ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของหลักการพูดวิเคราะห์วิจารณ์


ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของหลักการพูดวิเคราะห์วิจารณ์

    ๑. พิจารณารูปแบบการประพันธ์  ว่าเป็นวรรณกรรมประเภทใด  เช่น  บันเทิงคดีประเภท สารคดี  นวนิยาย  นิทาน  เรื่องสั้น  หรือเป็นสารคดีประเภทบทความ  ความเรียง  ตำราในสาขาวิชาต่างๆ  เป็นต้น

    ส่วนร้อยกรองต้องวิเคราะห์ว่ามีลักษณะคำประพันธ์ประเภทใด  เช่น  ถ้าเป็นโคลงต้องวิเคราะห์ว่าเป็นโคลงประเภทใด (โคลงกระทู้  โคลงดั้น  โคลงสี่สุภาพ   โคลงสองสุภาพ  โคลงสามสุภาพ)  นอกจากนี้ผู้วิเคราะห์วิจารณ์จะต้องพิจารณาว่ารูปแบบกับเนื้อหาเหมาะสมกันหรือไม่
   ๒. ศึกษาประวัติผู้แต่ง  จุดมุ่งหมายในการแต่งและที่มาของเรื่อง  การรู้จักผู้แต่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่แต่งชัดเจนยิ่งขึ้น  การอ่านคำนำจะทำให้เข้าใจจุดประสงค์ในการแต่งและที่มาของเรื่อง  แต่ในร้อยกรองผู้แต่งจะบอกจุดประสงค์ในการแต่งไว้ในตอนท้ายเรื่อง

    การศึกษาประวัติผู้แต่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้แต่งมีความรอบรู้ในเรื่องที่เขียนเพียงใด  สามารถถ่ายทอดความรู้ลงไปในบทประพันธ์นั้นๆ  ได้ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด  และจุดมุ่งหมายนั้นสอดคล้องกับวิธีแต่งหรือรูปแบบการแต่งอย่างไร


     ๓  พิจารณาองค์ประกอบของเรื่องว่าสอดคล้องเหมาะสมกันหรือขัดแย้งกัน เช่นการวิเคราะห์ร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี ต้องวิเคราะห์โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก การดำเนินเรื่องปมขัดแย้ง การคลี่คลายเรื่องและการจบเรื่อง ตลอดจนวิเคราะห์ถึงการแสดงความคิดเห็นความสอดคล้องสมเหตุสมผล พิจารณาเนื้อเรื่องอย่างละเอียดถึงคุณค่า พฤติกรรมตัวละครเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง การใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับบุคคลของบุคคล 

ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของหลักการพูดวิเคราะห์วิจารณ์

     ส่วนร้อยกรองจะพิจารณาถึงรูปแบบคำประพันธ์ว่า  มีรูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหา  เนื้อหาสาระของเรื่องมีคุณค่าในการสร้างความเพลิดเพลิน  ประเทืองปัญญา  สะเทือนอารมณ์  สะท้อนสังคม  ให้ความรู้  ข้อคิด  คติเตือนใจ  มีความงามด้านวรรณศิลป์  คือ  การใช้ถ้อยคำ  สำนวนโวหารที่ไพเราะ  คมคาย  มีกลวิธีในการสร้างภาพพจน์  การใช้คำ  และเสียงสัมผัสที่ไพเราะ

      ๔. พิจารณาเนื้อหา การนำเสนอและพฤติกรรมของตัวละคร  ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่  สะท้อนภาพชีวิต  สะท้อนสภาพสังคมในสมัยที่แต่งอย่างไร

     ๕. พิจารณาแก่นเรื่อง ว่าผู้แต่งตั้งใจที่จะสื่อเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร  ผู้แต่งแสดงความคิดเห็น  รสนิยม  และค่านิยมอย่างไร


