กิจกรรมในข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของประเพณีสงกรานต์

             พิธีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง 

และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อส่วนนั้นไปและ ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น 

และขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุง

พระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวา

อาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ

กิจกรรมในข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของประเพณีสงกรานต์
 

สงกรานต์ Festivel ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย

        เวลาได้เปลี่ยนไป ผู้คนได้มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ๆ และจะถือเอาวันสงกรานต์เป็นวัน “กลับบ้าน” ทำให้การ

จราจร คับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายขอเทศกาล  นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยัง ถูกใช้

ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ปัจจุบันนี้เทศกาลสงกรานต์มีพัฒนาการและมี

แนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาด เคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’

 เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นเท่านั้น

กิจกรรมในข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของประเพณีสงกรานต์

ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม 

ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล 

เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” วันถัดมาเรียกว่า “วันเนา” และวันสุดท้าย เป็นวัน

เปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า “วันเถลิงศก” จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรง

กับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็

อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง

สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน โดยจะจัดให้มีขึ้นในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม

สงกรานต์ เป็นคำในภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเพณีสงกรานต์นั้นมีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นี้นั้นจะมีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ไทย คือ วันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483

ประวัติวันสงกรานต์

เมื่อครั้งก่อน พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงให้พิธีสงกรานต์นั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ โดยได้ขยายออกไปสู่คมเป็นวงกว้างมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศคติ ตลอดจนความเชื่อไป แต่เดิมในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาในสังคมไทยสมัยใหม่เกิดเป็นประเพณีกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับว่าวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข

ปัจจุบันได้มีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ โดยได้ตัดข้อมูลในส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมออกไป

ตำนานวันสงกรานต์

กิจกรรมในข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของประเพณีสงกรานต์

การกำเนิดวันสงกรานต์ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาโดยใจความจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ว่า …

เมื่อต้นภัทรกัลป์ มีเศรษฐีคนหนึ่ง มั่งมีทรัพย์มาก แต่ไม่มีบุตร บ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุรา ซึ่งนักเลงสุรานั้นมีบุตร 2 คน ที่ผิวเนื้อดุจดั่งทอง วันหนึ่งนักเลงสุราเข้าไปในบ้านของเศรษฐีผู้นั้น แล้วด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคายต่างๆ นานๆ เศรษฐีเมื่อได้ฟังแล้วจึงถามว่า

พวกเจ้ามาพูดหยาบคายดูหมิ่นเราผู้เป็นเศรษฐีเพราะเหตุใด

พวกนักเลงสุราจึงตอบว่า

ท่านมีสมบัติมากมายแต่หามีบุตรไม่ เมื่อท่านตายไป สมบัติก็จะอันตรธานไปมหด หาประโยชน์อันใดมิได้ เพราะขาดทายาทผู้ปกครอง ข้าพเจ้ามีบุตรถึง 2 คน อีกทั้งรูปร่างงดงามเสียด้วย ข้าพเจ้าจึงดีกว่าท่าน 

เศรษฐีครั้นได้ฟังก็เห็นจริงด้วย จึงเกิดความละอายต่อนักเลงสุรายิ่งนัก นึกใคร่อยากได้บุตรบ้าง จากนั้นได้ทำการบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อขอให้มีบุตร เมื่ออยู่ถึง 3 ปี ก็มิได้มีบุตรตามที่ปราถนา 

เมื่อขอบุตรจากพระอาทิตย์และพระจันทร์มิได้ตามดังที่ปราถนา อยู่มาวันหนึ่งเมื่อถึงฤดูคิมหันต์ จิตรมาส (เดือน 5) โลกสมมติว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คือ พระอาทิตย์ยกจากราศีมีนประเวสสู่ราศีเมษ ผู้คนทั้งหลายต่างพากันเล่นนักขัตฤกษ์อันเป็นการรื่นเริงขึ้นปีใหม่ไปทั่วทั้งชมพูทวีป ขณะนั้น เศรษฐีจึงพาข้าทาสบริวารไปยังต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่อยู่แห่งปักษีชาติทั้งหลาย เอาข้าวสารซาวน้ำ 7 ครั้งแล้วหุงบูชา รุกขพระไทร พร้อมด้วยสูปพยัญชนะอันประณีต และประโคมด้วยดุริยางค์ดนตรีต่างๆ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตรจากรุกขพระไทร รุกขพระไทรมีความกรุณา เหาะไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้กับเศรษฐี

ต่อมา พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรลงไปปฏิสนธิในครรภ์ บิดามารดาจึงขนานนามว่า ธรรมบาลกุมาร แล้วปลูกปราสาทขึ้นให้กุมารอยู่ใต้ต้นไทรริมสระฝั่งแม่น้ำนั้น ครั้นเมื่อกุมารเจริญขึ้นก็รู้ภาษานกและเรียนจบไตรเพทเมื่อมีอายุได้ 8 ขวบ อีกทั้งยังได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่างๆ แก่มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งปวง ซึ่งขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหม มีกบิลพรหมองค์หนึ่งได้แสดงมงคลการแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมได้แจ้งเหตุที่ธรรมกุมารเป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของมนุษย์ชาวโลกทั้งหลาย จึงได้ลงมาถามปัญหาแก่ธรรมกุมาร 3 ข้อ ดังความว่า 

  1. เวลาเช้า สิริ คือ ราศีอยู่ที่ไหน
  2. เวลาเที่ยง สิริ คือ ราศีอยู่ที่ไหน
  3. เวลาเย็น สิริ คือ ราศีอยู่ที่ไหน

และท้าวกบิลพรหมได้ให้สัญญาว่า ถ้าท่านแก้ปัญหา 3 ข้อนี้ได้ เราจะตัดศีรษะมาบูชาท่าน ถ้าท่านแก้ไม่ได้ เราจะตัดศีรษะของท่านเสีย ธรรมกุมารรับสัญญา แต่ผลัดแก้ปัญญาไป 7 ท้าวกบิลพรหมก็กลับไปยังพรหมโลก

ฝ่ายธรรมบาลกุมารพิจารณาปัญหานั้นล่วงไปได้ 6 แล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นอุบายที่จะตอบปัญหาได้ จึงคิดว่าพรุ่งนี้แล้วหนอที่เราจะต้องตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม เราหาต้องการไม่ จำจะหนีไปซุกซ่อนตนเสียดีกว่า เมื่อคิดแล้วก็ลงจากปราสาท ออกเที่ยวนอนที่ต้นตาล 2 ต้นซึ่งมีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียทำรังอยู่บนต้นตาลนั้น

ขณะที่ธรรมบาลกุมารนอนอยู่ใต้ต้นตาลนั้นพลางได้ยินเสียงนางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน นกอินทรีตัวผู้จึงตอบว่า พรุ่งนี้ครบ 7 วันที่ท้าวกบิลพรหมถามปัญหาแก่ธรรมบางกุมาร แต่หากธรรมบาลกุมารแก้ไม่ได้ ท้าวกบิลพรหมก็จะตัดศีรษะเสียตามสัญญา เราทั้ง 2 จะได้กินเนื้อมนุษย์ คือ ธรรมบาลกุมารเป็นอาหาร นางนกอินทรีจึงถามว่า ท่านรู้ปัญหาหรือ ผู้ผัวตอบว่ารู้ แล้วก็เล่าให้นางนกอินทรีฟังตั้งแต่ต้นจนปลายว่า

  1. เวลาเช้า ราศีอยู่ที่ หน้า คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า
  2. เวลาเที่ยง ราศีอยู่ที่ อก คนทั้งหลายจึงเอาน้ำและแป้งกระแจะจันทร์ลูกไล้ที่อก
  3. เวลาเย็น ราศีอยู่ที่ เท้า คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า

ธรรมบาลกุมารที่นอนอยู่ใต้ต้นไม้ได้ยินการสนทนาของทั้งสองก็จำได้ จึงมีความโสมนัส ปีติ ยินดีเป็นอันมาก จึงเดินทางกลับมาที่ปราสาทของตน ครั้นถึงวาระเป็นคำรบ 7 วันตามสัญญา ท้าวกบิลพรหมก็ลงมาถามปัญหาทั้ง 3 ข้อตามที่นัดหมายกันไว้ ธรรมบาลกุมารก็วิสัชนาแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อตามที่ได้ฟังมาจากนกอินทรีนั้น ท้าวกบิลพรหมยอมรับว่าถูกต้อง และยอมแพ้แก่ธรรมบาล จำต้องตัดศีรษะของตันบูชาตามที่สัญญาไว้ แต่ก่อนที่จะตัดศีรษะ ได้เรียกธิดาทั้ง 7 อันเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์ คือ

  1. นางทุงษะเทวี
  2. นางรากษเทวี
  3. นางโคราคเทวี
  4. นางกิริณีเทวี
  5. นางมณฑาเทวี
  6. นางกิมิทาเทวี
  7. นางมโหธรเทวี

กิจกรรมในข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของประเพณีสงกรานต์

อันโลกสมมติว่าเป็นองค์มหาสงกรานต์กับทั้งเทพบรรษัทมาพร้อมกัน จึงได้บอกเรื่องราวให้ทราบและตรัสว่า พระเศียรของเรานี้ ถ้าตั้งไว้บนแผ่นดินก็จะเกิดไฟไหม้ไปทั่วโลกธาตุ ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง เจ้าทั้ง 7 จงเอาพานมารองรับเศียรของบิดาไว้เถิด ครั้นแล้วท้าวกบิลพรหมก็ตัดพระเศียรแค่พระศอส่งให้นางทุงษะเทวีธิดาองค์ใหญ่ในขณะนั้น โลกธาตุก็เกิดโกลาหลอลเวงยิ่งนัก

เมื่อนางทุงษะมหาสงกรานต์นำพานมารองรับพระเศียรของท้าวกบิลพรหม แล้วให้เทพบรรษัทแห่ประทักษิณเวียนรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที จากนั้นจึงเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในมณฑป ณ ถ้ำคันธุลี เขาไกรลาศ กระทำการบูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ ต่อมาพระวิษณุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตโลงแก้ว อันประกอบไปด้วยแก้ว 7 ประการ แล้วให้เทพยดาทั้งหลายนำมาซึ่งเถาฉมุนาตลงล้างน้ำในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทั่วทุกๆ พระองค์ ครั้นได้วาระครบกำหนด 365 วัน โลกสมมติว่าปีหนึ่งเป็นวันสงกรานต์ เทพธิดาทั้ง 7 ก็ทรงเทพพาหนะต่างๆ ผลัดเปลี่ยนเวียนมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ พร้อมด้วยเทพบรรษแสนโกฏิประทักษิณเวียบรอบเขาพระสุเมรุราชบรรษัทเป็นเวลา 60 นาที แล้วจึงนำกลับไปประดิษฐานไว้ตามเดิม ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีนางสงกรานต์แต่ละนางมาทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์

กิจกรรมวันสงกรานต์

การทำบุญตักบาตร นับว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเอง อีกทั้งยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญในลักษณะนี้มักจะมีการเตรียมไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาทำบุญก็จะนำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัดโดยจัดเป็นที่รวมสำหรับการทำบุญ ในวันเดียวกันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีการก่อเจดีย์ทรายอันเป็นประเพณีที่สำคัญในวันสงกรานต์อีกด้วย

การรดน้ำ นับได้ว่าเป็นการอวยพรปีใหม่ให้แก่กันและกัน น้ำที่นำมาใช้รดหัวในการนี้มักเป็นน้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา

การสรงน้ำพระ เป็นการรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด ซึ่งในบางที่ก็จะมีการจัดให้สรงน้ำพระสงฆ์เพิ่มเติมด้วย

การบังสุกุลอัฐิ สำหรับเถ้ากระดูกของญาติผู้ใหญ่ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว มักทำที่เก็บเป็นลักษณะของเจดีย์ จากนั้นจะนิมนต์พระไปบังสุกุล

การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการที่เราไปอวยพรผู้ใหญ่ใที่ห้ความเคารพนับถือ อย่าง ครูบาอาจารย์ มักจะนั่งลงกับที่ จากนั้นผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำธรรมดารดลงไปที่มือ ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด หากเป็นพระก็อาจนำเอาผ้าสบงไปถวายเพื่อให้ผลัดเปลี่ยนด้วย แต่หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง หรือผ้าขาวม้าไปให้เปลี่ยน มีความหมายกับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ในวันปีใหม่ไทย

การดำหัว มีจุดประสงค์คล้ายกับการรดน้ำของทางภาคกลาง ส่วนใหญ่จะพบเห็นการดำหัวได้ทางภาคเหนือ การดำหัวทำเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่อาวุโสว่า ไม่ว่าเป็น พระ ผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกิน หรือเป็นการขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวหลักๆ ประกอบด้วย อาภรณ์ มะพร้าว กล้วย ส้มป่อย เทียน และดอกไม้

การปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าการล้างบาปที่เราได้ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี มีแต่ความสุข ความสบายในวันขึ้นปีใหม่

การขนททรายเข้าวัด ในทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาคให้พบแต่ความสุข ความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด แต่ก็มีบางพื้นที่มีความเชื่อว่า การนำทรายที่ติดเท้าออกจากวัดเป็นบาป จึงต้องขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เกิดบาป

กิจกรรมในข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของประเพณีสงกรานต์

ข้อมูลจาก: Wikipedia.org

2/04/64

ประเพณีสงกรานต์มีจุดมุ่งหมายอย่างไร

วันสงกรานต์ถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย เพราะวันนี้ เป็นวันฉลองการขึ้นปีใหม่ไทย ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน เป็นวันแสดงความกตัญญูกตเวที ระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และวันนี้ยังเป็นวันที่ครอบครัว จะได้อยู่พร้อมหน้า เนื่องจากหลาย ๆ ครอบครัว ที่มีลูกหลานที่ไปทำงานในต่างจังหวัด ก็จะได้ใช้โอกาสนี้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ...

กิจกรรมใดคือความคิดหลักของประเพณีสงกรานต์

ความสำคัญ ของวันสงกรานต์ เป็น วันแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ในวันนี้จะมีการไปรดน้ำดำหัวขอพรจาก พ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ วันสงกรานต์ถือเป็น วันสูงอายุแห่งชาติ

ข้อใดคือความสำคัญของวันสงกรานต์

กิจกรรมวันสงกรานต์ ยังมีความสำคัญต่อชุมชนและสังคมโดยรวม เพราะเป็นโอกาสดีให้ผู้คนได้พบปะในงานรื่นเริง ทำบุญทำทาน บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ รวมถึงช่วยกันสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทย นอกจากนี้ ผู้คนยังนิยมทำบุญ ตักบาตร และเข้าวัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ดังนั้นวันสงกรานต์จึงมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอีกด้วย

ประเพณีสงกรานต์มีความสำคัญกับสังคมไทยอย่างไร

ประเพณีสงกรานต์ นับเป็นประเพณีหนึ่งที่มีคุณค่าและความสำคัญทางวัฒนธรรมที่จะแสดงถึงความรัก ความผูกพันในครอบครัว ชุมชน และสังคม เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และบรรยากาศของความกตัญญู ความเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน