ข้อใดไม่ใช่ตัวเชื่อมบูลีน boolean operators

เริ่มจากผู้ใช้ใส่คำสอบถาม (Query) เข้าไปในระบบ คำสอบถามเป็นสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการค้นหา เมื่อระบบรับทราบคำสอบถาม ก็จะทำการสืบค้นสารสนเทศจากเอกสารหรือสิ่งที่ต้องการ ในที่นี้เรียกว่า เอกสาร (documents) ผลลัพธ์ที่ได้นำเสนอเป็นสารสนเทศที่ถูกดึงออกมา (information retrieved) ซึ่งอาจจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือวิดีโอ ขึ้นกับความต้องการของผู้ใช้สุดท้ายผู้ใช้ต้องพิจารณาว่ารายการที่ดึงออกมาสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการค้นหาหรือไม่ ถ้าไม่สอดคล้องก็สามารถปรับเปลี่ยนคำสอบถาม (query reformulation) เป็นคำสอบถามใหม่ และป้อนเข้าไปในระบบใหม่อีกครั้ง

4.ประโยชน์ของฐานข้อมูล

  • ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล
  • ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
  • ใช้ข้อมูลร่วมกันได้
  • จัดทำระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้

 

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น

1. ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์

วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Journal) คือ สื่อรูปแบบหนึ่งที่เผยแพร่เป็นฉบับต่อเนื่องมีกำหนดออกที่แน่นอนและเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย รายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ กิจกรรมและผลงานในสาขาวิชาต่างๆ

2. ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ Book) เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาอื่นๆ ได้ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน และผู้อ่านสามารถอ่านพร้อมๆ กันได้ โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืน

2.1 ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์หรืองานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์

ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืองานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ Research) เป็นฐานข้อมูล ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ งานวิจัย และบทความวารสาร

2.2 ฐานข้อมูลกฤตภาค

ฐานข้อมูลกฤตภาค (Clipping) เป็นบริการข้อมูลข่าวสารที่ผู้รับบริการสามารถค้นหาข่าวที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมหัวข้อข่าวต่างๆ

2.3 ฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศของสถาบันบริการสารสนเทศ

ระบบการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสถาบันบริการสารสนเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ต คือ ระบบโอแพ็ก (Online Public Access Catalog: OPAC) ด้วยโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ VTLS, TINLIB, INNOPAC, DYNIX, และ HORIZON เป็นต้น

 

เทคนิคการสืบค้น

  1. เลือก Search engine ที่เหมาะสม เช่น http://www.google.co.th
  2. เลือกใช้คำสำคัญ (keyword) หรือหัวเรื่อง subject) ที่ตรงกับเรื่องที่ต้องการ
  3. กำหนดขอบเขตของคำค้น โดยใช้ตัวเชื่อมบูลีน boolean operators) เช่น AND OR NOT เป็นต้น

 

การสืบค้นสารสนเทศมัลติมีเดีย

1. การสืบค้นรูปภาพในอินเทอร์เน็ต

1.1  การสืบค้นรูปภาพจากคำค้น

1.2  การสืบค้นรูปภาพจากรูปภาพ

ผลการค้นหา

เมื่อค้นจากภาพ ผลการค้นหาจะดูแตกต่างจากหน้าผลการค้นหารูปภาพหรือเว็บตามปกติ ความแตกต่างที่เด่นชัด คือ ผลการค้นหาอาจมีผลการค้นหาที่ไม่ใช่รูปภาพ

2. การสืบค้นเสียงในอินเทอร์เน็ต

2.1  การสืบค้นเสียงจากคำค้น

2.2  การสืบค้นเสียงจากเสียง

3. การสืบค้นวิดีโอในอินเทอร์เน็ต

เว็บไซต์ที่นิยมใช้ในการสืบค้นวิดีโอมากที่สุดในปัจจุบัน คือ YouTube.comหากต้องการดาวน์โหลดวิดีโอที่ค้นหาได้มาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ http://keepvid.com จากนั้นให้คัดลอก URL ของวิดีโอที่ต้องการดาวน์โหลดจากใน YouToube มาใส่ในช่องว่างที่เขียนว่า “Enter video URL or Search here…” แล้วคลิกที่ปุ่ม “download” ก็จะสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ตามต้องการ หรือลงโปรแกรมสำหรับดาวน์โหลดเพิ่มเติม เช่น YouTube Downloader, Leawo Free Youtube Download, Hash Youtube Downloader และ YouChoob

