ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโซเชียลเน็ตเวิร์กมีการแชร์ภาพชุดเปิดสมุดภาพ “ขรัวอินโข่ง” สมุดไทย ร่างภาพลายเส้น ฝีมือขรัวอินโข่งวัดราชบูรณะ จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 จากสำนักหอสมุดแห่งชาติ

Advertisment

สมุดดังกล่าว มีลักษณะเป็นสมุดข่อย หรือสมุดไทยขาว เป็นกระดาษที่พับไปมาต่อเนื่องกันเป็นเล่ม มีร่องรอยการวาดทับและระบายสีบางส่วน เชื่อว่าน่าจะวาดทับลงไปบนเส้นเดิมโดยช่างรุ่นหลัง ที่เป็นฝีมือของพระอาจารย์อินทร์ (ขรัวอินโข่ง) จะเป็นเส้นดินสอดำและเส้นหมึก เป็นภาพร่างบุคคล ยักษ์ ลิง สัตว์ ลวดลายพันธุ์พฤกษา และสถาปัตยกรรม น่าจะเป็นภาพร่างก่อนที่จะเขียนลงบนพระบฏ หรือฝาผนัง

ข้อมูลจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ ระบุว่า พระอธิการวัดพลับพลาชัย เพชรบุรี ผู้เป็นศิษย์ มอบให้หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2453

Advertisement

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

ขรัว อินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 – รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิม ชื่อ อิน เป็นชาวเพชรบุรี เดินทางเข้ามาบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดราชบูรณะ หรือวัดเลียบในกรุงเทพฯ
แม้จะเป็นจิตรกรเอกในสมัยรักชาลที่ 4 แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่า ขรัวอินโข่ง ร่ำเรียนการเขียนภาพจากใคร และเมื่อใด จึงเชื่อว่าเป็นพรสวรรค์ของท่านเอง รวมถึงการหัดเขียนกับช่างเขียนบางท่านในยุคเดียวกัน

จุดเด่นของผลงานขรัวอินโข่งคือการเขียนแบบผสมผสานอิทธิพลศิลปะตะวันตกที่เข้ามาในสยามในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเขียนภาพให้มีแสงเงา มีมิติเหมือนธรรมชาติ และมีความคิดสร้างสรรค์ที่ต่างไปจากจิตรกรรมไทยประเพณีในยุคก่อนหน้า

Advertisement

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

ทั้งนี้ สมุดภาพดังกล่าว เคยถูกนำมาจัดแสดงนิทรรศการงานช่างหลวง ใน พ.ศ. 2554 แต่เพิ่งกลับมาเป็นกระแสกว้างขวางในขณะนี้ เนื่องจากมีผู้มีชื่อเสียงหลายราย กล่าวถึงสมุดภาพดังกล่าวขึ้นมา เช่น ศาสตราจารย์ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยกล่าวในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เป็นสิ่งที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้ ยังทำการวิเคราะห์ถึงพัฒนาการด้านศิลปะของไทยหลังจากยุคของขรัวอินโข่งว่า หากเทียบกับจิตรกรรมฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียแล้ว สยามแทบไม่มีพัฒนาการด้านนี้เลย ซึ่งหากตอบแบบสูตรสำเร็จก็เพราะไม่ได้เป็นอาณานิคมตะวันตก จึงไม่ได้การศึกษาและปฏิบัติกันอย่างจริงจัง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดกระแสการแชร์ภาพชุดนี้ ได้มีผู้แสดงความเห็นชื่นชมฝีมือของขรัวอินโข่งจำนวนมาก บางรายถึงกับเทียบกับสมุดบันทึกของไมเคิล แอนเจโล ศิลปินระดับโลกชาวอิตาเลียน ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ(Renaissance) เมื่อราว 500 ปีที่แล้วอีกด้วย

ขรัวอินโข่ง (หาภาพไม่ได้จริงๆ) จิตรกรผู้นำเอาเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในงานจิตรกรรมไทยเป็นคนแรกของเมืองไทยก็ว่าได้

ขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 (ไม่ปรากฏวันเดือนปีเกิด) ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจำรัชกาลที่ 4 แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ 

ศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล 

นับเป็นศิลปินก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดำเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้าด้วยกัน 

ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกย่องว่า

ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัยนี้

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

อ.ศิลป์ พีระศรี คนนี้เป็นคนวางรากฐานการเรียนสาขาศิลปะในไทย เป็นบิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยก็ว่าได้ ท่านทุ่มเททั้งชีวิตให้กับวงการศิลปะของเมืองไทย 

ท่านเคยกล่าวว่าท่านเป็นคนไทยแต่ท่านเกิดผิดที่

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี – Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากรจนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินไทยที่น่าจะบอกนิยามของคำว่าบ้ากับอัจฉริยะบางทีก็มีแค่เส้นบางๆ กั้นไว้ได้ดีที่สุด ถือเป็นศิลปินเอกของเมืองไทยในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้

 เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงาน

สถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องขึ้นเป็น 

ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินนักปรัชญา 

ที่มีภาษาปรัชญาสูงเกินกว่าที่ประชาชนคนธรรมดาจะเข้าใจ เรียกว่าท่านพูดอะไรออกมาต้องกลับไปคิดอีกรอบว่าท่านพูดว่าอะไร55

(27 กันยายน พ.ศ. 2482 — 3 กันยายน พ.ศ. 2557) เป็นจิตรกร ช่างเขียนรูป แห่งดอยสูงเชียงราย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อพ.ศ. 2544

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ 

ใครไปวัดหลวงพ่อโสธรลองเดินดูภาพบนพื้นวิหาร กับจักรวาลบนเพดานนะ ฝีมืออาจารย์ท่านนี้เลย (28 ตุลาคม พ.ศ. 2477 – 19 กันยายน พ.ศ. 2557) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) พ.ศ. 2541, อดีคคณบดี คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ศิลปินชั้นเยี่ยมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

อ.จักรพันธุ์  โปษยกฤษ 

ว่ากันว่าไม่มีใครวาดภาพนางละครได้หวานละมุนเท่าท่านอีกแล้ว

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

อ.เฉลิม นาคีรักษ์ 

ลูกศิษย์คนเก่งของ อ.ศิลป์ พีระศรี ที่สืบทอดวิชาความรู้ถ่ายทอดให้ศิษย์รุ่นหลัง

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

ศาสตราจารย์กมล ทัศนาญชลี 

ศิลปินแห่งชาติ ปี 2540 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) เกิดเมื่อ 17 มกราคม 2487 ถือเป็นศิลปินดีเด่นในด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในและต่างประเทศ ทางด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ในแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณีไทยในอดีต

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

อ.ชลูด นิ่มเสมอ

ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ เกิดเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นศิลปินผู้มีความเชี่ยวชาญในการสร้างงานหลายประเภท จบการศึกษาจาก วิทยาลัยเพาะช่าง, มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ประกาศนียบัตร Diploma of Fine Arts จากสถาบันศิลปะ Accademia di Belle Arti แห่งกรุงโรม อิตาลี โดยในสมัยเรียนที่ศิลปากรนับได้ว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกๆของ ศ.ศิลป์ พีระศรี 

ผลงานที่โดดเด่นได้แก่ ประติมากรรม “โลกุตระ” ด้านหน้าทางเข้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

ประเทือง เอมเจริญ

“ประเทือง เอมเจริญ”  ศิลปินแห่งชาติ สาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบของตนเอง จนเกิดงานศิลปะอันล้ำค่าที่มีคุณค่ายิ่ง

นายประเทือง เอมเจริญ ปัจจุบันอายุ ๗๐ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินที่ศึกษาศิลปะด้วยตนเองอย่างมุ่งมั่น อดทน ด้วยการศึกษาค้นคว้างานทางศิลปะอย่างหนัก ศึกษาปรัชญาชีวิตทั้งศิลปะของอินเดีย จีนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บรรลุศิลปะด้วยตนเอง ท่านได้รับปริญญากิตติมศักดิ์มากมายเลยทีเดียว

ขรัวอินโข่ง เป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านใด

****ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือเพศบรรพชิต เป็นจิตรกรไทยคนแรกที่นำเอา เทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตกมาใช้ ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธ

ขรัวอินโข่ง เขียนภาพไว้ที่ใด

ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรสมัยรัชกาลที่ 4 สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงมากอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ วัดบรมนิวาสฯ และวัดมหาสมณาราม (เขาวัง) ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น เรื่องราวในจิตรกรรมของขรัวอินโข่งจะเป็นเรื่องความเป็นอยู่ของฝรั่ง และมีคำเขียนอุปมาอุปมัยเป็นลักษณะปริศนาธรรมประกอบภาพอยู่ด้วย

ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนในรัชกาลใด

อาจนับว่าเป็นโชคดีที่สุดในชีวิตของขรัวอินโข่งที่ฝีมือของท่านไปต้องพระทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารและออกผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ พระองค์ท่านโปรดฝีมือของขรัวอินโข่งมากถึงกับพระราชทานมอบหมายให้ขรัวอินโข่งเขียนผนังวัดที่สำคัญหลายแห่งเรื่อยมาจนตลอดรัชกาล งานจิตรกรรมฝาผนัง ...

ข้อใดคือผลงานจิตรกรรมของขรัวอินโข่ง *

ผลงานของท่าน ท่านขรัวอินโข่ง ได้วาดภาพฝาผนังอุโบสถมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาดในพระอุโบสถวัดมหาสมณาราม ภาพวาดที่มณฑปพระพุทธบาท วัดพระงามอยุธยา ภาพวาดในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร หรือแม้แต่ภาพปริศนาธรรมด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนกระดานไม้ ก็ทำให้เราขบคิดอะไรได้อีกหลายอย่าง สมกับเป็นผลงานชั้นครูอย่างแท้จริง