ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช

หลัง "พระเจ้าตากสินมหาราช" กู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ด้วยเหตุผลนานาประการจึงทรงตัดสินใจเลือกเอา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานีใหม่ ในชื่อ "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

วันที่ 4 ตุลาคม 2313 เมืองธนบุรีได้ถูกสถาปนาเป็นราชธานีแห่งใหม่ หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" สามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่า  

และเมื่อสภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมากไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวง  เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายและทรุดโทรมยากแก่การบูรณะ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยายังมีพื้นที่กว้างขวางยากแก่การรักษาบ้านเมือง และอยู่ห่างจากปากแม่น้ำไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ 

สำหรับสาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราชเลือกที่นี่ เพราะ "กรุงธนบุรี" เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองเมื่อเกิดศึกสงคราม

ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช

ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานี ทรงพระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

นอกจากนี้ หากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังจะต้านทานก็ยังสามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้โดยอาศัยทางเรือ อีกทั้งยังมี 2 ป้อมปราการทั้งป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์ อยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ 

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ทรงสร้างพระราชวังขึ้นทางทิศใต้ของกรุงธนบุรี ขนาบข้างด้วยวัดแจ้ง หรือวัดมะกอก (ปัจจุบันคือ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร) และวัดท้ายตลาด (ปัจจุบันคือวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร) โดยเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๓๑๓ พระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"               

ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช

สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงความคิดเห็นไว้ว่า..

"ที่เจ้าตากลงมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งนั้นเหมาะแก่ประโยชน์ทุกอย่าง ถ้าหากว่าสมเด็จพระอดีตมหาราชได้มาขับไล่เจ้าตากมิให้ตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ก็ขับไล่ด้วยไมตรีจิต ตักเตือนมิให้พลาดพลั้งไปด้วยเห็นแก่เกียรติยศ

เพราะกรุงศรีอยุธยาถึงเป็นที่มีชัยภูมิด้วยลําน้ำล้อมรอบ และเป็นเมืองมีป้อมปราการมั่นคงก็จริง แต่รี้พลของเจ้าตากที่มีอยู่ไม่พอจะรักษากรุงศรีอยุธยาต่อสู้ข้าศึก และขณะนั้นศัตรูก็ยังมีมาก ทั้งพม่าและไทยก๊กอื่นอาจจะยกมาย่ำยีในเมื่อหนึ่งเมื่อใด กรุงศรีอยุธยาอยู่ในทางที่ ข้าศึกจะมาถึงได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ ถ้ามีกําลังไม่พอรักษา ขืนตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาก็คงเป็นอันตราย

การที่ลงมาตั้งอยู่เมืองธนบุรีก็ไม่ห่างไกลกับกรุงศรีอยุธยา มีอํานาจอยู่ที่เมืองธนบุรีก็เหมือนมีอํานาจอยู่ในกรุงศรีอยุธยา แต่ได้เปรียบที่เมืองธนบุรีตั้งอยู่ที่ลําน้ำลึกใกล้ทะเล แม้ข้าศึกมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกําลังด้วยแล้วก็ยากที่จะมาตีเมืองธนบุรี"

อย่างไรก็ดี "อาณาจักรธนบุรี" เป็นอาณาจักรเพียงแค่ช่วงสั้นๆ ระหว่างปี 2310 - 2325 หรือเพียง 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

และต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

ขอบคุณภาพ-Fb.มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม

   

           

ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช
     
                                        สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช                              

                       

ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช

                         
จิตรกรรมฝาผนังในพระราชวังเดิม แสดงการรบที่จันทบุรี
   

กรุงธนบุรีศรีมหาสมุท (๑) ชื่อเดิมว่า เมืองบางกอก เป็นเมืองที่เคยเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่และมีความเจริญ รุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลายเมื่อพ.ศ.๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนศรีมหาสมุทรแห่งนี้เป็นราชธานีแห่งใหม่  กรุงธนบุรีมีอายุครบรอบ ๒๕๐ ปีแห่งการสถาปนาเป็นราชธานีของไทย เมื่อพ.ศ.๒๕๖๐ มีความสำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยไม่แพ้ราชธานีใด  เพราะการก่อกำเนิดของราชธานีแห่งนี้เกิดขึ้นจากความเสียสละและจิตใจอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวยิ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงอุทิศทั้งแรงกายและแรงใจของพระองค์ด้วยความวิริยะอุตสาหะ  พระองค์ทรงตรากตรำทั้งพระวรกายและทรงทุ่มเทแรงใจเพื่อนำพาเหล่าบรรพชนผู้กล้าหาญเข้ากรำศึกกับข้าศึกศัตรูทั้งจากภายในและภายนอก  เพื่อให้ได้มาซึ่งการดำรงอยู่ของคนไทยจนนำไปสู่การตั้งราชธานีแห่งใหม่และกอบกู้เสถียรภาพของชาติไทยให้กลับคืนมาได้อีกครั้ง 

           พระมหากรุณาธิคุณอันเป็นที่ประจักษ์ชัดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็คือการสถาปนาศูนย์กลางอำนาจของราชอาณาจักรไทยขึ้นสืบต่อจากกรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าทำลายจนพินาศย่อยยับได้สำเร็จ  และกลายเป็นหลักแหล่งมั่นคงที่เป็นรากฐานให้กรุงเทพมหานครได้เติบโตตามมาจนมีอายุสองร้อยกว่าปีในปัจจุบัน  ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียเลือดเนื้ออันเกิดจากความรักชาติและความเสียสละของพระยาตากอย่างแท้จริง  ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องที่จะพูดกันแต่เพียงว่าท่านคือผู้กอบกู้เอกราช  เพราะพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่นอกเหนือกว่านั้นคือพระราชปณิธานและวีรกรรมอันมุ่งมั่นที่สร้างชาติบ้านเมืองให้กลับมาหยัดยืนสืบแทนอยุธยาให้ได้อีกครั้ง  หากปราศจากพระองค์ท่าน ประเทศไทยในวันนี้จะเป็นเช่นไรก็คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการได้

             ภายหลังจากที่ทรงปราบดาภิเษก  พระราชภารกิจสำคัญลำดับแรกของพระเจ้าตากสินมหาราชก็คือการสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น  แต่การกอบกู้ชาติบ้านเมืองของพระองค์ในระยะแรกเริ่มเต็มไปด้วยความยาก ลำบากแสนสาหัส  ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวของประชาชนและสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกทำลายจนย่อยยับจนเกิดสภาวะจลาจลไปทั่วทุกหนแห่งในขณะนั้น   การที่จะทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพเพื่อให้ผู้คนเกิดความเชื่อมั่นที่จะกลับเข้ามาดำเนินชีวิตตามปกติอีกครั้งจึงไม่ใช่เรื่องง่าย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่บ้านเมืองยังเต็มไปด้วยปัญหาภายในซับซ้อนหลายด้าน   ประกอบกับภาวะศึกสงครามก็ยังไม่ได้สงบลงอย่างแท้จริง  ยังคงมีทั้งศึกภายนอกและศึกภายในมาจากทุกภูมิภาค  มีการตั้งตนเป็นใหญ่ของผู้นำชุมนุมต่างๆ ได้แก่  ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก (เรือง) ชุมนุมเจ้าพิมาย (กรมหมื่นเทพพิพิธ) และชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู)  ดังนั้นการจะสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง  ในลำดับแรกพระองค์จึงทรงต้องปราบปรามชุมนุมที่ต่างฝ่ายก็พยายามจะแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจเพื่อตั้งตนขึ้นมาเป็นใหญ่เสียก่อน  ซึ่งต้องใช้ทั้งสรรพกำลังและต้องสูญเสียเลือดเนื้อมิใช่น้อย

               สิ่งที่สร้างความยากลำบากเพิ่มมากขึ้นก็คือเหตุแห่งทุพภิกขภัย หรือภัยแห่งการขาดแคลนอาหารภายในบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากภาวะสงคราม   เกิดข้าวยากหมากแพงและขาดแคลนอาหารอย่างหนัก เพราะราษฎรพากันทิ้งไร่ทิ้งนาในระหว่างศึกสงคราม  ดังนั้นในยามที่ว่างเว้นจากการกรำศึกเพื่อกอบกู้เอกราช  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ยังทรงต้องแก้ปัญหาปากท้องทั้งของราษฎรและกองทัพ  พระองค์ทรงเริ่มชักจูงให้ราษฎรค่อยๆ อพยพกลับสู่กรุงธนบุรีเพื่อกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ  เหตุผลหนึ่งที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีนั้น  เพราะแต่เดิมเมืองธนบุรีเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทั้งทางด้านยุทธศาสตร์และการค้า และเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาตอนต้น  เป็นเมืองเกษตรกรรมและอาชีพหลักของประชาชนคือการทำสวนผลไม้ หมู่บ้านส่วนใหญ่ที่อยู่ริมน้ำปลูกเป็นกระท่อมไม้ไผ่เรือนยกสูงเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม  โดยปลูกบ้านเป็นแนวยาวไปตามแนวทางน้ำ ถัดเข้าไปตอนในจึงเป็นที่นาหรือป่าละเมาะ  ลักษณะการทำสวนของเมืองธนบุรีซึ่งเป็นแบบยกท้องร่อง  เป็นลักษณะการทำสวนแบบชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งและมณฑลกวางสี  จึงมีความเป็นไปได้ว่าชาวจีนตอนใต้ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามปากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว

              ในเมืองธนบุรีมีการทำเกษตรกรรมที่ให้ผลผลิตดี  สินค้าสำคัญของธนบุรีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นประเภทผลไม้และหมาก(๒) แต่ในขณะนั้นการทำไร่ทำนาก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล  สภาวะการขาดแคลนดังกล่าวนี้ปรากฏตรงกันอยู่ในบันทึกของชาวต่างชาติหลายฉบับ  เช่นที่ปรากฏข้อความในบันทึกของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ว่า“..เมื่อข้าพเจ้าได้ไปในเมืองไทยได้เห็นราษฎรพลเมืองซึ่งได้รอดพ้นมือพม่าไปได้นั้น ยากจนเดือดร้อนอย่างที่สุด ในเวลานี้ดูเหมือนดินฟ้าอากาศจะช่วยกันทำโทษพวกเขา ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ชาวนาได้หว่านข้าวถึง ๓ ครั้งก็มีตัวแมลงคอยกินรากต้นข้าวและรากทุกอย่าง โจรผู้ร้ายก็ชุกชุมมีทั่วไปทุกหนแห่ง เพราะฉะนั้นถ้าจะไปไหนก็ต้องมีอาวุธติดตัวไปด้วยเสมอ..”(๓)

              สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อรับซื้อข้าวสารจากเรือสำเภาของชาวต่างชาติในราคาสูงเพื่อนำมาแจกจ่ายแก่ราษฎร  ชาวบ้านที่เคยหลบหนีออกไปอยู่ตามป่าเขาจึงเริ่มอพยพกลับเข้ามาในกรุงธนบุรีเพิ่มมากขึ้น  แม้แต่ชาวต่างชาติที่ได้ร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ในช่วงนี้ก็ยังได้บันทึกไว้เช่นกันว่า “..ภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้ายนี้ พระยาตากได้แสดงให้เห็นถึงพระเมตตากรุณาของพระองค์ ความขัดสนไม่ได้ทำให้อดอยากต่อไปอีกนานนัก  เพราะพระองค์ทรงเปิดพระคลังหลวงเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ ชาวต่างชาติได้ขายผลิตผลซึ่งไม่มีในประเทศสยามให้โดยต้องใช้เงินสดซื้อ ทรงใช้พระเมตตากรุณาของพระองค์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความถูกต้องในการเข้ายึดครองอำนาจ  ทรงลบล้างเรื่องการกดขี่  ความปลอดภัยทั้งในเรื่องชีวิตและทรัพย์สินได้ฟื้นคืนกลับมา..”(๔)

            ส่วนในพระราชพงศาวดารก็ได้บันทึกไว้เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ว่า “ข้าวสารเป็นเกวียนละ ๒ ชั่ง  อาณาประชาราษฎรขัดสน  จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทำนาปรัง”(๕) แม้กระทั่งระดับเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์(๖) ซึ่งเป็นแม่ทัพก็ยังต้องมาคุมทำนาพื้นที่ฝั่งซ้ายขวา  กินเนื้อที่กว้างให้เป็นทะเลตมเพื่อป้องกันข้าศึก  และในเวลาต่อมาเมื่อบ้านเมืองได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ  กรุงธนบุรีจึงได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายทั้งกับชาติตะวันออกและตะวันตก  ทางตะวันออกพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ส่งเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีนตลอดจนอินเดียใต้  แต่กว่าที่จะเปิดการค้ากับราชสำนักจีนได้นั้นพระเจ้าตากต้องส่งพระราชสาสน์ไปเมืองจีนถึง ๔ ครั้ง(๗) เพื่อให้จีนรับรับรองฐานะความเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสยาม

ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช

พระราชสาสน์ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินส่งไปถวายจักรพรรดิจีน
             

     

ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช
     
รายการเครื่องราชบรรณาการที่ส่งไปยังราชสำนักจีน


ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช
จักรพรรดิเฉียนหลง

               หลังจากตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ส่งพระราชสาสน์ไปเมืองจีนเพื่อถวายพระเจ้าเฉียนหลงจักรพรรดิจีนเพื่อให้รับรองฐานะกษัตริย์พระองค์ใหม่  โดยส่งพระราชสาสน์ไปกับเรือสินค้าของพ่อค้าจีน ชื่อ หยังจิ้นจง เนื้อความในพระราชสาสน์อธิบายการขึ้นครองราชย์ของพระองค์  พร้อมทั้งขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตซื้อเหล็กและปืนใหญ่มาทำสงครามกับพม่า  แต่ในปีเดียวกันหัวหน้าชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระก็ได้ส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้าเฉียนหลงเพื่อให้ทรงรับรองฐานะการเป็นกษัตริย์ของสยามด้วยเช่นกัน  ครั้งนั้น พระเจ้าเฉียนหลงจึงได้ตอบปฏิเสธการรับรองฐานะของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  รวมทั้งปฏิเสธการขอซื้อเหล็กและปืนใหญ่ด้วย(๘)  

            การเจริญไมตรีทางการทูตกับจีนในอีก ๓ ครั้งต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๓๑๘ พ.ศ.๒๓๒๐ และพ.ศ.๒๓๒๑  ทำให้กรุงธนบุรีได้รับการตอบรับด้วยไมตรีจากจักรพรรดิจีนมากยิ่งขึ้น  ในที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิจีนก็ทรงพระราชทานสิทธิให้กรุงธนบุรีสามารถทำการค้ากับจีนได้เต็มที่เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา โดยไม่ต้องจำกัดอยู่แค่เมืองกวางตุ้งเช่นในระยะแรกๆ(๙) สินค้าที่กรุงธนบุรีซื้อจากจีนนั้น  ได้แก่ กำมะถัน กระทะเหล็ก แผ่นทองแดง เหล็ก เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกมากที่สุดของกรุงธนบุรีจะเป็นพวกของป่า ได้แก่ ไม้ฝาง ไม้แดง ไม้ดำ รวมทั้งการค้าพริกไทยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกิดจากความชำนาญด้านการเพาะปลูกของชาวจีนอพยพซึ่งส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋ว  และมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ตามเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก  รวมทั้งที่เมืองสงขลาซึ่งมีชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่เป็นจำนวนมาก  สำหรับไม้ฝางนั้นนอกจากจะใช้ส่งออกแล้ว ยังเป็นสินค้าที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นด้วย(๑๐) จะเห็นได้ว่าเวลาที่ประเทศจีนได้เปิดสัมพันธไมตรีการค้าอย่างเต็มที่กับกรุงธนบุรีเป็นยามที่บ้านเมืองเริ่มมีความมั่นคง  แม้ในระยะแรกจีนจะปฏิเสธความสัมพันธ์กับกรุงธนบุรีมาโดยตลอด เพราะมองว่าพระองค์เป็นคนธรรมดาสามัญ   แต่ท้ายที่สุดจีนก็ยอมรับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมากขึ้น  สังเกตได้จากหลักฐานบันทึกที่มีการออกพระนามพระองค์ว่า “เจิ้งเจา” ในช่วงปลายรัชสมัย  นอกจากนั้นเมื่อมีการส่งคณะทูตเพื่อถวายพระราชสาสน์อย่างเป็นทางการเมื่อ พ..๒๓๒๔   ราชสำนักจีนได้ออกพระนามพระองค์ว่า เจิ้งเจา พระเจ้าแผ่นดินสยามอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับของจีน  แต่กว่าที่จะได้มีการส่งราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีอย่างเป็นทางการนั้นก็เป็นปีสุดท้ายในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพอดี(๑๑)   และจากการที่มีการเปลี่ยนรัชกาลเสียก่อน  ดังนั้นผลพลอยได้จึงตกอยู่ที่กรุงรัตนโกสินทร์แทนในเวลาต่อมา(๑๒)

               สำหรับกลุ่มชาวจีนที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของธนบุรีในขณะนั้น ก็คือชาวจีนที่หลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก บ้างก็ทำการค้าขายจนได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสำคัญและมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นอย่างยิ่ง อาทิ ชาวจีนกวางตุ้งชื่อ หยังจิ้นจง รับราชการจนได้บรรดาศักดิ์เป็นโกษาธิบดี ซึ่งทำหน้าที่ดูแลซื้อขายสินค้า  ชาวจีนแต้จิ๋วชื่อ จีนมั่วเส็ง  ต่อมาโปรดฯให้เป็นหลวงอภัยพานิช หรือจีนเรือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระพิชัยวารี  จีนฮกเกี้ยนมีขุนนางคนสำคัญคือ เฮาเหยี่ยง หรือ วูหยาง เป็นพ่อค้าจีนฮกเกี้ยนที่เดินทางมายังสงขลาและปลูกยาสูบขายจนร่ำรวย  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เป็นเจ้าภาษีรังนกของสงขลา  ต่อเมื่อมีความดีความชอบทำอากรรังนกถวายเงินปีละ ๕๐ ชั่ง จึงแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอินทรคีรีสมบัติ(๑๓) เป็นต้น  จนอาจกล่าวได้ว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กรุงธนบุรีก้าวสู่ระบบการค้าจีนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้นั้นก็เพราะมีกลุ่มชาวจีนอพยพเป็นกำลังสำคัญ ด้วยการเป็นทั้งผู้ผลิตสินค้า ผู้จัดหา  เป็นทั้งขุนนางและลูกจ้างที่สร้างความเชื่อมโยงจนเกิดเป็นเครือข่ายการค้าในแต่ละเมืองขึ้น

ข้อ ใด เป็น เหตุผล สำคัญ ที่สุด ในการ ย้ายราชธานี ของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช

เครื่องราชบรรณาการที่ส่งไปถวายพระเจ้ากรุงจีน

ปัจจุบันอยู่ที่ไทเป (ที่มา:kingthonburi.myreadyweb.com)

               นอกจากจะเปิดการค้ากับจีนแล้ว กรุงธนบุรีก็ยังได้ติดต่อการค้ากับชาวญวนและแขก เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเรียนรู้ภาษาทั้งสามจนทรงสามารถพูดได้อย่างชำนาญมาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงเริ่มรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา  นอกจากนั้นก็ยังมีการทำการค้ากับญี่ปุ่นและชาติอื่นๆด้วย  แต่เป็นการค้าที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กรุงธนบุรีมากเท่าการค้ากับจีน  และการได้ทำการค้าที่ผ่านพ่อค้าจีนนั้นก็ยังส่งผลดีที่ทำให้การค้าเริ่มขยายตัวออกสู่วงกว้างมากขึ้นด้วย(๑๔)

                สำหรับความสัมพันธ์ที่มีกับชาติตะวันตกนั้น  มีหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในเอกสารสำคัญของฝ่ายไทยและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของกรุงธนบุรี นั่นก็คือ เรื่องจดหมายเหตุของพวกบาทหลวงฝรั่งเศส(๑๕) พวกเขาได้บันทึกเรื่องราวครั้งกรุงธนบุรีไว้  เริ่มตั้งแต่ช่วงแรกที่เดินทางเข้ามาในช่วงต้นรัชสมัย  อย่างเช่นที่มองซิเออร์คอร์บันทึกไว้ว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี และโปรดให้ข้าพเจ้าเลือกหาที่ดินตามใจชอบ ข้าพเจ้าได้เลือกที่ไว้แห่ง ๑ เหนือหมู่บ้านพวกเข้ารีต..”(๑๖) แต่ในส่วนประเด็นสำคัญคงเป็นเรื่องชะตากรรมของชาวยุโรป  ที่ทำให้ได้รับรู้เรื่องราวของพวกคริสตังโปรตุเกสที่ต้องหนีตายจากการถูกควบคุมตัวของทหารพม่า  ตลอดจนการบันทึกในช่วงหลังการเสียกรุงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการค้าขายทั้งกับชาวอังกฤษ โปรตุเกส และฮอลันดา   หลักฐานเรื่องสินค้าสำคัญตามที่ปรากฏในบันทึก  นอกจากจะเป็นการค้าข้าวซึ่งเป็นสินค้าบริโภคที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเสริมสร้างกำลังแก่กองทัพแล้ว  ในภาวะที่บ้านเมืองยังอยู่ในช่วงมีศึกสงครามติดพันเช่นนั้น  สินค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ก็จะมีความสำคัญและจำเป็นไม่แพ้กัน  ดังที่ปรากฏเรื่องของการติดต่อซื้อดินปืนและปืนนานาชนิด ที่เรือสินค้าต่างชาติตามหัวเมืองชายทะเลได้บรรทุกเข้ามาจำหน่าย  การที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้บันทึกถึงเรื่องการอาศัยเรือแขกมัวร์ไปยังบางกอก (พ.ศ.๒๓๑๓) แสดงให้เห็นว่ามีการนำเรือสินค้าเข้ามาค้าขายที่เมืองบางกอกแล้วตั้งแต่ตอน ต้นรัชสมัย  นอกจากนั้น ยังมีข้อความที่บันทึกไว้ในเวลาต่อมาว่า “ในปี พ.ศ.๒๓๒๒ แขกมัวร์จากเมืองสุราตในประเทศอินเดีย ได้นำสินค้าเข้ามาขายในกรุงธนบุรี และฝ่ายไทยก็ได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายถึงอินเดีย(๑๗)

                 การค้าที่สำคัญอีกด้านหนึ่งนั้นก็คือการค้ากับฮาเตียน(๑๘) สินค้าที่นำเข้าจำนวนมากคือข้าว  นอกจากนั้นก็ยังปรากฏหลักฐานการค้ากับบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ว่า “ในปีพ.ศ.๒๓๑๒ ออกญาพิพัทธโกศาได้ส่งจดหมายไปถึงข้าหลวงใหญ่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาในเมืองปัตตาเวีย เพื่อชักชวนให้กลับมาตั้งสถานีการค้าในกรุงธนบุรี และติดต่อขอซื้ออาวุธปืนจำนวน ๑,๐๐๐ กระบอก บริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดาได้ตกลงขายปืนให้ ๕๐๐ กระบอก โดยแลกกับไม้ฝาง หากมีไม้ฝางไม่พอก็สามารถจ่ายเป็นขี้ผึ้งได้”(๑๙)  ถึงแม้บริษัทอินเดียตะวัน ออกของฮอลันดาจะไม่ได้กลับมาตั้งสถานีการค้าในธนบุรี  แต่ก็ยังมีการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอีกหลายครั้ง เช่นในพ.ศ.๒๓๑๗  ธนบุรีได้ซื้อปืนอีก ๓,๐๐๐ กระบอก  และการซื้อขายแต่ละครั้งก็ยังดำเนินการผ่านชาวจีนที่เดินเรืออยู่ระหว่างสยามและปัตตาเวีย  โดยส่วนมากเป็นการซื้ออาวุธ  รองลงมาคือข้าวและม้า(๒๐)

              จากการได้ติดต่อการค้าระหว่างกรุงธนบุรีกับชาติตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้เราได้รู้จักพ่อค้าชาวอังกฤษ ชื่อ ฟรานซิส ไลต์ (Francis Light) ตลอดจนได้รับรู้เรื่องราวที่เขาที่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรุงธนบุรีอีกด้วย  เขาเป็นผู้ที่ทำให้กรุงธนบุรีได้ทำการซื้ออาวุธปืนกับชาติตะวันตกอีกครั้ง  และมีคุณงามความดีจนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ พระยาราชกปิตัน แก่เขาในภายหลัง(๒๑) 

            ฟรานซิส ไลต์ เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๘ ที่เมืองดัลลิงฮู (Dallinghoo) ซัฟฟอล์ก (Suffolk) ประเทศอังกฤษ หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการกับราชนาวีอังกฤษเป็นเวลา ๕ ปี ตั้งแต่พ.ศ.๒๓๐๒ ถึงพ.ศ.๒๓๐๖ ตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการคือนายเรือโท  จากนั้นจึงได้ลาออกจากราชการมาเป็นนายเรือพาณิชย์สังกัดบริษัทบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (British East India Company) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เบงกอลซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย  และเดินเรือทำการค้าอยู่ระหว่างท่าเรือตามชายฝั่งอินเดียกับคาบสมุทรมลายู  นายจอห์น ครอเฟิร์ด (John Crawfurd) ให้ข้อมูลไว้ว่า ฟรานซิส ไลต์ ได้สมรสกับสาวลูกครึ่งไทย-โปรตุเกสชาวเมืองถลาง ชื่อ มาร์ตินา โรเซล และตั้งรกรากอยู่ที่เมืองถลางมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๑๕  และต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางการค้าไปอยู่ที่ปีนังหรือเกาะหมาก  สินค้าสำคัญที่ค้าขายอยู่ในเวลานั้นก็คือ ข้าว  ซึ่งมีลักษณะการค้าขายที่ใช้ดีบุกในการชำระอัตราค่าซื้อขายแทนการใช้เงิน  แต่สิ่งที่ทำให้การค้าของฟรานซิส ไลต์กับสยามประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งและกลายเป็นบุคคลสำคัญของภูมิภาคนี้  ก็คือการค้าอาวุธปืนนานาชนิด  โดยเฉพาะปืนใหญ่ประเภทต่างๆ รวมทั้งการค้าดินปืนให้กับเมืองถลางและเมืองชายทะเลอื่น ๆทางภาคใต้ของสยาม  เพราะขณะนั้นสยามยังขาดแคลนทั้งอาวุธและยุทธปัจจัยใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันประเทศในระหว่างการศึกกับพม่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงโปรดให้ฟรานซิส ไลต์เป็นธุระในการติดต่อขอซื้ออาวุธ  ซึ่งปรากฏหลักฐานในบันทึกว่า กรมการเมืองถลางซื้อปืนคาบศิลา ๙๖๒ กระบอก ปืนชาติเจะระมัด ๙๐๐ กระบอก โดยมีกปิตันมังกูเป็นผู้นำส่งมายังกรุงธนบุรี และเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับดีบุก(๒๒) ซึ่งเรื่องการค้าขายกับชาติตะวันตกในช่วงดังกล่าวนี้ก็ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ปีวอกอัฐศก (พ.ศ.๒๓๑๙) เป็นข้อความเพียงสั้น ๆว่า  “เจ้ากรุงปัญยีจัดซื้อปืนถวายเข้ามา ๑๔๐๐ และสิ่งของเครื่อบรรณาการต่างๆ”(๒๓) เพื่อมอบเป็นบรรณาการแก่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  นอกจากนี้ก็มีเอกสารต่างประเทศฉบับอื่นๆ บันทึกเหตุการณ์เดียวกันนี้ไว้ และบางฉบับ(๒๔)ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า กรุงธนบุรีได้สั่งซื้อปืนจากอังกฤษ  โดยมีจดหมาย โต้ตอบระหว่างกัน และในการจัดซื้อครั้งหนึ่ง ฟรานซิส ไลต์ได้เขียนจดหมายไปถึงนายยอร์ช สแตรตตัน(๒๕) ฉบับลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๐ ข้อความตอนหนึ่งว่า  พระเจ้าแผ่นดินสยามได้สดับว่าพม่ากำลังให้ความสนใจฝรั่งเศสมาก ลำพังพม่าพวกเดียวแล้วพระองค์ไม่กลัว แต่ทรงวิตกว่าพม่าจะเข้ารวมกับพวกฝรั่งเศสซึ่งมีอยู่มากในหงสาวดีและอังวะ จึงทรงเห็นภัยที่จะมีมาถึงประเทศ(๒๖) 

              ในเวลาต่อมาพระยาราชกปิตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการเกาะปรินซ์ ออฟ เวลส์ (Governor of Prince of Wales) หรือเจ้าเมืองปีนังคนแรก  แต่เขาก็ยังคงมีบทบาทพ่อค้าอาวุธกับราชอาณาจักรไทยอยู่อย่างต่อเนื่องนับจากสมัยกรุงธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ดังปรากฏอยู่ในเอกสารเมืองถลาง หรือจดหมายของพระยาถลางและคุณหญิงจันที่มีไปถึงฟรานซิส ไลต์  เจ้าเมืองปีนัง เอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญนี้เป็นจดหมายอักษรไทยจำนวนกว่า ๖๐ ฉบับซึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน  มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการติดต่อการค้าระหว่างพระยาราชกปิตันกับเมืองถลางในระหว่าง พ.ศ.๒๓๒๘ ถึง ๒๓๓๓  เนื้อความส่วนใหญ่บอกเล่าถึงสถานการณ์ในช่วงวิกฤตของเมืองถลาง  เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่งภายหลังการศึกสงครามกับพม่า  สภาพบ้านเมืองที่ได้รับความเสียหาย  ยุ้งฉางข้าวที่ถูกพม่าเผาทำลายเพื่อมิให้หลงเหลือเป็นเสบียงอาหาร  จนทำให้ประชาชนต้องอดอยากขาดแคลนและการต้องใช้ดีบุกในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างๆ  เป็นต้น

                 แม้ยามนั้นบ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะศึกสงคราม  แต่ต้องยอมรับว่าการขับเคลื่อนของกลุ่มชาวจีนที่อพยพเข้ามาคือกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้กรุงธนบุรีมีการค้าที่เจริญรุ่งเรือง  ทั้งยังทำให้การติดต่อค้าขายสามารถเชื่อมโยงไปสู่อาณาจักรอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีกด้วย  การค้าในสมัยกรุงธนบุรีทั้งการค้าภายในและภายนอกนั้นมีแต่ชาวจีนที่เป็นคนดำเนินการ  แม้แต่ชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในช่วงนั้นก็ยังได้บันทึกว่า การค้าสำคัญของที่นี่อยู่ในมือชาวจีนทั้งหมด และพระมหากษัตริย์เองก็พอใจจะให้เป็นเช่นนั้น(๒๗)

                                                                                                                              เรียบเรียงโดย
เสาวลักษณ์ กีชานนท์

                                                                                                                   นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ

                                                                                                                            กลุ่มแปลและเรียบเรียง

เชิงอรรถ

   ปรากฏชื่ออยู่ในกฎหมายตราสามดวงว่า “เมืองธนบุรียศรีมหาสมุทร”ซึ่งแปลว่า“เมืองแห่งทรัพย์อันเป็นศรีแห่งสมุทร”

   ๒  จุมพฎ ชวลิตานนท์. การค้าส่งออกของอยุธยาระหว่างพ.ศ.๒๑๕๐-๒๓๑๐.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์   

       คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.๒๕๓๑. หน้า๔๓.

   ๓  ศิลปากร,กรม. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. หน้า ๘๗

   สมศรี เอี่ยมธรรม. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. (กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์) ๒๕๕๙. น. ๒๒๓.

   ๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).(กรุงเทพ : มปท. มปป.) ๒๕๐๖. น. ๔๐.

     ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

       พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

   ๗ ณัฏฐภัทร จันทวิช. ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรีจากจดหมายเหตุจีน.

       วารสารศิลปากร ๒๕ (พค.-กค.๒๕๒๓) น.๕๕.

     จิราธร ชาติศิริ เศรษฐกิจธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน.หน้า.๒๔๒. อ้างจาก สืบแสง พรหมบุญ เรื่อง ความสัมพันธ์ในระบบ

       บรรณาการระหว่างจีนกับไทยในค.ศ.๑๒๘๒-๑๘๕๓.

  ๙  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๔๓.

 ๑๐  อ้างแล้ว. หน้า๒๔๗.

 ๑๑  กรมศิลปากร. ทศภาค : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.(๒๕๕๙). หน้า ๒๔๑.

 ๑๒  สุดารา สุจฉายา. พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากหนังสือ ทศภาค : สมเด็จพระเจ้าตากสิน

       มหาราช, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.๒๕๕๙. น.๔๕.

  ๑๓  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๕๒.

  ๑๔  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๘.

  ๑๕ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ จดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  ๑๖  ศิลปากร, กรม.ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. หน้า ๘๘.

