ข้อใดอธิบายความหมายคำว่า “การสื่อสาร” ได้ชัดเจนที่สุด

1. ข้อใดเกิดจากขั้นตอนการพัฒนาโครงงานที่เกิดจาก “การคัดเลือกหัวข้อที่สนใจ”
พิมมาดานําเสนอโปรแกรมช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณา
พิมมาดา ช่วยสอนการบ้านเพื่อนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Tense
พิมมาดาหาข้อมูลเรื่อง Tense ใน อินเทอร์เน็ต
พิมมาดาทํารายงานโครงงานเรื่อง Tense

2. ข้อใดให้ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์ได้ ชัดเจนที่สุด
กิจกรรมที่ศึกษาเรื่องราวรายละเอียดและส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
กิจกรรมการทำรายงานการปฏิบัติงานตาม หัวข้อที่ครูกําหนดให้
กิจกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ที่ให้นักเรียนศึกษาและลงมือปฏิบัติตามความสมัครใจ
กิจกรรมการทำรายงานเรื่องคอมพิวเตอร์กับชีวิต

3. โครงงานคอมพิวเตอร์สามารรถแบ่งได้กี่ประเภท
2
3
4
5

4. โครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร จัดเป็นโครงงานประเภทใด
การประยุกต์ใช้งาน
การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
การทดลองทฤษฎี
การพัฒนาเครื่องมือ

5. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
มีงบประมาณ
ปฏิบัติตามที่ครูบอก
ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวเรื่องที่จะศึกษา
มีเวลาเพียงพอ

6. เด็กชายธนวัฒน์ ชอบเล่นเกมส์และมีความต้องการเขียนโปรแกรมควบคุมเกม ควรเลือกทำโครงงานประเภทใดจึงมีความเหมาะสมที่สุด
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาเกม
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ

7. ข้อใดเรียงลำดับการทำโครงงานได้ถูกต้อง
เลือกหัวข้อ, ลงมือทำโครงงาน, ศึกษาค้นคว้า, นำเสนอเค้าโครง, เขียนรายงาน, นำเสนอ
เลือกหัวข้อ, นำเสนอ, ศึกษาค้นคว้า, นำเสนอเค้าโครง, เขียนรายงาน, ลงมือทำโครงงาน
เลือกหัวข้อ, ศึกษาค้นคว้า, นำเสนอเค้าโครง, ลงมือทำโครงงาน, เขียนรายงาน, นำเสนอ
เลือกหัวข้อ, ศึกษาค้นคว้า, นำเสนอเค้าโครง, เขียนรายงาน, ลงมือทำโครงงาน, นำเสนอ

8. ข้อใดคือการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
การใช้จอแอลซีดีนำเสนอรายงาน
การใช้ดาวเทียมถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา
การใช้เครื่องคิดเลขคำนวณรายรับประจำวัน
การใช้บัตรแถบแม่เหล็กบันทึกสถานีปลายทางของผู้โดยสาร

9. ข้อใดคือเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นอุปกรณ์แสดงผล
ฮาร์ดดิสก์
สแกนเนอร์
ไมโครโฟน
เครื่องพิมพ์

10. ข้อใดต่อไปนี้ที่ถือว่าเป็นสารสนเทศ
เกรดเฉลี่ย
เสียงนกชนิดต่าง ๆ
คะแนนสอบของนักเรียน
ส่วนสูงและน้ำหนักของนักเรียน

11. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารมีหลายกิจกรรม ยกเว้น ข้อใด
การเรียนผ่านดาวเทียม
การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์
การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

12. ข้อใดไม่ได้เป็นลักษณะของสารสนเทศที่ดี
ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
ความต้องการของเจ้าของงาน
ความถูกต้อง (accuracy)
ความเชื่อถือได้ (reliability)

13. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการกล่าวถึงซอฟต์แวร์ในระบบสารสนเทศ
เป็นโปรแกรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
เป็นอุปกรณ์ช่วยนำเสนองาน
เป็นบุคลากรที่ช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง
เป็นข้อมูลที่พร้อมนำเสนอ

14. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์มีหลายส่วน ยกเว้น ข้อใด
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
ฐานข้อมูล (Database)
การเชื่อมโยง (Connectivity)

15. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่เข้าพวก
การเดินทาง, การนอน , การยืนตรง
การจัดกลุ่ม, การจัดเรียงตัวเลข , การแยกประเภท
การจัดแถว, การจัดเรียงตัวเลข , การนับจำนวน
การนั่งตามเลขที่, การจัดเรียงตัวเลข , การนับจำนวน

