ข้อ ใด จัด ว่า เป็นการ มีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์ ด้านสิทธิ มนุษย ชน

Home Know Sustainability Business and Human Rights

ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

ข้อ ใด จัด ว่า เป็นการ มีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์ ด้านสิทธิ มนุษย ชน

สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิดและความเสมอภาค
ที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา
เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด

(ที่มา: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)

ธุรกิจย่อมมีความเกี่ยวข้องกับ “มนุษย์” หรือ “คน” ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ลูกค้า คู่ค้า ผู้ส่งมอบ พนักงานและครอบครัวของพนักงาน ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ชุมชนรอบถิ่นที่ตั้งของธุรกิจหรือชุมชนไกล ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินงานอาจจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มเหล่านี้ไม่มากก็น้อยอย่างเลี่ยงไม่ได้ และหนึ่งในประเด็นความขัดแย้งสำคัญที่เกิดขึ้นบ่อยคือ เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่หลายครั้งลุกลามจนเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกัน ดังนั้น การดูแลใส่ใจการเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ โดยควรกําหนดแนวทางการดําเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมตามกฎหมายของประเทศและหลักการสากล กำหนดกลยุทธ์และแผนในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีกลไกการคุ้มครองและเยียวยาเมื่อเกิดเหตุ รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงาน ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมหารือในประเด็นดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นพร้อมกัน

ประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องค่อนข้างอ่อนไหวและสามารถเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่องมายังการทำธุรกิจได้อย่างคาดไม่ถึง จึงนับเป็นความเสี่ยงสำคัญที่อยู่กับการดำเนินธุรกิจตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีความต้องการ การเรียกร้อง และแรงผลักดันจากสังคมที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อีกทางด้วย

กล่าวโดยสรุปธุรกิจต้อง ดำเนินงานโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง และ สร้างให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงพลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการนำหลักสิทธิมนุษยชนไปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานภายในองค์กร คู่ค้า ตลอดจนทั้งห่วงโซ่อุปทาน และแน่นอนว่าหากธุรกิจมีการดูแลพนักงานที่ดีและสร้างสังคมรอบด้านที่ดีแล้ว องค์กรก็จะดีตามไปด้วย

หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP

ด้วยความคาดหวังต่อการแสดงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ประกอบการ องค์การสหประชาชาติได้จัดทำ หลักการชี้แนะด้านสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจ (United Nations Framework and Guiding Principles on Business and Human Rights) หรือ UNGP สำหรับธุรกิจใช้เป็นแนวปฏิบัติในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยสาระสำคัญของหลักการนี้อยู่บนเสาหลัก 3 ประการ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจคือเสาหลักที่ 2 และ 3

เสาหลักที่ 1: การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect)

ข้อ ใด จัด ว่า เป็นการ มีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์ ด้านสิทธิ มนุษย ชน

หมายถึง รัฐมีหน้าที่คุ้มครองมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจากองค์กรของรัฐเองหรือองค์กรภาคธุรกิจ

เสาหลักที่ 2: การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect)

ข้อ ใด จัด ว่า เป็นการ มีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์ ด้านสิทธิ มนุษย ชน

หมายถึง บุคคลและองค์กรที่ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือขนาดใดก็ตาม ย่อมมีความรับผิดชอบที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน

เสาหลักที่ 3: การเยียวยา (Remedy)

ข้อ ใด จัด ว่า เป็นการ มีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์ ด้านสิทธิ มนุษย ชน

หมายถึง การแก้ไข ฟื้นฟู ชดเชยเมื่อเกิดผลกระทบหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เนื่องมาจากการประกอบธุรกิจ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องมีกลไกในการเยียวยาที่มีประสิทธิผล

กรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการ UNGP

ข้อ ใด จัด ว่า เป็นการ มีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์ ด้านสิทธิ มนุษย ชน

ตัวอย่างประโยชน์ของการจัดทํานโยบายเคารพสิทธิมนุษยชน

ข้อ ใด จัด ว่า เป็นการ มีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์ ด้านสิทธิ มนุษย ชน

  1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างผลตอบแทนทางการเงินและสังคม
  2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย
  3. สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี รวมทั้งได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชน
  4. ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น
  5. สร้างการมีส่วนร่วมและขวัญกําลังใจ รวมถึงความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย
  6. ส่งผลในทางบวกต่อการสรรหา จูงใจและรักษาพนักงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคล

ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อย

เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

เพื่อให้ธุรกิจสามารถระบุประเด็นที่น่าจะเป็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนได้สะดวกขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอแนะนำ คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และรายการตรวจสอบ (Checklist) ของภาคธุรกิจ ที่จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คู่มือเล่มนี้จะช่วยให้วิธีปฏิบัติและการดูแลประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจเป็นระบบยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของหลักการสากล UNGP รวมถึงบริบทของการประกอบการในประเทศไทย

LEARN MORE