แนวโน้มการสืบค้นในอนาคต

การค้นหาด้วยวิธีแบบดั้งเดิม หรือการค้นหาโดยใช้คำสำคัญ keyword) อาจทำให้ผลลัพธ์ที่ผู้ใช้งานได้รับมีข้อมูลทั้งที่ตรงและไม่ตรงกับความต้องการปะปนกัน ผู้ใช้งานจึงต้องเสียเวลาในการอ่านและคัดแยกข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไป ดังนั้นเว็บเชิงความหมายจึงเป็นแนวความคิดเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ให้กับข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกันได้อีกด้วย

สรุป

ฐานข้อมูลและการสืบค้นมีความสำคัญกับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยสถาบันการศึกษาจะมีบริการฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ ได้แก่ ฐานข้อมูลวารสาร อิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลกฤตภาค และฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศของสถาบันบริการสารสนเทศ Online เป็นต้น เพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษาแนวคิดของเว็บเชิงความหมาย semantic web) จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถค้นหาคำตอบของการค้นหาได้เหมือนกับการถามคนจริงๆ ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และเกิดความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้นมากขึ้น

ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนได้เรียนรู้การใช้คำสั่งการตัดสินใจแบบมีทางเลือก (if และ if-else) มาแล้ว สามารถกลับไปทบทวนได้ที่ https://kru-it.com/computing-science-m1/python-command-for-if-if-else/

ในบทเรียนนี้จะเป็นการใช้คำสั่งการเปรียบเทียบค่าโดยใช้ตัวดำเนินการบูลีนได้แก่ and or หรือ not ในการเชื่อมต่อนิพจน์เปรียบเทียบอย่างง่ายเข้าด้วยกัน



ข้อใดไม่ใช่ตัวเชื่อมบูลีน boolean operators

          การเชื่อมนิพจน์ 2 นิพจน์ด้วย and จะเป็นจริง(True) ถ้าทั้งสองนิพจน์เป็นจริงทั้งคู่ ส่วนกรณีอื่นๆ จะเป็นเท็จ(False) เช่น ถ้าตัวแปร a เก็บค่า 7 และตัวแปร b เก็บค่า 3



ข้อใดไม่ใช่ตัวเชื่อมบูลีน boolean operators

          การเชื่อมนิพจน์ 2 นิพจน์ด้วย or จะเป็นจริง(True) ถ้ามีนิพจน์ใดนิพจน์หนึ่งเป็นจริง  เช่น ถ้าตัวแปร a เก็บค่า 7 และตัวแปร b เก็บค่า 3



          นิพจน์ที่มี not นำหน้าจะมีค่าความจริงตรงกันข้าม เช่น ถ้าตัวแปร a เก็บค่า 7 แล้วมีเงื่อนไข not a <= 5 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจริง



ทดลองเขียนโปรแกรม

1. เปิดโปรแกรม IDE สำหรับเขียนโปรแกรมขึ้นมา เช่น JetBrains-PyCharm-Edu หรือ Thonny

2. คลิกที่ Python Console เพื่อเริ่มเขียนโปรแกรมหาผลลัพธ์ค่าความจริงจากนิพจน์เปรียบเทียบที่มีการใช้ตัวดำเนินการบูลีน

ข้อใดไม่ใช่ตัวเชื่อมบูลีน boolean operators


3. พิมพ์คำสั่ง a = 5 แล้วกดปุ่ม Enter

4. พิมพ์คำสั่ง a>7 and a<9 แล้วกดปุ่ม Enter จะได้ผลลัพธ์คือ False

5. พิมพ์คำสั่ง a>7 or a<9 แล้วกดปุ่ม Enter จะได้ผลลัพธ์คือ True

6. พิมพ์คำสั่ง not a>7 แล้วกดปุ่ม Enter จะได้ผลลัพธ์คือ True

ข้อใดไม่ใช่ตัวเชื่อมบูลีน boolean operators





อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 หน้า 29