ข้อใดเป็นตัวอย่างในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

ข้อใดเป็นตัวอย่างในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

     ตลาด (Market) หมายถึง สถานที่ชุมนุมทางสังคม เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้า หรือ วัตถุดิบ แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น ตลาด จะหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ก็ได้

     เมื่อมีตลาดย่อมมีการซื้อขาย ซึ่งมักจะซื้อขายกันด้วยราคากลางในตลาด (Market price) ราคากลางนี้อาจเรียกว่าเป็น จุดดุลยภาพของราคา (Equilibrium price) ซึ่งจะถูกกำหนดจากทั้งผู้ซื้อ (Buyer) และผู้ขาย (Seller) หากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือราคาที่ผู้ซื้อยินดีจะจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่ง สินค้า (Goods) หรือ บริการ (Service) และผู้ขายยินดีที่จะขายในราคานั้นๆด้วยเช่นกัน หากสินค้าหรือบริการใดไม่ได้ซื้อขายด้วยราคากลาง นั่นหมายถึงสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีความต่างไปจากสินค้าปกติในตลาด ซึ่งมักเกิดจากปัจจัยทางด้านคุณภาพ (Quality) และ ยี่ห้อ (Brand)

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

  • ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ตลาดจะถูกแบ่งด้วยโครงสร้าง ดังนี้
    • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect competition market)
      • ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์
    • ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfect competition market)
      • ตลาดผูกขาดสมบูรณ์ (Pure Monopoly)
      • ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)
      • ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition)
    • สาเหตุที่ก่อให้เกิดการผูกขาด
    • ข้อดีของตลาดผูกขาด
    • ข้อเสียของตลาดผูกขาด

ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ตลาดจะถูกแบ่งด้วยโครงสร้าง ดังนี้

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect competition market)

  • มีจำนวนผู้ซือ-ผู้ขายในตลาดจำนวนมาก
  • สินค้าในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ ผู้ซื้อจึงยอมรับราคาที่ตลาดกำหนด (Price taker)
  • ผู้ผลิต-ผู้ขาย สามารถเข้าออกจากตลาดได้โดยเสรี โดยไม่มีกำไรเป็นแรงจูงใจ
  • มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างเสรี
  • ผู้ซื้อ-ผู้ขายมีความรู้ และรับทราบข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องราคาได้เป็นอย่างดี
  • ตัวอย่าง ตลาดสินค้าการเกษตร ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์และเงินตราต่างประเทศ

ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์

  • ด้านผู้บริโภค ราคาที่ถูกกำหนดขึ้นในสภาพการแข่งขัน เป็นราคาที่ยุติธรรมต่อผู้บริโภค
  • ด้านผู้ผลิต ส่งผลให้ผู้ผลิตปรับปรุงสินค้าและบริการของตน เพื่อการแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ
  • ด้านสังคม ทำให้สังคมมีการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างคุ้มค่า เพื่อประสิทธิภาพทางธุรกิจ

หมายเหตุ :: ในทางเศรษฐศาสตร์ ถือว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์เป็นตลาดในอุดมคติ

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfect competition market)

     ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfect competition market) หมายถึง ตลาดที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมีอิทธิพลในการกำหนดราคา หรือปริมาณซื้อสินค้า ขึ้นอยู่กับความไม่สมบูรณ์ของตลาดว่าไม่สมบูรณ์มากเพียงใด แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

ตลาดผูกขาดสมบูรณ์ (Pure Monopoly)

  • ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือผู้ขาย เพียงรายเดียว
  • สินค้าหรือบริการ เป็นสินค้าที่ไม่มีสินค้าอื่นมาทดแทนได้เลย
  • มีการกีดกันการเข้าสู่ตลาดสูง (เงินทุน สัปทาน ใบประกอบวิชาชีพ )
  • ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมการขายมากนัก
  • ผู้ผลิตหรือผู้ขาย มีอำนาจกำหนดราคาสูง
  • ตัวอย่าง ไฟฟ้า ประปา รถไฟ (มักจะเป็นของรัฐบาล)

ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)

  • ตลาดที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิต เพียงไม่กี่ราย
  • สินค้าหรือหรือบริการมักมีความคล้ายคลึง แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • มีการกีดกันการเข้าสู่ตลาดพอสมควร
  • การแข่งขันมักจะเน้นการส่งเสริมการขาย และโฆษณา
  • ผู้ผลิตหรือผู้ขาย มีอำนาจกำหนดราคาพอสมควร
  • ตัวอย่าง น้ำมัน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition)

  • ตลาดที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิตจำนวนมาก แต่ไม่มากเท่ากับตลาดแข่งขันสมบูรณ์
  • สินค้าหรือหรือบริการ คุณภาพไม่ต่างกันมาก ใช้แทนกันได้
  • ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี
  • การแข่งขันมักจะเน้นการส่งเสริมการขาย โฆษณา รวมทั้งการแข่งขันราคา
  • ผู้ผลิตแต่ละรายมีส่วนแบ้งในตลาดไม่มาก จึงไม่มีอำนาจในการกำหนดราคา
  • ตัวอย่าง สบู่ แชมพู น้ำตาล ผงชูรส ลูกอม

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการผูกขาด

  • การกีดกันเนื่องจากการประหยัดต่อขนาด ผู้ผลิตรายย่อยไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้
  • ผู้ผลิตเป็นเป็นผู้ผูกขาดทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต จึงมีอำนาจผูกขาดตลาดสินค้าด้วย
  • มีการกีดกันจากภาครัฐ เช่น สัมปทาน สิทธิบัตร ใบอนุญาติ
  • ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการล่าช้า หรือไม่ทั่วถึง

ข้อดีของตลาดผูกขาด

  • ในกรณีต้องใช้เงินลงทุนเยอะ รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุม เนื่องจากผู้ผูกขาดอาจตั้งราคาสูง จนผู้บริโภคเดือดร้อน
  • มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณประโยชน์จากภาครัฐ ซึ่งเอกชนจึงไม่สนใจผลิต เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจทางด้านกำไร  
  • การมีอำนาจผูกขาด อาจช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนาต่อยอด ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมใหม่ๆในอุตสาหกรรม

ข้อเสียของตลาดผูกขาด

  • ผลผลิตอาจไม่พอต่อความต้องการ และอาจมีราคาสูง
  • ผู้ซื้อไม่มีตัวเลือกในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการมากนัก
  • ยิ่งระดับการผูกขาดมาก การผลิตอาจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีคู่แข่งทางการค้า

ข้อใดเป็นสินค้าในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

สินค้าในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องสำอาง สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ปากกา ฯลฯ 3.2 การกำหนดราคาในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายผลิตสินค้าแตกต่างกัน ผู้ผลิตจึงมีอำนาจในการกำหนดราคา กล่าวคือ ผู้ผลิตแต่ละรายไม่จำเป็นต้องขายสินค้าในราคาเท่ากัน

ข้อใดเป็นตัวอย่างสินค้าในตลาดผูกขาด

ลักษณะของตลาดผูกขาด (Monopoly) มีผู้ขาย/ผู้ผลิตรายใหญ่เพียงรายเดียว ผู้ขาย/ผู้ผลิตมีอำนาจในการกำหนดราคา (Price Maker) และปริมาณในตลาด สินค้าและบริการยากจะหาสินค้าอื่นๆ ทดแทน เช่น การได้สัมปทานจากรัฐบาล ได้แก่ การผลิตไฟฟ้า ประปา ป่าไม้ เหล้า บุหรี่ เป็นต้น

ข้อใดเป็นตัวอย่างในตลาดผู้ขายน้อยราย

ตลาดผู้ขายน้อยราย คือ ตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่สองรายขึ้นไป ปริมาณสินค้าของผู้ขายแต่ละรายมีสัดส่วนที่ ค่อนข้างมาก ส่วนสินค้าในตลาดอาจมี ลักษณะคล้ายกันหรือต่างกัน แต่สามารถใช้ ทดแทนกันได้ ตัวอย่างของตลาดผู้ขายน้อยราย เช่น บริษัท ปูนซีเมนต์ บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผลิตยาง รถยนต์ เหล็กกล้า เหมืองแร่ น้าอัดลม เป็นต้น

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดหมายถึงอะไร

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition Market) มีลักษณะคือ มีจำนวนผู้ขายมาก ปราศจากสิ่งกีดขวางผู้ผลิตรายใหม่ที่จะเข้ามาทำการผลิต, ไม่มีการรวมตัวกันของผู้ซื้อหรือผู้ขาย และสินค้าของผู้ผลิตแต่ละคนแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้อาจเป็นได้ทั้งด้านรูปร่าง คุณภาพ หรือความรู้สึกของผู้บริโภค จากลักษณะเหล่านี้ทำให้ผู้ ...

ข้อใดเป็นสินค้าในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ข้อใดเป็นตัวอย่างสินค้าในตลาดผูกขาด ข้อใดเป็นตัวอย่างในตลาดผู้ขายน้อยราย ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดหมายถึงอะไร ข้อใดคือสินค้าในตลาดผูกขาด ข้อใดคือลักษณะของตลาดผูกขาด สินค้าหรือบริการในประเทศไทยข้อใด เป็นสินค้าในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดสินค้าในประเทศไทยข้อใด มีลักษณะใกล้เคียงกับตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คืออะไร ข้อใดไม่ใช่ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ คำถาม เกี่ยวกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ในตลาดผู้ขายน้อยราย ถ้าผู้ผลิตรายหนึ่งลดราคาสินค้า จะเกิดอะไรขึ้นในตลาด