ข้อใดมีโวหารบุคคลวัต บุคลาธิษฐาน

ข้อใดมีโวหารบุคคลวัต บุคลาธิษฐาน

โวหาร คือ การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของข้อความ (สมถวิล วิเศษสมบัติ. 2544 : 129)
โวหารภาพพจน์ คือ กลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน )
ประเภทของโวหารภาพพจน์
1. อุปมาโวหาร (Simile)
อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า " เหมือน " เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ถนัด ละหม้าย เสมอ กล อย่าง ฯลฯ
2. อุปลักษณ์ ( Metaphor )
อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
3. สัญลักษณ์ ( symbol )
สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ต้องการเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์หรือมิฉะนั้นก็อาจจะอยู่ในภาวะที่กล่าวโดยตรงไม่ได้ เพราะไม่สมควรจึงต้องใช้สัญลักษณ์แทน
4. บุคลาธิษฐาน ( Personification )
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต บุคคลสมมติ คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว    ์     โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้ แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์ ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิต ( บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล + อธิษฐานหมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )
5. อธิพจน์ ( Hyperbole )
อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อสร้างและเน้นความรู้สึกและอารมณ์ ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน
6. สัทพจน์ ( Onematoboeia )
สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
7. นามนัย ( Metonymy )
นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด หรือใช้ชื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด
8. ปรพากย์ ( Paradox )
ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

ข้อใดมีโวหารบุคคลวัต บุคลาธิษฐาน

http://teetymiffy.blogspot.com/2014/03/blog-post_4.html

ข้อใดมีโวหารบุคคลวัต บุคลาธิษฐาน