ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ

ร้อยกรองไทยมีความหมาย 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงการแต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ อีกนัยหนึ่งหมายถึงถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบทบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น กวีนิพนธ์ บทกวี บทประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานต์ กานต์ รวมทั้งคำว่าฉันท์ กาพย์และกลอนด้วย

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/ฉันทลักษณ์_(กวีนิพนธ์ไทย)

โคลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/โคลง

 ร่าย เป็นร้อยกรองแบบหนึ่ง มีสี่ประเภทได้แก่ ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น และร่ายโบราณ

         ร่ายยาว

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ

ร่ายยาว คือ ร่ายที่ไม่กำหนดจำนวนคำในวรรคหนึ่ง ๆ แต่ละวรรคจึงอาจมีคำน้อยมากแตกต่างกันไป การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำหนึ่งคำใดในวรรคถัดไป จะแต่งสั้นยาวเท่าไรเมื่อจบนิยมลงท้ายด้วยคำว่า แล้วแล นั้นแล นี้เถิด โน้นเถิด ฉะนี้ ฉะนั้น ฯลฯ เป็นต้น

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ

ตัวอย่าง โพธิสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ อันสร้างสมดึงส์ปรมัตถบารมี เมื่อจะรับวโรรัตนเรืองศรีแปดประการ แด่สำนักนิท้าวมัฆวานเทเวศร์ ก็ทูลแก่ท้าวสหัสเนตรฉะนี้

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ
— กาพย์มหาชาติ สักรบรรพ

          ร่ายโบราณ

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ

ร่ายโบราณ คือ ร่ายที่กำหนดให้วรรคหนึ่งมีคำห้าคำเป็นหลัก บทหนึ่งต้องแต่งให้มากกว่าห้าวรรคขึ้นไป การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่หนึ่ง สอง หรือสาม คำใดคำหนึ่งของวรรคถัดไป และยังกำหนดอีกว่า หากส่งด้วยคำเอก ต้องสัมผัสด้วยคำเอก คำโทก็ด้วยคำโท คำตายก็ด้วยคำตาย ในการจบบทนั้น ห้ามไม่ให้ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ประสมอยู่เป็นคำจบบท อาจจบด้วยถ้อยคำ และอาจแต่งให้มีสร้อยสลับวรรคก็ได้

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ

ตัวอย่าง ...พระบาทเสด็จ บ มิช้า พลหัวหน้าพะกัน แกว่งตาวฟันฉฉาด แกว่งดาบฟาดฉฉัด ซ้องหอกซัดยยุ่ง ซ้องหอกพุ่งยย้าย ข้างซ้ายรบ บ มิคลา ข้างขวารบ บ มิแคล้ว แกล้วแลแกล้วชิงข้า กล้าแลกกล้าชิงขัน รุมกันพุ่งกันแทง เข้าต่อแย้งต่อยุทธ์ โห่อึงอุดเอาชัย เสียงปืนไฟกึกก้อง สะเทือนท้องพสุธา หน้าไม้ดาปืนดาษ ธนูสาดศรแผลง แข็งต่อแข็งง่าง้าง ช้างพะช้างชนกัน ม้าผกผันคลุกเคล้า เข้ารุกรวนทวนแทง รแรงเร่งมาหนา ถึงพิมพิสารครราช พระบาทขาดคอช้าง ขุนพลคว้างขวางรบ กันพระศพกษัตริย์ หนีเมื้อเมืองท่านไท้ ครั้นพระศพเข้าได้ ลั่นเขื่อนให้หับทวาร ท่านนา

ตัวอย่างแบบมีสร้อยสลับวรรค เจ้าเผือเหลือแผ่นดิน นะพี่ หลากระบิลในแหล่งหล้า นะพี่ บอกแล้วจะไว้หน้าแห่งใด นะพี่ ความอายใครช่วยได้ นะพี่ อายแก่คนไสร้ท่านหัว นะพี่ แหนงตัวตายดีกว่า นะพี่ สองพี่อย่าถามเผือ นะพี่ เจ็บเผื่อเหลือแห่งพร้อง โอเอ็นดูรักน้อง อย่าซ้ำจำตาย หนึ่งรา.

