ข้อใดมีความ หมาย นัยตรง ได้ อย่าง เดียว

ความหมายนัยตรง-ความหมายนัยประหวัด

 

ความหมายของคำในภาษาไทยมี ๒ ลักษณะ คือ
๑.ความหมายนัยตรง คำที่มีความหมายตรงตัว เช่น
ดาว หมายถึง สิ่งที่เห็นเป็นดวงบนท้องฟ้าเวลามืด
เก้าอี้ หมายถึง ที่สำหรับนั่ง มีขา
เพชรหมายถึงชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีน้ำแวววาวกว่าพลอยอื่น ๆ
นกขมิ้น หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวเท่านกเอี้ยง มีหลายสี
กา หมายถึงชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวสีดำ ร้อง กา ๆ
๒. ความหมายนัยประหวัด คำที่ไม่ได้แปลความหมายตรงตัว แต่จะแปลความหมายเปรียบเทียบ ซึ่งทุกคนในสังคมเข้าใจความหมายนั้นเป็นอย่างดี อาจใช้ว่า คำที่มีความหมายโดยนัย หรือ คำที่มีความโดยอุปมา ก็ได้ เช่น
ดาว หมายถึงบุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง
เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง
เพชร  หมายถึงบุคคลที่มีคุณค่า
นกขมิ้น หมายถึง คนเร่ร่อน ไม่มีที่พำนักเป็นหลักแหล่ง
กา  หมายถึงความต่ำต้อย
ตัวอย่างการใช้คำที่มีความหมายนัยตรง-ความหมายนัยประหวัด
นัยตรง – นักเรียนช่วยกันจัดเก้าอี้ในห้องเรียน
นัยประหวัด – ส.ส.กำลังแย่งเก้าอี้กัน
นัยตรง – เราจะเห็นดาวชัดเจนในคืนเดือนมืด
นัยประหวัด – ภราดรวดีเป็นดาวเด่นในการประกวดเชียร์ลีดเดอร์
นัยตรง – ผู้หญิงชอบเครื่องเพชร
นัยประหวัด – ขุนช้างขุนแผนเป็นเพชรเม็ดงามประดับวงวรรณกรรมไทย
ถึงเวลาทดสอบความเข้าใจแล้วค่ะ
๑. คำว่า “ดอกไม้” ในข้อใดมีความหมายนัยตรง
ก. พูดจาภาษาดอกไม้
ข. ขอมอบดอกไม้ให้ด้วยใจรัก
ค. ดอกไม้จากสรวงสวรรค์วรรณกวี
ง. ขอมอบดอกไม้ในสวนไว้เพื่อมวลประชา
เฉลย คำตอบที่ถูก คือ ข้อ ข
๒. ข้อใดมีความเชิงอุปมาทุกคำ
ก. ม้าใช้ แกะดำ ไก่แก้ว ขี้กบ
ข. กาฝาก แมวมอง นกต่อ หน้าม้า
ค. ลูกหม้อ ติดกระเป๋า เทกระจาด ตกกระป๋อง
ง. คอหอย ก้นกบ มือมืด ขาไพ่
เฉลย คำตอบที่ถูกคือ ข้อ ก ทุกคำในคำตอบล้วนมีความหมายเชิงอุปมา ยกเว้น ขี้กบ ในข้อ ก มีความหมายตรงตัว ว่า ขี้ของกบ

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

 

