เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน

ผมถือว่าเป็นคนโชคดีคนหนึ่ง เนื่องจากในช่วงเยาว์วัย ยังไม่ค่อยประสีประสาอาศัยอยู่กับคุณยายซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้วัด ทำให้มีโอกาสเดินทางไปทำบุญหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนากับญาติผู้ใหญ่บ่อย ๆ และเชื่อว่ามีส่วนสำคัญทำให้ผม ได้ซึมซับในหลักของพระพุทธศาสนา มาได้พอสมควร

แม้จะไม่ถึงขั้นต้องยึดถือศีล 5 เป็นหลักในการดำรงชีวิตอยู่ทุกวัน แต่ก็พอจะรู้ว่า วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธประกอบด้วยวันอะไรบ้าง และถ้าหากมีโอกาสจะไปทำบุญและร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์จะเอื้ออำนวย

ยิ่งปีนี้พิเศษกว่าทุกปี รัฐบาลของ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เขามีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ว่า ถ้าหากเดือนไหนมีวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน และบังเอิญมีวันทำงานคั่นอยู่ ก็กำหนดให้วันนั้นเป็นวันหยุดรวมไปเลย เหตุผลเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ก็เท่ากับว่าปีนี้คนทำงานอยู่ในระบบราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จะมีวันหยุดติดต่อกันรวมเสาร์-อาทิตย์ 5 วัน คือตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. ไปสิ้นสุดวันที่ 8 ก.ค.

นี้ล่ะครับทำให้ผมเป็นห่วงว่า บางคนจะจัดตารางในการท่องเที่ยวจนลืมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ยิ่งเดี๋ยวนี้เวลาไปถามพวกเด็ก และเยาวชนบางคน เห็นอาการแล้วตกใจ เพราะตอบง่าย ๆ ว่า หนูรู้จักแต่วัน วาเลนและ วันฮัลโลวีน

พอถามว่า วันอาสาฬหบูชา วิสาขบูชา มาฆบูชา เข้าพรรษา มีความหมายเป็นอย่างไร หลายคนตอบแบบอึก ๆ อัก ๆ วันนี้เลยขออนุญาตนำรายละเอียดของวันสำคัญทางศาสนาซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 7 และ 8 ก.ค. มาขยายให้รับทราบกันอีกครั้งหนึ่ง

วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน 8 เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนา จนถือว่าเป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก)

เนื้อหาว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ นำไปสู่การบรรลุนิพพาน ฤาษีโกณฑัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบวชเป็นพระสาวกรูปแรก ที่เป็นประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในบรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ที่ประกาศให้มี วันอาสาฬหบูชา และถือปฏิบัติมาจน กระทั่งปัจจุบัน

สำหรับ วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

เข้าพรรษา แปลว่า พัก หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่า ไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือนในฤดูฝนคือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในวันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

ผมเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าหากประชาชนทุกสาขาอาชีพ มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว รับรองได้เลยว่าความวุ่นวาย ไม่เกิดแน่.

จากรณีการจัดแสดงผลงานศิลปะภาพวาด “พระพุทธรูปอุลตร้าแมน” อันก่อให้เกิดกระแสถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมผ่านสื่อมวลชนหลายช่องทาง มีผู้รู้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีนี้ไว้หลากหลายมุมมอง ทั้งเชิงบวกและลบ ในบรรดากลุ่มที่ไม่เห็นด้วยนั้นมีชาวพุทธกลุ่มหนึ่งที่ปรากฏตัวต่อสื่อมวลชนในนาม “กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน” นำโดย ดร.จรูญ วรรณกสิณานนท์ ตัวแทนกลุ่มยื่นหนังสือต่อผู้บังคับการกองปราบ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับนักศึกษาเจ้าของผลงาน และศิลปินที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนนักศึกษา เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่า การที่พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ยึดติดกับวัตถุนั้นทางกลุ่มมีมุมมองอย่างไร ดร.จรูญให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่าในมุมมองของเขา

 “พระพุทธศาสนาสอนให้ยึดติด ให้สิ่งสักการะเหล่านี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อที่จะนำไปสู่สวรรค์ เปิดประตูไปสู่นิพพาน พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าไม่ให้ยึดติด พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าไม่ให้ยึดติด หรือให้ปล่อยวาง เป็นคำสอนที่ผิด”

