ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคของการฟัง

1. เปิดใจฟัง

             การเปิดใจฟัง ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่หลายๆคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่ว่า การเปิดใจฟังเป็นเพียงแค่การยินยอมจะอยู่ในบทสนทนาได้ทุกประเภท แต่การเปิดใจฟังมีความหมายลึกซึ้งมากกว่านั้น การเปิดใจฟังคือการตั้งใจรับข้อความที่ผู้พูดกำลังสื่อออกมาโดยที่ไม่จับผิด หรือไม่ได้ฟังเพื่อหาจุดบอด การเปิดใจฟังคือการฟังที่เคารพความเห็นที่อาจจะแตกต่างกับคุณ

             แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจำเป็นจะต้องมีความเห็นตรงกันกับผู้พูด หรือว่าต้องเปลี่ยนความเห็นตัวเองไปเหมือนกันผู้พูดถึงจะเรียกว่าเป็นการเปิดใจฟัง แต่เป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นของผู้พูดในหัวข้อสนทนานั้นๆ และเข้าใจว่านี่คือมุมมองที่ผู้พูดคิดและรับรู้ คุณสามารถเลือกจัดการกับข้อมูลที่คุณได้รับจากผู้พูดได้ตามวิจารณญาณของคุณเอง เพราะหลายสิ่งในโลกนี้ไม่สามารถตัดสินว่าอะไรถูก หรืออะไรผิด 100% เพียงแค่คุณเปิดใจยอมรับข้อนี้ และหากคุณไม่เห็นด้วย เมื่อถึงเวลาและจังหวะที่เหมาะสม คุณก็สามารถแสดงความคิดเห็นของคุณเองให้อีกฝ่ายรับฟังได้เช่นกัน และถ้าอีกฝ่ายเป็นผู้ฟังที่ดีและเปิดใจฟังความเห็นของคุณ คุณทั้งคู่ก็จะได้รับข้อมูลและมุมมองใหม่ๆที่อาจจะมีประโยชน์กับชีวิตก็เป็นได้

 2. มองตา

             “การสื่อสาร” ถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่มีผู้เข้าร่วม หรือผู้ที่มีบทบาทในกิจกรรมมากกว่า 2 คนขึ้นไป และเมื่อเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่น การให้ความสนใจคือการให้เกียรติผู้เข้าร่วมคนอื่นที่อยู่ในบทสนทนา และเทคนิคง่ายๆที่จะทำให้ผู้พูดรับรู้ได้ว่าเรากำลังให้ความสนใจ 100% กับสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่

             Eye contact นอกจากจะเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้พูดรับรู้ว่าเรากำลังให้ความสนใจอยู่แล้ว ยังทำให้เรามีสมาธิกับผู้พูดมากขึ้นด้วย เพราะทิศทางการเคลื่อนไหวของสายตา (Eye pattern) มีผลกับการทำงานของสมองในระดับหนึ่งด้วย ดังนั้นการมองตาผู้พูดจะช่วยให้เราไม่คิดฟุ้งซ่านจนไม่ได้รับฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารอยู่

             นอกจากการมองตาผู้พูดหรือ Eye contact แล้ว ยังมีตำแหน่งการมองอื่นๆที่อยากให้ทราบถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้อื่นอีก 2 จุดคือ

– การมองริมฝืปาก จะทำให้ดูมีสเน่ห์และทำให้เรา”ผู้ฟัง” ดูน่าดึงดูดมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เพียงแค่มองริมฝีปากผู้พูดไม่ได้ทำให้ผู้พูดหลงสเน่ห์เราทันทีแบบต่อต้านไม่ได้ ถ้าผู้พูดดูไม่สบายใจหรืออึดอัดกับการกระทำของเราก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้สายตาในลักษณะนี้ ไม่เช่นนั้นการทำให้ดูน่าดึงดูด อาจจะกลายเป็นการคุกคามก็เป็นได้

– การมองหน้าผาก การมองในลักษณะนี้จะทำให้ผู้พูดรู้สึกอึดอัด ผู้พูดอาจจะรู้สึกว่า “ฉันทำอะไรผิด?” หรือ “มีอะไรติดหน้าฉัน?” เป็นการใช้สายตาที่ไม่ควรทำ ที่ยกมากล่าวเพราะเชื่อว่าหลายๆคนที่มองหน้าผากอาจจะไม่ได้มีเจตนาไม่ดี แต่อาจจะไม่เข้าใจถึงผลประทบ และความหมายที่เกิดขึ้นจากการใช้สายตาในลักษณะนี้

3. มีสมาธิกับคนตรงหน้าอย่างผ่อนคลาย

             ถึงแม้ว่าในหัวข้อก่อนหน้านี้จะกล่าวถึงการใช้ Eye contact เพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อผู้พูด และสิ่งที่กำลังพูดอยู่ แต่ทุกอย่างย่อมมีความพอดี ความ “ใส่ใจ” ที่มากเกินไปก็อาจจะกลายเป็นความกดดันต่อผู้พูดก็เป็นได้ ลองนึกภาพว่าคุณกำลังคุยกับใครบางคน แล้วผู้ฟังของคุณจ้องเขม็งโดยที่ไม่ละสายตา หรือบางรายจ้องหนักจนคุณแทบจะนับครั้งได้ว่ากระพริบตาไปทั้งหมดกี่ครั้ง นั่นคงจะไม่ใช่บรรยากาศในการพูดคุยแลกเปลี่ยนที่ดีเท่าไหร่นัก

             สิ่งที่ช่วยได้คือการอยู่ในท่าทางที่สบาย ไม่ว่าจะนั่งหรือยืนก็ตาม และมีการพูดคุยโต้ตอบบ้างตามโอกาสที่เหมาะสม ก็มีส่วนช่วยให้บรรยากาศการสนทนาดูสบายๆ แต่ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความใส่ใจต่อผู้พูด

 4. ฟังแบบไม่ขัด

             เชื่อว่าผู้อ่านหลายๆท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้จะต้องเป็นผู้ทื่รักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเองอยู่แล้ว และน่าจะเข้าใจเรื่องมารยาทในการฟังดีอยู่แล้วว่าการฟังที่ดีนั้นต้อง “ไม่ขัด” ผู้พูดเมื่อเขากำลังพูดสื่อสารอะไรบางอย่างอยู่ ดังนั้นในหัวข้อนี้จะพูดถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการ “ขัด” เมื่อกำลังรับฟังอะไรบางอย่างจากผู้อื่นอยู่ รวมไปถึงวิธีการจัดการเพื่อไม่ให้เราหลุดขัดระหว่างที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่ ซึ่งการขัดนี้มักจะเกิดขึ้นใน 2 กรณีใหญ่ๆก็คือ

              4.1 ไม่เห็นด้วยกับผู้พูด

             เป็นเรื่องปกติมากๆที่คนเราจะมีความเห็นไม่ตรงกัน และการขัดที่เกิดขึ้นด้วยเหตุผลในลักษณะนี้โดยมากแล้วมักจะเกิดขึ้นเพราะเราต้องการแสดงความเห็นของตัวเอง หรืออยากให้อีกฝั่งมีความเห็นในแบบเดียวกันกับเรา แต่ถ้าลองวิเคราะห์ดู การขัดยิ่งจะทำให้อีกฝ่ายเกิดความไม่พอใจ และความไม่พอใจที่เกิดขึ้นก็ยิ่งจะทำให้ความคิดเห็นของเราถูกมองข้ามไปเช่นกัน เพราะในขณะที่ถูกขัดระหว่างที่กำลังพูดอยู่นั้นคู่สนทนาของเราจะมีความไม่พอใจวนอยู่ในหัวจนไม่สามารถรับสิ่งที่เราพูดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาง่ายๆคือการรับฟังก่อน และเมื่อมีโอกาสค่อยแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกไป

               4.2 การด่วนสรุปโดยที่ไม่ฟังจนจบ

             หลายต่อหลายครั้งการด่วนสรุปมักจะเกิดขึ้นกับคนธาตุไฟเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งในทางจิตวิทยาอธิบายเกี่ยวกับคนธาตุไฟเอาไว้ว่า คนกลุ่มนี้จะใช้เหตุผลเป็นหลัก กล้าพูดกล้าแสดงออก และไม่ชอบอะไรยืดเยื้อ ดังนั้นเมื่อคนกลุ่มนี้รับฟังอะไรบางอย่าง มักจะด่วนสรุปจนตีความไปว่าอาจจะเกิดปัญหาขึ้นในบางจุดโดยไม่รู้ตัว แล้วก็พูดเสนอวิธีแก้ปัญหาออกมาทันที ถึงแม้ว่าการกระทำนี้จะมาจากเจตนาที่ดี แต่ว่าการขัดในลักษณะนี้มีโอกาสสูงที่จะประเมินความหมายของบทสนทาผิดพลาด และอาจจะทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าเราไม่ใส่ใจกับความรู้สึกทีเกิดชึ้นทั้งหมด ดังนั้นการแก้ปัญหานี้คือการทันตัวเอง ระงับตัวเองให้ทันเมื่อมีอาการคันปากอยากจะพูดอะไรออกไปสักอย่าง รอคู่สนทนาของคุณพูดให้เสร็จ และค่อยออกความเห็นแนะนำออกไป