  ๑๗  http://wikipedia.org. ความสัมพันธ์กับต่างชาติในสมัยกรุงธนบุรี. (เข้าถึงเมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐).

  ๑๘ หมายถึงเมืองพุทไธมาศ หรือบันทายมาศ ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามติดกับกัมพูชา

  ๑๙ จิราธร ชาติศิริ. เศรษฐกิจกรุงธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา. หน้า ๒๔๙  อ้างอิงจาก ธีรวัติ ณ ป้อม

        เพชร จดหมายจากพิพัทธโกศา ถึงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หน้า๓๓-๔๐.

   ๒๐ จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๙.

  ๒๑   จากเอกสารและจดหมายหลายฉบับที่ข้าราชการและชาวเมืองถลางเขียนถึงฟรานซิส ไลต์ ลงวันที่เดือนปี ในพ.ศ.๒๓๒๒ ได้

         เรียกเขาตามบรรดาศักดิ์อย่างชัดเจนว่า พระยาราชกปิตัน ซึ่งยังอยู่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  อย่างไรก็ดี  บาง

        หลักฐาน เช่น หนังสือชุมนุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ได้อ้างว่า กัปตันฟรานซิส ไลต์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราช

         กปิตันในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

  ๒๒   จิราธร ชาติศิริ. เศรษฐกิจกรุงธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน.อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๙.

   ๒๓  กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี. (กรุงเทพฯ : มปป. มปท.) น. ๙๒   ในพระราชพงศาวดารฉบับพระ

          ราชหัตถเลขาและเอกสารต่างประเทศหลายฉบับกล่าวตรงกันว่า หมายถึงกปิตันเหล็ก เจ้าเมืองเกาะหมาก

   ๒๔  หนังสือ Taksin the Great by History World  Published: Lulu.com on May 15,

         2013

   ๒๕ George Stratton ชาวอังกฤษซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งไวซ์รอยหรือผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราส  (Viceroy of Madras)

   ๒๖  อาณัติ อนันตภาค. สองมหาราชกู้แผ่นดิน. น.๑๔. 

   ๒๗  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๕๔ อ้างอิงจาก Sarasin Viraphol. Tribute and Profit:Sino-Siamese trade 1652-

         1853. Cambridge: Harward U.Press,1977.p.172.

พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยาด้วยเหตุผลใด

สำหรับเหตุที่ทรงเลือกที่นี่ เพราะกรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามาช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม

สาเหตุใดสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี

สำหรับสาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราชเลือกที่นี่ เพราะ "กรุงธนบุรี" เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองเมื่อเกิดศึกสงคราม

สาเหตุสําคัญที่ทําให้พระเจ้าตากพระสติฟั่นเฟือนเนื่องจากเหตุผลใด

1. พระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส เพราะเครียดจากการสู้รบ จึงถุกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยท่อนจันท์ 2.พระเจ้าตากสินสติวิปลาส เพราะเคร่งครัดในธรรม ให้พระทุกองคืเคารพตนเพราะตนเป้นพระโสดาบัน พระรูปไหนไม่ไหว้ เคารพก้ถุกโบย ก้เลยถุกตัดสินเหมือนข้อ 1. 3.เกี่ยวกับกบฎพระยาสรรค์ที่ใส่ร้ายพระองค์ ก้เหมือนข้อ 1 อีก

ข้อใดเป็นเหตุผลที่ดีที่สุดกับการที่กล่าวว่า ที่ตั้งของกรุงธนบุรีเหมาะสมในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

การที่กล่าวว่าที่ตั้งของธนบุรีเหมาะสมในการติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ข้อใดเป็นเหตุผลสนับสนุนได้ดีที่สุด กรุงธนบุรีมีคลองภายในเป็นจำนวนมาก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตอนกลางของกรุงธนบุรี กรุงธนบุรีตั้งอยู่ใกล้ปากน้ำ เรือสินค้าจะจอดเทียบท่าได้สะดวก

พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยาด้วยเหตุผลใด สาเหตุใดสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี สาเหตุสําคัญที่ทําให้พระเจ้าตากพระสติฟั่นเฟือนเนื่องจากเหตุผลใด ข้อใดเป็นเหตุผลที่ดีที่สุดกับการที่กล่าวว่า ที่ตั้งของกรุงธนบุรีเหมาะสมในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เพราะเหตุใด ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาในสมัยธนบุรีจึงมีจำนวนน้อย ข้อใดอธิบายการจัดการปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ถูกต้อง ปัญหาทางเศรษฐกิจที่กรุงธนบุรีประสบอย่างหนัก คือปัญหาในข้อใดมากที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในสมัยธนบุรี มีลักษณะอย่างไร ทำเลที่ตั้งของธนบุรีข้อใดเกิดผลดีทางด้านเศรษฐกิจ