ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ใคร

ในอนาคต คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนสถานศึกษา ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกคน ควรทำความรู้จักและให้ความสำคัญกับความเป็นมาและเป็นไปของคณะกรรมการชุดนี้

        คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ได้เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542  ในอนาคต คณะกรรมการทั้ง 2 ประเภทนี้ น่าจะมีบทบาทมากขึ้น หรือได้รับการพัฒนาหรือขยายบทบาทให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นองค์กรสำคัญในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและของเขตพื้นที่การศึกษา 

แม้ว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ประเภทนี้ ได้จัดให้มีขึ้นทั่วประเทศมาร่วม 4-6 ปี แล้ว  แต่บทบาทในการช่วยขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา ก็ยังไม่หนักแน่นเท่าที่ควร  ผมขอใช้บล็อกนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนปัญหา หรือแนวทางการพัฒนาที่ควรจะเป็น ระหว่างสมาชิกที่สนใจนะครับ

ในวาระแรกนี้ เรามารู้จักกับ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนนะครับ ซึ่งทุกสถานศึกษาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรือเอกชน จะต้องมีคณะกรรมการชุดนี้ ทุกสถานศึกษา

(ในครั้งต่อไปจะนำเสนอ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา   หลังจากนั้น จะเป็นแนวคิด  แนวปฏิบัติ และปัญหาการทำงาน หรือ แนวทางการพัฒนา ที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ 2 ประเภทนี้ เรื่อยไปครับ)

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ ใคร...มีหน้าที่อย่างไร

---------------------------

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกิดขึ้นตามมาตรา  38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546  รวมทั้งอำนาจหน้าที่การบริหารงานบุคคลที่จะเกิดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.   กำกับการดำเนินการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฏหมาย  กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

2.   ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการกิจการด้านต่างๆของสถานศึกษา

3.   มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา ตามที่กฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษากำหนด

4.   ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมาย  ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

     องค์ประกอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

ในสถานศึกษาขนาดเล็ก ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 9 คน และสถานศึกษาขนาดใหญ่ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ประกอบด้วย

         1. ประธานกรรมการ

                2. กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครอง  จำนวนหนึ่งคน

         3. กรรมการที่เป็นผู้แทนครู              จำนวนหนึ่งคน

         4. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน      จำนวน 1 คน

  5. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

     จำนวนหนึ่งคน

  6.กรรมการที่เป็นผู้แทนศิษย์เก่า     จำนวนหนึ่งคน

          7.กรรมการที่เป็นผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ หรือผู้แทนองค์กรศาสนาในพื้นที่  จำนวนหนึ่งรูป หรือหนึ่งคน สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก และจำนวน สองรูป หรือสองคน สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่

   8.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่งคนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก และจำนวนหกคนสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่

   9.ผู้อำนวยการ เป็นกรรมการและเลขานุการ

ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ใคร

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564มติครม. ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) อนุมัติการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง รวม 17 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 ดังนี้

ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานกรรมการ
นายวิสิทธิ์ ใจเถิง กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชน
นายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
นางชลิดา อนันตรัมพร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านธุรกิจและการบริการ)
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการประถมศึกษา/ด้านการงบประมาณ)
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการอาชีวศึกษา/ด้านการบริหารการศึกษา)
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ)
นายปราโมทย์ แก้วสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการมัธยมศึกษา)
นางพรรณพิมล วิปุลากร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส)
นายวิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย)
นางศรินธร วิทยะสิรินันท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษาเพื่อคนพิการ)
รองศาสตราจารย์ศิริเดช สุชีวะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารการศึกษา)
นายสนิท แย้มเกษร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารงานบุคคล/ด้านการกีฬา)
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านอุตสาหกรรม)
นายอำนาจ วิชยานุวัติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย/ด้านการศึกษาเอกชน/ด้านการศึกษาปฐมวัย)
พระพรหมบัณฑิต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
ที่มา…ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ใคร

ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคนปัจจุบันคือใคร

วันที่ 3 ธันวาคม 2564 ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชุดใหม่) ครั้งที่ 1/2564 โดยมี พระพรหมบัณฑิต นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) และผู้บริหารระดับสูง ของ สพฐ. เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 ...

ประธาน กพฐ. คนปัจจุบันคือใคร 2565

วันที่ 6 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 1/2565 โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พระพรหมบัณฑิต นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ผู้ ...

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2564 มีกี่คน

จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 17 คน/รูป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอดังนี้

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีใครบ้าง

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๕ คน ข้อ ๒ องค์ประกอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการ (มาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) (๒) กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน ๑ คน (๓) กรรมการที่เป็นผู้แทนครู จำนวน ๑ คน (๔) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน จำนวน ๑ คน (๕) กรรมการที่เป็นผู้แทน ...