เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
ครองราชย์พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 1811 (30 ปี)[1]
ก่อนหน้าสถาปนาอาณาจักร ก่อนหน้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรละโว้
ถัดไปพ่อขุนบานเมือง
อัครมเหสีนางเสือง
พระราชบุตรพ่อขุนบานเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระราชโอรสอีกพระองค์
และพระราชธิดาอีกสามพระองค์
ราชวงศ์พระร่วง
พระราชสมภพพ.ศ. 1731
เมืองบางยาง
สวรรคตพ.ศ. 1811 (80 พรรษา)
อาณาจักรสุโขทัย
ศาสนามหายาน[2]

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม "พ่อขุนบางกลางหาว" เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ตามประวัติศาสตร์ไทย ทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 1781 ตราบจนเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1811[1]

พระนาม[แก้]

  1. บางกลางหาว
  2. พ่อขุนบางกลางหาว
  3. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
  4. พระร่วง
  5. พระอินทราชา
  6. อรุณราช
  7. ไสยรังคราช หรือไสยรังคราชา
  8. ไสยนรงคราช
  9. รังคราช หรือสุรังคราช
  10. พระร่วง หรือโรจนราช

สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาว นั้นเป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็น เจ้าเมืองบางยาง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็น พระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยาง โดยแท้จริง

พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามแบบทางการตามอย่างราชประเพณีเขมร เป็นพระนามทรงใช้เมื่อเข้ารับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระนาม "ศรีอินทราทิตย์" มีกล่าวไว้อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุมว่า "ศรีอินทรปตินทราทิตย" ซึ่งเป็นพระนามเกียรติยศที่พระเจ้าแผ่นดินเขมรแต่โบราณสถาปนาให้แก่พ่อขุนผาเมืององค์รัชทายาทผู้ครองเชลียงสุกโขไทในราชวงศ์ศรีนาวนำถม ต่อมาภายหลังพ่อขุนผาเมืองทรงยกให้แก่พระสหายพ่อขุนบางกลางหาวแทน

พระราชกรณียกิจ[แก้]

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน
พ่อขุนบานเมือง
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน
พระยาเลอไทย
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน
พระยางั่วนำถุม
พระมหาธรรมราชาที่ 1
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน
พระมหาธรรมราชาที่ 2
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน
พระมหาธรรมราชาที่ 3
เหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าว่าพ่อขุน
พระมหาธรรมราชาที่ 4

คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมมือกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่

ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ไพร่พลของพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพ่ายจแจ๋น"(หนี-ยอ-ย่าย-พ่าย-จอ-แจ้น) ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก (รามราช) มีพระปรีชาสามารถ ได้ขับช้างแซงขึ้นไปชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง

ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชาวสยามต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว

พระราชวงศ์[แก้]

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่

  1. พระราชโอรสองค์ใหญ่ (ไม่ปรากฏพระนาม) สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
  2. พ่อขุนบานเมือง
  3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พ่อขุนรามราช (พระนามเดิมชื่อพระราม)
  4. พระราชธิดา (ไม่ปรากฏพระนาม)
  5. พระราชธิดา (ไม่ปรากฏพระนาม)

แม้ไม่ทราบแน่นอนว่าพระองค์เสด็จสวรรคตในปีใด แต่ภายหลังจากพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนบานเมือง พระราชโอรสพระองค์รอง ได้สืบราชสมบัติแทน

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 19
  2. บำรุง คำเอก (พฤษภาคม–สิงหาคม 2558). "อิทธิพลศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น". Veridian E-Journal (8:2), หน้า 2404

บรรณานุกรม[แก้]

  • ประเสริฐ ณ นคร. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เล่ม 26. หน้า 16861-16864 พ.ศ. 2549
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • ภาสกร วงศ์ตาวัน. เรื่องเล่าครั้งกรุงเก่า ตอน ยึดบ้านครองเมือง สร้างขื่อแปในจารึกสยาม. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, พ.ศ. 2551.
  • พระมหากษัตริย์ไทย: พระราชประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เพราะเหตุใดจึงเรียกว่าพ่อขุน

แต่กษัตริย์ที่ครองศรีสัชนาลัยสุโขทัย เป็นกษัตราธิราช คือเป็นขุนเหนือขุนทั้งหลาย จึงเรียกว่าพ่อขุน เพราะฉะนั้น “พ่อขุน” จึงเป็นชื่อตำแหน่งของอธิราชที่เป็นขุนเหนือขุนทั้งหลายและเป็นกษัตราธิราชของราชอาณาจักรสุโขทัย

กษัตริย์ เเห่งสุโขทัยมีองค์ใดบ้างที่มีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน

พระมหากษัตริย์องค์สำคัญ.
พ่อขุนศรีนาวนัมถม.
พ่อขุนผาเมือง.
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์.
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช.
พระมหาธรรมราชาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑).

พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของสุโขทัยที่เปลี่ยนคำนำหน้าพระนามเป็นพระมหาธรรมราชาคือข้อใด *

พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช, พระบาทกมรเตงอัญฦๅไทยราช, พระยาฦๅไทย หรือ พญาลิไทย (ประสูติ พ.ศ. 1843 - 1911) เป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยลำดับที่ 6 ในราชวงศ์พระร่วง เป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทย และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

คำว่าพ่อขุนมีความหมายว่าอย่างไร

น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย. ท่อ ๒ ก. ตี เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).