พลเมืองคือใคร

ข้อถกเถียงประเด็นว่าด้วยคำว่า “พลเมือง” กับ “บุคคล” หรือ “ประชาชน” หรือ “ราษฎร”

 เป็นหัวข้อสำคัญ ไม่ใช่เพียงความเห็นต่างระหว่างคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กับคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญติแห่งชาติ หรือ สนช. เท่านั้น

เพราะความแตกต่างในความหมายมีนัยสำคัญมากพอ ที่จะต้องมีการถกแถลงกันของคนไทย ในความพยายามจะเข้าใจบทบาทของ “เจ้าของประเทศ” อย่างถ่องแท้

ข่าวบอกว่า ครม. และ สนช. บางท่านต้องการให้เปลี่ยนคำว่า “พลเมือง” ในร่างรัฐธรรมนูญเพราะมีความหมายด้านอุดมคติมากเกินไป หรือยึดหลักทฤษฏีมากไป ควรจะใช้คำว่า “บุคคล” หรือ “ประชาชน” ดั่งที่ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ

แต่คุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแย้งกลับว่า คำว่า “พลเมือง” มีนัยสำคัญ ไม่ใช่เพียงวาทกรรมทำนองเดียวกับ “เรือแป๊ะ” หรือ “เกินลงกา” แต่ “พลเมือง” คือความพยายามแก้ไขวัฒนธรรมของราษฎรในการไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

ผมเข้าไปค้นหาคำนิยามของ “พลเมือง” ในหลาย ๆ แหล่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ท ก็ได้สาระที่น่าสนใจว่า

“ประชาชน” หมายถึงคนของประเทศ เช่น ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรู้กฎหมาย ใครจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่ได้ คำว่า ประชาชน ในบางครั้ง อาจหมายถึงผู้ที่ไม่ใช่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หรือนักบวช และในบางครั้งหมายถึงผู้ที่มิได้เป็นพ่อค้าด้วย

ส่วน “ประชากร” หมายถึง คนโดยทั่วไป แต่มักใช้ในกรณีที่จะพิจารณาถึงจำนวน คือจำนวนคนของประเทศหรือของโลก ในทางสถิติ มีการใช้คำว่า ประชากร หมายถึงจำนวนของสัตว์ หรือสิ่งที่สำรวจที่พิจารณาด้วย 

“พลเมือง” หมายถึง หมู่คนที่เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง คนทั้งหมดซึ่งเป็นกำลังของประเทศ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การทหาร และอำนาจต่อรองกับประเทศอื่น โดยนัยของความหมาย คำว่า พลเมือง หมายถึง คนที่สนับสนุนเป็นกำลังอำนาจของผู้ปกครอง เป็นคนที่อยู่ในการควบคุมดูแลของผู้ปกครอง

หากเป็นภาษาอังกฤษคำว่าพลเมืองคงหมายถึง citizen ซึ่งไม่เหมือนกับคำว่า people หรือ population เสียเลยทีเดียว

ยิ่งถ้าเป็น “บุคคล” ก็จะแปลเป็น “persons” หรือ “individuals” ซึ่งบางคนก็อาจจะแปลเป็นไทยว่า “ปัจเจก” ซึ่งก็จะยิ่งไกลจากความหมายของการเป็น “พลเมือง” ออกไปอีก

ท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่งยืนยันว่าคำว่า “พลเมือง” มีความหมายแตกต่างจากคำว่า “ประชาชน”แน่นอน เพราะความเป็นพลเมืองนั้นหมายถึงคนที่มีความสามารถที่จะแสดงความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและส่วนรวม พลเมืองจึงต้องเป็นผู้มีความรู้และเข้าไปช่วยตัดสินใจในปัญหาสำคัญๆ ของสังคม ของชุมชน ของประเทศ หมายถึงเข้าไปอยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีความคิดอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ต่างจากคำว่า ประชาชน ที่กลายเป็นผู้รับคำสั่ง ทำตามผู้อื่น การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจึงอยู่ที่การเปลี่ยนให้ประชาชนคนธรรมดาได้กลายเป็นพลเมืองที่มีสิทธิกำหนดทิศทางของประเทศได้

หากตีความตามความหมายนี้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่าคนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องการใช้คำว่า “พลเมือง” เพื่อตอกย้ำความสำคัญของการทำให้ “ประชาชนทั่วไป” หรือ “ราษฎร” กลายเป็น “พลเมือง” ซึ่งมีพลังอำนาจในการต่อรองและพร้อมจะลุกขึ้นปกป้องสิทธิของตน อีกทั้งยังไม่ยอมให้ใครมีพฤติกรรมซื้อสิทธิ์ขายเสียงอันเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

คุณบวรศักดิ์บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการเขียนให้ “พลเมืองเป็นใหญ่” ซึ่งอาจตีความได้ว่าหากประชาธิปไตยเป็นไปตามที่ควรจะเป็นนักการเมืองต้องรับใช้พลเมือง และจะเกิดเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองมีความฉลาด รู้ทัน และมีความภูมิใจในความเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ยอมให้นักการเมืองมาซื้อเสียงหรือใช้เป็นเครื่องมือในการยึดอำนาจรัฐเป็นของตนด้วยวิธีการฉ้อฉลทั้งหลายทั้งปวง

แต่ท้ายที่สุด ตัวหนังสือก็คือตัวหนังสือ ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถจะสร้างวัฒนธรรมการเมืองที่ “เจ้าของประเทศ” เป็นใหญ่จริง และสามารถกำหนดชะตากรรมชีวิตของตนและประเทศชาติได้จริง ประชาชนก็เป็นได้เพียง “พลเมืองชั้นสอง” เท่านั้นเอง

เราจึงต้องเร่งสร้าง Active Citizens หรือ “พลเมืองตื่นรู้” ทั่วทุกหัวระแหงในประเทศ....ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “พลเมืองเป็นใหญ่” จะผ่านหรือไม่ผ่าน และจะผ่านด้วยเงื่อนไขอะไรก็ตาม!

จากข่าว 3-4 ชิ้นนี้ ผมคิดว่าน่าจะถึงเวลาที่เราต้องทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของคำสองคำกับบทบาทของรัฐหน่อยแล้ว คำสองคำที่ว่าก็คือ ประชากร (Population) กับ พลเมือง (Citizen) คำทั้งสองนี้เชื่อมโยงกับมุมมองรัฐที่มีต่อคนในสังกัดในพื้นที่อำนาจทางการปกครองค่อนข้างมาก หากท่านใดเคยอ่านงานที่ผมเขียนมาบ้างอาจจะพอสังเกตเห็นว่าผมจะใช้คำว่า ‘ประชากร’ ในการพูดถึงคนในประเทศไทยแทบจะโดยตลอด และแทบจะไม่เคยใช้คำว่า ‘พลเมือง’ เลย นั่นเพราะผมค่อนข้างจะระวังในการใช้คำสองคำนี้พอสมควร และมันส่งผลกับความเข้าใจเรื่องรัฐกับมนุษย์มากๆ

 

คำว่า ประชากร หรือ Population นั้น เรียกได้ว่าเป็นคำกลางๆ ที่แทบจะไม่ผูกติดกับคติทางการเมืองอะไรเลย มันมีไว้เพื่อ ‘นับ’ จำนวนคนในพื้นที่หนึ่งๆ เท่านั้น หรือก็คือ เป็นคำที่ใช้มองคนในฐานะตัวเลข วัตถุ หรือจำนวน โดยไม่ได้ยึดโยงกับระบอบหรือคุณค่าทางการเมืองใดๆ ในขณะที่คำว่า พลเมือง หรือ Citizen นั้นหมายถึงคนทั้งหมดที่ได้รับการรับรอง (recognize) โดยรัฐถึงศักดิ์ สิทธิ และเสรีภาพในฐานะสมาชิกของรัฐตามกฎหมาย ว่าเป็นผู้ซึ่งพึงได้รับการยอมรับและคุ้มครองโดยรัฐ นอกจากนี้ยังมีคำอย่าง ‘พลเมืองของโลก’ (Citizen of the World) ด้วย ที่หมายถึงคนที่ได้รับการรับรองตามเงื่อนไข กฎหมาย ข้อตกลง คำประกาศ และปฏิญญาระหว่างประเทศอันเป็นสากล ว่าง่ายๆ คือ ต่อให้รัฐไม่รับรองคนกลุ่มนี้ แต่คนกลุ่มนี้ก็ยังนับว่าเป็นคนอยู่ด้วยอยู่ดีตามข้อตกลงอันเป็นสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สถานะพลเมืองของโลกนี้บางครั้งก็ใช้กับคนซึ่งอยากตัดขาดความสัมพันธ์กับรัฐ หรือมองว่ารัฐหมดความสำคัญหรือควรยุติบทบาทลงได้แล้วด้วยก็มี โดยเฉพาะกับกลุ่ม Cosmopolitanism (สำนักพลเมืองโลก)

 

เหตุผลที่ผมแทบไม่ใช้คำว่า ‘พลเมือง’ กับรัฐไทยเลย (ใช้คำว่า ‘แทบ’ เพราะอาจจะมีเผลอหลุดบ้าง ซึ่งหากใครเจอแปลว่าผมไม่ได้ตั้งใจ) นั่นเพราะว่ารัฐไทยไม่มี ‘พลเมือง’ ในความหมายดังที่ว่ามา แต่รัฐไทยมองประชากรในฐานะ ‘หน่วยทางทรัพยากร’ ทางการปกครอง และตราบเท่าที่ประเทศยังไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการยืนยันหลักสิทธิมนุษยชน ประชากรของรัฐไทยก็จะไม่มีทางเป็นพลเมืองได้ ที่ผมพูดแบบนี้มันเป็นเพราะว่า

 

เงื่อนไขสำคัญในการเป็นพลเมืองคือ การที่รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองปกป้องความมั่นคงและสิทธิเสรีภาพของประชากรตามกฎหมาย จึงจะเป็นพลเมืองได้ ซึ่งนั่นเป็นกลไกของรัฐสมัยใหม่ ไม่ใช่กลไกของรัฐเผด็จการอำนาจนิยมแบบรัฐไทย

 

David Campbell[2] ได้อธิบายกลไกการทำงานของรัฐสมัยใหม่ อิงตามคำอธิบายของ Thomas Hobbes อย่างน่าสนใจว่า “รัฐสมัยใหม่ทำหน้าที่ในฐานะพระเจ้าองค์ใหม่” (State as the New God) ที่แคมเบลอธิบายเช่นนี้ก็เพราะว่า เดิมทีนั้นรัฐไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อปกป้องดูแลประชากร แต่มีขึ้นมาเพื่อปกป้องหรือแสวงหาอำนาจของเจ้าผู้ปกครอง หรือลอร์ดของแต่ละท้องที่ ประชากรของรัฐเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการปกป้องหรือแสวงหาอำนาจให้ผู้ปกครอง ทั้งในรูปกำลังในการผลิตทรัพยากร (คือ เป็นทรัพยากรเพื่อผลิตทรัพยากรนั่นเอง คล้ายๆ กับควายที่ใช้ไถนา คือ ตัวควายเองเป็นทรัพยากร เพื่อไปสร้างทรัพยากรชุดใหม่ คนในกรณีนี้ก็ไม่ต่างจากควาย…เพลง ‘คนกับควาย’ ลอยมา) หรือออกมาในรูปกำลังทหาร (Militia) ต่างๆ คำถามคือ ในรัฐก่อนสมัยใหม่นี้ ประชากรที่เป็นเพียงทรัพยากรจะเรียกร้องขอความคุ้มครองในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนจากใคร?…จาก “พระเจ้า”

 

เมื่อรัฐไม่ใช่ผู้ซึ่งคุ้มครองประชากร ประชากรของรัฐนั้นๆ จึงต้องฝากฝังความหวังต่อความเป็นอยู่และความมั่นคงกับพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ให้ช่วยประทานโอกาสต่างๆ ในชีวิต ให้รอดจากโจรป่าโจรสลัดยามเดินทาง หรือหากไม่รอด ตายไปจริงๆ ก็ขอให้ได้ไปมีชีวิตหลังความตายอย่างสงบสุขกับพระผู้เป็นเจ้า นี่คือกลไกการทำงานในฐานะพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ คือ เป็นกลไกในเพื่อคุ้มครองประชากรในยามที่รัฐไม่ทำหน้าที่หรือไม่มีหน้าที่ในการปกป้องพวกเขา

 

อย่างไรก็ดี เมื่อรัฐสมัยใหม่เกิดขึ้น เกิดกระบวนการต่อรองอำนาจทางการเมืองระหว่างฝ่ายประชาชนและเจ้าผู้ปกครองมากขึ้น จนในที่สุดนำมาซึ่งรัฐประชาธิปไตย รัฐไม่ได้มองประชากรในฐานะเครื่องมือของรัฐอีกต่อไป หากแต่ตัวรัฐต่างหากที่ต้องเป็นเครื่องมือของประชาชน คือ ประชาชนใช้, ปกป้อง และขยายอำนาจของตนเองผ่านกลไกของรัฐ (นั่นทำให้การกระจายอำนาจเป็นกลไกสำคัญของประชาธิปไตย ซึ่งในไทยก็ดับวอดไปแล้ว) และการคุ้มครองปกป้องประชากรก็เป็นหน้าที่หลักของรัฐไป รัฐจึงต้องมีกลไกอย่างกฎหมายที่ชัดเจน มีตำรวจมาควบคุมดูแลความสงบและความมั่นคงภายในรัฐ มีทหารเพื่อป้องกันภัยจากภายนอก (ซึ่งปัจจุบันน้อยมากแล้ว ปัญหาคือทหารไทยมักจะเป็นฝ่ายทำลายความมั่นคงของชาติเสียเองนี่แหละ) มีระบบสวัสดิการและสาธารณสุขที่ดี เพื่อปกป้องคุ้มครองประชากรจากโรคต่างๆ ฯลฯ นั่นทำให้ในทางปฏิบัติประชากรไม่จำเป็นต้องเรียกร้อง ขอความคุ้มครองและความมั่นคงจากพระเจ้าอีกต่อไป (เหลือเอาไว้แค่เป็นโวหารยามอุทาน “Oh my God! Oh Lord!” ไป)

 

ด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกประหลาดอะไรที่ประเทศไทยมันจะเป็นอย่างที่เป็นอยู่ แต่อ่านข่าวแล้วก็จุกเสียดแน่นอกอยู่ดี ที่อยู่กันมาจนศตวรรษนี้แล้วยังเป็นอย่างนี้กันอยู่อีก ไม่ใช่แค่เรื่องไผ่ ที่เป็นตัวอย่างของประชาชนซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเบี้ยในฐานะตัวอย่างในการสร้างความกลัวขึ้นหากคิดขัดขืน รวมถึงบ่งชี้ว่ารัฐอยากเลือกจัดการใครก็อยู่ในอำนาจรัฐทั้งสิ้น (รวมไปถึงอีกกรณีหนึ่งที่ผมไม่กล้ายกมาเพราะยังเสียดายชีวิต) หรือกรณีธรรมกายนี้เอง เอาจริงๆ กรณีคุณลุงฆ่าตัวตายนั้น ค่อนข้างจะถกเถียงได้อยู่บ้าง หากมองจากมุมเรื่องสิทธิในการเลือกจบชีวิตตนเอง การฆ่าตัวตายก็คือสิทธิแบบหนึ่ง แต่กรณีของคุณพัฒนา ที่เสียชีวิตเพราะติดด่านนั้น มันบอกกับเราชัดเจนว่า

