรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และแนวตั้ง 50 เส้น มีการส่งสัญญาณหลายแบบ แต่ละแบบจะส่งสัญญาณภาพและเสียงแยกแบนด์วิธกัน เช่น แบบ B,D ส่ง VHF แบบ G,H,K ส่ง UHF แบบ I,N,M,K1,L ส่งทั้ง VHF/UHF และแต่ละแบบจะใช้เครื่องรับสัญญาณต่างกัน ระบบนี้ก็มีคำเต็มที่แซวกันเล่นๆ เช่นกันครับว่า Something Essentially Contrary to the American Method หรือบางทีก็ SEcond Colour Always Magenta อาจเพราะให้สีออกม่วงๆ ก็ได้ครับ มาตรฐานนี้ใช้แถบความถี่กว้างมาก ทำให้มีช่องไม่กี่ช่อง จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม ที่ใช้อยู่ก็มีประเทศฝรั่งเศส ประเทศแถบรัสเซีย หรือ ประเทศแถบผู้ก่อการร้าย และในแอฟริกา เป็นต้น
PAL ย่อมาจาก Phase Alternating Line พัฒนาขึ้นโดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ Walter Bruch ในปี 1963 แต่เริ่มเอามาใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1967 มาจรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และ 50 เส้นทางแนวตั้ง ความถี่จำนวนภาพ 25 ภาพต่อวินาที มีการแยกแบนด์วิทระหว่างสัญญาณภาพและเสียง ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้เช่น ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศในแถบยุโรป เป็นต้น ครับ และสุดท้ายมาตรฐานนี้ก็มีชื่อเล่นๆ ว่า Perfect At Last
หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อมาตรฐาน SECAM นัก ส่วน NTSC กับ PAL นั้น จะเห็นว่า PAL จะให้รายละเอียดจำนวนเส้นดีกว่าจึงให้ภาพที่คมชัดกว่า ขณะที่ให้จำนวนภาพต่อวินาทีน้อยกว่า ดังนั้นการบันทึกภาพในระบบ PAL จะใช้สื่อบันทึก เช่น ม้วนเทป น้อยกว่าในเวลาที่เท่ากัน
ตารางแสดงประเทศที่ใช้มาตรฐานสัญญาณต่างๆ

กล้องวงจรปิดทำไมเป็นสีขาวดำ

เพราะฉะนั้นลูกค้าไม่ต้องตกใจไป ว่าทำไมตอนกลางวันเป็นภาพสี แต่ตอนกลางคืนเป็นภาพขาวดำ เพราะว่ากล้องวงจรปิดทำการปรับ IR Cut ซึ่งจะสามารถทำให้กล้องวงจรปิดสามารถมองเห็นคลื่นความถี่ของแสงอินฟราเรดเพื่อให้เห็นภาพในตอนกลางคืนได้นั่นเอง

เหตุใดกล้องวงจรปิดจึงสามารถเห็นภาพในเวลากลางคืนได้

สำหรับตัวกล้องประเภทนี้นั้นจะมีหลอดอินฟาเรดที่ทำให้สามารถมองเห็นภาพในช่วงเวลากลางคืนได้ โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งแสงจากหลอดไฟหรือแสงจันทร์ โดยจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับอยู่แถวหลอดอินฟาเรด โดยตัวหลอดอินฟาเรดทำงานได้ดีขนาไหนก็ขึ้นอยู่กับชนิดของหลอดอีกทีนึง ส่วนเรื่องภาพทีได้นั้นจะเป็นขาวดำซึ่งส่วนมากกล้องชนิดนี้จะ ทำให้ภาพ ...

ทำไม กล้อง วงจรปิด ไม่ชัด

นั่นก็เป็นเพราะหัวต่อกล้องไม่ดี ใช้ไปนานๆ แล้วหลวมหรือพันเทปดำไว้ไม่ดีหรืออาจจะมาจากสายที่ตึงเกินไป หรือบางครั้งอาจเกิดจากหม้อแปลงไม่ดีก็เป็นได้โดยวิธีแก้ไขปัญหาภาพเป็นเส้นๆ เหมือนมีสัญญาณรบกวนทำได้ง่ายๆ อีกเช่นเดียวกัน เช็กหัวต่อกล้องก่อนเลยเป็นอันดับแรก ก่อนจะไปเช็กกันต่อในส่วนของหม้อแปลง

กล้องวงจรปิดกระพริบเกิดจากอะไร

อาการกล้องกระพริบ จะเกิดจากกล้องมีปัญหาให้ทําการเปลี่ยนกล ้องก็จะหายจากอาการกระพริบ รวมถึงการใช ้งานไปเป็นระยะเวลานาน ๆ ตัวกล้องจะให้สีที่ซีดลง ก็ควรที่จะมีการเปลี่ยนกล้อง เพื่อให้ได ้ภาพที่ชัดเจนเป็นปรกติ (ระยะเวลาใช ้งานของกล ้อง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกล้องแต่ละยี่ห้อ รวมถึงตําแหน่งติดตั้งของตัวกล้องด้วย)