(ดูเพิ่มเติมใน https://prachatai.com/journal/2019/09/84273)

ความน่าสนใจ คือ เหตุใดจึงเกิดมุมมองที่ขัดแย้งกันระหว่างข้อสงสัยของผู้สื่อข่าวกับคำตอบของ ดร.จรูญ ทั้งๆที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างคำสอนศาสนาพุทธเช่นกัน ผู้เขียนบทความนี้ไม่ได้มีเจตนาจะชี้ถูกชี้ผิดว่าใครถูกต้องกว่า  หรือแท้จริงแล้วศาสนาพุทธสอนให้ยึดติดหรือไม่? บทบาทดังกล่าวคงต้องยกให้ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา เป้าหมายหลักของบทความนี้เป็นเพียงแค่ความพยายามจะทำความเข้าใจว่า เหตุใดทางกลุ่มชาวพุทธดังกล่าวจึงมีมุมมองเช่นนั้น โดยอาศัยข้อมูลในงานศึกษาประวัติศาสตร์พุทธศาสนาไทย และบริบททางสังคมการเมืองเป็นเครื่องประกอบการพิจารณา

เมื่อสำรวจข้อมูลจากงานศึกษาวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการพระศาสนาในบ้านเราโดยสังเขปแล้วพบว่า ความย้อนแย้งระหว่างคำสอนศาสนาดังเช่นในกรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่มีมาก่อนหน้านี้แล้วในประวัติศาสตร์ไทย โดยเกิดขึ้นจากการตีความคำสอนศาสนาพุทธให้สอดรับกับอุดมการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละสมัย ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่ชาวพุทธไทยว่าข้อปฏิบัติเบื้องต้นของชาวพุทธไทยฝ่ายฆราวาส คือ ศีล 5 ข้อแรก ได้แก่ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แม้กระทั่งใน “ภิกขุปาฏิโมกข์” หรือวินัยสงฆ์ฝ่ายเถรวาทเองก็ระบุว่า การฆ่าสัตว์จัดว่าเป็นการล่วงละเมิดศีล หรือ “อาบัติ” หากฆ่าสัตว์เดรัจฉานทั่วไปก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผิดศีลในขั้นต้นลงโทษด้วยการสารภาพความผิดที่เรียกว่า “ปลงอาบัติ” หากฆ่ามนุษย์ก็ต้องอาบัติปาราชิก ผิดศีลขั้นร้ายแรงซึ่งมีบทลงโทษชนิดที่ว่าถึงกับให้ขาดจากสภาพความเป็นพระภิกษุสงฆ์  เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้าผู้เขียนขออ้างเหตุผลดังกล่าวว่า กิจการที่เกี่ยวข้องกับการพรากชีวิตจึงดูเป็นเรื่องที่ขัดกับคำสอนศาสนาพุทธโดยสามัญสำนึกในนัยนี้ แต่อย่างไรก็ดี ในบางกรณีมีผู้รู้พระศาสนาตีความว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องการฆ่าหรือพรากชีวิตสัตว์ (โดยเฉพาะสัตว์ประเสริฐในมโนทัศน์ของชาวพุทธอย่าง “มนุษย์”) สามารถทำได้เพื่อความจำเป็นบางประการก็มีมาแล้ว อาทิ การทำสงครามเพื่อปกป้องชาติบ้านเมือง แม้กระทั่งการฆ่าศัตรูทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติและปกปักรักษาสถาบันสำคัญ

 ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “เทศนาเสือป่า” แม้ว่าจะไม่ได้มีเนื้อหาให้เหตุผลสนับสนุนการละเมิดศีลปาณาติบาตโดยตรง ทว่า ธ ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ได้ตีความเรื่องการทำสงครามเพื่อชาติบ้านเมืองไว้ว่าไม่ใช่เรื่องผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังข้อความตอนหนึ่งว่า

“การรบเพื่อป้องกันชาติบ้านเมือง ไม่เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าห้ามปรามเลย ถ้าทรงห้ามปรามหรือแม้ไม่ทรงเห็นชอบด้วยแล้ว ที่ไหนเลยจะทรงบังคับให้ทหารซึ่งหนีจากกองทัพพระเจ้าพิมพิสารเข้าไปอุปสมบทนั้น สึกออกไปเข้ารับราชการตามเดิม”

(พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2504: 119)

และมีข้อความหนึ่งที่ตีความจุดมุ่งหมายของการสงครามว่าไม่ได้ขัดแย้งกับคำสอนพระพุทธเจ้าเรื่องปาณาติบาตดังที่ว่า

“แท้จริงความประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงห้ามการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั้น คือ ทรงหวังตัดความเบียดเบียนซึ่งกันและกัน โดยใช้กำลังหรือเครื่องประหารข่มเหงซึ่งผู้ขัดใจ, แต่จะได้ทรงมุ่งให้กินความไปถึงการต่อสู้ป้องกันตัวหรือป้องกันชาติบ้านเมืองก็หามิได้”

(พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2504: 120)

สำหรับกรณีที่ตีให้เหตุผลสนับสนุนการฆ่าโดยชอบธรรมเพื่อชาติบ้านเมืองโดยตรงนั้นปรากฏในคำสัมภาษณ์ของพระเทพกิตติปัญญาจารณ์ (กิติศักดิ์ กิตฺติวุฒฺโฑ) หรือที่รู้จักกันในนาม กิตติวุฒโฑภิกขุ พระนักเทศน์ผู้มีชื่อเสียงในสมัยหนึ่ง คำสัมภาษณ์นั้นปรากฏในนิตยสารจตุรัส ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ผู้สื่อข่าวของนิตยสารถามคำถามชี้นำท่านกิตติวุฒโฑว่า “การฆ่าฝ่ายซ้าย หรือคอมมิวนิสต์บาปไหม?” พระท่านให้คำตอบว่า

“อันนั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะทำ คนไทยแม้จะนับถือพุทธก็ควรจะทำ แต่ก็ไม่ชื่อว่าถือเป็นการฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นั้นไม่ใช่คนสมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ (ว่า) เราไม่ได้ฆ่าคนแต่ฆ่ามารซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน”

เมื่อสื่อถามว่าผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ท่านตอบทันใดว่า

“ผิดน่ะมันผิดแน่ แต่ว่ามันผิดน้อย ถูกมากกว่า ไอ้การฆ่าคนคนหนึ่งเพื่อรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไว้ ไอ้สิ่งที่เรารักษาปกป้องไว้มันถูกต้องมากกว่า แล้วจิตใจของทหารที่ทำหน้าที่อย่างนี้ไม่ได้มุ่งฆ่าคนหรอก เจตนาที่มุ่งไว้เดิมคือมุ่งรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไว้ การที่เขาอุทิศชีวิตไปรักษาสิ่งดังกล่าวนี้ก็ถือว่าเป็นบุญกุศล ถึงแม้จะฆ่าคนก็บาปเล็กน้อย แต่บุญกุศลได้มากกว่าเหมือนเราฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ ไอ้บาปมันก็มีหรอกที่ฆ่าปลา แต่เราใส่บาตรพระได้บุญมากกว่า”

(ดูเพิ่มเติมใน https://prachatai.com/journal/2013/10/49085)

ข้อคิดเห็นทั้งหมดที่สาธกยกมาสะท้อนให้เห็นว่า การตีความคำสอนศาสนาพุทธเหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อสนับสนุนอุดมการณ์รัฐและปกป้องสถาบัน  ไม่ว่าการตีความนั้นจะมีน้ำหนักหรือเหตุผลสนับสนุนความชอบธรรมเพียงใดก็ตาม ในหนังสือ “พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต” ผู้แต่ง คือ พระไพศาล วิสาโล (2562) ได้วิเคราะห์เหตุที่ทำให้เกิดสภาพการณ์เช่นนี้ว่า มีที่มาจากการที่ศาสนาพุทธถูกตีความให้สนับสนุนเกื้อกูลรัฐและอุดมการณ์ชาตินิยม ในงานศึกษาชิ้นเดียวกันนี้ ผู้เขียนยังมองว่า การที่ศาสนาถูกตีความให้เข้ากับอุดมการณ์รัฐนั้นส่งผลให้คำสอนศาสนาพุทธในบางมิติต้องถูกละเลย หรือลดบทบาทลง เนื่องด้วยได้รับอิทธิพลจากโลกทัศน์แบบเหตุผลนิยมและลัทธิชาตินิยมจากตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4-6 อาทิ คำสอนเรื่องโลกหน้า นรก สวรรค์ในชีวิตหลังความตาย แม้กระทั่งคำสอนฝ่ายโลกุตระธรรมอย่างเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน  ที่ไม่อาจวัดผลได้ในเชิงประจักษ์

ดังนั้นในการรักษาพุทธศาสนาในรูปแบบ “สถาบัน” ที่เป็นองค์กระกอบหนึ่งของรัฐ ผู้แสดงคำสอนศาสนาในลักษณะดังกล่าว จำต้องตีความคำสอนให้สอดคล้องหรือไม่ขัดกับแนวคิดอุดมการณ์หลักและนโยบายของรัฐ และละเลยคำสอนบางชุดที่ไม่เข้าข่ายดังกล่าวไป ในบางสมัยผู้นำประเทศขอร้องให้คณะสงฆ์ไทยงดสอนเรื่องความสันโดษเพื่อไม่ให้ขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในยุคปฏิวัติการปกครองก็เคยเป็นมาแล้ว ดังที่ปรากฏในสุนทรพจน์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่กล่าวว่า

“...เป็นเรื่องที่รัฐบาลและกระผมร้องขอ เพราะเหตุว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่หลายทาง ที่สามารถจะเลือกเอามาสอนหรือจูงใจให้คนประพฤติปฏิบัติ มีคำสอนให้คนมักน้อยสันโดษ ไม่อยากทำอะไรอย่างที่เคยสอนกันว่า ไม่จำเป็นต้องขวนขวาย ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ คำสอนเช่นนี้อาจเหมาะสำหรับสมัยหนึ่ง แต่ไม่เหมาะสำหรับการปฏิวัติ ซึ่งต้องการขวนขวายหาทางก้าวหน้า จำต้องเลือกสรรเอาธรรมะที่สอนให้คนมีวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ประกอบสัมมาอาชีพ… จึงใคร่ขอร้องคณะสงฆ์ให้พยายามสอนไปทางนี้ จะเป็นการช่วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และงานทุกอย่างที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ โดยมุ่งความวัฒนาถาวรของประเทศชาติซึ่งเป็นความวัฒนาถาวรของศาสนาเอง”

(ประมวลสุทรพจน์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2502-2504, อ้างใน พิพัฒน์ พสุธารชาติ, 2549: 307)

แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับความเห็นทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ในข้างต้น  แต่ข้าพเจ้าผู้เขียนก็ยอมรับคำท่านจอมพลที่ว่า “คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่หลายทาง ที่สามารถจะเลือกเอามาสอนหรือจูงใจให้คนประพฤติปฏิบัติ” เป็นไปได้ว่าในพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทความยาวกว่า 84,000 พระธรรมขันธ์อายุมากกว่า 2 พันกว่าปี ผู้ศึกษาคัมภีร์ศาสนาพุทธอาจพบคำสอนที่ไม่สอดคล้องลงรอยกัน หรือพูดขัดแย้งกันเอง ผู้ศึกษาจำต้องพิจารณาบริบทแวดล้อมประกอบเพื่อทำความเข้าใจปูมที่มาของความขัดแย้งเหล่านั้น ส่วนผู้เผยแพร่หากเลือกหยิบข้อความใด หลักธรรมใด มานำเสนอแก่สังคมแล้ว เขาจำต้องแสดงเหตุผลสนับสนุนให้ความชอบธรรมแก่มุมมองของตนอย่างมีหลักการ อ้างอิงคัมภีร์แหล่งที่มา และมีเหตุมีผลรองรับ ปราศจากการใช้ตรรกะวิบัติ แต่อย่างไรก็ดีข้าพเจ้าผู้เขียนมองว่าการตีความของผูัเผยแพร่เช่นนี้แม้จะมีหลักการเพียงใด แต่ก็ไม่ได้เป็นไปโดยอิสระแต่ถ่ายเดียว ทว่ายังตกอยู่ใต้อำนาจของโครงสร้างบางประการที่ถูกกำกับภายใต้บริบททางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม ดังเช่น จุดยืนและจิตสำนึกอุดมการณ์ที่มาจากชนชั้นทางสังคมการเมือง และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้เผยแพร่แต่ละคน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดที่ยกมาชี้เห็นว่าการตีความ หรือการเลือกสอนหลักธรรมในศาสนาพุทธก็ดีไม่ได้เป็นไปโดยอิสระ สนับสนุนความคิดของปัจเจกชน แต่กลับเป็นไปเพื่อสนับสนุนสถาบันรัฐ มิพักต้องเอ่ยถึงกลไกการกำกับควบคุมของรัฐที่ใช้อำนาจกระทำการลงโทษต่อผู้ตีความศาสนาแตกต่างไปจากรัฐ หรือประพฤติปฏิบัติไม่ตรงกับแบบแผนของทางการ ตัวอย่างเช่น กรณีอธิกรณ์ของครูบาศรีวิชัยพระภิกษุชาวล้านนา ผู้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์จากส่วนกลาง กรณีการออกคำสั่งกักบริเวณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพโมลี เนื่องด้วยท่านเป็นผู้แสดงพระธรรมเทศนาว่าวิชาทหารเป็น “วิชาชั่ว เปนสพานแห่งความเสื่อม ความฉิบหายโดยแท้” วิพากษ์การที่ราชอาณาจักรสยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งแรก (อ้างใน พระไพศาล, 2552: 43) หรืออย่างกรณีอธิกรณ์พระโพธิรักษ์ พระภิกษุผู้ปฏิเสธการขึ้นตรงกับคณะสงฆ์ของรัฐ และตั้งสังฆะของตนในชื่อกลุ่มสันติอโศกในยุคร่วมสมัย เป็นต้น

