หัวหน้าสํานักงานจังหวัด คือใคร

เผยแพร่: 24 มี.ค. 2565 17:53   ปรับปรุง: 24 มี.ค. 2565 17:53   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

หัวหน้าสํานักงานจังหวัด คือใคร

ปลัด มท. ลงนาม แต่งตั้ง “หัวหน้าสำนักงานจังหวัด” สังกัด สป.มท. ที่ว่าง 11 อัตรา พ่วง ย้าย “หน.สนง.จ.ชุมพร ไปปทุมธานี-ย้ายหัวหน้า สนง.จ.ระนอง ไปประจวบคีรีขันธ์”

วันนี้ (24 มี.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงนามในประกาศกระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับ เป็นการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกระทรวงมหาดไทย แทนตำแหน่งที่ว่าง ปี 2565

โดยเฉพาะตำแหน่ง “หัวหน้าสำนักงานจังหวัด” สังกัด สป.มท. ที่ว่าง 11 อัตรา หลังจากมีผู้ยื่นใบสมัครผ่านหน่วยงาน เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก จำนวน 23 ราย จากทั่วประเทศ

คำสั่งดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค. 2565 แต่งตั้ง นายประหยัด ข่อผกาพันธ์ ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดพังงา เป็น หัวหน้าสำนักงานจังหวัดระนอง

นายณฐพงษ์ วงศ์สง่า ผอ.กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด สำนักงานจังหวัดพิจิตร เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเลย นายพิชัยยา ตุระชอง ผอ.กลุ่มงานอำนวยการ สำนักงานจังหวัดขอนแก่น เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดหนองคาย

นายเดชะ สิทธิสุทธ ผอ.กลุ่มงานอำนวยการ สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี นางสาวปานนภา สุภาพรเหมินทร์ ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดพัทลุง เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดชุมพร

นายไพฑูรย์ พรหมสอน ผอ.กลุ่มงานอำนวยการ สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดสกลนคร นายชนินทร์ กาญจนสุชา ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดมุกดาหาร

นายพงศ์ศักดิ์ เมืองดี ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช นางสาวกนกพร ใชยศล ผอ.กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครพนม เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครพนม

นางสาวสุดาทิพย์ มูลอ้าย ผอ.กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด สำนักงานจังหวัดลำพูน เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด นายเกียรติศักดิ์ มณีรัตน์ ผอ.กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด สำนักงานจังหวัดนราธิวาส เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดยะลา

อีกฉบับย้ายให้ นายคมสัน ญาณวัฒนา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดชุมพร ไปเป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดปทุมธานี และนางสาวเบญจวรรณ มีเผือก หัวหน้าสำนักงานจังหวัดระนอง ไปเป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โดยคำสั่งทั้ง 2 ฉบับ ให้เดินทางไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง ในวันที่ 4 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

สำนักงานจังหวัด

ประวัติสำนักงานจังหวัด สำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดำเนินการเป็นศูนย์กลาง ในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด เช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการบริหาร ราชการของกระทรวงมหาดไทยในส่วนกลางสำนักงานจังหวัด เป็นหน่วยงานที่ปรากฎชื่อเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ซึ่งตามมาตรา 38 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดไว้ว่า “ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้

สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของจังหวัดนั้น มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบ” อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสำนักงานจังหวัดจะมีปรากฎชื่ออยู่ตามกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติ สำนักงานจังหวัดยังไม่เคยได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของตนเองไปประจำปฏิบัติงานอยู่เลย คงมีแต่เฉพาะตัวผู้ว่าราชการจังหวัดเพียงท่านเดียว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในระยะแรก ๆ งานของสำนักงานจังหวัดมีปริมาณไม่มากนัก ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบหมายให้แผนกปกครองจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแทน ต่อมาเมื่องานด้านต่าง ๆ ของจังหวัดมีปริมาณเพิ่มขึ้นกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณา เห็นความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งสำนักงานจังหวัด โดยมีเจ้าหน้าที่ของตนเองปฏิบัติงานอยู่อย่างแท้จริง เพื่อช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดในการปฏิบัติงานตามภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งมีอยู่อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้บังเกิดผลแก่ประชาชนในท้องที่ และรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะพัฒนาการบริหารราชการที่จะให้หน่วยงานของทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่มีหน่วยงานในจังหวัดได้ขึ้นตรงหรือรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานจังหวัดจึงต้องทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด และเป็นศูนย์กลางในการประสานแผนและโครงการของทุกกระทรวง ทบวงกรมในจังหวัด กระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2516 จึงได้กำหนดให้มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นในสำนักงานจังหวัด 5 จังหวัด และได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2518 กำหนดให้ขยายการจัดอัตรากำลังเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2518 อีกจำนวน 16 จังหวัด และในปี พ.ศ. 2519 จำนวน 49 จังหวัดตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานที่มีขีดความสามารถในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดำเนินการเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการวินิจฉัยสั่งการ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานจังหวัดให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ขึ้นในส่วนราชการของสำนักงานจังหวัดเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ชลบุรี สงขลา และยะลา ต่อมา ในปี พ.ศ. 2518 ได้ขยายการดำเนินการเพิ่มขึ้นใน 16 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ลพบุรี สระบุรี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สมุทรปราการ สุโขทัย พิจิตร นครปฐม และชุมพร และในปี พ.ศ. 2519 ได้ขยายเพิ่มขึ้นจนครบทุกจังหวัด อำนาจหน้าที่

1) แปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติไปเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดในพื้นที่

2) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผน และเครือข่ายสารสนเทศของจังหวัด โดยเป็นศูนย์สารสนเทศของจังหวัด เพื่อการบริหารและวางแผนพัฒนาจังหวัด

3) จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ดำเนินการตามแผน กำกับและติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนพัฒนาจังหวัด รวมทั้งประสานการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

4) จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดหรือคำของบประมาณของจังหวัด และประสานการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดหรือคำของบประมาณของกลุ่มจังหวัด

5) ดำเนินการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาระบบราชการของจังหวัด

6) อำนวยการ ประสาน ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด

7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นทีเกี่ยวข้อง

เพื่อให้การบริหารงานและการแบ่งงานภายในสำนักงานจังหวัดยโสธรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสอดคล้องกับบทบาทภารกิจและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานจังหวัดตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2553 จึงเห็นสมควรกำหนดภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงานอำนวยการ กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และกลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมทั้ง มอบหมายให้กลุ่มงาน/ฝ่าย พิจารณามอบหมายงานตามภารกิจให้บุคลากรในกำกับดูแลทุกคนรับผิดชอบตามความเหมาะกับตำแหน่งหน้าที่ต่อไป ดังนี้

อำนาจหน้าที่กลุ่มงานอำนวยการ

- งานเลขานุการ ผวจ./รอง ผวจ.
- การติดตาม ประสานการดำเนินงานให้เป็นตามข้อสั่งการของผู้บริหารของจังหวัด
- การประสานงาน ติดตามและเสนอแนะในงานสำคัญเร่งด่วนแก่ผู้บริหาร
- งานช่วยอำนวยการทั่วไปในฐานะเป็นหน่วยงานช่วยอำนวยการกลางของจังหวัด
- งานประสานราชการกับหน่วยงานในจังหวัดเกี่ยวกับโครงการหรือกิจกรรมตามนโยบายของรัฐและ มท.
- การประสานราชการทั่วไปตามที่ผู้บริหารมอบหมาย
- งานขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตและงานกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินของจังหวัด
- งานรัฐพิธี และพิธีการ
- งานรับเสด็จ
- การจัดทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี และปรับปรุงบัญชี
- การดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
- งานจัดวางระบบเรื่องร้องเรียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
- งานประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณี ราษฎรเดินทางมาชุมนุมร้องเรียนร้องเรียนเพื่อจัดประชุมหรือแก้ไขสถานการณ์ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ร้อง
- รับเรื่องร้องเรียนและร้องทุกข์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจังหวัดตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริง จัดทำรายงานความคืบหน้าตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ รวมทั้งประสานประสานและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา กรณี ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาและร้องเรียนต่อองค์กรอิสระและส่วนราชการส่วนกลางส่วนกลาง (ศูนย์ดำรงธรรม)
- การตรวจสอบกลั่นกรองให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับข้อกฎหมายในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
- งานสนับสนุนและประสานงานเกี่ยวกับ หมายเรียก หมายปิด คำสั่งเรียกให้ทำคำให้การและข้อกฎหมายในการดำเนินคดีปกครองของหน่วยงานในจังหวัดที่อยู่อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
- งานตรวจกลั่นกรองและนำความเห็นเกี่ยวกับอุทธรณ์คำสั่งทางศาลปกครองที่อยู่ในอำนาจวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั่งการเสนอแนะให้ข้อหารือเกี่ยวกับ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และ พ.ร.บ.ความรับผิดฐานละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
- การประสานการปฏิบัติด้านกฎหมายตามนโยบายของรัฐบาล และ มท.
- งานแจ้งเวียนมติคณะรัฐมนตรี ข้อสั่งการและนโยบายสำคัญที่ไม่มีหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
- งานสารบรรณกลางของจังหวัดและสำนักงานจังหวัด
- งานจัดเก็บค้นหาเอกสาร
- งานจัดระบบรักษาความปลอดภัยศาลากลางจังหวัด
- งานประสานการประชุมประจำเดือนของจังหวัด
- งานบริการทั่วไป และการบริหารงานบุคคลสำนักงานจังหวัดเกี่ยวกับ
   (1) การจัดทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
   (2) การอนุมัติการลาของข้าราชการและลูกจ้าง สป.มท.
   (3) การขออนุญาตออกนอกเขตจังหวัด ของ ผวจ./รอง ผวจ.
   (4) การขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศของ ผวจ./รอง ผวจ.
   (5) การจัดสวัสดิการข้าราชการ ลูกจ้าง สป.มท.
   (6) งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
   (7)งานขอพระราชทานเพลิงศพ
   (8) งานขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
   (9) การขอออกบัตรและการจ่ายเหรียญราชการชายแดนและเหรียญพิทักษ์เสรีชน และเหรียญสนองเสรีชน
   (10) งานขอพระราชทานเหรียญราชการชายแดน
- การจัดทำทะเบียนงบประมาณรายงานทางการเงิน และการจัดทำงบการเงินรวมของจังหวัด และ สำนักงานจังหวัด และการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต/กิจกรรม - การจัดทำคำของบประมาณแผนการปฏิบัติงาน และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในส่วนของสำนักงานจังหวัด และการประมาณการรายรับ – รายจ่ายประจำปี
- การรับจ่ายเงิน และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทุกประเภท
- รับ – จ่าย เงินนอกงบประมาณทุกประเภท และงบประมาณเบิกแทนหน่วยงานอื่นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
- อนุมัติเบิกจ่ายเงินยืมราชการและเงินยืมทดรองราชการ
- ตรวจสอบสำคัญก่อนเบิกจ่าย
- เก็บรักษาเงินสด เอกสาร แทนตัวเงิน รายงานเงินคงเหลือประจำวัน
- การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการข้าราชการ/ลูกจ้างในสังกัดข้าราชการช่วยราชการ ข้าราชการบำนาญ และการออกหนังสือรับรองสิทธิ
- การพิจารณาสั่งจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ เงินช่วยเหลือพิเศษของ ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัด
- การรับจ่าย การนำส่งเงินรายได้ เงินงบประมาณตามประเภทงบรายจ่าย
- การจัดซื้อ จัดจ้างพัสดุ ครุภัณฑ์ การจัดทำทะเบียนคุมการเบิกจ่ายการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเกี่ยวกับพัสดุและครุภัณฑ์ของ สนจ.
- ซ่อมแซมบำรุงรักษา ดูแล และให้บริการด้านอาคารสถานที่
- จัดซื้อ จำหน่าย บำรุงรักษา และควบคุมการใช้ยานพาหนะส่วนกลาง
- งานประสานกิจการด้านต่างประเทศและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามที่ได้รับมอบหมาย
- งานประสานการดำเนินการเกี่ยวกับการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องของจังหวัด
- งานประชาสัมพันธ์สำนักงานจังหวัด
- งานควบคุมภายในสำนักงานจังหวัด
- งานตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ.2522
- งานตาม พ.ร.บ.ข้อมูลสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐
- งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

อำนาจหน้าที่กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร

• พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาจังหวัด
• จัดให้มีการบริการเครือข่ายเชื่อมโยงฐานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารระหว่างส่วนราชการภายในจังหวัด รวมทั้งระหว่างจังหวัดและกับส่วนกลาง
• ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศผ่านอิเลคทรอนิกส์

อำนาจหน้าที่กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

• จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
• จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
• ประสานและปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และแผนงาน/โครงการ ตามแผนพัฒนาจังหวัด
• ประสานและดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 
• สนับสนุนเชิงวิชาการด้านนโยบายและแผนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด
• ติดตามประเมินผลการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การพัฒนาจังหวัด
• ติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด
• งานตรวจราชการ

อำนาจหน้าที่กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล

• งานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและยุทธศาสตร์กำลังของจังหวัด
• งานสนับสนุน ผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่อง กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล
• งานบริหารงานบุคคลในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
• งานประสานกับสำนักงาน ก.พ. และส่วนราชการในการเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลจังหวัด
• การจัดทำฐานข้อมูลบุคคลจังหวัด
• งานวางยุทธศาสตร์กำลังคน
• งานกำหนดสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงาน
• งานการวางแผนการใช้กำลังคนในจังหวัด
• งานการสรรหาคนดีคนเก่งเข้ารับราชการในพื้นที่
• งานการรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพสูง
• งานการวางแผนพัฒนาบุคลากรในจังหวัด
• งานส่งเสริมจริยธรรมป้องกันทุจริตและประเทศไทยใสสะอาด
• งานการเตรียมกำลังคนใหม่

ใครเป็นผู้บังคับบัญชาในสํานักงานจังหวัด

(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด

ใครเป็นประธานคณะกรรมการจังหวัด

คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง ...

สำนักงานจังหวัดทำหน้าที่อะไรบ้าง

- สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของจังหวัด และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบ - ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้จัดตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ

ผู้ว่า ทํางานอะไร

ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอ านาจและหน้าที่ตามที่ก าหนดไว้ใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้ 1. บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตามแผนพัฒนาจังหวัด 2. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรี สั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล