ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Show

ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ คืออุปกรณ์สำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในอวกาศภายนอกในระดับวง โคจรของโลกเพื่อทำการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์อันห่างไกล ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ที่ช่วยให้มนุษย์ทำความเข้าใจกับจักรวาลได้ดีขึ้นการสังเกตการณ์ในระดับวงโคจรช่วยแก้ปัญหาทัศนวิสัยในการสังเกตการณ์บนโลกที่ มีอุปสรรคต่าง ๆ เช่น การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ายังสามารถทำได้ที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน ซึ่งบางอย่างไม่สามารถทำได้บนผิวโลก

โครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ สำคัญของนาซา คือโครงการหอดูดาวเอก (Great Observatories) ซึ่งประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ 4 ชุดได้แก่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีแกมมาคอมพ์ตัน กล้องรังสีเอกซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ นอกจากนี้ยังมีกล้องโทรทรรศน์อวกาศอื่น ๆ อีกที่อยู่ในวงโคจรแล้ว และกำลังจะขึ้นสู่วงโคจรในอนาคต

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจร เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เอ็ดวิน ฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลไม่ได้เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวแรกของโลก แต่มันเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การ ศึกษาดาราศาสตร์ที่ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์สำคัญต่าง ๆ อย่างมากมาย กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาและองค์การ อวกาศยุโรป

การที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลลอยอยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลกทำ ให้มันมีข้อได้เปรียบเหนือกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนพื้นโลก นั่นคือภาพไม่ถูกรบกวนจากชั้นบรรยากาศ ไม่มีแสงพื้นหลังท้องฟ้า และสามารถสังเกตการณ์คลื่นอัลตราไวโอเลตได้โดยไม่ถูกรบกวนจากชั้นโอโซนบนโลก ตัวอย่างเช่น ภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คือภาพถ่ายวัตถุในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โครงการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923 กล้องฮับเบิลได้รับอนุมัติทุนสร้างในช่วงปี ค.ศ. 1970 แต่เริ่มสร้างได้ในปี ค.ศ. 1983 การสร้างกล้องฮับเบิลเป็นไปอย่างล่าช้าเนื่องด้วยปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านเทคนิค และจากอุบัติเหตุกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ กล้องได้ขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1990 แต่หลังจากที่มีการส่งกล้องฮับเบิลขึ้นสู่อวกาศไม่นานก็พบว่ากระจกหลักมี ความคลาดทรงกลมอัน เกิดจากปัญหาการควบคุมคุณภาพในการผลิต ทำให้ภาพถ่ายที่ได้สูญเสียคุณภาพไปอย่างมาก ภายหลังจากการซ่อมแซมในปี ค.ศ. 1993 กล้องก็กลับมามีคุณภาพเหมือนดังที่ตั้งใจไว้ และกลายเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่สำคัญและเป็นเสมือนฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของวงการดาราศาสตร์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตัน[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตัน หรือ กล้องรังสีแกมมาคอมพ์ตัน (Compton Gamma-ray Observatory) เป็นหอสังเกตการณ์ดวงที่สองของนาซาในโครงการหอดูดาวเอกที่ส่งขึ้นสู่อวกาศ หลังจากที่ส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นไปก่อนหน้านั้น กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตันตั้งชื่อตาม ดร. อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมพ์ตัน นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลที่สร้างผลงานโดดเด่นด้านฟิสิกส์รังสี แกมมา กล้องคอมพ์ตันสร้างโดยสถาบัน TRW (ปัจจุบันคือสถาบันเทคโนโลยีอวกาศนอร์ทรอพ กรัมแมน) ในแคลิฟอร์เนีย ใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น 14 ปี ขึ้นสู่อวกาศโดยกระสวยอวกาศแอตแลนติส เที่ยวบิน STS-37 เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1991 และได้ทำงานจนกระทั่งปลดระวางในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2000 กล้องคอมพ์ตันโคจรอยู่ในวงโคจรต่ำของโลกที่ระดับความสูงประมาณ 450 กิโลเมตร เพื่อหลบหลีกผลกระทบจากแถบรังสีแวนอัลเลน นับเป็นเครื่องมือทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดเท่าที่เคยส่ง ขึ้นสู่อวกาศ ด้วยน้ำหนักถึง 17,000 กิโลกรัม