เมื่อกลับมาพิจารณากรณีการตีความของกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดินนี้ก็เช่นเดียวกัน การที่ตัวแทนกลุ่มตีความว่า “พุทธศาสนาสอนให้ยึดติด” มีนัยสำคัญสะท้อนถึงการมองศาสนาในรูปแบบสถาบันที่มีมาตรฐาน หรือแบบแผนที่ต้องปกป้องรักษาอย่างชัดเจน คำสอนเรื่องการไม่ “ยึดติด” ซึ่งไม่แน่ว่าอาจจะมีอยู่ในพระไตรปิฎก จำต้องถูกละเลยกล่าวถึงในบริบทดังกล่าว การฟ้องร้องดำเนินคดีนักศึกษาผู้วาดภาพและศิลปินผู้สนับสนุนผลงานนี้ถือเป็นการอาศัยช่องทางกฎหมายหรือกลไกรัฐเข้าควบคุมสิ่งที่ไม่สอดรับกับแบบแผนทางศาสนาในมุมมองของพวกเขา แม้กระทั่งชื่อกลุ่มชาวพุทธ “พลังแผ่นดิน” ก็มีความหมายนัยประหวัดชวนให้ระลึกถึงสถาบันสำคัญของชาติ และสะท้อนอัตลักษณ์ของพุทธศาสนิกชนที่เป็นกำลังของประเทศชาติ

ในบริบทของรัฐโลกียวิสัย หรือรัฐฆราวาส (secular state) ที่แยกศาสนาออกจากกลไกการปกครองของรัฐ ไม่เปิดโอกาสให้ศาสนาในรูปแบบสถาบันที่เข้ามาผูกขาดอำนาจการตีความคำสอน หรือชี้ถูกชี้ผิดหลักการทางศาสนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จนกระทั่งปล่อยให้ตัวแทนศาสนาแสดงอำนาจรัฐผ่านการบังคับใช้กฎหมายกระทำการลงโทษผู้มีความเห็นต่างไปจากความเชื่อในศาสนาที่เป็นสถาบันหลักของรัฐ ข้าพเจ้าผู้เขียนไม่มีความรู้พอจะระบุว่าปัจจุบันแล้วรัฐไทยจัดเป็นรัฐฆราวาสหรือไม่? (มีผู้รู้แสดงความคิดเห็นในกรณีนี้ไว้หลายมติ) อย่างไรก็ดีข้าพเจ้าผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวคิดการปกครองแบบรัฐฆราวาสที่ให้เสรีภาพการตีความทางศาสนา ไม่ใช้กลไกทางกฎหมายเข้าควบคุม เนื่องด้วย มองว่าการตีความคำสอนศาสนาเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตราบใดที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหลักการสากล และไม่เห็นด้วยกับการใช้กลไกกฎหมายดำเนินการฟ้องร้องน้องนักศึกษาศิลปินผู้เขียนภาพในกรณีนี้  ข้าพเจ้าผู้เขียนใคร่ขอให้ท่าน ดร.จรูญ ลองจินตนาการว่าเมื่อมีชาวพุทธกลุ่มอื่นที่ไม่ได้เชื่อว่า “ศาสนาพุทธสอนให้ยึดติด” เช่นเดียวกับท่าน แล้วเขาออกมาดำเนินการฟ้องร้องท่านว่ากระทำให้พระสัทธัมปฏิรูป บิดเบือนคำสอนพระพุทธเจ้า ทำร้ายความรู้สึกของพวกเขา จนกระทั่งต้องเป็นความขึ้นโรงขึ้นศาลมีประวัติติดตัวเหมือนดังที่ท่านฟ้องร้องน้องนักศึกษาผู้วาดรูป (ด้วยข้อหาหมิ่นศาสนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 206) แล้วท่านจะคิดเห็นและรู้สึกอย่างไรต่อสภาพเช่นนั้น? ในฐานะที่ท่านแสดงตนเป็นตัวแทนชาวพุทธขอให้ท่านได้ลองใครครวญ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ดังพระบาลีที่ว่า

