บุคคลในข้อใดที่ได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2549 – 2550

บุคคลในข้อใดที่ได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2549 – 2550

Advertisement

ยูเนสโก ยกย่องให้พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ ปี 2563-2564

วันนี้ (26 พ.ย.62) นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานว่าเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมใหญ่สมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 40 มีมติรับรองการร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในวาระปี 2563-2564 ได้ยกย่องบุคคลสำคัญถึง 2 รูป ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริภัตโต ครบรอบ 150 ปีชาตกาล (20 มกราคม 2563) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครบ 100 ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ (2 สิงหาคม 2464)

หลังจาก กรมการศาสนาได้ เสนอชื่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อให้องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลอง เนื่องในวาระครบรอบ 150 ปีชาตกาลและได้ประกาศยกย่องให้พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ ในวาระ ปี 2563-2564 และได้รับการบรรจุให้มีการเฉลิมฉลองครบชาตกาล 150 ปีชาตกาล ในวันที่ 20 ม.ค.2563 ซึ่งรัฐบาลจะได้ดำเนินการเตรียมกิจกรรมเฉลิมฉลองในมิติศาสนา จัดพิธีประกาศเกียรติคุณฯ และจัดกิจกรรมศาสนพิธีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาส่งเสริมสันติภาพ ร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 150 ปี ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและคณะศิษยานุศิษย์ซึ่งได้แต่งตั้งไปก่อนแล้ว

นายอิทธิพล กล่าวว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นพระมหาเถระที่คนไทยทั้งประเทศเคารพนับถือ จนปรากฏเด่นชัด ทั้งในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่และ ละสังขารขันธ์ไปแล้ว คุณความดีที่ท่านได้มีคุณูปการต่อทั้งสถาบันศาสนา ชาติ และพระมหากษัตริย์

บุคคลในข้อใดที่ได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2549 – 2550

ในการประกาศ ยกย่องให้พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ กระทรวงวัฒนธรรม จะร่วมเฉลิมฉลองกับมหาเถรสมาคม หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งจะมอบหมาย กรมการศาสนา ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อร่วมจัดกิจกรรมเพื่อเชิดชูเกียรติคุณ และเผยแผ่ คุณงามความดีและวัตรปฏิบัติอันงดงามให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชน ซึ่งจะส่งผลให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบ สันติ

บุคคลในข้อใดที่ได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2549 – 2550

สำหรับ “หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร วางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า “คำสอนพระป่า” (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิปทาธรรมปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์เรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็นพระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า หรือพระอาจารย์ใหญ่แห่งวงศ์พระกรรมฐานวัดป่าสืบมาจนปัจจุบัน เส้นทางชีวิตของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ยุติลงด้วยสิริอายุ 79 ปี 9 เดือน 21 วันรวม 56 พรรษา

อ้างอิง: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

หากใครยังไม่รู้จักรางวัล ยูเนสโก ( UNESCO Prize ) รางวัลนี้เป็นยอมรับกันทั่วโลก เพราะมีความชัดเจนในกฎกติกาและกระบวนการพิจารณาตัดสินรางวัล มอบให้ทั้งตัวบุคคลหรือองค์กร ซึ่งกลุ่มสาขารางวัลใหญ่ ๆ 5 สาขา คือ

  • การศึกษา ( Education )

  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ( Natural Science )

  • สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ( Social and Human Sciences )

  • วัฒนธรรม ( Culture )

  • การสื่อสารและข้อมูลข่าวสาร ( Communication and Information )

โดยแต่ละสาขา ก็มีแบ่งย่อยเป็นสาขาเจาะเฉพาะลงไปอีก

ส่วนประเทศไทยนั้น ได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 โดยที่ผ่านมาบุคคลสำคัญของไทยหลายต่อหลายคนก็ได้รับยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้รับเกียรติจากยูเนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องในโอกาสฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2505 ทรงได้รับพระนามเป็น “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"

2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญทางด้านวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2506

บุคคลในข้อใดที่ได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2549 – 2550

3. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 

ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญทางด้าน สาขาวรรณกรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 200 พรรษา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511

4. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า” และทรงได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราช สมภพครบ 100 พรรษาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524

5. สุนทรภู่ 

กวีเอกครั้งรัชกาลที่ 2 ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2529 นับเป็นสามัญชนคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ 

6. ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ)

นักปราชญ์คนที่ 6 ของไทย ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ ชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่14 ธันวาคม 2531

7. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

เป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายพระเกียรติ ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในวาระฉลอง วันประสูติครบ 200 ปีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2533

8. พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในวาระฉลองวันประสูติครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2534

9.สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ทรงได้รับการถวายพระสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย” เมื่อปี 2535 ได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาลและการสาธารณสุข เนื่องในวาระฉลองครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535

10.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ทรงได้รับการประกาศยกย่องพระองค์ว่า ทรงสร้างประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษ ในด้านวัฒนธรรมและการศึกษาด้วยหลักปรัชญาแงความพอเพียงเนื่องในโอกาสที่ ครบ 50 ปี และร่วมฉลองในวาระมงคลดังกล่าวเมื่อวันที่9 มิถุนายน 2539

11. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องในวาระฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2543

12. ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม 

ผู้นำขบวนการเสรีไทย นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของไทย ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านส่งเสริมสันติภาพ เสรีภาพ และประชาธิปไตย เนื่องในโอกาสฉลองชาตกาลครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543

13. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระปิยมหาราช” ทรงได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การพัฒนาสังคม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 150 พรรษา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2546

14. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

บุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม (วรรณคดี) และการสื่อสาร เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2546

15. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ทรงได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา สื่อสารมวลชน วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ 200 พรรษา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547

16. นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือนามปากกาว่า “ศรีบูรพา” 

นักเขียน นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์มีชื่อของไทย ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549

17. ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)

ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549

18. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท

ทรงเป็นคนไทยที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม การศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และการต่างประเทศ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวาระฉลอง 200 ปีวันคล้ายวันประสูติ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551

19. นายเอื้อ สุนทรสนาน หรือเรียกกันว่า "ครูเอื้อ" 

นักร้อง นักประพันธ์เพลงและหัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวัฒนธรรม ดนตรีไทยสากล เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2553

20. พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง ศิลปินแห่งชาติ และ นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 นับเป็นคนไทยลำดับที่ 20 นับเป็นเกียรติประวัติแก่ประเทศไทยอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง

21. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 

ทรงได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการอนุรักษ์พัฒนาวัฒนธรรม ปี ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบ ๑๕๐ ปี แห่งการพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555

22. หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ

นักเขียน และนักวิชาการภาษาไทย ได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาวัฒนธรรมภาษาและวรรณคดี การส่งเสริมสถานภาพสตรี และการส่งเสริมสันติภาพ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

23. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 

ทรงได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันพระบรมราชสมภพครบรอบ 10 ปีนักษัตร ในวันที่ 8 พ.ย.2556

24. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ทรงได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาสำหรับเด็กหญิงและสตรี การศึกษาด้านสาธารณสุขศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสังคมและมนุษย์ศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันพระราชสมภพครบ 150 ปี เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556

25. หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา

ได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะที่มีผลงานดีเด่นด้านสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาชุมชน และการศึกษาด้านวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

26. ศาสตราจารย์ พันตรี ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เนื่องในโอกาสฉลองชาตกาลครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

27. เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)

ทรงได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วัฒนธรรม (วรรณคดี) และการสื่อสาร เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบชาตกาล 150 ปี ใน พ.ศ. 2559 กิจกรรมเฉลิมฉลองเป็นระยะเวลา 2 ปีคือ 2559-2560 

28. กำพล วัชรพล

ได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านสื่อสารมวลชนและการศึกษา ประจำปี 2561-2562 นโอกาสฉลองชาตกาลครบ 100 ปี ในวันที่ 21 ธันวาคม 2562

บุคคลเหล่านี้สร้างรากฐานอันดีงาม และคุณงามความดีต่างๆเป็นที่ประจักษ์ต่อคนทั้งโลก สำหรับคนไทยอย่างเรา อาจไม่ต้องทำอะไรที่ยิ่งใหญ่เท่าท่านเหล่านี้ ขอเพียงทุกคนทำหน้าที่ในการเป็นพลเมืองไทยที่ดี การที่ประเทศไทยจะโดดเด่นเป็นที่ยกย่องของคนทั้งโลกได้ ก็คงไม่ใช่อะไรที่ไกลเกินฝัน

อย่าลืมติดตาม เรื่องราวสนุกๆ แบบ TYPEไทย มากมาย ที่ Facebook / Youtube / IG / Twitter

อ้างอิง : Wikipedia

ใครได้รับยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( Unesco )ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ “ยูเนสโก” (UNESCO) หรือองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก” ในวันนี้ และทรงเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” เนื่องด้วยผลงานที่ท่านได้รังสรรค์ไว้ขณะยังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น ...

บุคคลในข้อใดที่ได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในฐานะบุคคลส าคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2549 – 2550

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในการประชุมสมัยสามัญขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีมติให้ประกาศยกย่อง พระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญของโลก และบรรจุ การเฉลิมฉลองครบชาตกาล ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ซึ่ง ...

บุคคลใดได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นนักการศึกษาดีเด่นของโลกในสาขาวรรณกรรมและสื่อสาร

สมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย- ยูเนสโกยกย่อง " หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล " คนไทยเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม (วรรณคดี) และการสื่อสาร เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๖

ผู้ใดได้รับการยกย่องจากยูเนสโกว่าเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม

26 มิถุนายน 2529 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ “ยูเนสโก” ( UNESCO) ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ “สุนทรภู่” ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 200 ปีเกิดของสุนทรภู่ นับเป็นสามัญชนคนแรกของไทยที่ได้รับเกียรตินี้