คอมพิวเตอร์ประเภทใดที่มีขนาดรองลงมาจาก

ประเภทของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประเภทใดที่มีขนาดรองลงมาจาก

ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์

  • มีความเร็วในการประมวลผลสูง
  • มีการทำงานที่ถูกต้องเชื่อถือได้
  • มีความถูกต้องแม่นยำ
  • จัดเก็บข้อมูลได้มาก
  • สามารถย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

ประเภทของคอมพิวเตอร์ แบ่งตามขนาดและราคาเครื่อง

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)

          เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีความสามารถในการประมวลผลสูงมาก เหมาะกับงานที่มีความซับซ้อนสูงมาก เช่น งานอุตสาหกรรมน้ำมัน การคำนวณเพื่อพยากรณ์อากาศ เป็นต้น เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นั้นราคาแพงมาก ต้องติดตั้งในที่ๆ มีการปรับอุณหภูมิ ปราศจากฝุ่นละอองต่างๆ ประสิทธิภาพการทำงานจะวัดเป็น กิกะฟลอป (Gigaflop) มีการคำนวณ หนึ่งพันล้านครั้งของการคำนวณตัวเลขระดับทศนิยมต่อหนึ่งวินาที

                                                                         

คอมพิวเตอร์ประเภทใดที่มีขนาดรองลงมาจาก

ประเภทของคอมพิวเตอร์

มนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe)

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และประสิทธิภาพรองลงมา และเป็นที่นิยมตามองค์กรขนาดใหญ่ มีราคาแพงรองลงมา นิยมนำมาใช้ในงานที่มีการรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมาก เช่น ธนาคาร มหาวิทยาลัย เป็นต้น ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจะวัดเป็น เมกะฟลอป (Megaflop) หรือการคำนวณ หนึ่งล้านครั้งของการคำนวณตัวเลขระดับทศนิยมต่อหนึ่งวินาที โดยทั่วไปแล้วระบบการทำงานของเครื่องประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ย่อยๆ เพื่อช่วยในการทำงานแก่เครื่องหลักได้แก่

– เครื่องโฮสต์ (Host processor) เป็นเครื่องหลักที่มีหน้า ที่ควบคุมหน่วยประมวลผล อุปกรณ์รอบข้างและการคำนวณต่างๆ

– เครื่องส่วนหน้า (Front-end processor) มีหน้าที่ควบคุมการติดต่อ ระหว่างหน้าจอของผู้ใช้งาน ที่เรียกว่า จอเทอร์มินัลระยะไกล (Remote terminal) กับระบบเครื่องโฮส

       มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)

เป็นเครื่องที่คล้ายกับเครื่องแบบเมนเฟรม แต่มีขนาดกลาง และราคาถูกกว่า สามารถนำมาใช้งานแบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (รันโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมได้ในขณะใดขณะหนึ่ง) แบบเครื่องเมนเฟรมแต่จะมีความเร็วในการทำงานช้ากว่า การควบคุมผู้ใช้ต่างๆ จะกระทำได้จำนวนน้อยกว่า สื่อที่เก็บข้อมูลต่างๆ มีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรมจัดเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง และส่วนมากใช้ในธุรกิจขนาดกลาง

      เวิร์คสเตชัน (Workstation)

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบชนิดใช้คนเดียว จะถูกควบคุมโดยผู้ใช้โดยตรง เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ส่วนมากใช้ในงานเกี่ยวกับวิศวกรรมสถาปัตยกรรม อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ซุปเปอร์ไมโคร (Supermicro)

    ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1975 เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวกับการจัดการทั่วไป เช่น การพิมพ์ การเก็บข้อมูลขนาดเล็ก เป็นต้น ปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ เครื่องแบบ PC (Personal Computer) และเครื่องแอปเปิล หรือเครื่องแมคอินทอช (Apple Macintosh)

    อุปกรณ์ผู้ช่วยชาญฉลาด (Smart Device)

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กมาก สามารถวางอยู่บนฝ่ามือเพียงมือเดียวได้ และอาจใช้ปากกาที่เรียกว่า สไตล์ลัส (Stylus) ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง ในปัจจุบันอุปกรณ์พวกนี้พัฒนาขึ้นมามากจนสามารถทำงานต่างๆ ได้เหมือนกับไมโครคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded computer)

เป็นคอมพิวเตอร์ ที่ถูกฝังไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้มองไม่เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอกว่า เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะทาง เช่น เตาอบไมโครเวฟ นาฬิกาข้อมือ มือถือรุ่นเก่า เป็นต้น

    ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้

  1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
  1. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับ การตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่า การตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
  1. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุม วงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณ ให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
  1. งานวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถ ใช้คอมพิวเตอร์ ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณ และแสดงภาพสถานการณ์ ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
  2. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการ ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น

การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

อุปกรณ์โทรคมนาคม

ระบบโทรคมนาคม (Telecommunications Systems) คือระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อความ ภาพกราฟฟิก เสียงสนทนา และวิดีทัศน์ได้

อุปกรณ์โทรคมนาคม มีดังนี้ 

1.โทรศัพท์บ้าน (Telephone) เป็นอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่อนุญาตให้ ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่า สามารถสนทนากัน เมื่อพวกเขาไม่ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันที่จะได้ยินเสียงกันโดยตรง

2.โทรศัพท์มือถือ คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน

3.โทรพิมพ์ เป็นรูปแบบของการบริการโทรเลขชนิดหนึ่ง แต่ผู้ใช้งานสามารถติดต่อโต้ตอบกันได้โดยเครื่องโทรพิมพ์จะ มีลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด ที่เป็นได้ทั้งเครื่องรับและส่งข้อมูลในตัวเดียวกัน สามารถสื่อสารโดยอาศัยตัวนำหรือสัญญาณ และชุมสายที่มีการเชื่อมต่อกันกับเครื่องโทรพิมพ์ต่างๆ

เข้าด้วยกัน 

4.คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ

5.โมเด็ม คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกแล้ว ส่งออกไปทางสายโทรศัพท์หรือสายส่งและรับสัญญาณจากสายส่งมาเปลี่ยนเป็นสัญญาณ ดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์

6.มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : MUX) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตัวเลือกข้อมูล(Data Selector) ซึ่งเป็นตัวที่ทำหน้าที่เลือกช่องสัญญาณที่มีข้อมูลช่องหนึ่งจากหลายๆช่อง สัญญาณมาเป็นอินพุตและต่อช่องสัญญาณที่มีข้อมูลนั้นเข้าเป็นสัญญาณเอาต์พุตเพียงเอาต์พุตเดียว

7.แอมพลิไฟเออร์ อุปกรณ์ที่ส่วนใหญ่ทำการเปลี่ยนหรือเพิ่มกว้างของคลื่นเสียงซึ่งก็คือความดังของสัญญาณให้มากขึ้น

8.สายโทรศัพท์ สายที่โยงถึงกันเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์

9.ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก สายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา

10.สายโคแอกเซียล (coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากา11.ดาวเทียม คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ

  1. สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูงในระดับกิกะเฮิรตซ์ (GHz) และเนื่องจากความของคลื่นมีหน่วยวัดเป็นไมโครเมตร จึงเรียกชื่อว่า “ไมโครเวฟ” การส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปใน อากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล

13.สัญญาณไร้สายแบบต่างๆ เป็นสัญญาณที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ

     14.วิทยุ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้าง แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน

     15.แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation (EM radiation หรือ EMR)) เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่

     16.โทรสาร (facsimile, fax แฟกซ์) คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ telecopier

    17.โทรเลข คือระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่ หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น หลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข

  1. อินฟราเรด (Infrared) ใช้ในอุปกรณ์ต่างๆเช่นเมาส์, คีย์บอร์ดไร้สายและเครื่องพิมพ์ ผู้ผลิตบางรายให้พอร์ตพิเศษที่เรียกว่าพอร์ต IrDA ที่ช่วยให้คีย์บอร์ดไร้สายในการสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญาณอินฟราเรดมีความถี่ระหว่าง 300 ถึง 400 GHz จะใช้สำหรับการสื่อสารระยะสั้น
  2. โทรทัศน์ คือระบบการส่งภาพและเสียงไปพร้อมๆ กันด้วยเครื่องมือ อิเลคโทรนิคเพื่อสื่อสารตามเป้าประสงค์

ผู้เเต่ง kitiphong-j

ผู้เรียยบเรียง นางสาววรรณิภา ปรือปรัง

ที่มา