ผู้แต่งเรื่องอิเหนารัชกาลใด

ผู้แต่งเรื่องอิเหนารัชกาลใด

  • Home
  • My Books
  • Browse ▾

    • Recommendations
    • Choice Awards
    • Genres
    • Giveaways
    • New Releases
    • Lists
    • Explore
    • News & Interviews

    • Art
    • Biography
    • Business
    • Children's
    • Christian
    • Classics
    • Comics
    • Cookbooks
    • Ebooks
    • Fantasy
    • Fiction
    • Graphic Novels
    • Historical Fiction
    • History
    • Horror
    • Memoir
    • Music
    • Mystery
    • Nonfiction
    • Poetry
    • Psychology
    • Romance
    • Science
    • Science Fiction
    • Self Help
    • Sports
    • Thriller
    • Travel
    • Young Adult
    • More Genres

Open Preview

See a Problem?

We’d love your help. Let us know what’s wrong with this preview of อิเหนา by พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย.

Thanks for telling us about the problem.

Friend Reviews

To see what your friends thought of this book, please sign up.

Reader Q&A

To ask other readers questions about อิเหนา, please sign up.

Be the first to ask a question about อิเหนา

Community Reviews

ผู้แต่งเรื่องอิเหนารัชกาลใด

Start your review of อิเหนา

ผู้แต่งเรื่องอิเหนารัชกาลใด

Aug 06, 2009 Srisurang rated it it was amazing

เรื่องย่อ

อิเหนาเป็นวรรณคดีโบราณที่ได้ต้นเค้าเรื่องมาจากชวา เป็นเรื่องราวของ เจ้าชายเชื้อสายกษัตริย์สุริยวงศ์ หรือวงศ์เทวดา คืออิเหนา หรือในเรื่องอาจเรียกว่า ระเด่นมนตรี ผู้มีฤทธานุภาพมาก รบเมืองใดก็ชนะได้เมืองนั้นจนเป็นที่เลื่องลือในพระเดชานุภาพ นับตั้งแต่พระชันษาสิบห้าปี ซึ่งมีเหตุให้ต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองเกิด คือกรุงกุเรปันไป
ได้พบกับนางจินตหราธิดาเมืองหมันหยา ทั้งที่พระบิดามารดาได้หมั้นอิเหนาไว้กับบุษบา ราชธิดาเมืองดาหาตั้งแต่เกิดแล้ว แต่อิเหนาก็ไปหลงรักนางจินตหราจนบอกเลิกหมั้นนางบุษบา ดังก

เรื่องย่อ

อิเหนาเป็นวรรณคดีโบราณที่ได้ต้นเค้าเรื่องมาจากชวา เป็นเรื่องราวของ เจ้าชายเชื้อสายกษัตริย์สุริยวงศ์ หรือวงศ์เทวดา คืออิเหนา หรือในเรื่องอาจเรียกว่า ระเด่นมนตรี ผู้มีฤทธานุภาพมาก รบเมืองใดก็ชนะได้เมืองนั้นจนเป็นที่เลื่องลือในพระเดชานุภาพ นับตั้งแต่พระชันษาสิบห้าปี ซึ่งมีเหตุให้ต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองเกิด คือกรุงกุเรปันไป
ได้พบกับนางจินตหราธิดาเมืองหมันหยา ทั้งที่พระบิดามารดาได้หมั้นอิเหนาไว้กับบุษบา ราชธิดาเมืองดาหาตั้งแต่เกิดแล้ว แต่อิเหนาก็ไปหลงรักนางจินตหราจนบอกเลิกหมั้นนางบุษบา ดังกลอนที่โหรทำนายพระเคราะห์ไว้ว่า

...พระจะไปได้นางในเมืองอื่น
ชมชื่นรื่นรสด้วยยศศักดิ์
แล้วจำเป็นจะจากกันทั้งรัก
พระจะได้ทุกข์นักเพราะนารี
นางใดที่ประสงค์จำนงให้
ไม่อาลัยจะสลัดหลีกหนี...

แต่แล้วก็มีเหตุให้อิเหนาต้องจากนางจินตหราไปช่วยเมืองดาหารบกับวิหยาสะกำ ระตูเมืองกะหมังกุหนิงซึ่งยกทัพมาจะชิงบุษบาจากเมืองดาหา อิเหนารบชนะในที่สุด ได้พบกับบุษบา และรักหลงนางตั้งแต่แรกพบ ชนิดที่เรียกได้ว่า อย่างหนัก ไม่แพ้วิหยาสะกำ ที่เห็นเพียงรูปวาดของนางก็ถึงกับหลงใหลพร่ำเพ้อเลยทีเดียว
คราวนี้ก็เกิดยุ่งกันใหญ่ เพราะอิเหนาเกิดอยากจะแต่งกับคู่หมั้นที่ตนเองบอกเลิกไปแล้ว และพระบิดาของบุษบาก็ตกปากรับคำยกบุษบาให้จรกาไปแล้วเสียอีก

อิเหนาใช้ทุกวิถีทางเพื่อจะเปลี่ยนใจทั้งบุษบา และท้าวดาหา แต่ไม่สำเร็จ จะกระทั่งจนหนทาง ก่อเหตุเผาเมือง(เพื่อก่อความวุ่นวาย)แล้วฉวยโอกาสลักพาตัวบุษบาหนี

เสด็จปู่ซึ่งเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ ไม่พอพระทัย จึงบันดาลให้อิเหนากับบุษบาพรากจากกัน

หลังจากนั้น อิเหนาก็ต้อง "มะงุมมะงาหรา" เที่ยวตามหาบุษบาไปทั่วทุกเมืองทุกเขตแคว้น ผ่านบุรีใดก็รบได้บุรีนั้นเรื่อยไป กว่าจะได้พบกันอีกครั้ง
พบแล้วก็ยังจำกันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายต่างปลอมตัว แถมฤทธิ์ขององค์ปะตาระกาหลา(เสด็จปู่) ก็ทำให้จำไม่ได้อีก

กว่าอิเหนาจะได้พบ(และจดจำ)นางที่พลัดพรากกันไปได้ พร้อมๆ กับพี่น้องและญาติวงศ์อีกครั้ง เวลาก็ผ่านไปถึงสิบสามปี (นานประมาณพระรามตามนางสีดาเลยล่ะค่ะ) และอิเหนาสะสมเมืองขึ้นได้มากมาย รวมทั้งสองมเหสีและพระสนมอีกสิบนาง ทำพิธีอภิเษก เสด็จกลับบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป เป็นอันจบเรื่องราว

ความรู้สึกจากการอ่าน

อิเหนาเป็นหนังสือกลอนที่ชอบมากค่ะ เคยมีเล่มเก่า ที่พิมพ์ประมาณปี 2515 หรือ 251...อะไรสักอย่างนี่ก็จำไม่ได้ ซื้อจากศึกษาภัณฑ์ในสภาพเก่าแก่ กระดาษบางกรอบ อ่านไปกลัวขาดไป
จนกระทั่งได้เห็นเล่มนี้เมื่อสี่ปีก่อน ดีใจมากรีบซื้อเก็บไว้อีก
หนังสือเย็บกี่อย่างดี ไม่มีการหลุดเป็นแผ่นๆ ค่ะ
ความหนา ๑,๐๑๓ หน้า แต่เล่มใหม่นี้ยังไม่ได้อ่านทุกหน้าเหมือนเล่มเก่า เปิดอ่านซ้ำแต่ตอนที่ชอบๆ กลอนเพราะๆ หลายๆ ตอนค่ะ

เป็นหนังสือกลอนที่ดีพร้อมจริงๆ อ่านหลายรอบไม่เบื่อ

เรียกได้ว่าเป็นบทกวีชั้นครู ทั้งผู้นิพนธ์ และคนอ่าน ที่ต้องสามารถจัดแบ่งคำในแต่ละวรรคให้ได้จังหวะ เพราะจำนวนคำในแต่ละวรรค มีตั้งแต่ 6-9 หรือสิบพยางค์ และไม่สามารถแบ่ง สาม สอง สาม หรือสาม สาม สาม ได้เสมอไป บางที สอง สาม สอง หรืออื่นๆ

ตอนแรกๆ อ่านไปอาจ ไม่เข้าใจ คิดว่าไม่เพราะ คำไม่ลงตัว ไม่เหมือนในบทเรียนที่เรียนว่า กลอนเพราะควรจะมีเจ็ด แปด หรือเก้าคำ และเวลาแต่ง ควรแบ่งวรรคการอ่านให้ได้ตามมาตรฐาน
หากนั่นใช้ได้สำหรับการเริ่มแต่งค่ะ แต่งไม่กี่บท อ่านง่ายๆ ก็ไพเราะดี
แต่ในการประพันธ์เรื่องที่ยาวขนาดนี้ หากกวี ใช้จำนวนคำ และจังหวะเดิมๆ ไปสักสองสามพันบท คิดดูเถอะค่ะว่ามันจะรู้สึกน่าเบื่อสักแค่ไหน

เหมือนฟังเพลงซ้ำ ร้องเพลงจังหวะเดิมซ้ำ หากเพียงสิบบท ร้อยบท อ่านไป ยังไพเราะ ยังโอเคค่ะ แต่พอเริ่มเป็นพันๆ บท มันไม่ไหวแล้ว จังหวะมันชวนหลับ คือ จำนวนคำ กับ จังหวะกลอน โดยเฉพาะวิธีใช้สัมผัสใน

เช่นสัมผัสสระคำที่ห้ากับเจ็ด(หรือหกกับแปด)มันคล้ายคลึงแทบเหมือนกัน บ่อยๆ เข้าความเพราะ ความประทับใจ จะเริ่มจางไป กลายเป็นเฝือ และเบื่อได้ค่ะ

หากว่าอ่านแรกๆ ยังไม่ชิน ไม่รู้จะแบ่งคำอย่างไร นั่นก็เพราะ เราเอง ยังไม่ชำนาญ ในการอ่านกลอน ยังไม่ลึกซึ้งในการรับรสกวี

ถ้าอ่านมากๆ อ่านหลายรอบขึ้น หรือมีประสบการณ์การอ่านบทกลอนมากขึ้นแล้วจะรู้สึกอย่างใหม่ขึ้นมาว่า แบบนี้ มีเสน่ห์ น่าจดจำมากกว่า
และเป็นศิลปะมากกว่าการจัดคำเข้าแถวลงแบบแผนตายตัวค่ะ เพราะทำอย่างนั้นแล้ว เสน่ห์มันลดลงไปเยอะเลย

แล้วจะรู้สึกว่า นี่แหละ ดีจริง
ไพเราะแบบผ่านบทพิสูจน์ของกาลเวลา และเมื่อมาทำเป็นบทร้องในเพลงแล้ว ร้องออกมาได้ความชัดเจน เอื้อนเสียงไพเราะจริงๆ
(ในการร้องเพลงเราสามารถทำให้คำร้องสองคำ หรือสองพยางค์ยาวเป็นสามจังหวะได้ง่ายๆ และในทางกลับกัน ยาวเป็นสั้นลงได้ มากกว่าการอ่านธรรมดาด้วย)

เรื่องอิเหนาแม้มีสำนวนเฉพาะ ซ้ำ หรือคล้ายบ้าง แต่ไม่มากเลยค่ะ และการใช้สัมผัสในหลากหลายมาก ทั้งการใช้สัมผัสสระ และสัมผัสอักษร ทั้งยังค่อนข้างประหยัด "คำ" เพื่อรักษา "ความ" มากกว่าเติมคำเพียงเพื่อให้เต็มแปดคำในแต่ละวรรคเท่านั้น

อาจเป็นเพราะส่วนหนึ่ง เมื่อเป็นพระนิพนธ์ ซึ่งทรงอำนวยการแต่ง หากแต่มีกวีหลายท่านที่มีชื่อเสียงร่วมกันแต่งถวายหน้าพระที่นั่ง แล้วทรงพิจารณาวินิจฉัย ตลอดจนดัดแปลงสำนวนเหล่านั้นจนลงตัว ก็เลยมีความหลากหลาย ทั้งไอเดียดีๆ และสำนวนกลอน เข้ามามากขึ้น

หากด้วยพระอัจฉริยภาพ ก็ทรงควบคุมให้ สำนวนในเรื่องราบรื่นเป็นอันหนึ่งอันเดียว ไม่กระโดดไปกระโดดมาเหมือนหลายคนแต่ง แต่กลับ ละเมียดละไม ราวกับผู้แต่งเป็นเพียงคนๆ เดียวเท่านั้นได้

ทั้งยังรักษา ลักษณะเฉพาะของนิสัยตัวละคร บุคลิกภาพ ได้ค่อนข้างชัดเจน

นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมในสมัยนั้น โดยเฉพาะประเพณีในราชสำนัก หน้าที่ของข้าราชบริพารต่างๆ ก็แลเห็นได้กระจ่างในเรื่องนี้ จึงดีสำหรับการศึกษาหลายแขนง ทั้งจารีตประเพณีกฎระเบียบในราชสำนัก โบราณคดี ภาษา และนาฏศิลป์

แม้ว่าอิเหนา เมื่ออ่านแล้วจะได้รับความบันเทิงสนุกสนาน ในทำนองคล้ายนิยายรัก มากกว่านิยายรบอย่างรามเกียรติ์ แต่ก็ให้ความรู้มากด้วย นอกจากด้านประเพณี ชีวิตโบราณ แล้วยังเป็นต้นแบบบทละครรำ ซึ่งทรงนิพนธ์ ไว้ละเอียดลออ ว่าตอนใด ใช้เพลงหน้าพาทย์เพลงใดอีกด้วยค่ะ

ตนเองก็ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องละครรำโบราณมากนักหรอกนะคะ แต่ก็ได้รู้จักบางเพลงจากเรื่องนี้ค่ะ และได้แรงบันดาลใจให้ตามไปดูละครและโขน ที่โรงละครแห่งชาติมาพักหนึ่งเหมือนกัน

ศิลปะวัฒนธรรมไทยนั้น ลึกซึ้งงดงาม เรียกได้ว่าประณีตศิลป์จริงๆ

อิเหนาเป็นบทละคร
คือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของศิลปการละครแบบไทยเท่านั้น
ยังน่าประทับใจถึงเพียงนี้
ยังมี ดนตรีมโหรีปี่พาทย์ กระบวนนาฏศิลป์ นักรำทั้งหลายที่ฝึกสอนพัฒนากันมา จนถึงช่างผู้ประดิษฐ์เครื่องแต่งกายอันหรูหราอลังการ แค่วิธีการนุ่งผ้าพระที่ต้องเย็บกับตัวคนสวมนี่ก็ต้องเรียนกันเป็นปีกว่าจะชำนาญแล้ว

ศิลปะไทยยังมีอะไรให้เรียนรู้มากมายไม่หมดสิ้นกันจริงๆ ค่ะ

ว่าแล้วก็ต้องยกบทไพเราะที่ติดตรึงใจคนมาจนทุกวันนี้ อย่างที่ขึ้นชื่อบล็อกไว้ และอีกหลายๆ บทมาให้อ่านกันนะคะ(ต่อในคอมเม้นท์ค่ะ)

...more

ผู้แต่งเรื่องอิเหนารัชกาลใด

  Cross-genre explorers, history nerds, and recovering English majors will want to spend some time with this specially curated collection...

Welcome back. Just a moment while we sign you in to your Goodreads account.

ผู้แต่งเรื่องอิเหนารัชกาลใด