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส   สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ

อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา         น หเนยฺย น ฆาตเย.

สรรพสัตว์ย่อมหวาดหวั่นต่อการถูกทำร้าย

ชีวิตย่อมเป็นที่รักของสรรพสัตว์

บุคคลเปรียบเทียบตนกับคนอื่นแล้ว

ไม่ควรทำร้ายหรือฆ่าใคร ทั้งไม่ควรให้ใครทำด้วย

(อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐ ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=2)

สุดท้ายแล้วบทความนี้อาจไม่มีคำตอบสำเร็จรูปโดยตรงตามหลักการพระศาสนาให้กับคำถามในหัวเรื่องที่ว่า เหตุใดพุทธศาสนาจึงสอนให้ “ยึดติด” ? (ข้าพเจ้าผู้เขียนมองว่า ผู้ที่จะตอบคำถามนี้ต่อสังคมควรเป็น ดร.จรูญ ตัวแทนกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ผู้แสดงความเห็นในกรณีนี้) ดังนั้นแล้วคำถามนำในชื่อของบทความนี้ อาจต้องตั้งใหม่ว่า ทำไม “คนบางกลุ่มในสังคม” ถึงมองว่า “ศาสนาพุทธ” สอนให้ “ยึดติด”? เสียมากกว่า

อ้างอิง

“'ชาวพุทธพลังแผ่นดิน' แจ้งความ นศ. เฉลิมชัยโดนด้วย ชี้พระพุทธเจ้าบอกให้ยึดติด”, ประชาไท. (2562, 11 กันยายน). ประชาไท. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2019/09/84273

พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2549). รัฐกับศาสนา บทความว่าด้วยอาณาจักร ศาสนจักร และเสรีภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศยาม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2504). เทศนาเสือป่า ๑๗ กัณฐ์. (ไม่ระบุสถานที่พิมพ์). [ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นจาก https://archive.org/details/170000unse_h3p5/page/120

พระไพศาล วิสาโล. (2552). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต,พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ: มูลนิธิโกมลคีมทอง

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2556). 6 ตุลา “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”, ประชาไท. (2556, 4 ตุลาคม). ประชาไท. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2013/10/49085

“อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐”. พระไตรปิฎก. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=2

อะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

สังคหวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน, ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หมายถึง หลักการครองใจคน, หลักยึดเหนี่ยวใจกันไว้, วิธีทำให้คนรัก, หลักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นเครื่องประสานใจและเหนี่ยวรั้งใจคนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และทำให้อยู่กันด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกัน เหมือนลิ่มสลักรถที่ตรึงตัวรถ ...

สิ่งใดที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์

คุณค่าของศาสนา 1. เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ 2.เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีของหมู่คณะและในหมู่มนุษยชาติ 3. เป็นเครื่องดับความเร่าร้อนใจ ทำให้ใจสงบร่มเย็น

เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยที่เป็นชาวพุทธ

3) พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ เนื่องจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนามุ่งเน้นให้เกิดความ รักความสามัคคีกัน มีความเมตตากรุณาต่อกัน เป็นต้น จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชนชาวไทยให้มีความเป็นหนึ่ง เดียวกัน

สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยคือข้อใด

พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