ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา รัชกาลใด

วันประถมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง วันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่มีต่อการศึกษาของไทย

ความเป็นมาวันประถมศึกษาแห่งชาติ

ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาเห็นได้จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ วัดมหรรณพาราม ต่อมาในปี พ.ศ.2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 ขึ้น เพื่อกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์ทุกคนต้องเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 14 ปี บริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน นับเป็นการเริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษา โดยพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2464

ด้วยเหตุนี้กระทรวงศึกษาจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันประถมศึกษาแห่งชาติ และได้จัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติเป็นประจำมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2491-2509 ต่อมาโรงเรียนประถมศึกษาได้ถูกโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่นั้นมางานวันประถมศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วันศึกษาประชาบาล

ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2523 ได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาขึ้น จึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลกลับมาสังกัดคณะกรรมการการศึกษา การจัดงานวันศึกษาประชาบาลจึงสิ้นสุดลง และกลับมาจัดวันประถมศึกษาแห่งชาติขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้เปลี่ยนจากวันที่ 1 ตุลาคม มาเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แทน เป็นวันจัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงวางรากฐานให้กับการศึกษาของชาติ เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประถมศึกษาและพระราชทานตราพระราชบัญญัติ อีกทั้งเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ในคราเดียวกันกับวันวชิราวุธที่ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี

จุดประสงค์ของวันประถมศึกษาแห่งชาติ

1.เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานการศึกษาของไทย

2.เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้งานด้านประถมศึกษา แก่ผู้ที่สนใจ จนนำไปสู่การพัฒนาด้านการเรียนการสอน

3.เพื่อปลูกฝัง และให้เกิดความร่วมมือจากประชาชนตลอดจนส่วนที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการประถมศึกษา

4.เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะของนักเรียนระดับประถมศึกษา

5.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียน การสอนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติวันประถมศึกษาแห่งชาติ

1. จัดเผยแพร่นิทรรศการต่างๆโดยเผยแพร่พระเกียรติประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้า ที่มีต่อวงการศึกษาไทย

2. จัดนิทรรศการเผยแพร่ แสดงประวัติความก้าวหน้าของการประถมศึกษาแห่งชาติและการศึกษาไทย

3. จัดกิจกรรมทางวิชาการเสริมความรู้และทักษะด้านต่างๆเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้แก่ นักเรียนรวมทั้งจัดประชุมและสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อร่วมกันพัฒนาวงการศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคนในประเทศเสียก่อน ในการช่วยกันพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้า จึงกำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันประถมศึกษาแห่งชาติ เพื่ปลูกจิตสำนักของประชาชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา และเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทีมีต่อการศึกษาไทย

ปี 2533 ปีทองวงการครู มีบทบาทขับเคลื่อน เปลี่ยนโฉมการศึกษา ปี2564 อย่าให้ 100 ปี ของการประถมศึกษาไทย เป็นจุดสิ้นสุด แต่ขอให้เป็นจุดเริ่มต้น เพื่อ ครูไทย ทุกคน

พระราชบัญญัติประถมศึกษา เริ่มใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2464 นับถึงวันนี้ ครบ 100 ปี พอดี แม้ว่าจะมีการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาอยู่ แต่รูปแบบและโครงสร้างก็มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้คำว่า “ประถมศึกษา” ถูกทำให้เลือนหายไป แต่ขอให้ครูทุกคนระลึกไว้เสมอว่า ที่เรามาถึงจุดนี้ได้เพราะคำว่า “ประถมศึกษา”

 

ในยุคเริ่มต้น วันปฐมศึกษาแห่งชาติ 25 พฤศจิกายน 2464 เป็นวันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อการศึกษาของไทย เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงวางรากฐานให้กับการศึกษาของชาติ เนื่องจากทั้งสองพระองค์ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประถมศึกษา และพระราชทานตราพระราชบัญญัติด้านการประถมศึกษาเอาไว้

 

ในยุคเริ่มแรก การประถมศึกษาของไทยอาศัย บ้าน วัด วัง เป็นสถานศึกษามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย จนถึงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาเห็นได้จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ วัดมหรรณพาราม และขยายการศึกษาไปตามหัวเมืองต่างๆ

ในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ขึ้น เพื่อบังคับให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อให้เด็กทุกคนรู้หนังสือจึงทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาออกบังคับเป็นเขต ๆ ไป

 

 เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 เพื่อกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์ทุกคนต้องเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 14 ปี บริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน นับเป็นการเริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษา โดยพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2464

 

ด้วยเหตุนี้ ในช่วงตั้งแต่ ปี พ.ศ.2491-2509 กระทรวงศึกษา กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันประถมศึกษาแห่งชาติ ต่อมาโรงเรียนประถมศึกษาได้ถูกโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย

 

ตั้งแต่นั้นมางานวันประถมศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วันศึกษาประชาบาล

ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2523 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา (สปช.)ขึ้น จึงได้โอนโรงเรียนประชาบาล กลับมา สังกัดคณะกรรมการการประถมศึกษา การจัดงานวันศึกษาประชาบาลจึงสิ้นสุดลง

 

และกลับมาจัดงาน “วันประถมศึกษาแห่งชาติ” ขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้เปลี่ยนจากวันที่ 1 ตุลาคม มาเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แทน

 

ในปัจจุบัน คำว่า “วันประถมศึกษาแห่งชาติ” หายไป ยังคงไว้แต่หน้าที่การสอน กิจกรรมต่างๆ ที่เคยเป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นแหล่งสานความสัมพันธ์ ระหว่างครูประถมศึกษา ได้หายไป แต่ก็ไม่ปรากฏว่า มีการจัดกิจกรรมอื่นมาทดแทน ไม่มี “วันการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ”

 

ความสำคัญของการศึกษาลดถอยลงหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าคิด แม้ว่า องค์กรหรือหน่วยงานจะยิ่งใหญ่เพียงใด บุคคลในองค์กรจะก้าวหน้าเพียงใด หากไม่มีรากเหง้าให้ยึดเหนี่ยวก็คงนับวันที่จะแตกสลาย

พระราชบัญญัติประถมศึกษาประกาศใช้เมื่อใด

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2523. มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป

รัชกาลใดให้มีการตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2414

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงทรงริเริ่มวางรากฐานการประถมศึกษาของไทย โดยจัดตั้งโรงเรียนแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ.. 2414. .

พระราชบัญญัติประถมศึกษา ปีพ.ศ. 2464 สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีจุดประสงค์ตามข้อใด

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ขึ้นเพื่อบังคับให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อให้เด็กทุกคนรู้หนังสือจึงทรงตราพระราฃบัญญัติประถมศึกษาออกบังคับเป็นเขต ๆ ไป เริ่มตั้งแต่ปี พ..2464 เพื่อกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์ทุกคนต้องเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 14 ปี บริบูรณ์ โดย ...

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงวางรากฐานการประถมศึกษาไทย

ดังนั้น วันประถมศึกษาแห่งชาติ จึงได้เปลี่ยนจากวันที่ ๑ ตุลาคม มาเป็นวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ เป็นต้นมา วัตถุประสงค์ในการจัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติ ๑. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานการศึกษาของไทย