ข้อใด ไม่ใช่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ เกิด ภูมิปัญญาไทย

ข้อใด ไม่ใช่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ เกิด ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน คือความรู้ของชาวบ้านซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในวิถีดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วนๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันการทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 19, 2540)

นอกจากนั้น ภูมิปัญญาพื้นบ้านยังกล่าวถึง การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะสากลที่หลายๆ ท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน (มนตรี โคตรคันทา, 2550)

ภูมิปัญญาชาวบ้านอาจเกิดจากการได้มาขององค์ความรู้ของชนพื้นเมืองจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติใช้ชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากความมากมายและความหลากหลายของระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของพืชและสัตว์ หรือแม้แต่หน้าที่ต่างๆ ของระบบนิเวศ เทคนิคในการใช้และการจัดการ โดยมีการใช้ประโยชน์ในรูปของ อาหาร ยา เชื้อเพลิง หรือเป็นวัสดุสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ (AlaskaNative Science Commission, มปป.)

ภูมิปัญญาชาวบ้านแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

1.ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการทำมาหากินวิถีชีวิตของชาวบ้านในอดีตเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ อาศัย

2.ภูมิปัญญาอันเนื่องมาจากสภาวะธรรมชาติธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน และใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด เช่น การขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิก พื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนา การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรก็เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาชาบ้านในอดีตเช่นกัน

3.ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการรักษาโรคและแก้ปัญหาสุขภาพเช่น การใช้สมุนไพรเป็นยาและอาหาร พืชสมุนไพร หมอพื้นบ้าน และการแพทย์แผนโบราณ

4.ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการกินอยู่เช่นการถนอมอาหาร การปรุงอาหาร การกินอาหาร

5.ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านศิลปกรรมปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และนาฏกรรม

6.ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านภาษาและวรรณกรรมปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ด้านภาษาและสำนวนไทย เช่น คำผญา คำสอน ความเชื่อ ปริศนาคำทาย และ บทเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงแหล่ เพลงกล่อมเด็ก เพลงฉ่อย กลอนลำ เพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ

7.ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีใช้ในการปรับประยุกต์พิธีกรรมทางศาสนาเพื่อความมั่นคงของชุมชน ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ฯลฯ

8.ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใช้ในการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ เช่น การสร้างเขื่อน เหมือง ฝาย การควบคุมคุณภาพน้ำ การป้องกัน น้ำท่วม การจัดการป่าไม้ เช่น การปลูกสวนป่า และการอนุรักษ์ป่า

9.ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมการอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้นำหน้าที่ของผู้นำไม่ใช่ การสั่ง แต่เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฎระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชน การละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ"ผิดผี"คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น หากเกิดการผิดผีขึ้นมา ก็ต้องมีพิธีกรรมขอขมา โดยมีคนเฒ่าคนแก่เป็นตัวแทนของบรรพบุรุษ มีการว่ากล่าวสั่งสอนและชดเชยการทำผิดนั้นตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกกันว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะแบ่งปันช่วยเหลือ เอื้ออาทรกัน การ แลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่นๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมากๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง (คลังปัญญาไทย, 2550)

กรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดแบ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่นเช่น การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิค ดินเผา เครื่องหนัง และอื่นๆ

2.ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน กวีนิพนธ์พื้นบ้าน ปริศนาพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อนรำพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตกรรมพื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน และสิ่งทอพื้นบ้าน(กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2551)

ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีบริบทสำคัญของสังคมเป็นแหล่งเพาะภูมิปัญญาอย่างน้อย 4 ประการคือ

1.ภูมิปัญญาอันเนื่องมาจากสภาวะธรรมชาติ

ลักษณะทางภูมิประเทศอันหลากหลาย ทั้งทิวเขา สันทราย ที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองผ่านหลายสาย ภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดปี สภาพทางธรณีวิทยาอุดมไปด้วยแร่ธาตุและชั้นหินต่าง ๆ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย และตั้งอยู่บนคาบสมุทรอันเป็นเส้นทางทางการค้า

สภาพทางภูมิประเทศอันหลากหลายล้วนก่อให้เกิดภูมิปัญญาในการเลือกถิ่นฐานบ้านเรือน ว่าจะต้อง“แค่บ่อท่านาวัด”คือ ต้องให้ใกล้กับแหล่งน้ำ สะดวกแก่การสัญจร ใกล้กับแหล่งทำกิน (ทำนา) และใกล้วัดเพื่ออยู่ใกล้ศาสนา อันเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

ความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและคติทางสถาปัตยกรรม เช่น การปลูกบ้านโดยมีตีนเสา เพื่อรองรับเสาแทนการขุดหลุมฝังเสา เพื่อสะดวกในการโยกย้าย และกันความชื้น มีการวางเสาแบบเอนสอบขึ้นด้านบนเล็กน้อย ช่วยให้ต้านลมได้ดียิ่งขึ้น

จากสภาพความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดภูมิปัญญาในการตั้งชื่อที่อยู่อาศัยละแวกหรือเขตนั้น ๆ ตามสภาพและทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นหรือลักษณะการทำมาหากินมาเป็นนาม เช่น บ้านโคกเสม็ดชุน, บ้านคูเต่า, บ้านคอหงส์, บ้านควนลัง, บ้านคลองแห เป็นต้น

บางครั้งการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางภูมิศาสตร์ ก็ก่อให้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้านอีกทอดหนึ่ง เช่น ภูมิปัญญาในการถนอมอาหารเพื่อกินและใช้ในช่วงที่ขาดแคลน

2.ภูมิปัญญาอันเนื่องมาจากภาวะสร้างสรรค์ของบรรพชน

ภูมิปัญญาในการจัดการ การสร้างสรรค์ของคนรุ่นก่อนๆ ย่อมกลายเป็นแหล่งให้ความรู้และประสบการณ์แก่คนรุ่นต่อ ๆ มา จนเกิดแตกก่อ แต่งเติม ตกทอด สืบเนื่องเรื่อยมา เช่น ภูมิปัญญาในการทำอาชีพ บรรพชนที่มีอาชีพช่างเหล็กรู้ว่าการนำถ่านไม้เคี่ยมมาเผาเหล็กจะดีกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ เพราะไม้ชนิดนี้ให้ความร้อนสูง ไม่เกิดดอกไฟ และมีภูมิปัญญาในการเลือกเหล็กและโลหะอื่นมาประสาน เพื่อให้เนื้อโลหะเหนียวและแข็งต่างกัน

ภูมิปัญญาอันเป็นกุศโลบายในการนำคติความเชื่อมาปฏิบัติเพื่อบำรุงขวัญและไม่ให้เกิดความประมาท อันเป็นภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน เช่น คติความเชื่อเรื่องแม่ย่านาง เป็นต้น

ภูมิปัญญาสร้างขยายและพิทักษ์ฐานอำนาจแต่รุ่นบรรพชนมาสู่รุ่นลูกหลาน เช่น การผูกเกลอ อันเป็นเครื่องมือเพื่อตกทอดความสามัคคีดุจญาติมิตรมาสู่รุ่นลูกหลาน

3. ภูมิปัญญาอันเนื่องมาจากความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาล

คติความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่โบราณมีว่า สรรพสิ่งทั้งหลายในโลก นับตั้งแต่เล็กสุดจนมองไม่เห็นไปจนถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด เช่น โลกและจักรวาล ทั้งที่เป็นสสารที่เป็นรูปทรงสัณฐานและที่เป็นพลังงาน ล้วนปรุงแต่งขึ้นจากธาตุสี่ คือ ดิน(ปฐวีธาตุ) น้ำ(อาโปธาตุ) ลม(วาโยธาตุ) และไฟ (เตโชธาตุ)

เชื่อกันว่าความสมดุลของธาตุสี่ในร่างกาย ช่วยให้แต่ละคนมีพลานามัยสมบูรณ์ แต่ถ้าขาดธาตุใดธาตุหนึ่งก็หมายถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย

สภาพภูมิอากาศแปรปรวน มีลมแรง อากาศร้อนจัด และมีความชื้นเย็น จึงก่อให้เกิดภูมิปัญญาในการจัดการด้านโภชนาการและการป้องกันโรคภัย จึงมักนิยมกินอาหารที่มีรสจัดและพืชผักที่มีธาตุไฟมาก

ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ก็มีภูมิปัญญาในการพิจารณาคุณสมบัติของสมุนไพรที่มีธาตุสี่ เด่น-ชัด และเลือกเพื่อนำมาใช้แก้โรคต่าง ๆ แล้วแต่ว่าโรคใด เนื่องมาจากสาเหตุจากธาตุใดกำเริบ เช่น คนที่ไข้ขึ้นสูงร้อนจัด ก็ต้องใช้ตัวยาที่มีธาตุน้ำผสม

ภูมิปัญญาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ก็มาจากความเชื่อจากตำนานการสร้างโลกโดยอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งแฝงเร้นอยู่ทุกหนทุกแห่ง คือ ถือว่าสรรพสิ่งทั้งปวง ทั้งคน สัตว์ พืช หรืออากาศธาตุทั้งมวลมีผู้สร้างและผู้คุ้มกันที่มองไม่เห็น สร้างเป็นคติให้ตระหนักถึงคุณค่าธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาที่เป็นกุศโลบายให้เกิดการสงวนทรัพยากรโดยทางอ้อม เช่น เรื่องพระภูมิเจ้าที่ เทพารักษ์ นางไม้ นางธรณี นางมณีเมขลา แม่โพสพ พระพาย เหล่านี้ ล้วนมุ่งให้กตัญญูรู้คุณของแผ่นดิน น้ำ ลม ไฟ และทรัพยากรธรรมชาติทั้งสิ้นแต่แตกต่อเป็นแขนงภูมิปัญญาย่อย ๆ นานาประการ เช่น ห้ามกินข้าวเหลือแล้วเททิ้งเพราะจะขวัญข้าว (ลบหลู่) ห้ามพูดหยาบคายขณะกินข้าวจะขวัญข้าว จะทำให้ข้าว น้ำ น้อยใจ จะทำมาหากินยาก ตกอับ ฝืดเคือง เป็นต้น ภูมิปัญญาเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องอบรมสะสม ก่อให้เกิดจริยธรรม ความเชื่อ ประเพณี และคติทางโลกนานัปการ

4.ภูมิปัญญาอันเนื่องมาจากความศรัทธาทางศาสนา

ศาสนาที่มีผลต่อการบ่มเพาะภูมิปัญญาได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ศาสนิกชนศาสนาใดก็มักจะถูกบ่มเพาะด้วยศาสนานั้น ๆ เป็นพิเศษ แต่บางคนอาจถูกบ่มเพาะด้วยลัทธิศาสนาทั้ง 3 ศาสนาผสมผสานกัน เช่น ชาวไทยพุทธอาจมีรอยบ่มเพาะของศาสนาพราหมณ์ปนแทรกอยู่อย่างซับซ้อน

ภูมิปัญญาในการครองตนของทุกศาสนิกชน มักมีหลักให้ละเว้นสิ่งที่ถือว่าเป็นบาปที่คนดีพึงรักษาตัวให้ห่าง และมุ่งบำเพ็ญกุศลเพื่อเป็นเนื้อนาบุญ(พรรษมน พิทักษ์ธรรม, มปป)

*** ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Traditional Knowledge) คือ ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ผ่านรุ่นสู่รุ่น โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนา ปรับปรุง ไปตามยุคสมัย มีความเป็นเอกลักษณ์ มีประโยชน์ในการดำรงชีวิต ในหลายๆ ด้าน ทั้งการประกอบอาชีพ และเกี่ยวกับปัจจัยจำเป็นในการอยู่รอด (อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย)

ภูมิปัญญามีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งในแง่ของการทำมาหากิน ความบันเทิง ศิลปวัฒนธรรม โดยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวของมนุษย์ให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เกิดจากการเรียนรู้ธรรมชาติ พืช สัตว์ สภาพภูมิอากาศ

ความสัมพันธ์ข้างต้นของมนุษย์กับธรรมชาติ ก็คือการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ (Biopersity) โดยอยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้และมีการถ่ายทอด ซึ่งก็คือภูมิปัญญาชาวบ้านนั่นเอง***

เอกสารอ้างอิง

กรมทรัพย์สินทางปัญญา.2551.ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย.สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2551 จาก
http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php?
option=com_content&task=section&id=25&Itemid=202

กลุ่มศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีภาคประชาชน.2550.ภูมิปัญญาไทยต่อวิถีชีวิตของคนไทย
ในอนาคต.หนังสือพิมพ์ไทยโพส สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2552 จาก
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=10737

คลังปัญญาไทย.2550.ภูมิปัญญาชาวบ้าน.สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2551 จาก
http://www.panyathai.or.th/

เทื้อน ทองแก้ว.มปป.มรดกภูมิปัญญาไทย.มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.กรุงเทพมหานคร.

ฝ่ายอำนวยการ สำนักงานจังหวัดขอนแก่น.มปป.การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นกฎหมาย
กฏระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น.สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม
2552 จากhttp://www.khonkaenpoc.com/elibrary/data/km/e-
learning/enewsletter/en_1.htm

พรรษมน พิทักษ์ธรรม.มปป.ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะการละเล่นพื้นบ้าน.โรงเรียนหาดใหญ่
วิทยาลัย.สงขลา.สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2551 จาก
http://www.hatyaiwit.ac.th/soc/HY_story/g1.html

มนตรี โคตรคันทา (เวบมาสเตอร์).2550.ภูมิปัญญาอีสาน.สะออนอีสาน วิถีชีวิต ศิลป
วัฒนธรรม และภาษาอีสาน.สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2551 จาก
http://www.isangate.com/local/knowledge.html

มปต.2540.ภูมิปัญญาชาวบ้าน.สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 19.สืบค้นเมื่อ 28
ธันวาคม 2551 จาก
http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK19/chapter8/chap8.htm

ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (Thailand Knowledge Center).มปป.ภาคใต้:ภูมิปัญญาใน
การดำรงชีพ.สืบค้นเมื่อ 2มกราคม 2552 จาก
http://new.tkc.go.th/index.aspx?
pageid=121&parent=110&directory=2845&pagename=content

AlaskaNative Science Commission. มปป.WHAT IS TRADITIONAL
KNOWLEDGE?. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2551 จาก
http://www.nativescience.org/html/traditional_knowledge.html

Return to contents


ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดหลากหลายสายพันธุ์อยู่ในระบบนิเวศที่แตกต่างกันในโลกนี้ ความหลากหลายทางชีวภาพมีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการ คือ ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ความหลากหลายภายในชนิดพันธุ์ ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมและความหลากหลายของระบบนิเวศ (สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, 2539)

- ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic persity) ได้แก่ ความหลากหลายขององค์ประกอบทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ ทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปทั้งภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันและระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน

- ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (Species persity) ความหลากหลายแบบนี้ วัดได้จากจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศของประชากรด้วย

- ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological persity) ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้น สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลาย แต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดผ่านกระบวนการวิวัฒนาการในอดีต และมีขีดจำกัดที่จะดำรงอยู่ในภาวะความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของมันเองส่วนหนึ่ง และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่งหากไม่มีทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรมและความหลากหลายของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นย่อมไร้ทางเลือกและหมดหนทางที่จะอยู่รอดเพื่อสืบทอดลูกหลานต่อไป

ถ้าจะกล่าวถึงสาเหตุว่าความหลากหลายทางชีวภาพเกิดจากอะไร อาจมีข้อสรุปสั้นๆ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีหลากหลายชนิด เกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการที่ค่อยๆสะสมองค์ประกอบทางพันธุกรรมทีละน้อย ๆ ในเวลาหลายชั่วรุ่น จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ หรือที่นักชีววิทยาเรียกว่า Speciation" นั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สามารถสืบพันธุ์ได้เฉพาะภายในกลุ่มของตนเอง แต่ไม่สามารถ ถ่ายทอดพันธุกรรมให้กับสิ่งมีชีวิตต่างชนิดได้ ดังนั้น การเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต แม้จะดำรงชีวิตอยู่ในที่เดียวกัน แต่ละชนิดก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มของตนเองเอาไว้ได้

ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ

สิ่งที่มนุษย์เราได้รับจากระบบนิเวศวิทยาที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นมีอยู่มากมาย ที่เห็นได้ชัดคือ ประโยชน์ทางตรง

วัสดุธรรมชาติมีคุณค่าต่อทางเศรษฐกิจและสังคม สามในสี่ของประชากรโลกนั้นใช้พืชสมุนไพรจากป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอุตสาหกรรมผลิตยาที่สกัดจากวัสดุธรรมชาติมูลค่านับแสนล้านบาท

มนุษย์นั้นพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ นอกจากได้ใช้สิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นยาดังกล่าวแล้ว อาหารทั้งหมดและวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมก็ได้จากสิ่งมีชีวิตที่พบในธรรมชาติหรือที่มนุษย์นำมาเพาะเลี้ยง ปลาส่วนใหญ่ที่บริโภคก็ได้จากธรรมชาติ ป่าเป็นที่รวมสรรพสิ่งมีชีวิตไว้มากมายพืชเกษตรหลายชนิดกำเนิดมาจากป่า ไม่ว่าจะใช้เป็นอาหารและเป็นไม้ประดับก็ตาม

ทรัพยากรที่เป็นสิ่งมีชีวิตสามารถเป็นธุรกิจท่องเที่ยวที่สำคัญได้เช่นกัน การท่องเที่ยวในอุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านำเงินตราเข้าประเทศและทำให้เงินหมุนเวียนภายในประเทศมากขึ้น(โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหนังสือและโฮมเพจ, 2542)

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ.2545.แถลงการณ์การจัดทำวาระแห่งชาติ ว่าด้วยฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น.สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2552 จาก http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content3/show.pl?0035

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหนังสือและโฮมเพจ.2542.ความหมายและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2552จาก http://www.swu.ac.th/royal/book2/b2c1t1.html

มปต.2551.ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (ยุทธวิธีในการป้องกันรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ : ภูมิปัญญาและบทบาทของชาวบ้าน).เทศบาลตำบลทุ่งสง. นครศรีธรรมราช สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2552 จาก http://www.tungsong.com/Environment/Bio/Chaladchay/Bio_04_j.asp

ยศ สันตสมบัติ.2542.ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน.ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่.

ยศ สันตสมบัติ.2551.ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (ความหลากหลายทางชีวภาพกับทรัพย์สินทางปัญญา). เทศบาลตำบลทุ่งสง. นครศรีธรรมราช สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2552 จาก http://www.tungsong.com/Environment/Bio/Yot/Bio_07.asp

สิริกุล บรรพพงศ์.2539.อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ:คิดระดับโลกและทำในระดับประเทศ.สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพมหานคร.

Return to contents


ภูมิปัญญาชาวบ้านและความหลากหลายทางชีวภาพเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนอันเป็นแหล่งความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีคุณค่ามหาศาลแห่งหนึ่งของโลก บรรพชนไทยได้นำเอาทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่โดยรอบชุมชนมาใช้อย่างรู้คุณค่ามานับพันปี สืบสานถ่ายทอดองค์ความรู้ในลักษณะที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการฐานทรัพยากรอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน สังคมไทยได้พึ่งพาอาศัยความสมบูรณ์ของความหลากหลายทาง

ข้อใด ไม่ใช่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ เกิด ภูมิปัญญาไทย

ชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ ทั้งด้านอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย ในประการสำคัญยังเป็นแหล่งก่อกำเนิดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของอธิปไตยแห่งชาติ เป็นที่แน่ชัดว่าฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ว่านี้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งของเศรษฐกิจจริง และความมั่นคงของประเทศชาติในโลกอนาคต(คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ,2545)

โดยเฉพาะพืชและสัตว์เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ที่เป็นรากฐานของแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ ชนชาติไทยได้รู้จักทำไร่ ไถนา ปลูกข้าวมาเป็นเวลานาน และคนไทยมีความรู้จากการใช้ประโยชน์จากพืชพันธุ์ธัญญาหารที่ได้จากธรรมชาติมาใช้เป็นอาหาร เป็นยา เครื่องสำอาง เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ซึ่งเรียกความรู้เหล่านี้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม (Traditional knowledge) (กลุ่มศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีภาคประชาชน, 2550)

***ภูมิปัญญาชาวบ้านและความหลากหลายทางชีวภาพจำเป็นต้องมีความเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ของสองสิ่งนี้ก็ล้วนมีความสำคัญการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะการนำทรัพยากรมาใช้โดยตรงในแง่ของการเป็นยารักษาโรคหรือ อาหารเท่านั้น แต่ ภูมิปัญญาชาวบ้านยังมีความเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพในแง่ของการทำมาหากินหรืออาชีพอีกด้วย ***

ตัวอย่างภูมิปัญญาชาวบ้านกับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ

ภาค

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

รายละเอียด

เหนือ

การทำไร่แบบย้ายที่
(Shifting cultivation)

กลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนดอย ส่วนใหญ่มักมีวิถีการผลิตทำมาหากินด้วยการทำไร่แบบย้ายที่ หรือการผลิตแบบตัดฟันโค่นเผา และปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อยังชีพและเพื่อขาย พืชหลักที่เห็นมากที่สุดคือข้าว ข้าวโพด และฝิ่นซึ่งในอดีตปลูกเพื่อใช้เป็นยาและขายเมื่อมีความต้องการใช้เงิน โดยการทำไร่แบบนี้มักถูกโจมตีว่าตัดไม้ทำลายป่า และเป็นแหล่งผลิตยาเสพติด แต่มีการศึกษาวิจัยที่ยืนยันว่าการทำไร่แบบย้ายที่เป็นระบบการผลิตที่วางอยู่บนพื้นฐานของความรอบรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องของสภาวะแวดล้อมและการจัดการที่เหมาะสมในระดับหนึ่ง