ข้อใดมีความ หมาย นัยตรง ได้ อย่าง เดียว

         คำ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย อาจจะเปล่งเพียงครั้งเดียวเรียกว่าคำพยางค์เดียว เช่น ฉัน คุณ เธอ แม่ พี่ ฯลฯ หรือเปล่งออกมาหลายครั้งเรียกว่าคำหลายพยางค์ เช่น แสดง วิชา อัธยาศัย ฯลฯ คำเป็นสารที่ผู้พูดหรือผู้เขียนเจตนาหรือตั้งใจสื่อไปยังผู้ฟังหรือผู้อ่าน คำทุกคำจึงมีความหมายทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะมีความหมายนัยตรง(โดยตรง) และคำที่มีความหมายโดยนัย(เชิงเปรียบเทียบ หรือ นัยประหวัด)
           ๑. คำที่มีความหมายนัยตรง(โดยตรง) หมายถึง คำที่มีความหมายอันเป็นคุณสมบัติประจำของคำ ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยว่าผู้พูดเป็นใคร และ ผู้ฟังเป็นใคร คำประเภทนี้บางคนเรียกว่า คำที่มีความหมายประจำรูป หรือ คำที่มีความหมายตรงตัว
ตัวอย่างคำที่มีความหมายนัยตรง
             คำที่มีความหมายนัยตรง ความหมายของคำ กิน เคี้ยวแล้วกลืนลงกระเพาะ ดาว สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืดนอกจากดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ หมู ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน หาอาหารด้วยการใช้จมูกดุน มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า เพชร ชื่อแก้วหรือหินที่แข็งที่สุด และมีลักษณะแวววาวใช้ทำเครื่องประดับ บ้านเล็ก บ้านที่มีขนาดเล็ก ยื่นซองขาว ส่งซองจดหมายที่มีสีขาวให้คนรับไป
           ๒. คำที่มีความหมายโดยนัย หมายถึง คำที่มีความหมายไม่ตรงตามความหมายโดยตรงหรือความหมายประจำรูป แต่มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ส่งสารมีเจตนาส่งไปยังผู้รับเพื่อตีความหมายเปรียบเทียบเอง ตัวอย่างคำที่มีความหมายโดยนัยความหมายของคำ กิน ฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือคอรัปชั่น ดาว ความเด่น ความสวยงาม หมู ง่าย เพชร สิ่งที่มีค่ามาก บ้านเล็ก ภรรยาน้อยของพ่อ ยื่นซองขาว ไล่ออกจากงาน
           ความจำเป็นในการเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย  และถูกต้องตามบริบท ในการพูด  และการเขียนต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามความหมายและถูกต้องตาม บริบท เพื่อจะให้การพูดและการเขียนนั้นดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมาย ถ้าหากไม่รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามความหมายและถูกต้องตามบริบท ขาดความรู้ ความรอบคอบในเรื่องเอกลักษณ์ของภาษาแล้ว จะนำไปสู่ปัญหาทั้งตัวผู้พูด ผู้เขียน และส่งผลไปยัง ผู้ฟังและผู้อ่านด้วย ภาษาไทยนั้น คำหนึ่งคำอาจมีความหมายได้หลายความหมาย และใช้ได้หลายหน้าที่ เช่นใช้เป็นคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน คำอุทานโดยไมต้องเปลี่ยนแปลงรูปคำ เช่น คำว่า "คน" เป็นคำนามได้ เป็นคำกริยาได้ และเป็นคำลักษณนามได้ ดังตัวอย่าง
             – สุนัขไล่กัดคน ( คนทำหน้าที่เป็นคำนาม อยู่ในตำแหน่งกรรมของประโยค)
             – ยายกำลังคนกะทิในกระทะทองเหลือง (คนทำหน้าที่เป็นคำกริยา อยู่ในตำแหน่ง ภาคแสดง)
             – ในห้องนี้มีนักเรียน ๔๐ คน (คนทำหน้าที่เป็นลักษณนาม) เราจะรู้ความหมายและหน้าที่ของคำได้ด้วยการดูจากตำแหน่งของคำนั้นๆว่าปรากฏอยู่ส่วนใดของประโยค พร้อมกับพิจารณาที่บริบท(คำแวดล้อมหรือข้อความแวดล้อมหรือสถานการณ์แวดล้อม)ของคำนั้นๆด้วย เช่น
             – โจรยิงตำรวจ กับ ตำรวจยิงโจร
             – ฉันให้เงินเขา กับ เขาให้เงินฉัน
             – เข็มกลัด กับ กลัดเข็ม
             – ใจอ่อน กับ อ่อนใจ
             – น้ำตก กับ ตกน้ำ
             – ลูกเลี้ยง กับ เลี้ยงลูก

ข้อใดมีความ หมาย นัยตรง ได้ อย่าง เดียว

        https://krusupawan.wordpress.com/tag/การใช้คำและกลุ่มคำในปร/

ข้อใดมีความ หมาย นัยตรง ได้ อย่าง เดียว

ข้อใดมีความหมายนัยตรง

ความหมายนัยตรง คือ ความหมายที่ใช้อย่างตรงตัว ตัวอย่างเช่น ดาว มีความหมายโดยตรงว่า สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืด นอกจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ส่วนความหมายโดยนัย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นัยประหวัด คือ ความหมายของคำที่ไม่ตรงตัว แต่เป็นการแฝงความหมายไว้ภายใต้ตัวอักษร ต้องอาศัยการตีความจากผู้รับสารจึง ...

ข้อใดคือความหมายของคำ

น. เสียงพูด เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท

คำว่าดอกไม้หมายถึงข้อใด

ดอกไม้ (คำลักษณนาม ดอก) ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทำให้เกิดผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์, เรียกย่อว่า ดอก

คำที่มีความหมายโดยตรงมีลักษณะอย่างไร

คำที่มีความหมายโดยตรง คือ คำที่มีความหมายอย่างตรงไปตรงมาตามตัวหนังสือ ตรงตาม เนื้อความหรือความหมายที่ปรากฏ ในพจนานุกรม เป็นคำที่ใช้ทั่ว ๆ ไปทั้งการพูดและการเขียน เมื่อฟังหรืออ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีไม่ต้องแปลความหรือตีความ