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (อังกฤษ: Spitzer Space Telescope) หรือเดิมชื่อ Space Infrared Telescope Facility (SIRTF) เป็นกล้องสังเกตการณ์อวกาศอินฟราเรด เป็นกล้องอันดับที่สี่และสุดท้ายของโครงการหอดูดาวเอกของนาซา ตั้งชื่อตาม ดร. ไลแมน สปิตเซอร์ จูเนียร์ หนึ่งในนักดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นผู้เสนอให้ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ไว้ในอวกาศเป็นคนแรกตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1940 เพื่อขจัดปัญหาการรบกวนของชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนกว่าการตั้งกล้องไว้บนพื้นโลก โดยเขาใช้เวลากว่า 50 ปี จึงสามารถผลักดันแนวคิดนี้ได้สำเร็จ กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2003 ด้วยจรวดเดลต้า 2 จากแหลมคานาวารัล และได้สิ้นสุดภารกิจแล้วเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2020[1]

ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

วงโคจรของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[แก้]

สปิตเซอร์มีวงโคจรเป็นแบบ Heliocentric ซึ่งโคจรตามโลกไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ใช้เวลา 1 ปี

ส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[แก้]

ตัวกล้องของสปิตเซอร์เป็นกระจกขนาด 85 เซนติเมตร ความยาวโฟกัส 10.20 เมตร ทำด้วย beryllium และหล่อเย็นด้วยฮีเลียมเหลวให้มีอุณหภูมิอยู่ที่ 5.5 องศาเคลวินตลอดเวลา ตัวกล้องมีน้ำหนักรวม 960 กิโลกรัม ประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญ 3 ชิ้นคือ

ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

กระจกของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

1.IRAC (Infrared Array Camera) เป็นชุดของ sensor ย่าน Infrared ใน 4 ความยาวคลื่นคือ 3.6 ไมโครเมตร, 4.5 ไมโครเมตร, 5.8 ไมโครเมตร และ 8 ไมโครเมตร ใช้ sensor ขนาด 256 x 256 pixel โดยมีฮีเลี่ยมเหลวหล่อเย็นที่อุณหภูมิ -250 องศา C 2.IRS (Infrared Spectrograph) เป็นชุดวิเคราะห์ spectrum ย่าน Infrared ความยาวคลื่นระหว่าง 5 - 38 ไมโครเมตร 3.MIPS (Multiband Imaging Photometer for Spitzer) เป็นชุด sensor Infrared ย่านความยาวคลื่น 24 - 160 ไมโครเมตร

ผลงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[แก้]

ผลงานชิ้นแรกคือภาพที่ส่งมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 ภาพที่เด่นที่สุดคือ ดาราจักรรูปเกลียว M 81 ซึ่งอยู่ทางเหนือของกลุ่มดาวหมีใหญ่ ไกลจากโลก 12 ล้านปีแสง แสดงความสามารถของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ในการถ่ายภาพอวกาศที่ถูกปกคลุมด้วยกลุ่มก๊าซที่หนาแน่นซึ่งกล้องโทรทรรศน์แสงไม่สามารถมองเห็นได้ ทำให้เห็นการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์และเห็นใจกลางของดาราจักร

เนื่องจาก Spitzer เป็นกล้องที่เน้นสำรวจแหล่งกำเนิดอินฟราเรด ดังนั้น Spitzer จึงมักใช้สำรวจวัตถุอุณหภูมิต่ำเช่น สเปกตรัมของแสงจากวัตถุประเภทดาวเคราะห์ หรือระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ตัวอย่างการค้นพบที่สำคัญคือ การค้นพบองค์ประกอบไอน้ำบนดาวเคราะห์ HD 209458 b โดยใช้เครื่องรับรู้อินฟราเรดย่าน 7.5 - 13.2 ไมโครเมตร

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา หรือ กล้องรังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-ray Observatory) เป็นดาวเทียมของนาซา ที่มี detector ที่สามารถตรวจจับรังสีเอกซ์ได้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษารังสี X-ray ในห้วงอวกาศ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยยาน STS-93 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 และพร้อมปฏิบัติภารกิจในปี ค.ศ. 2014 กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา หรือ กล้องรังสีเอกซ์จันทรา (อังกฤษ: Chandra X-ray Observatory) เป็นดาวเทียมของนาซา ที่มี detector ที่สามารถตรวจจับรังสีเอกซ์ได้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษารังสี X-ray ในห้วงอวกาศ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา
ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

ภาพประกอบของจันทรา

รายชื่อเก่าAdvanced X-ray Astrophysics Facility (AXAF)
ประเภทภารกิจกล้องรังสีเอกซ์
ผู้ดำเนินการนาซ่า / หอดูดาวฟิสิกส์ดาราศาสตร์สถาบันสมิธโซเนียน / CXC
COSPAR ID1999-040B
SATCAT no.25867
เว็บไซต์chandra.harvard.edu
ระยะภารกิจวางแผน: 5 ปี
ผ่านไป: 23 years, 3 months, 26 days
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตทีอาร์ดับเบิลยู ออโตโมทีฟ
มวลขณะส่งยาน5,860 กิโลกรัม (12,930 ปอนด์)[2]
มวลแห้ง4,790 กิโลกรัม (10,560 ปอนด์)[2]
ขนาดปรับใช้: 13.8 × 19.5 เมตร (45.3 × 64.0 ฟุต)[3]
เก็บไว้: 11.8 × 4.3 เมตร (38.7 × 14.0 ฟุต)[2]
กำลังไฟฟ้า2,350 W[3]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น23 กรกฎาคม 1999, 04:30:59.984 UTC[4]
จรวดนำส่งกระสวยอวกาศ โคลัมเบีย (STS-93)
ฐานส่งศูนย์อวกาศเคนเนดี LC-39B
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงวงโคจรค้างฟ้า
ระบบวงโคจรวงโคจรขั้วโลก
กึ่งแกนเอก80,795.9 กิโลเมตร (50,204.2 ไมล์)
ความเยื้อง0.743972
ระยะใกล้สุด14,307.9 กิโลเมตร (8,890.5 ไมล์)
ระยะไกลสุด134,527.6 กิโลเมตร (83,591.6 ไมล์)
อินคลิเนชั่น76.7156°
คาบการโคจร3809.3 นาที
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น305.3107°
ระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุด267.2574°
อนอมัลลีเฉลี่ย0.3010°
การเคลื่อนไหวเฉลี่ย0.3780 รอบต่อวัน
วันที่ใช้อ้างอิง4 กันยายน 2015, 04:37:54 UTC[5]
รอบการโคจร1358
กล้องโทรทรรศน์หลัก
ชนิดวอลเตอร์ ไทป์ 1[6]
เส้นผ่านศูนย์กลาง1.2 เมตร (3.9 ฟุต)[3]
ระยะโฟกัส10.0 เมตร (32.8 ฟุต)[3]
พื่นที่รับแสง0.04 ตารางเมตร (0.43 ตารางฟุต)[3]
ความยาวคลื่นรังสีเอกซ์: 0.12–12 nm (0.1–10 keV)[7]
ความละเอียด0.5 arcsec[3]
เครื่องมือ
ACISสเปกโทรมิเตอร์ถ่ายภาพอุปกรณ์ถ่ายเทประจุขั้นสูง
HRCกล้องความละเอียดสูง
HETGเกรตติงแบบส่องผ่านพลังงานสูง
LETGเกรตติงแบบส่องผ่านพลังงานต่ำ

โครงการหอดูดาวเอก

← คอมป์ตัน

สปิตเซอร์ →

 

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (อังกฤษ: James Webb Space Telescope; JWST) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การนาซา องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศแคนาดา (CSA) มีเป้าหมายเพื่อสืบทอดภารกิจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในการเป็นภารกิจฟิสิกส์ดาราศาสตร์หลักของนาซา[6][7] กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2021 มันสามารถสังเกตภาพในช่วงคลื่นอินฟราเรดด้วยความคมชัดและความไวแสงมากกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล นอกจากนี้ มันสามารถสังเกตวัตถุและเหตุการณ์ที่ห่างไกลในเอกภพได้ด้วย เช่น การกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร และลักษณะชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ เป็นต้น

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์
James Webb Space Telescope
ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

ภาพจำลองกล้องโทรทัศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

รายชื่อเก่าNext Generation Space Telescope (NGST; 1996–2002)
ประเภทภารกิจดาราศาสตร์
ผู้ดำเนินการNASA / องค์การอวกาศยุโรป / องค์การอวกาศแคนาดา / สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ[8]
เว็บไซต์webbtelescope.org
ระยะภารกิจ10 ปี (ขั้นต่ำตามแผน)
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิต

  • นอร์ทธรอป กรัมแมน
  • บริษัทเทคโนโลยีการบินและอวกาศบอล

มวลขณะส่งยาน6161.4 กิโลกรัม[9]
ขนาด20.197 × 14.162 m (66.26 × 46.46 ft), ฉากกันแสงอาทิตย์
กำลังไฟฟ้า2 kW
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น25 ธันวาคม 2021, 12:20 UTC[10]
จรวดนำส่งอารีอาน 5 ECA (VA256)
ฐานส่งศูนย์อวกาศเกียนา, ELA-3
ผู้ดำเนินงานอารีอานสเปซ
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงจุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างดาวโลก-ดวงอาทิตย์
ระบบวงโคจรวงโคจรฮาโล
ระยะใกล้สุด374,000 km (232,000 mi)[11]
ระยะไกลสุด1,500,000 km (930,000 mi)
คาบการโคจร6 เดือน
กล้องโทรทรรศน์หลัก
ชนิดระบบลดความบิดเบือนภาพสามกระจกแบบคอร์ช
เส้นผ่านศูนย์กลาง6.5 m (21 ft)
ระยะโฟกัส131.4 m (431 ft)
อัตราส่วนโฟกัสf/20.2
พื่นที่รับแสง25.4 m2 (273 sq ft)[12]
ความยาวคลื่น0.6–28.3 μm (ส้มถึงอินฟราเรดช่วงกลาง)
อุปกรณ์ส่งสัญญาณ
ย่านความถี่

  • S band: โทรมาตร การติดตาม และการควบคุม
  • Ka band: การรับข้อมูล

แบนด์วิดท์

  • S band ขาขึ้น: 16 kbit/s
  • S band ขาลง: 40 kbit/s
  • Ka band ขาลง: มากถึง 28 Mbit/s

เครื่องมือ
FGS-NIRISSเซ็นเซอร์นำทางความละเอียดสูงและตัวสร้างภาพคลื่นใกล้อินฟราเรดและสเปกโทรกราฟไร้แผ่นบัง
MIRIเครื่องมือวัดอินฟราเรดกลาง
NIRCamกล้องถ่ายคลื่นใกล้อินฟราเรด
NIRSpecสเปกโตรกราฟคลื่นใกล้อินฟราเรด
องค์ประกอบ

  • หน่วยรวมเครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • องค์ประกอบกล้องโทรทรรศน์รับแสง
  • ยานอวกาศ (บัส และฉากกันแสงอาทิตย์)

ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

สัญลักษณ์ภารกิจกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์  

องค์ประกอบกล้องโทรทรรศน์รับแสง เป็นกระจกสะท้อนหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ซึ่งประกอบไปด้วยกระจกเบริลเลียมเคลือบทองทรงหกเหลี่ยม 18 ส่วน ซึ่งประกอบกันเพื่อสร้างกระจกเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 m (21 ft) — ใหญ่กว่ากระจกสะท้อนหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขนาด 2.4 m (7 ft 10 in) เป็นอย่างมาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้ไปจนถึงคลื่นอินฟราเรดกลาง (0.6 to 28.3 μm) ซึ่งต่างจากฮับเบิลซึ่งสังเกตการณ์ตั้งแต่คลื่นใกล้อัลตราไวโอเลต คลื่นแสงที่มองเห็นได้ และคลื่นใกล้อินฟราเรด (0.1 to 1 μm) การที่เจมส์ เวบบ์สังเกตการณ์ในคลื่นที่ต่ำกว่าจะทำให้มันสามารถเห็นวัตถุที่เลื่อนไปทางแดงอย่างมากซึ่งมีเก่าและไกลเกินกว่าที่ฮับเบิลจะมองเห็นได้[8][9] ตัวกล้องโทรทรรศน์จะต้องถูกรักษาไว้ในสภาพเย็นจัดเพื่อที่จะสามารถสังเกตการณ์เคลื่อนอินฟราเรดได้ด้วยไม่มีการรบกวน มันจึงจะถูกปล่อยไปยังบริเวณจุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างดาวโลก-ดวงอาทิตย์ ประมาณ 1.5 ล้าน กิโลเมตร (930,000 ไมล์) จากโลก (0.01 au – 3.9 เท่าระยะทางจากโลกสู่ดวงจันทร์).[10]ฉากกันแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ผลิตด้วยซิลิคอน และแคปตอนเคลือบอะลูมิเนียมจะช่วยรักษาอุณหภูมิของกระจกรับแสงและเครื่องมือวัดให้ต่ำกว่า 50 K (−223 °C; −370 °F).[11]

ศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซาเป็นผู้จัดการการพัฒนากล้องโทรทรรศน์อวกาศ และสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศจะเป็นผู้ดำเนินการหลังจากการปล่อย[12] ผู้รับเหมาหลักคือนอร์ทธรอป กรัมแมน[13] ตัวกล้องโทรทรรศน์ถูกตั้งชื่อตามเจมส์ อี. เวบบ์[14] ซึ่งเป็นผู้บริหารองค์การนาซาตั้งแต่ปี 1961 ถึง 1968 และเป็นบุคคลสำคัญในโครงการอะพอลโล[15][16]

การพัฒนาเริ่มต้นขึ้นในปี 1996 สำหรับการปล่อยที่แรกเริ่มวางแผนไว้ในปี 2007 และใช้งบประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[17] โครงการนี้เกิดการล่าช้าและค่าใช้จ่ายสูงกว่างบประมาณอยู่หลายครั้ง เช่น การออกแบบใหม่ในปี 2005[18] ฉากกันแสงอาทิตย์ขาดระหว่างการทดสอบการกาง คำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจสอบอิสระ การระบาดทั่วของโควิด-19[19][20][21] ปัญหากับจรวดอารีอาน 5[22] ปัญหากับตัวกล้องโทรทรรศน์เอง และปัญหาการสื่อสารระหว่างกล้องโทรทัศน์และจรวด[23] ความกังวลในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการปล่อยและการกางตัวของกล้องโทรทรรศน์ได้ถูกอธิบายเป็นอย่างดี[24][25]

การก่อสร้างเสร็จสิ้นช่วงปลายปี 2016 หลังจากนั้นจึงเริ่มช่วงการทดสอบอย่างครอบคลุม[26][27] กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ถูกปล่อย ณ เวลา 12:20 UTC ในวันที่ 25 ธันวาคม 2021 ด้วยจรวดอารีอาน 5 จาก กูรู, เฟรนช์เกียนา บริเวณหาดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้

ความสามารถ[แก้]

ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

แผนภาพโดยคร่าวของความโปร่งใสของชั้นบรรยากาศโลกต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่างๆ รวมถึงแสงที่มองเห็นได้

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์มีมวลเพียงครึ่งหนึ่งของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แต่กระจกสะท้อนหลักของมันซึ่งประกอบไปด้วยกระจกเบริลเลียมเคลือบทองทรงหกเหลี่ยม 18 ชิ้น จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางรวม 6.5 m (21 ft) และมีพื้นที่รับแสง 25.4 m2 (273 sq ft) มากกว่าพื้นที่ของกล้องฮับเบิลถึงหกเท่า[30]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ศึกษาดาราศาสตร์อินฟราเรด แต่ก็ยังสามารถมองเห็นแสงสีส้มและแดง รวมถึงคลื่นอินฟราเรดช่วงกลาง ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ศึกษา การที่การออกแบบเน้นสำหรับการใช้ในคลื่นใกล้อินฟราเรดถึงอินฟราเรดช่วงกลางด้วยสามเหตุผลคือ

แสงที่มองเห็นได้ที่เปล่งออกมาจากวัตถุที่เลื่อนไปทางแดงมาก จะเลื่อนไปอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด วัตถุที่เย็นเช่นจานเศษฝุ่นและดาวเคราะห์เปล่งแสงมากที่สุดในคลื่นอินฟราเรด การศึกษาคลื่นนี้จากบนพื้นโลกหรือโดยการใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีอยู่ปัจจุบันเช่น ฮับเบิล นั้นเป็นไปได้ยาก กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินจะต้องสังเกตการณ์ผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ถึงบดบังคลื่นอินฟราเรดหลายช่วง และแม้ในช่วงคลื่นที่ชั้นบรรยากาศไม่บดบัง สารเคมีเป้าหมายหลายชนิดเช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน ก็มีอยู่แล้วในบรรยากาศของโลก ทำให้การวิเคราะห์ผลลับซับซ้อนขึ้นไปมาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่น ฮับเบิล ก็ไม่สามารถศึกษาคลื่นช่วงนี้ได้ เนื่องจากกระจกของมันถูกรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำไม่พอ (กระจกสะท้อนหลักของฮับเบิลถูกรักษาไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 15 °C (288 K; 59 °F)) ตัวกล้องโทรทรรศน์เองจึงเปล่งคลื่นอินฟราเรดอย่างรุนแรง[31]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะทำงานใกล้จุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างโลก-ดวงอาทิตย์ ประมาณ 1,500,000 km (930,000 mi) ห่างจากวงโคจรของโลก เปรียบเทียบกับวงโคจรของฮับเบิลซึ่งอยู่ 550 km (340 mi) เหนือพื้นโลก และดวงจันทร์โคจรอยู่ห่างจากโลกประมาณ 400,000 km (250,000 mi) จากโลก ด้วยระยะทางที่ห่างไกลเท่านี้จะทำให้การซ่อมหลังการปล่อยหรือต่อเติมยกระดับส่วนเครื่องของเจมส์ เวบบ์ แทบจะเป็นไปไม่ได้ ตัวยานอวกาศจึงจะสามารถเข้าถึงได้เฉพาะในช่วงการสร้างและออกแบบเท่านั้น วัตถุที่อยู่ใกล้จุดลากร็องฌ์นี้สามารถโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อมกับโลก ทำให้ตัวกล้องโทรทรรศน์มีระยะห่างคงที่โดยประมาณ[32] เจมส์ เวบบ์จะหันฉากกันแสงอาทิตย์และบัสเข้าสู่โลกและดวงอาทิตย์เพื่อสะท้อนแสงและความร้อนที่แผ่จากโลกและดวงอาทิตย์ และรักษาการสื่อสาร การเรียงตัวแนวนี้จะรักษาอุณหภูมิของยานอวกาศในอยู่ต่ำกว่า 50 K (−223 °C; −370 °F) ซึ่งจำเป็นจำหรับการสังเกตการณ์คลื่นอินฟราเรด[13][14]

  • ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

    ภาพจากมุมบน

  • ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

    ภาพจากมุมล่าง (ด้านหันหาดวงอาทิตย์)

  • ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

    พิมพ์เขียวของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

อ้างอิง[แก้]

[15]

  1. Ending in 2020, NASA's Infrared Spitzer Mission Leaves a Gap in Astronomy. Jonathan O'Callaghan. Scientific American. June 4, 2019.
  2. ↑ 2.0 2.1 2.2 "Chandra X-ray Observatory Quick Facts". Marshall Space Flight Center. สืบค้นเมื่อ September 16, 2017.
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Chandra Specifications". NASA/Harvard. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.
  4. "International Flight No. 210: STS-93". Spacefacts.de. สืบค้นเมื่อ April 29, 2018.
  5. "Chandra X-Ray Observatory - Orbit". Heavens Above. September 3, 2015. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.
  6. "The Chandra X-ray Observatory: Overview". Chandra X-ray Center. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.
  7. Ridpath, Ian (2012). The Dictionary of Astronomy (2nd ed.). Oxford University Press. p. 82. ISBN 978-0-19-960905-5.
  8. "NASA JWST "Who are the partners in the Webb project?"". NASA. สืบค้นเมื่อ 18 November 2011.
    ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ
    บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  9. Clark, Stephen [@StephenClark1] (23 December 2021). "The exact launch mass of the James Webb Space Telescope: 6161.4 kilograms. That figure includes 167.5 kg of hydrazine and 132.5 kg of dinitrogen tetroxide for the propulsion system" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 23 December 2021 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NASA-20211221
  11. "James Webb Space Telescope". ESA eoPortal. สืบค้นเมื่อ 29 June 2015.
  12. "JWST Telescope". James Webb Space Telescope User Documentation. Space Telescope Science Institute. 2019-12-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.
    ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ
    บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  13. "The Sunshield". nasa.gov. NASA. สืบค้นเมื่อ 28 August 2016.
    ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ
    บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  14. Drake, Nadia (24 April 2015). "Hubble Still Wows At 25, But Wait Till You See What's Next". National Geographic.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05. สืบค้นเมื่อ 2016-03-24.

เพราะเหตุใดการศึกษาวัตถุท้องฟ้าจึงต้องใช้กล้องโทรทรรศน์หลายชนิด

กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) เป็นกล้องส่องทางไกลซึ่งนักดาราศาสตร์ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้า มีสมบัติที่สำคัญ 2 ประการ คือ ความสามารถในการรวมแสง - กล้องโทรทรรศน์สามารถรวมแสงได้มากกว่าดวงตาของมนุษย์ ช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุซึ่งมีความสว่างน้อย เช่น เนบิวลา และกาแล็กซี

การศึกษาวัตถุท้องฟ้าใช้กล้องโทรทรรศน์ตรวจวัดในช่วงความยาวคลื่นใดบ้าง

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space telescope) กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้สังเกตการณ์ได้ ในหลายช่วงคลื่น เช่น แสงขาวที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงระหว่าง 400 ถึง 800 นาโนเมตร อินฟราเรดใกล้ (near infrared) มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 800 ถึง 2500 นาโนเมตร และอัลตราไวโอเลตมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 100 ถึง 400 นาโนเมตร มีการค้นพบที่ส า ...

กล้องโทรทรรศน์ชนิดใดใช้คลื่นวิทยุในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า

กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (radio telescope) ส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์วิทยุมี 4 ส่วน คือ 1) จานสะท้อนจะทำหน้าที่รับคลื่นวิทยุแล้วสะท้อนไปยังจุดโฟกัส 2) ที่จุดโฟกัสมีส่วนรับสัญญาณ ทำหน้าที่รับและรวมสัญญาณแล้วส่งไปส่วนขยายสัญญาณ

กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุ ใช้ศึกษาอะไร

กล้องโทรทรรศน์วิทยุ เป็นอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ ใช้บันทึกและวัดสัญญาณคลื่นวิทยุจากวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ กล้องโทรทรรศน์วิทยุต่างจากกล้องโทรทรรศน์เชิงแสงตรงที่ปฏิบัติงานในความถี่ของคลื่นวิทยุที่ความยาวคลื่นตั้งแต่ 10 มิลลิเมตร ไปจนถึง 10-20 เมตร โดยทั่วไปจานเสาอากาศของกล้องโทรทรรศน์วิทยุจะมีรูปร่างเป็นพาราโบลา อาจอยู่เดี่ยว ๆ ...

เพราะเหตุใดการศึกษาวัตถุท้องฟ้าจึงต้องใช้กล้องโทรทรรศน์หลายชนิด การศึกษาวัตถุท้องฟ้าใช้กล้องโทรทรรศน์ตรวจวัดในช่วงความยาวคลื่นใดบ้าง กล้องโทรทรรศน์ชนิดใดใช้คลื่นวิทยุในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุ ใช้ศึกษาอะไร เฉลยแบบบันทึกกิจกรรม 4.1 กล้องโทรทรรศน์ในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุ กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นอินฟราเรด ประโยชน์ กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุ หลักการทํางาน กล้องโทรทรรศน์ฟาสต์ วัตถุอวกาศที่เหมาะสมในการศึกษา