 

“พื้นที่ทางอำนาจของรัฐ มีค่ามากกว่าความมั่นคงทางชีวิตของประชากร” …เราไม่ใช่พลเมือง

 

หากย้อนคิดกลับไปสักหน่อยเราจะพบเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้มากมาย หลายเหตุการณ์ยกมาพูดอีกไม่ได้เช่นกันเพราะผมเองก็เสียดายชีวิตตัวเองอยู่ และการที่ผมจะเขียนอะไรง่ายๆ แค่นี้ แค่ยกเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์มาพูดยังยกไม่ได้ เพราะเสียดายชีวิตตัวเองอยู่นั้น ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่บอกกับเราว่ารัฐไม่ได้มีขึ้นเพื่อคุ้มครองชีวิตของประชากร แต่มีขึ้นเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้…พฤษภา 53 ที่ห้างร้านและถนนมีค่ามากกว่าชีวิตคนเกือบร้อยก็เช่นกัน, 6 ตุลาคม 2519 ที่การฆ่าและทรมานในนามความมั่นคงของรัฐเองก็เช่นกัน และเหตุการณ์อื่นๆ อีกมากมาย

 

ด้วยความที่เหตุการณ์อย่างนี้มันเกิดเหตุขึ้นในช่วงศตวรรษนี้ซึ่งโลกมันพัฒนาไปมากแล้ว เราสามารถเห็นความคิด เห็นความเป็นจริงในที่อื่นๆ ของโลกได้ อย่างยากที่รัฐหรือใครจะปิดกั้นได้หมดหรือโดยตลอด ‘หากเราคิดที่จะเห็น’ การไม่เห็นในศตวรรษนี้มันเป็นเพียงคำอ้างของการ ‘เลือกจะไม่มองไม่เห็น’ เท่านั้น มันจึงนำมาสู่สภาวะการเรียกร้องที่แสนจะย้อนแย้งและน่าหดหู่ในประเทศไทยไป คือ ฝ่ายที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพเองก็รู้ดีว่า พวกตนกำลังเรียกร้องความเป็นธรรม สิทธิและอำนาจของประชากรในฐานะพลเมือง ความเป็นประชาธิปไตย จากผู้ซึ่ง ‘พราก’ สิ่งเหล่านี้จากรัฐไทยไป มันคือความย้อนแย้งที่น่าเศร้า เพราะไม่เรียกร้องกับคนเหล่านี้ ก็ไม่รู้จะเรียกร้องกับอะไร จะเรียกร้องกับพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติเหนือเหตุผล พวกเขาก็เข้าใจดีว่ายิ่งไม่ใช่ทางออก ก็ได้แต่เรียกร้องไปทั้งๆ ที่รู้ว่าคนเหล่านั้นก็ไม่แยแสอยู่ดี เพราะรัฐของพวกเขา ไม่เคยหมายถึงรัฐของพวกเรานั่นเอง

 

ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ในรัฐที่มีความเป็นรัฐก่อนสมัยใหม่มายาวนานอย่างรัฐไทยนั้น มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับพระเจ้า หรือสิ่งเหนือธรรมชาติเหนือเหตุผลมากกว่ารัฐสมัยใหม่ นั่นเพราะรัฐก่อนสมัยใหม่ไม่ต้องการให้ประชาชนตั้งคำถามกับอำนาจรัฐ รัฐไม่ต้องการประชากรที่เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผล ไม่ต้องการให้มีสำนึกคิดแบบสมัยใหม่ ไม่มีกระบวนการคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากนักวิทยาศาสตร์หรือหมอต่างๆ นานาในประเทศไทยนี้ก็ไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องสิทธิ และอำนาจแบบรัฐสมัยใหม่เลย (ดังจะเห็นได้กับดราม่าที่เกิดขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์สันติศึกษา ของมหาวิทยาลัยเดียวกันนี้) อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้พลังของสิ่งเหนือธรรมชาติและเหตุผลมีแนวโน้มจะทรงพลังนั่นก็เพราะประชากรไม่มีพื้นที่ในการยึดเหนี่ยวหรือเรียกร้องอื่นๆ นอกจากผีสางเทวดา หรือศาสนา ดังที่เดวิด แคมเบลอธิบายไว้ เพราะประชากรของรัฐเองก็รู้ตัวลึกๆ ดีว่าเราฝากข้อเรียกร้องกับรัฐไม่ได้ ก็จำเป็นต้องขอให้ดวงจากสารพัดอำนาจนอกระบบตรรกะช่วยเกื้อหนุนเราแทน

 

เพราะเหตุนี้รัฐซึ่งประชากรไม่มีโอกาสเป็นพลเมืองอย่างไทย จึงเชื่อในหมอดู มากกว่าเชื่อในวิทยาศาสตร์ เชื่อในโหรมากกว่าประวัติศาสตร์และสถิติ เชื่อในฮวงจุ้ยมากกว่าสถาปนิก ฯลฯ ทั้งนี้ผมอยากจะออกตัวก่อนว่าผมไม่มีปัญหากับความเชื่ออะไร ส่วนตัวใครอยากคิดอยากเชื่ออะไรก็ว่ากันไป แต่การที่คนปริมาณมากเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ มากกว่าตรรกะและเหตุผลนั้น ผมคิดว่ามันจำเป็นที่เราจะต้องมองหาคำอธิบายในทางวิชาการด้วย

ซึ่งก็ดังได้อธิบายไปแล้วว่าทำไม….และเราก็มาสู่จุดที่หลายคนเชื่อว่ารัฐบาลที่ทำลายระบอบประชาธิปไตย จะสามารถนำความเป็นประชาธิปไตยมาให้ได้มากกว่าการเลือกตั้ง ก็น่าสนใจว่า ประชาธิปไตยในประเทศนี้ดูจะกลายเป็น ‘ของต้องห้าม’ (Taboo) ไปแล้วจริงๆ

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

[1] ที่มา www.khaosod.co.th

[2] ดูเพิ่มเติมใน Campbell, D. (1998). Writing Security: United States Foreign Policy and Politics of Identity. (Manchester, UK: Manchester University Press).

พลเมืองมีความหมายว่าอย่างไร

ความเป็นพลเมือง คือ สถานภาพของบุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการ ...

การเป็นพลเมืองที่ดีมีลักษณะอย่างไร

พลเมืองที่ดี หมายถึง ผู้ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องทำและควรทำได้อย่างครบถ้วน สอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณีที่ได้กำหนดไว้ มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ถือได้ว่า พลเมืองเป็นส่วนสำคัญของสังคม ทุกสังคมต่างต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาสังคม ...

สิทธิพลเมือง หมายความว่าอย่างไร

1. สิทธิพลเมือง ได้แก่สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ที่จะไม่ถูกฆ่าหรือถูกทําร้าย สิทธิในกระบวนการยุติธรรมซึ่งทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย เป็นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณา พิพากษาคดีอย่าเป็นธรรม สิทธิในสัญชาติการนับถือศาสนา

การเป็นพลเมืองที่ดีมีความสำคัญอย่างไร

ความสาคัญของพลเมืองดี พลเมืองที่ดีช่วยให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย • สังคมมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว • มีการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยใช้หลักเหตุผล • ช่วยลดความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงในสังคม