จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อใด ไม่ถูกต้อง

อาชีวอนามัยคืออะไร?

 Home

» Knowledge of Health » อาชีวอนามัยคืออะไร? 

จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อใด ไม่ถูกต้อง

อาชีวอนามัยคืออะไร?

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงานของคนทำงานในทุกอาชีพ โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกาย และจิตใจของคนทำงาน โดยการปรับงานแต่ละงานให้เข้ากับคนแต่ละคน

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้นิยามโรคจากการประกอบอาชีพและโรคเนื่องจากงานตามสาเหตุปัจจัยไว้ดังนี้

  1. โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) หมายถึง โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ทำงาน ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากการทำงานเป็นเวลานาน โรคจากการประกอบอาชีพบางโรคอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกตามสุขภาพ รวมทั้งโอกาสหรือ วิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส(โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารตัวทำละลายต่างๆ (Organic solvent toxicity) เป็นต้น
  2. โรคเนื่องจากงาน (Work-related Diseases) หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน และการทำงานในอาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย ดังนั้นลักษณะการท างานในอาชีพ หากมีการ ออกแรงซ้ำๆ หรือมีท่าทางการท างานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะแสดงอาการขึ้น เป็นต้น
  3. โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Environmental Diseases) หมายถึงผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อน ในดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

การป้องกันโรค

  1. การรู้สาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ รู้ว่าโรคปอดที่ทำให้คนงานและผู้อาศัยใกล้เคียงโรงงานโม่หินที่มีฝุ่นหินทรายฟุ้งกระจายนั้นเป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่นซิลิกา การป้องกันคือคนทำงานต้องใส่เครื่องป้องกันฝุ่น และต้องกำจัดฝุ่นหินนั้นไม่ให้คนไปสัมผัส โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เป็นต้น

        2.การรู้การกระจายของโรค โดยใช้วิธีการทางระบาดวิทยา เพื่อให้ทราบกลุ่มบุคคลที่เกิดโรค พื้นที่เกิดโรคและเวลาในการเกิดโรค (person, place, time) จะได้ควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกันต้องมีการอบรมสุขศึกษาและความรู้เรื่องโรคต่างๆให้กับพนักงานเพื่อทราบจะได้ป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธีด้วย

  1. การรู้ธรรมชาติของการเกิดโรค เนื่องจากโรคแต่ละโรคและกลุ่มโรคจะมีการดำเนินของโรคที่ต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อการกำหนดวิธีการป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ การป้องกันระยะที่เริ่มได้รับปัจจัยก่อโรค ระยะสะสมที่ยังไม่แสดงอาการ ระยะปรากฏอาการเริ่ม ระยะโรครุนแรง และระยะหายของโรคที่อาจตายหรือปรากฏความพิการ เป็นต้น

“เมื่อรู้ถึงสาเหตุของโรคแล้วก็จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรการการป้องกันที่รอบคอบชัดเจน เพราะการป้องกันที่ดีจะนำมาซึ่งสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย ทำให้คนทำงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจะทำให้งานที่ออกมานั้นได้ประสิทธิภาพ เป็นผลดีกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง”

จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อใด ไม่ถูกต้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อใด ไม่ถูกต้อง

ภาพนี้แสดงให้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังตรวจสอบการทำงานของเครื่องกลึงที่โรงงานผลิตอาวุธในสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ดวงตาของเธอไม่ได้รับการป้องกัน ซึ่งปัจจุบัน การปฏิบัติดังกล่าวจะไม่ได้รับอนุญาตในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับคนงาน อย่างไรก็ตามในหลายประเทศ มาตรฐานดังกล่าวก็ยังคงเปราะบาง หรือไม่มีเลย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (อังกฤษ: occupational safety and health; อักษรย่อ: OSH) นอกจากนี้ยังเรียกกันทั่วไปว่า สุขภาพและความปลอดภัยในอาชีพ (อังกฤษ: occupational health and safety; อักษรย่อ: OHS), อาชีวอนามัย (อังกฤษ: occupational health)[1] หรือ สุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน (อังกฤษ: workplace health and safety; อักษรย่อ: WHS) เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย, สุขภาพ และสวัสดิภาพของประชาชนในที่ทำงาน คำนิยามนี้ยังหมายถึงเป้าหมายของสาขานี้[2] เพื่อให้พวกเขามีสำนึกต่อหัวข้อดังกล่าว ที่แต่เดิมเป็นคำย่อของโครงการ/ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เป้าหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกอบด้วยการส่งเสริมให้เกิดให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีอนามัย[3] ทั้งยังให้การป้องกันต่อเพื่อนร่วมงาน, สมาชิกในครอบครัว, ผู้ว่าจ้าง, ลูกค้า และอื่น ๆ อีกมากที่อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ส่วนในสหรัฐอเมริกา คำนิยามนี้ยังกินความหมายเป็น อาชีวอนามัย และความปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพและไม่ได้ประกอบอาชีพ (อังกฤษ: occupational health and occupational and non-occupational safety) และรวมถึงความปลอดภัยในการทำกิจกรรมนอกที่ทำงาน[4]

ในเขตอำนาจศาลระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมายสำหรับการดูแลที่เหมาะสมต่อความปลอดภัยของพนักงาน[5] กฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติอาจเพิ่มกำหนดหน้าที่ทั่วไปอื่น ๆ, แนะนำการปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะ และสร้างหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจในการควบคุมปัญหาด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยรายละเอียดของเรื่องนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล

ทุกองค์กรมีหน้าที่สร้างความมั่นใจต่อพนักงานและบุคคลอื่นใดที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กร ให้ยังคงมีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา

ดูเพิ่ม[แก้]

หลัก[แก้]

  • โรคเหตุอาชีพ

องค์กรภาครัฐ[แก้]

  • องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (สหประชาชาติ)

สาขาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • วิศวกรรมอุตสาหการ
  • อาชีวเวชศาสตร์
  • สาธารณสุข
  • พิษวิทยา

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Health and Safety Executive (2009) : A Guide to Safety and Health Regulation in Great Britain Archived 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 4th edition. ISBN 978-0-7176-6319-4.
  • Koester, Frank (April 1912). "Our Stupendous Yearly Waste: The Death Toll of Industry". The World's Work: A History of Our Time. XXIII: 713–715. สืบค้นเมื่อ 2009-07-10.
  • OSAH Safety 1 Archived 2011-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Ladou, Joseph (2006). Current Occupational & Environmental Medicine (4th ed.). McGraw-Hill Professional. ISBN 0-07-144313-4.
  • Lebergott, Stanley (2002). "Wages and Working Conditions". ใน David R. Henderson (บ.ก.). Concise Encyclopedia of Economics (1st ed.). Library of Economics and Liberty. OCLC 317650570, 50016270 and 163149563
  • Roughton, James (2002). Developing an Effective Safety Culture: A Leadership Approach (1st ed.). Butterworth-Heinemann. ISBN 0-7506-7411-3.
  • Viscusi, W. Kip (2008). "Job Safety". ใน David R. Henderson (บ.ก.). Concise Encyclopedia of Economics (2nd ed.). Indianapolis: Library of Economics and Liberty. ISBN 978-0865976658. OCLC 237794267.
  • OHSAS 18000 series: (derived from a British Standard, OHSAS is intended to be compatible with ISO 9000 and 14000 series standards, but is not itself an ISO standard)
  • Historical Hazard Identification Process for D&D

อ้างอิง[แก้]

  1. It can be confusing that British English also uses industrial medicine to refer to occupational health and safety and uses occupational health to refer to occupational medicine. See the Collins Dictionary entries for industrial medicine and occupational medicine and occupational health.
  2. Mosby's Medical Dictionary
  3. "Oak Ridge National Laboratory | ORNL". www.ornl.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-10-30.
  4. Fanning, Fred E. (2003). Basic Safety Administration: A Handbook for the New Safety Specialist, Chicago: American Society of Safety Engineers
  5. "Guidance note: General duty of care in Western Australian workplaces 2005" (PDF). Government of Western Australia. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • (US) CDC - National Institute for Occupational Safety and Health
  • (EU) Health-EU Portal – Health and Safety at work
  • ILO International Occupational Safety and Health Information Centre
  • American Journal of Industrial Medicine