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ
— ลิลิตพระลอ

           ร่ายดั้น


ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ


ร่ายดั้น คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายโบราณ แต่ไม่เคร่งเรื่องการรับสัมผัสระหว่างชนิดคำ คือ คำเอกไม่จำเป็นต้องรับด้วยคำเอก เป็นต้น ส่วนการจบบท ใช้บาทที่สามและสี่ของโคลงดั้นมาปิดท้ายบท และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ

ตัวอย่าง ศรีสุนทรประฌาม งามด้วยเบญจพิธ องค์ประดิษฐ์อุตดม อัญขยมประจงถวาย พร้อมด้วยกายวาจาจิต...มวลมารพ่ายแพ้สูญ สิ้นเสร็จ ทรงพระคุณล้ำล้น เลิศครู

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ
— ลิลิตดั้นมาตาปิตุคุณคาถาบรรยาย - พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

           ร่ายสุภาพ

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ

ร่ายสุภาพ คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายดั้นทุกประการ ส่วนการจบบท ใช้โคลงสองสุภาพจบ และนิยมมีคำสร้อยปิดท้ายด้วย และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ

ตัวอย่าง สรวมสวัสดิวิชัย เกริกกรุงไกรเกรียงยศ เกียรติปรากฏขจรขจาย สบายทั่วแหล่งหล้า ฝนฟ้าฉ่ำชุ่มชล ไพศรพณ์ผลพูนเพิ่ม เหิมใจราษฎร์บำเทิง...ประเทศสยามชื่นช้อย ทุกข์ขุกเข็ญใหญ่น้อย นาศไร้แรงเกษม โสตเทอญ

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง 108 แบบ
— ลิลิตนิทราชาคริต - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/ร่าย

ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต"

วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ

ลิลิตที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของโคลงลิลิต คือ ลิลิตพระลอ

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/ลิลิต

กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัส ไม่มีบังคับเอกโทและครุลหุ เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้ โดยพิจารณาจากหลักฐานในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์(เป็นตัวหนังสือ) และวรรณกรรมมุขปาฐะ(เป็นคำพูดที่บอกต่อกันมาไม่มีการจดบันทึก) โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้านเช่น บทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก เพลงชาวบ้าน เป็นต้น

กลอนมารุ่งเรืองในยุครัตนโสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีกวีสำคัญๆ ได้แก่ องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ กรมหลวงวรวงศาธิราชสนิท ฯลฯ โดยเฉพาะสุนทรภู่ เป็นกวีที่ทำให้ฉันทลักษณ์กลอนพัฒนาถึงระดับสูงสุด มีความลงตัวทางฉันทลักษณ์ทำให้กลอนลีลาแบบสุนทรภู่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบบฉบับของกลอนที่ไพเราะที่สุดและนิยมแต่งจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/กลอน

กาพย์ เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่บังคับจำนวนคำและสัมผัส จัดวรรคต่างจากกลอนและไม่บังคับเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ไม่มีบังคับเอก-โทเหมือนโคลง และไม่มีบังคับครุและลหุเหมือนฉันท์

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/กาพย์

ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของร้อยกรองในภาษาไทย ที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ ฉันท์ในภาษาไทยรับแบบมาจากประเทศอินเดีย ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤต คือ ปิงคลฉันทศาสตร์ แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา แต่งเมื่อ พ.ศ. 1703 เป็นที่มาของ คัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทย เมื่อคัมภีร์วุตโตทัยแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย กวีจึงได้ปรับปรุงให้เหมาะกับขนบร้อยกรองไทย เช่น จัดวรรค เพิ่มสัมผัส และเปลี่ยนลักษณะครุ-ลหุแตกต่างไปเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความไพเราะของภาษาไทยลงไป

ฉันท์ ในคัมภีร์วุตโตทัยได้แปลงเป็นฉันท์ไทยครบทั้ง 108 ชนิด ในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยนายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติมจนครบถ้วนและจัดพิมพ์รวมเล่มทั้งหมดในปี พ.ศ. 2474 ใช้ชื่อว่า ฉันทศาสตร์

นอกเหนือจากฉันท์ทั้ง 108 ชนิดดังกล่าวแล้ว กวีได้ทดลองประดิษฐ์ฉันท์ในรูปแบบใหม่ ๆ โดยดัดแปลงจากฉันท์เดิมบ้าง โดยเลียนเสียงเครื่องดนตรีบ้าง หรือโดยแรงบันดาลใจจากฉันท์ต่างประเทศ หรือชื่อบุคคลสำคัญบ้าง อย่างไรก็ตาม ฉันท์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ล้วนจัดอยู่ในประเภทฉันท์วรรณพฤติทั้งสิ้น

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/ฉันท์

กลบท คือการประดิษฐ์คิดแต่งคำประพันธ์ให้มีลักษณะแปลกไปจากเดิม โดยที่ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ชนิดนั้นยังอยู่ครบถ้วน คำประพันธ์ที่แต่งเป็นกลได้มีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย

กลบทเป็นเครื่องแสดงสติปัญญาของกวีในการที่จะคิดค้นพลิกแพลงกวีนิพนธ์แบบฉบับให้มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษขึ้น โดยการเพิ่มลักษณะบังคับต่าง ๆ และเป็นเครื่องลับสมองลองปัญญาในหมู่กวีด้วยกัน ในการที่จะพยายามถอดรูปกลแบบที่ซ่อนไว้ให้สำเร็จ ผลพลอยได้คือความไพเราะของกวีนิพนธ์ แต่ก็มีกลบทจำนวนไม่น้อยที่ไพเราะสู้คำประพันธ์ธรรมาดาไม่ได้ เนื่องจากลักษณะบังคับที่เพิ่มมาอาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อความไพเราะ ตัวอย่าง เช่นกลบทบังคับใช้คำตายทุกคำ เป็นต้น

ฉันท์คือคำประพันธ์แบบใด

ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุและสัมผัสเป็นมาตรฐาน ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤตไทยนำเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในคำประพันธ์ไทย

คำประพันธ์ประเภทฉันท์ใดที่นิยมแต่งบทอาเศียรวาท

อาศิรวาท หรือ อาเศียรวาท นิยมแต่งเป็นบทร้อยกรอง และที่ใช้มากที่สุดคือฉันท์ เช่น สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ (อ่านว่า สัด-ทุน-วิก-กี-ลิด-ตะ-ฉัน) วสันตดิลกฉันท์ (อ่านว่า วะ -สัน-ตะ-ดิ -หฺลก-ฉัน) อินทรวิเชียรฉันท์ (อ่านว่า อิน-ทฺระ-วิ -เชียน-ฉัน). ที่แต่งเป็นกาพย์ โคลง หรือ กลอน ก็มีบ้าง.

ฉันท์ของไทยมีที่มาจากคัมภีร์ที่มีชื่อว่าอะไร

ฉันท์คือลักษณะถ้อยคา ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ให้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกาหนดคณะ ครุลหุและ สัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน ฉันท์ของไทยมีที่มาจากคัมภีร์วุตโตทัยของอินเดีย เข้ามาในเมืองไทยประมาณปลายสมัย กรุงสุโขทัยหรือต้นกรุงศรีอยุธยา ฉันท์ในภาษาบาลีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติกับฉันท์มาตรา พฤติ ซึ่งฉันท์มีชื่อต่าง ๆ ตามที่ ...

ใครเป็นผู้แปลงฉันท์จนครบทั้ง ๑๐๘ แบบ

ฉันท์ ในคัมภีร์วุตโตทัยได้แปลงเป็นฉันท์ไทยครบทั้ง 108 ชนิด ในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยนายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติมจนครบถ้วนและจัดพิมพ์รวมเล่มทั้งหมดในปี พ.ศ. 2474 ใช้ชื่อว่า ฉันทศาสตร์