16. ข้อใดต่อไปนี้ให้ความหมายของคำว่าซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง
อุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง
โปรแกรมแก้ปัญหาทุกอย่างของมนุษย์
โปรแกรมชุดของคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ที่ทำหน้าเสมือนสมองกล

17. ข้อใดเรียงลำดับระบบปฏิบัติการ Windows ได้อย่างถูกต้อง
windows 8 , windows vista , windows me , windows 8
windows xp , windows 95 , windows 7 , windows 8
windows 7 , windows vista , windows xp , windows 8
windows xp , windows vista , windows 7 , windows 8

18. ระบบปฏิบัติการใดต่อไปนี้ที่ผลิตโดยบริษัท Apple
Windows
Unix
Macintosh
Ubuntu

19. ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์เวิร์ด
ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
ระบบปฏิบัติการดอส

20. โปรแกรมเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่โปรแกรมใดต่อไปนี้
Microsoft Word
Google Chrome
Microsoft Excel
Adobe Preemie

ผลคะแนน =
เฉลยคำตอบ:

ความหมายและความสำคัญของการสื่อสาร

ข้อใดอธิบายความหมายคำว่า การสื่อสาร” ได้ชัดเจนที่สุด

       ในปัจจุบันเรามีวิธีการสื่อสารได้หลายทาง เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรสาร วิทยุติดตามตัว การส่งจดหมายทางอินเตอร์เนต (E-mail) ทำให้เราสามารถติดต่อกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในรูปแบบต่างๆได้ตลอดเวลา โดยมีจุดประสงค์ที่จะเสนอเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความคิด ความต้องการ รวมไปถึงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลรับรู้ ชีวิตประจำวันของเราจึงต้องเกี่ยวข้องกับการสื่อสารตลอดเวลาซึ่งดูได้จากในปี 2538 รัฐบาลได้ประกาศให้เป็น ปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ THAILAND IT YEAR 1995 แสดงให้เห็นว่าการสื่อสารมีความสำคัญมากเพียงใด คำว่าสารสนเทศ หมายถึง เรื่องราวต่างๆที่ได้จากการนำข้อมูล ประมวลหรือคำนวณทางสถิติ ไม่ใช่ข้อมูลดิบ เมื่อนำมารวมกับคำว่า เทคโนโลยีซึ่งครอบคลุมถึง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันมีได้หลายรูปแบบ และจะเพิ่มมากขึ้นอย่างหาที่สิ้นสุดไม่ได้

       การสื่อสารมีประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อบุคคลและสังคม บุคคลสามารถรับรู้ความ รู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สังคมทุกระดับจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการสื่อสารทั้งสิ้น การสื่อสารก่อให้เกิดสังคมตั้งแต่ระดับกลุ่มคน ครอบครัว ไปจนถึงตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ และสังคมโลก หากขาดการสื่อสารมนุษย์จะร่วมกลุ่มกันเป็นสังคมไม่ได้ การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดและพัฒนาวัฒนธรรมของตนเอง รวมทั้งเรียนรู้และรับรู้วัฒนธรรมของสังคมอื่นเพื่อนำมาปรับปรุงวัฒนธรรมของตน ตลอดจนสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างไม่จบสิ้น ปัจจุบันการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีมีมากมาย เช่น โทรสาร(FAX) อินเตอร์เนต (INTERNET) ซี่งช่วยให้สังคมสื่อสารได้รวดเร็วทันใจยิ่งขึ้น อาจพิจารณาแบ่งเป็นหัวข้อได้ดังนี้

       1. ความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล – คนจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้จะต้องใช้การพูดจาสร้างมิตรภาพ ทั้งในบ้าน สถานศึกษา ที่ทำงาน และสังคมภายนอกอื่นๆ เช่น ร้านค้า โรงพยาบาล งานเลี้ยง เป็นต้น บางครั้งอาจอยู่ในรูปของสัญลักษณ์ เช่น สัญญาณไฟเขียวไฟแดง การส่งดอกไม้ ก็ได้

       2. ความสำคัญต่อการติดต่อระหว่างปัจเจกบุคคลกับสังคม - บุคคลทั่วไปที่ต้องการทราบความเป็นไปของสังคมสามารถค้นหาได้จากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรืออินเตอร์เนต สื่อมวลชนจะเป็นผู้กระจายข้อมูลข่าวสารของสังคม ไปสู่ปัจเจกบุคคลที่อยู่ทั่วไปให้ได้รับข้อมูล ข่าวสารเดียวกัน

       3. ความสำคัญต่อการพัฒนาสังคม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี – สังคมจะพัฒนาก้าวไกลได้อย่างทั่วถึงต้องอาศัยการสื่อสารทั้งระดับบุคคล เช่น พัฒนากร ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จนกระทั่งถึงสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เนต จากสื่อมวลชนเหล่านี้ทำให้สังคมเจริญก้าวไกล ทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม โดยส่วนรวม

       4. ความสำคัญต่อความเป็นมาและเป็นไปของประชาชนในสังคม – การค้นคว้าศึกษาและจดบันทึก ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของสังคมว่าเจริญมาอย่างไร และยังสามารถประมาณการความเป็นไปของสังคมในอนาคตได้ด้วยการใช้การสื่อสารให้การศึกษา ก่อแนวคิด และปลูกฝังคนรุ่นใหม่ของสังคม

นักวิชาการในสาขาต่างๆได้ให้คำนิยามของการสื่อสารไว้มากมายแตกต่างกันออกไป คำนิยามที่เข้าใจง่ายสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆได้ คือ คำนิยามของ EVERETT M. ROGERS นักนิเทศน์ศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า

       “การสื่อสาร คือ กระบวนการที่ความคิดหรือข่าวสารถูกส่งจากแหล่งสารไปยังผู้รับสารโดยมีเจตนาที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการของผู้รับสาร” เมื่อผู้ส่งสารส่งสารไปยังผู้รับสารย่อมก่อให้เกิดผลบางประการที่ผู้ส่งสารปรารถนาในตัวผู้รับสาร ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับสารก็ได้ จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ที่สำคัญยิ่งของการสื่อสารก็คือ การก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ส่วนกรมวิชาการได้ให้นิยามของการสื่อสารไว้ว่า “การสื่อสาร คือ การติดต่อกับมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆ อันทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่ง และการตอบสนอง” การสื่อสารมีลักษณะเป็นกระบวนการซึ่งหมายความว่ามีลักษณะต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด ไม่มีการหยุดนิ่งจะต้องมีบางสิ่งเกิดขึ้นก่อนกระบวนการ และมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดหลังกระบวนการต่อเนื่องกันไปอยู่เสมอ เป็นการกระทำโต้ตอบกลับไปกลับมาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารตลอดเวลา ผู้ส่งสารกลายเป็นผู้รับสารและผู้รับสารกลายเป็น ผู้ส่งสารในเวลาเดียวกัน

       คำว่าการสื่อสาร (Communication) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Communis ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Commonness มีความหมายว่า ความเหมือนกันหรือความร่วมกัน เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่เราทำการสื่อสาร ย่อมหมายความว่าเรากำลังสร้างความร่วมมือหรือเหมือนกับคนอื่น นั่นคือ พยายามที่จะมีส่วนร่วมรู้ข่าวสาร ความคิดเห็น และท่าทีอย่างเดียวกันนั่นเอง โดยพจนานุกรมภาษาอังกฤษได้อธิบายความหมายของคำว่าการ สื่อสาร ไว้ว่า มีลักษณะ 2 ประการ คือ

1. เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำพูด ตัวหนังสือ หรือข่าวสาร

2. เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือมติร่วมกัน

       การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิต มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสาร และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อที่จะเข้าใจ จูงใจหรือความสัมพันธ์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสาร ดังที่ E.EMERY,P.M. ASULY AND W.K. AGEE ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เรายังมีความต้องการขั้นพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือไปจากความต้องการทางร่างกายในเรื่อง อาหาร และที่อยู่อาศัย ก็คือ ความต้องการที่จะสื่อสารกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ความจำเป็นในด้านการสื่อสารเป็นความจำเป็นพื้นฐานทางอารยธรรมยุคปัจจุบันของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด”

       การสื่อสารเป็นกระบวนการติดต่อระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เท่านั้น หากเป็นการติดต่อระหว่างมนุษย์กับสัตว์ เช่น คนพูดคุยกับนกแก้ว นกขุนทอง หรือสุนัขกระดิกหางให้ผู้ที่ให้อาหารมัน สถานการณ์ดังกล่าวนี้ไม่จัดว่าเป็นการสื่อสาร

การสื่อสารมีลักษณะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด ไม่มีการหยุดนิ่ง จะต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการ และมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดหลังกระบวนการต่อเนื่องกันไปอยู่เสมอ นั่นคือการสื่อสารเป็นการกระทำโต้ตอบกลับไปกลับมาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารตลอดเวลา ผู้ส่งสารอาจกลายเป็นผู้รับสาร และผู้รับสารกลายเป็นผู้ส่งสารในเวลาเดียวกันก็ได้ การสื่อสารไม่จำเป็นต้องมีสองหรือหลายคน การคิดอยู่ในใจตัวเองก็นับว่าเป็นการสื่อสารเช่นกัน

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

1. เพื่อให้ข่าวสารและความรู้ (Inform) เช่นการเรียนการสอน การเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์

2. เพื่อชักจูงใจ (Persuade) เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับสารให้คล้อยตามเรื่องที่เราต้องการจะสื่อสาร เช่น การโฆษณาเพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า

       3. เพื่อความบันเทิง (Entertain) เช่น การจัดรายการเพลง หรือเกมต่างๆ ทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์

       ในการสื่อสารที่ดีควรรวบรวมวัตถุประสงค์เหล่านี้เข้าด้วยกัน เพราะในกิจกรรมการสื่อสารแต่ละอย่างนั้นมักจะมีหลายวัตถุประสงค์แฝงอยู่ เช่น การเรียนการสอนโดยแทรกอารมณ์ขัน เป็นต้น

องค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสารเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและดำเนินไปในสังคม โดยอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 7 ประการ คือ

1. ผู้ส่งสาร (Transmitter,Source,Sender,Originator) หมายถึง แหล่งกำเนิดของสารหรือผู้ที่เลือกสรรข่าวสารที่เกี่ยวกับความคิด หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังผู้รับสาร อาจเป็นคนเดียว คณะ หรือสถาบันก็ได้

       David K Berlo ได้เสนอแนวความคิดไว้ว่า การสื่อสารจะบรรลุผล ถ้าหากว่าผู้ส่งสารและผู้รับสารมีทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) ทัศนคติ (Attitude) และระดับความรู้ (Level of Knowledge) ในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันและอยู่ในระบบสังคม (Social System) และวัฒนธรรม(Culture) เดียวกัน

2. สาร (Message) หมายถึง สาระหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือเรื่องราว ทั้งวัจนะภาษา และอวัจนะภาษา องค์ประกอบของสารมี 3 ประการ คือ สัญลักษณ์ของสาร (Message Code) เนื้อหาของสาร(Message Content) การเลือกหรือจัดลำดับข่าวสาร(Message Treatment)

       คำว่า “สาร” ในความหมายที่ใช้โดยทั่วไปมักหมายถึง เนื้อหาสาระของสารมากกว่า ซี่งก็คือข้อความที่ผู้ส่งสารเลือกใช้เพื่อสื่อความหมายตามที่ต้องการ ทั้งนี้อาจจะรวมถึงข้อเสนอ บทสรุป และความคิดเห็นต่างๆที่ผู้ส่งสารแสดงออกมาในข่าวสารนั้นๆ

3. ผู้รับสารหรือผู้ฟัง (Receiver or Audience ,Destination) หมายถึง ผู้ที่ได้รับข่าวสารจากผู้ส่งสารแล้วถอดรหัสข่าวสารนั้นออกเป็นความหมายซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง และเป้าหมายของการสื่อสาร ผู้รับสารอาจจะเป็นบุคคลคนเดียว กลุ่มคน หรือหลายคนก็ได้ ซึ่งแบ่งผู้รับสารได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้รับสารตามเจตนาของผู้ส่งสาร(Intened Receiver) และผู้รับสารที่มิใช่เป้าหมายในการสื่อสารของผู้ส่งสาร ( Unintened Receiver)

4. สื่อหรือช่องทางการสื่อสาร (Channel, Media) หมายถึง ช่องทางที่สารจากผู้ส่งสารผ่านออกไปยังผู้รับสาร สิ่งใช้สื่อสารเป็นสัญลักษณ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

       4.1 ท่าทาง (Gestures) การใช้ท่าทางในการแสดงออกนั้นจะต้องเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด หรือสามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้

       4.2 ภาษาพูด (Language Spoken) มนุษย์ทุกชนชาติต่างมีภาษาพูดเป็นของตนเองมาแต่โบราณกาล ภาษาพูดมีข้อจำกัดอยู้ 2 ประการ คือ ระยะทาง (Space) กับ เวลา (Time)

       4.3 ภาษาเขียน (Language Written) ภาษาเขียนไม่ได้หมายถึงตัวอักษรเท่านั้น แต่รวมไปถึงรูปภาพ สี เส้น ขนาดของตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆที่แสดงออกด้วยการเขียน ก็นับว่าเป็นการสื่อสารโดยทางภาษาเขียนทั้งสิ้น

ดังนั้นในการสื่อสารผู้ส่งสารจะต้องเลือกสื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้รับสารและวัตถุประสงค์ในการสื่อสารด้วย

5. เสียงหรือสิ่งรบกวน (Noise) หมายถึง ปัญหาเกี่ยวกับเสียง หรือสิ่งรบกวนใดๆก็ตามที่แทรกเข้ามาในช่องทางสื่อสารซึ่งผู้ส่งสารไม่ปรารถนาให้สอดแทรกเข้ามา ทำให้การสื่อสารดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่น ไม่บรรลุเป้าหมาย หรือไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร สิ่งรบกวนเหล่านี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

5.1 สิ่งรบกวนภายนอก (Physical Noise) ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของผู้รับสาร เช่น เสียงเครื่องจักรทำงาน เสียงเพลงที่ดังเกินไป

5.2 สิ่งรบกวนภายใน (Phychological Noise) ซึ่งเกิดภายในตัวผู้รับสารเอง เช่น หิวข้าว การเหม่อลอย

6. ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หมายถึง วิธีการที่ผู้รับสารแสดงออกมาให้ผู้ส่งสารได้ทราบผลของการสื่อสารว่าสำเร็จแค่ไหน บรรลุเป้าหมายและสร้างความพอใจให้ผู้รับสารมากน้อยเพียงใด เพื่อผู้ส่งสารจะได้นำมาปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือคงสภาพ วิธีการ เนื้อหาสาระของสารและการเลือกสื่อ ซึ่งจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น หรือพิจารณาว่าควรจะสื่อสารต่อไปหรือไม่เพียงใด ปฏิกิริยาตอบกลับนี้อาจจะแสดงออกทางสีหน้า การตั้งคำถาม การพูดโต้ตอบ หรือแสดงความคิดเห็นก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

       6.1 ปฏิกิริยาตอบกลับแบบทันทีทันใด (Immediate Feedback) จะเกิดขึ้นในการสื่อสารแบบที่ผู้ส่งสารหรือผู้รับสารสามารถเห็นหน้ากันได้ (Face to Face Communication) หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)

       6.2 ปฏิกิริยาตอบกลับแบบช้าๆ (Delayed Feedback) ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารมวลชน

ปฏิกิริยาตอบกลับมีด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ ปฏิกิริยาตอบกลับเชิงบวก (Positive) และปฏิกิริยาตอบกลับเชิงลบ (Negative) ในการสื่อสารนั้นปฏิกิริยาตอบกลับเชิงบวกมักจะก่อให้เกิดผลดี เพราะทำให้ผู้ส่งสารสามารถประเมินผลความสำเร็จของการสื่อสารได้ ส่วนปฏิกิริยาตอบกลับเชิงลบจะแจ้งให้ทราบว่าการสื่อสารนั้นผิดพลาด ล้มเหลว หรือบกพร่องอย่างไร ฉะนั้นปฏิกิริยาตอบกลับจึงเป็นกลไกควบคุมกระบวนการสื่อสารด้วย แต่บางครั้งที่ผู้รับสารไม่แสดงปฏิกิริยาตอบกลับให้ผู้ส่งสารทราบ เข่น การสื่อสารมวลชน จะทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารได้

7. ประสบการณ์ (Frame of Reference/Field of Experience) หมายถึง ประสบการณ์ของผู้ส่งสารหรือผู้รับสาร รวมทั้งความรู้และความรู้สึกนึกคิด อารมณ์และทัศนคติ ซึ่งทำให้ความเข้าใจสารของผู้รับสารเหมือนหรือคล้ายคลึงกับผู้ส่งสาร ทำให้ผู้รับสารเข้าใจสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร โดยการใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ตีความหมายของสัญลักษณ์ หรือสารที่รับหรือส่งมา Wilbur Schramm กล่าวว่า มนุษย์เราจะรับรู้และเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆได้ไม่หมด เราจะรับสารได้แต่เพียงเฉพาะสิ่งที่เรามีประสบการณ์ร่วมกับผู้ส่งสารเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน ผู้ส่งสารก็มีความสามารถจำกัดที่จะส่งสารได้ภายในขอบเขตของประสบการณ์ของตนเองเท่านั้น ดังนั้นการสื่อสารจะสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ส่งสารและผู้รับสารมีประสบการณ์ร่วมกันหรือไม่นั่นเอง