โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

นู่นก็ดอกไม้ นี่ก็ดอกไม้ ดอกไม้เต็มไปหมดเลย 

ถึงดอกไม้จะมีหลากหลายรูปแบบ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็มีการจัดจำแนกประเภทของดอกไม้เพื่อให้ศึกษาได้ง่ายขึ้น และเพื่อความอิน ก่อนเริ่มอ่านบทความนี้เราขอแนะนำให้เพื่อน ๆ มองหาดอกไม้รอบ ๆ ตัวดูสักหนึ่งชนิด ลองเข้าไปดูใกล้ ๆ แล้วมาดูกันว่าโครงสร้างของดอกไม้ที่เราเห็นกันอยู่ประกอบด้วยอะไรบ้าง

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

โครงสร้างของดอกและประเภทของดอก

โครงสร้างของดอกไม้ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 4 ส่วน ได้แก่ ชั้นกลีบเลี้ยง (Calyx) ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นโครงสร้าง ชั้นกลีบดอก (Corolla) มีกลีบดอก (Petal) เป็นโครงสร้าง ชั้นเกสรเพศผู้ (Stamen) และชั้นเกสรเพศเมีย (Pistil) โครงสร้างของดอกไม้แต่ละส่วนจะอยู่ด้วยกันแบบนี้และมีหน้าที่แตกต่างกัน

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

ชั้น โครงสร้าง หน้าที่
ชั้นกลีบเลี้ยง (Calyx) กลีบเลี้ยง (Sepal) - ห่อหุ้ม ปกป้องอันตรายให้ส่วนต่าง ๆ ของดอกที่อยู่ภายใน
- มักเป็นสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์ ทำให้สังเคราะห์ด้วยแสงได้
ชั้นกลีบดอก (Corolla) กลีบดอก (Petal) - ดึงดูดให้แมลงเข้ามาผสมเกสร ด้วยต่อมน้ำหวานหรือต่อมกลิ่น มักมีสีสดใสเพราะมีรงควัตถุต่าง ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ แอนโทไซยานิน
ชั้นเกสรเพศผู้ (Stamen) เกสรเพศผู้ (Stamen) ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ อับเรณู (Anther) และก้านชูอับเรณู (Filament) - สร้าง microspore และพัฒนาไปเป็นเรณู (Pollen) ภายในอับเรณู เมื่อเรณู (pollen) ไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ก็จะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (sperm)
ชั้นเกสรเพศเมีย (Pistil) เกสรเพศเมีย (Pistil) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) ก้านเกสรเพศเมีย (style) และรังไข่ (ovary) ที่มีออวุล (ovule) อยู่ภายใน - รังไข่ทำหน้าที่ยึดส่วนของเกสรเพศเมียให้ติดกับฐานรองดอก (Receptacle)
- ในออวุลมีการสร้าง megaspore จะพัฒนาไปเป็นถุงเอ็มบริโอ (Embryo sac) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (Egg)

ในบรรดาดอกไม้หลากหลายรูปแบบ เราสามารถจำแนกประเภทของดอกไม้ได้จากเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น

1. จำแนกโดยใช้ส่วนประกอบของโครงสร้างเป็นเกณฑ์ 

ได้แก่ ดอกครบส่วนหรือดอกสมบูรณ์ (Complete flower) และดอกไม่ครบส่วนหรือดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) โดยดอกครบส่วน ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 4 ชั้นครบถ้วน แต่ดอกไม่ครบส่วน ‘ชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือมากกว่า 1 ชั้น จะหายไป’

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

2. จำแนกโดยใช้โครงสร้างชั้นเกสรเพศเป็นเกณฑ์ 

ได้แก่ ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower) และดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) โดยดอกสมบูรณ์เพศจะมีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ส่วนดอกไม่สมบูรณ์เพศ หนึ่งดอกจะมีแค่เกสรเพศใดเพศหนึ่ง มักแยกเป็นดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย เราจึงถือว่า ‘ดอกไม่สมบูรณ์เพศเป็นดอกไม่ครบส่วน’ ด้วย

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

ระวังสับสน: แต่ดอกสมบูรณ์เพศก็เป็นดอกไม่ครบส่วนได้นะ

ดอกไม้บางชนิดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เพราะมีเกสรครบทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่เป็นดอกไม่ครบส่วนเพราะขาดองค์ประกอบชั้นอื่น ๆ ไป เช่น ดอกบานเย็นที่ไม่มีชั้นกลีบดอก แต่มีกลีบเลี้ยงสีสันสดใส และมีเกสรครบทั้งสองเพศ

3. จำแนกโดยใช้จำนวนของดอกบนก้านดอกเป็นเกณฑ์

ได้แก่ ดอกเดี่ยว (Solitary flower) และดอกช่อ (Inflorescence flower) โดยดอกเดี่ยว (Solitary flower) 1 ดอกจะพัฒนามาจากตาดอก* 1 ตา มี 1 ดอกบนก้านดอก ในขณะที่ดอกช่อ (Inflorescence flower) ตาดอก 1 ตา มี 1 ก้านช่อ แต่ 1 ก้านช่อมีหลายก้านดอก ซึ่งดอกไม้แต่ละชนิดจะมีการแตกก้านดอกและการจัดเรียงดอกที่แตกต่างกัน

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

เราสามารถแบ่งชนิดของดอกช่อได้เป็น 2 แบบตามลำดับการบานของดอก คือ 

3.1 ดอกช่อแบบ Indeterminate ดอกย่อยชั้นล่างสุดหรือชั้นนอกสุดจะบานและแก่ก่อน

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

3.2 ดอกช่อแบบ Determinate ดอกย่อยชั้นบนสุดหรือในสุดจะบานและแก่ก่อน

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

*ตาดอก คือกลุ่มเซลล์บริเวณด้านข้างของกิ่งหรือลำต้นที่มีการแบ่งตัวของเซลล์อย่างรวดเร็ว จะพัฒนาไปเป็นส่วนต่าง ๆ ของดอก

ระวังสับสน: ดอกช่อที่คล้ายดอกเดี่ยว

ดอกไม้บางชนิดมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว แต่จริง ๆ แล้วเป็นดอกช่อ เช่น ดอกทานตะวัน ดอกเดซี่ (และดอกของพืชชนิดอื่น ๆ ในวงศ์ Asteraceae) เพราะดอกทานตะวันมีดอกย่อยเล็ก ๆ 2 ชนิด ได้แก่ ดอกรอบนอก และดอกกลางช่อ (ดอกภายใน) ติดอยู่บนปลายของก้านช่อดอกที่เป็นฐานโค้งนูน เราเรียกช่อดอกแบบนี้ว่าช่อดอกแบบกระจุกแน่น (Head)

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

4. จำแนกโดยใช้ตำแหน่งของรังไข่เป็นเกณฑ์

ได้แก่ ดอกที่มีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก (Hypogynous flower) ดอกที่มีรังไข่เสมอกับฐานรองดอก (Perigynous flower) และดอกที่มีรังไข่อยู่ใต้ฐานรองดอก (Epigynous flower)

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

ชนิดของผล

ถ้าเพื่อน ๆ เข้าใจประเภทของดอกและช่อดอก เพื่อน ๆ ก็จะสามารถเดาต่อได้ว่าในอนาคตดอกไม้เหล่านี้จะเจริญกลายเป็นผลแบบไหน ซึ่งผล (Fruit) คือส่วนที่พัฒนามาจากรังไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ (หรืออาจจะไม่ได้รับการปฏิสนธิก็ได้) บางส่วนของดอกอาจจะเจริญขึ้นมาพร้อม ๆ กับผลด้วย เช่น กลีบเลี้ยง

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

กลีบเลี้ยงสีเขียวที่เจริญติดกับผลของมะเขือเทศอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพืชในวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ขอบคุณรูปภาพจาก Andrea Riezzo บน Unsplash

เราสามารถจำแนกประเภทของผลได้จาก 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ลักษณะของดอกที่จะเจริญไปเป็นผล (ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ) และจำนวนรังไข่ที่จะเจริญไปเป็นผล ประเภทของผล 3 แบบที่เราพบได้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันคือ

  1. ผลเดี่ยว (Simple fruit)

    เกิดจากการพัฒนาของ 1 รังไข่ บน 1 ดอก ดอกเดี่ยวหรือดอกย่อยที่อยู่บนช่อดอกก็ได้ เช่น ส้ม 
  2. ผลกลุ่ม (Aggregate fruit)

    เป็นผลย่อยที่อยู่เบียดชิดกัน ผลกลุ่มเกิดจากการพัฒนาของหลายรังไข่ บน 1 ดอก ดอกเดี่ยว หรือดอกย่อยในดอกช่อก็ได้ เช่น สตอว์เบอร์รี่
  3. ผลรวม (Multiple fruit)

    เกิดจากการพัฒนาของรังไข่ของหลาย ๆ ดอก เชื่อมรวมกันแน่นจนบางครั้งดูเหมือนผลเดี่ยวขนาดใหญ่ เกิดได้กับดอกช่อที่แต่ละดอกย่อยมีรังไข่อยู่ใกล้กันมาก ๆ เช่น สับปะรด

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงเข้าใจถึงส่วนประกอบต่าง ๆ และประเภทของดอกไม้กันมากขึ้น แถมยังเดาได้ด้วยว่าดอกไม้หน้าตาแบบนี้จะกลายเป็นผลไม้แบบไหน ครั้งต่อไปเวลาไปเที่ยวแล้วเห็นดอกไม้ ก็อย่าลืมหยิบความรู้เรื่องโครงสร้างของดอกมาทบทวนกันบ่อย ๆ ด้วยล่ะ หรือจะโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาทำแบบฝึกหัดไปด้วยก็เริ่ดสุด ๆ

ส่วนใครที่อยากสนุกกับวิชาชีวะต่อ คลิก การแข็งตัวของเลือด, ภูมิคุ้มกันก่อเองและภูมิคุ้มกันรับมา และ หมู่เลือดและการถ่ายเลือด 

ขอบคุณข้อมูลจาก:

  1. หฤษฎ์ ยวงมณี (ครูติ๊ก)