    ๖. การวิจารณ์สรุปด้วยความคิดเห็นของผู้วิจารณ์เอง  โดยยกข้อดีให้เห็นก่อนว่าดีอย่างไร  แล้วจึงยกข้อบกพร่องว่าบกพร่องอย่างไร  จะแก้ไขอย่างไร  การวิจารณ์ควรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์  เป็นธรรมมีใจเป็นกลางไม่มีอคติ  แล้วประเมินคุณค่าในภาพรวมว่าวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่วิจารณ์นั้นมีคุณค่าควรแก่การอ่านหรือควรค่าแก่การศึกษาอย่างไร  ผู้อ่านสามารถนำคุณค่าที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

     วรรณกรรมบางเรื่องอาจมีคุณสมบัติที่ไม่ครบถ้วนตามหลักดังกล่าว  ผู้อ่านสามารถวิจารณ์ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยได้เต็มที่  ส่วนวรรณคดีที่มีผู้วิจารณ์มาแล้วและตัดสินแล้วว่าแต่งดี  ผู้วิจารณ์อาจเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็ได้  แต่ทั้งนี้ผู้วิจารณ์ต้องชี้ให้เห็นว่าดีเด่น  หรือบกพร่องอย่างไร


1. บุคคลที่มีมารยาทที่ดีในการพูด? ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมในข้อใด
    พูดเชิงดูถูกผู้ฟัง
    ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
    แสดงท่าทางเป็นกันเองเต็มที่
    ออกเสียงควบกล้ำชัดเจนทุกคำ
2. ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของหลักการพูดวิเคราะห์วิจารณ์
    ทราบสาเหตุของเรื่อง
    ทราบเนื้อหาของเรื่อง
    การให้ข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไข
    การยกตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องที่กล่าวถึง
3. ใครมีคุณสมบัติของผู้พูดที่ดีมากที่สุด
    อ้อมพูดด้วยถ้อยคำรุนแรง เพื่อกระตุ้นผู้ฟังให้สนใจ
    เอกมีความรู้ความเข้าใจเรื่องที่จะพูดอย่างชัดเจน
    แนนพูดเกินเวลาที่กำหนด ประมาณ 1 ชั่วโมง
    แพรพูดเสียงเบาไม่กล้าสบตาผู้ฟัง
4. การพูดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์? เปรียบเสมือนการพูดในข้อใด
    เปรียบเสมือนการคัดแยกสิ่งต่างๆ ออกเป็นกองๆ
    เปรียบเสมือนการคัดแยกของดี ของเสียให้แยกออกจากกัน
    เปรียบเสมือนการบรรจุสิ่งของต่างๆ ให้อยู่ในภาชนะเดียวกัน
    เปรียบเสมือนการรวบรวมสิ่งต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
5. ข้อใดจัดเป็นการพูดเชิงวิเคราะห์
    การบอกข้อดี ข้อเสียที่เกิดจากเรื่องนั้นๆ
    การเสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
    การพูดแสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็น
    การพูดแยกแยะเรื่องนั้นๆ เป็นประเด็นย่อยๆ
6. ข้อใดเป็นผลดีของการ ?พูดเป็น?
    พูดแล้วมีคนเชื่อถือ
    พูดแล้วคนฟังมีความสุข
    พูดแล้วประสบความสำเร็จ
    พูดแล้วสามารถพลิกลิ้นได้ตามสถานการณ์
7. ความสามารถในการพูดวิเคราะห์วิจารณ์ ไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยในข้อใด
    โอกาส
    ความรู้
    วุฒิภาวะ
    ประสบการณ์
8. เหตุใดจึงต้องทบทวนความรู้ความเข้าใจเรื่องที่ฟังหรือดู ก่อนสรุปใจความสำคัญ
    เพื่อให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน
    เพื่อให้ได้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
    เพื่อให้เล่าเรื่องได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
    เพื่อให้ชี้แจงรายละเอียดของเรื่องได้
9. การพูดกับบุคคลในข้อใด ไม่สัมฤทธิผลมากที่สุด
    ฟังหูไว้หู
    ฟังความข้างเดียว
    เอาหูไปนาเอาตาไปไร่
    ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด
10. การรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง มีผลดีต่อผู้พูดอย่างไร
    ทำให้ทราบพื้นฐานความสนใจของผู้ฟัง
    ทำให้สามารถผูกมิตรกับผู้ฟังได้ดี
    ทำให้สามารถชนะใจผู้ฟังได้
    ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