การทำไร่หมุนเวียน
(Rotation swidden agriculture)

การทำไร่แบบนี้มีความคล้ายคลึงกับการทำไร่แบบย้ายที่ แต่ระบบการทำไร่แบบหมุนเวียนมักนิยมตัดไม้โดยปล่อยให้มีตอไม้ขนาดใหญ่หรือมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ทิ้งอยู่ในไร่ เมื่อปล่อยให้ผืนป่าคีนสภาพ ต้นไม้จึงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วทำให้ผืนป่าคีนสู่ความอุดมสมบูรณ์ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี

สวนเมี่ยง

(Forest-tea garden)

สวนเมียงหรือป่าเมี่ยงเป็นระบบนิเวศเกษตรเก่าแก่ดั้งเดิมที่พบเห็นได้ทั่วไปในบริเวณพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน สวนเมี่ยงเป็นระบบนิเวศเกษตรในลักษณะผสมผสานระหว่างป่าธรรมชาติ การปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ โดยมุ่งเน้นการผลิตอาหารเพื่อยังชีพและการรักษาความสมดุลของธรรมชาติแวดล้อมมากกว่าการผลิตเพื่อขาย

     

เหนือ(ต่อ)

ป่าชุมชน

การจัดการป่าชุมชนคือ ยอมรับร่วมกันว่าป่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของชุมชน ป่ามิใช่ของรัฐหรือของบุคคลภายนอก สมาชิกของชุมชนท้องถิ่นจึงมีสำนึกร่วมกันถึงสิทธิและหน้าที่ในการดูแลจัดการและการใช้ประโยชน์จากป่าไปพร้อมกัน สำนึกร่วมกันในสิทธิชุมชนเป็นพื้นฐานของการพัฒนาจารีตประเพณีวิถีปฏิบัติและกฎระเบียบเกี่ยวกับการดูแลจัดการ และใช้ประโยชน์จากป่าที่สืบทอดเรื่อยมาหลายชั่วอายุคน

การจัดการแหล่งน้ำ

คนทางภาคเหนือรู้จักบริหารน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการบริโภคต่างๆ โดยการจัดระบบเหมืองฝาย มีการจัดแบ่งปันน้ำกันตามระบบประเพณีที่ สืบทอดกันมา มีหัวหน้าที่ทุกคนยอมรับ มีคณะกรรมการจัดสรรน้ำตามสัดส่วนและตามพื้นที่ทำกิน นับเป็นความรู้ที่ทำให้ชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำ ไม่ว่าต้นน้ำหรือปลายน้ำ ได้รับการแบ่งปันน้ำอย่างยุติธรรม ทุกคนได้ประโยชน์และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ใต้

การขุดสระน้ำ

เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล ยามที่น้ำขึ้น น้ำเค็มจะไหลเอ่อเข้ามาในแผ่นดิน จะอาศัยอาบกินก็ไม่สะดวก ดังนั้นจึงเกิดภูมิปัญญาในการหาทำเลขุดบ่อน้ำ ซึ่งบริเวณที่เหมาะ คือ บริเวณที่มีหญ้าขึ้นในฤดูแล้ง, บริเวณที่มีต้นกะพ้อ มะเดื่อ หรือมีจอมปลวก เป็นบริเวณที่มีความชื้นอยู่มาก น้ำใต้ดินอยู่ในระดับตื้น ทดสอบโดยใช้กะลามะพร้าวผาซีก ไปคว่ำไว้ตามจุดที่สงสัยว่าจะมีตาน้ำ เมื่อหงายดู ถ้าพบว่ามีหยดน้ำจับอยู่มากก็เชื่อได้เลยว่าตาน้ำอยู่ไม่ลึก

การปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน

ชาวใต้มีความเชื่อทำนองเดียวกันกับภาคอื่นว่าการปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านต้องเลือกปลูกเฉพาะไม้ที่เป็นมงคลและปลูกให้ถูกทิศทาง โดยมีประโยชน์แฝงไว้เพื่อให้เกิดความร่มเย็นทั้งกายใจ ส่วนที่ห้ามปลูกในบริเวณบ้าน เป็นพวกไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขามาก หรือชื่อไม่เป็นมงคล เช่น เต่าร้าง ลั่นทม ความเชื่อนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการโคจรของดวงอาทิตย์ ทิศทางของลมมรสุม ความหนักเบาของฝน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน รวมถึงความเข้าใจธรรมชาติของต้นไม้ในแต่ละพันธุ์ด้วย

     

ใต้ (ต่อ)

การปลูกสร้างบ้านเรือน

จะมีลักษณะแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือ ชาวใต้นิยมแผ้วถางพื้นที่บริเวณบ้านให้เตียนเรียบจนเห็นเป็นพื้นทรายขาวสะอาด มีเหตุผลด้านสภาพแวดล้อม คือ การเดินเข้าออกสะดวก ปลอดภัยจากสัตว์ร้าย เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ที่มีอยู่อย่างชุกชุม, บ้านเรือนมีหลังคาเตี้ยลาดชัน ยกพื้นสูง และไม่ฝังเสาลงดิน แต่จะวางอยู่บนตีนเสาที่เป็นก้อนหิน ไม้เนื้อแข็ง หรือ แท่งซีเมนต์หล่อ เนื่องจากฝนตกชุก ทำให้ดินอ่อนตัว โอกาสที่เสาจะทรุดตัวมีได้มาก นอกจากนี้แล้วยังเป็นการป้องกันปลวกและเชื้อรากัดกิน, ไม่ปลูกบ้านขวางตะวัน นิยมปลูกหันหน้าไปในแนวเหนือใต้ เพื่อหลบแสงแดดที่จะส่องเข้าบ้าน

กลาง

การปลูกสร้างบ้านเรือน

- หลังคาบ้านจะเป็นลักษณะลาดเอียง เพื่อระบายน้ำในฤดูฝน และเป็นหลังคามุงจากเป็นส่วนใหญ่ เพื่อระบายความร้อนในฤดูร้อน

- ตัวเรือนมีหน้าต่างมาก เพื่อระบายความร้อนหรือระบายอากาศในฤดูร้อน มีระเบียง เพื่อให้ลมผ่าน และใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นดนตรีไทย หรือ พักผ่อน ความต่างระดับของพื้นบ้าน เพื่อเป็นการระบายอากาศ

-ใต้ถุนสูง เพื่อให้ลมผ่าน ในฤดูน้ำหลาก น้ำไม่ท่วมพื้นบ้านสำหรับไว้ทำกิจกรรมต่างๆ และการพักผ่อน เช่น การทอผ้า การตำข้าว การแปรรูปและการถนอมอาหาร การทำหัตถกรรมพื้นบ้านต่างๆ เช่น เครื่องจักรสานต่างๆ

- การออกแบบครัวมีช่องระบายอากาศหรือช่องระบายความร้อนกระบะดิน เพื่อรองรับขี้เถ้าจากเตาไฟ ที่สำหรับวางของยกพื้นสูง เพื่อกันเด็กและสัตว์เลี้ยง ที่แขวนเครื่องครัว เช่น หอม กระเทียม พริก เพื่อไม่ให้เกิดความชื้น

- บริเวณบ้าน มียุ้งหรือฉาง มีไว้สำหรับเก็บพืชพันธุ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และเก็บอุปกรณ์การเกษตร เช่น จอบ เสียม ไถ ตลอดจน เก็บเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ เช่น ไซ รอบ ยอ ฯลฯ พ้อม ที่เก็บพืชพันธุ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว การนำมูลวัว มูลควาย ทา เพื่อกันแมลง มอด กัดกิน เมล็ดพืช โรงเรือน

     

กลาง (ต่อ)

 

เลี้ยงสัตว์ เช่น เล้าไก่ การปลูกพืชผักสวนครัว

-รั้วบ้าน มีการปลูกพืชผักสวนครัว เช่น การปลูกถั่ว , บวบ , กระถินแตงร้าน ฯลฯ การปลูกไม้ยืนต้นเป็นรั้วบ้านและยังสามารถนำมารับประทานได้ เช่น ต้นแค , ไผ่ , มะขาม , มะขามเทศ ฯลฯ

การทำนาเป็ด

นาเป็ดเป็นการทำนาวิธีใหม่ที่ใช้เป็ดมาช่วยทำนา เดิมทีมีผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ดฝูงขนาดใหญ่จำนวนมากได้เลี้ยงเป็ดแบบลดต้นทุนการผลิต หรือเรียกว่า “เป็ดทุ่ง“ โดยการปล่อยฝูงเป็ดตั้งแต่ขนาดยังเล็กจากท้องทุ่งแถวจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท ให้ฝูงเป็ดเหล่านั้น เก็บกินข้าวเปลือก กุ้ง หอย ปู ปลาในท้องนาที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเป็นอาหาร

อีสาน

การผลิตเกลือสินเธาว์

การสืบทอดวิธีการผลิตเกลือแบบดั้งเดิมในรูปของการทำเกลือพื้นบ้าน ด้วยเทคโนโลยีแบบง่าย ๆ สามารถใช้วัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่มาใช้ในกระบวนการผลิต และเป็นที่น่าสนใจว่าในการจัดการบ่อเกลือของชุมชนจะให้ความสำคัญกับผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม โดยชาวบ้านจะกำหนดว่าไม่ให้ทิ้งดินเค็มออกนอกบริเวณบ่อ หรือต้องกองไว้กลางบ่อ นอกจากนี้ชาวบ้านยังให้ความสำคัญกับเกลือ ในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่มีค่าและเชื่อว่ามีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอยู่ จึงต้องมีพิธีกรรมในการไหว้ก่อนลงมือต้มเกลือทุกครั้ง

การจัดการน้ำ

ภูมิปัญญาในการจัดการน้ำท่ามกลางสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะดินเป็นแบบดินร่วนปนทราย และดินชั้นล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ซึ่งมีความสามารถในการอุ้มน้ำและความชื้นได้น้อย ทำให้ในฤดูฝนน้ำจึงหลากและไหลลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ เร็ว ส่งผลให้คนอีสานต้องคิดค้นวิธีการในการจัดการน้ำเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในลักษณะต่าง ๆ เช่น ฝายดิน เหมืองนารางน้ำ การใช้ระหัดวิดน้ำ การดูแลรักษายังใช้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างคนคุ้งน้ำเดียวกัน อันส่งผลให้ความสัมพันธ์ในชุมชนเป็นไปอย่าง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วย ตัวอย่างการจัดการน้ำในภาคอีสานเช่น การใช้ฝายดิน เหมืองนา และ ของชุมชนลุ่มน้ำลำพะเนียง ต.หนองปลาขาว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นฝายที่ชาวบ้าน ในชุมชนมาช่วยกันสร้างและดูแลรักษาเพื่อช่วยในการส่งน้ำเข้าสู่แปลงนา

     

อีสาน(ต่อ)

 

โดย ฝายดินแต่ละตัวสามารถส่งน้ำเข้านาของชาวบ้าน ได้มากกว่า 1,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม การจัดการน้ำด้วยภูมิปัญญาของคนอีสานดังกล่าวกำลังถูกทำลายและ/หรือถูกลดความสำคัญลง ด้วยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ของรัฐ ทั้งที่อยู่ในรูปของการขุดลอกคูคลอง การทำฝายคอนกรีต และการสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ ตามลำดับ

การจัดการป่า

คนอีสานมีภูมิปัญญาในการอยู่อาศัยร่วมกับป่ามาอย่างช้านานนับตั้งแต่มีการบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อตั้งถิ่นฐาน ชาวบ้านจะ เสาะหาพิจารณาและตัดสินใจเลือกพื้นที่ป่า ทั้งป่าโคกและป่าดิบแล้ง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบและเป็นที่ลุ่มอยู่ติดกับลำห้วย แอ่ง หรือร่องน้ำ มีการปรับสภาพพื้นที่ให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช โดยในอดีตชาวบ้านจะนำพืชที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในครอบครัวเช่น ข้าว ถั่ว งา แตง บวบ พริก มาปลูก ต่อมามีการปลูกพืชเพื่อใช้ประโยชน์ที่นอกเหนือจากอาหาร เช่น ฝ้าย และปอ ในขณะที่พื้นที่ที่ถัดเข้าไปในป่า ชาวบ้านจะ ให้เป็นที่เลี้ยงสัตว์และเก็บของป่าเพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือน

ตะวันออก

การปลูกสร้างบ้านเรือน

บ้านทางภาคตะวันออกนิยมปลุกบ้านกันตามพื้นที่ราบ ไม่ปลูกคร่อมตอไม้ ไม่ปลูกบ้านใกล้กับทางน้ำไหลด้วยเกรงการถูกน้ำกัดเซาะ ทำเลปลูกบ้านที่เหมาะสมนิยมให้มีบ่อน้ำอยู่ด้านหน้า มีเนินดินและภูเขาอยู่ด้านหลัง การตั้งบ้านนิยมหันไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออก แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล

เสื่อจันทบูร

เริ่มแรกคนทอเสื่อจะมีแต่ชาวญวนที่ทำกัน ซึ่งจะอยู่บริเวณหลังโบสถ์วัดคาทอลิก จนเรียกกันว่า "เสื่อญวนหลังวัด" ในสมัยนั้นคนญวนต้องมาซื้อกกจากชาวบ้านเสม็ดงาม อำเภอเมือง และชาวบ้านบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ เพราะทั้ง 2 แห่งเป็นบริเวณที่ลุ่มมีต้นกกขึ้นอยู่ทั่วไป และด้วยเหตุนี้เอง อาชีพการทอเสื่อจึงเข้ามาแพร่หลายในหมู่บ้านทั้ง 2 แห่งนี้ จวบจนปัจจุบันนี้ แหล่งทอเสื่อที่มีชื่อเสียงของจังหวัดมาจากหมู่บ้าน 2 แห่งนี้ คือ "เสื่อเสม็ดงาม" และ "เสื่อบางสระเก้า" ที่มีชื่อเสียง

*** จากตารางสังเกตได้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละภาคจะมีความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ ฤดูกาล และความหลากหลายทางชีวภาพของแต่ละพื้นที่ เช่นเดี่ยวกับภูมิปัญญาและอาชีพของชนพื้นเมืองต่างๆ ทั่วโลก***

ลำดับ

ชื่อเผ่า

ที่อยู่

อาชีพ

1

พวกปิกมี

ลุ่มแม่นำคองโก

เก็บของป่าล่าสัตว์

2

พวกปาปวน

เกาะนิวกีนี

จับปลาในแม่น้ำ

3

พวกแฟง

ตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำคองโก

ทำไร่เลื่อนลอย

4

พวกอะบอริจินี

ออสเตรเลีย

หาของป่า จับปลา

5

พวกเอสกิโม

อเมริกาเหนือ

จับปลา ล่าสัตว์

6

พวกบุชเมน

ทะเลทรายกาตาฮารี

ล่าสัตว์

7

พวกเซมัง

มาเลเซีย

ล่าสัตว์

8

พวกฟูเจียน

เกาะติแอร์ราเดลฟูเอโก,ตอนใต้ของชิลี

ล่าสัตว์

9

พวกเบดูอิน

คาบสมุทรอาหรับ

เลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน

10

พวกแลปป์

ตอนเหนือคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย

เลี้ยงกวางเรนเดีย

Return to contents


การป้องกันรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ โดยภูมิปัญญาและบทบาทของชาวบ้าน

ยุทธวิธีที่ได้ผลในการป้องกันรักษาไว้ซึ่งมรดกทางชีวภาพของโลก และในกรณีของประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน คือต้องให้ความสำคัญต่อการปกป้องอาณาบริเวณที่ยังไม่ถูกอิทธิพลของสังคมเศรษฐกิจการเมืองจากภายนอกเข้าไปทำให้เสียหายเป็นอันดับแรก อาณาบริเวณนี้เรียกว่า “เขตธรรมชาติ” (Wildlands) ในเขตธรรมชาติเหล่านี้มิได้หมายความว่าเป็นดินแดนที่ไม่มีคนอยู่เลยอย่างสิ้นเชิง อาณาบริเวณประเภทนี้บางแห่งมีคนพื้นเมือง หรือชาวบ้านผู้ที่ได้อาศัยป่าเป็นแหล่งดำรงชีวิตในเชิงปฏิสัมพันธ์อย่างมีดุลยภาพพอควรกับธรรมชาติแวดล้อมมาตั้งแต่เดิมและเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศนั้นอย่างแยกไม่ออก (มปต., 2551) เช่น การดำรงชีวิตของเงาะป่า หรือซาไก ซึ่งเป็นพวกดำรงชีวิตแบบเร่รอนอยู่ในป่าแถบภาคใต้ของประเทศไทย เป็นชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยธรรมชาติจากป่า มีความสามารถในการใช้ยาสมุนไพร การล่าสัตว์ มอแกน (Moken) ชาวเลผู้ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ ในแถบทะเลอันดามัน ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงเอกภาพระหว่างคนกับระบบนิเวศ ดำรงชีวิตโดยการดำน้ำ หาปลา เก็บของป่า เป็นต้น ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศมีความสำคัญมากกับคนกลุ่มนี้ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในการดำรงชีวิต

นโยบายข้างต้นเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ด้วยสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ขอสภาพสังคม แนวการคิด หรือแม้แต่ผลประโยชน์ทางการค้าที่ทำให้คนเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพ ดังคำกล่าวที่ว่า “เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน เหลือกินก็แบ่งปัน เหลือแบ่งปันก็ขาย” เป็นการค้าในเชิงธุรกิจที่หวังผลกำไรในปริมาณมาก โดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบในการทำมาหากิน

"สังคมปัจจุบันทำให้คนห่างไกลจากธรรมชาติ และมองธรรมชาติเป็นเหยื่ออันโอชะที่จะต้องเบียดเบียนและกอบโกย โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการ ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านไม่สามารถที่จะพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ เขาต้องเรียนรู้ที่จะจัดการด้วยตนเอง เพราะชาวบ้านมีวิถีชีวิตของเขาเอง และจะช่วยกันทำแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ดีกว่าการรอคอยความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านได้ลงมือทำแล้ว แต่ภาครัฐกลับยังไปไม่ถึงไหน"

Return to contents


ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน 

ปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน

ภูมิปัญญาในอดีต

ปัจจุบัน

การรักษาพื้นบ้านบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เมื่อหมอยาที่เก่งๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น หรือถ่ายทอด แต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติ เพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนเมื่อก่อน และไม่ได้รับความเชื่อถือ

ใช้ยาสมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิก

ในการทำมาหากินใช้แรงงานคน ควาย เกวียน

ในการทำมาหากินมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถ

การลงแขกทำนาและปลูกสร้างบ้านเรือน

มีการจ้างงานกันมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน

ผู้คนทำมาหากินอยู่บ้านเกิดไม่มีการอพยพย้ายถิ่น หรืออพยพในพื้นที่ใกล้ มีงานบุญประเพณีประจำปี

ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น ประเพณีงานบุญก็เหลือไม่มาก ทำได้ก็ต่อเมื่อลูกหลานที่จากบ้านไปทำงานกลับมาเยี่ยมบ้านในเทศกาลสำคัญๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา เป็นต้น

วัด พระสงฆ์ และคนเฒ่าคนแก่ มีบทบาทมากในชุมชน โดยเฉพาะในด้านการศึกษา

สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียน มีอนามัยและโรงพยาบาลมีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงมีศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นๆ เข้าไปในหมู่บ้าน

***ภูมิปัญญาในอดีตอาจมีความล้าสมัยเมื่อเทียบกับวิทยาการที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน แต่มนุษย์ต้องตระหนักเสมอว่า ภูมิปัญญาในอดีตได้มาจากธรรมชาติ ในรูปแบบของการเกื้อกูลกัน โดยไม่มีความคิดในเชิงการค้าหรือผลประโยชน์ทางธุรกิจ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสู่วิทยาการที่ทันสมัยในปัจจุบัน***

ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรามีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ

- การอนุรักษ์คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่างๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม

- การฟื้นฟูคือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไปเลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย

-การประยุกต์คือการปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้นการประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน

-การสร้างใหม่คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิมเช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้านเยาวชนเพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 19, 2540)

*ภูมิปัญญาชาวบ้านจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา และสร้างใหม่ โดยน่าจะอยู่บนพื้นฐานการวิจัยที่น่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์และไม่มีผลประโยชน์อื่นๆ แอบแฝง *

ภูมิปัญญาชาวบ้านกับวิทยาศาสตร์ยุคใหม่

เปรียบเทียบระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

Table 1 - Comparisons between traditional and scientific knowledge styles

Indigenous Knowledge

Scientific Knowledge

Assumed to be the truth

Assumed to be a best approximation

Sacred and secular together

Secular only

Teaching through storytelling

Didactic

Learning by doing and experiencing

Fearning by formal education

Oral or visual

Written

Integrated, based on a whole system

Analytical, based on subsets of the whole

Intuitive

Model- or hypothesis-based

Holistic

Reductionist

Subjective

Objective

Experiential

Positivist

Table 2 - Comparisons between traditional and scientific knowledgein use

Indigenous Knowledge

Scientific Knowledge

Lengthy acquisition

Rapid acquisition

Long-term wisdom

Short-term prediction

Powerful prediction in local areas

Powerful predictability in natural principles

Weak in predictive principles in distant areas

Weak in local areas of knowledge

Models based on cycles

Linear modeling as first approximation

Explanations based on examples, anecdotes, parables

Explanations bases on hypothesis, theories, laws

Classification:

  • a mix of ecological and use
  • non-hierachical differentiation
  • includes everything natural and supernatural

Classification:

  • based on phylogenic relationships
  • hierarchical differentiation
  • excludes the supernatural

ที่มา:http://www.nativescience.org/html/traditional_knowledge.html

Return to contents