ข้อใดอธิบาย ความ หมาย ของสิทธิ มนุษย ชน ได้ชัดเจนที่สุด

1. ข้อใด ไม่ใช่ หลักการของสิทธิมนุษยชน

ก. บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการพักผ่อนจากการทำงาน

ข. บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีเสรีภาพ

ค. บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ

ง. บุคคลมีสิทธิที่จะบังคับผู้อื่นได้


2. ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ก. ตัดสินและลงโทษผู้ที่กระทำผิดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ข. ส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยราชการและองค์กรอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน

ค. เสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

ง. ตรวจสอบและรายงานเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน


3. UNICEF เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ใด

ก. ส่งเสริมความคุ้มครองทางสังคมในแรงงานทุกกลุ่ม

ข. ส่งเสริมด้านการศึกษา

ค. ป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน

ง. ปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกทำร้าย และล่วงละเมิด


4. ประชาชนเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมคือสิทธิด้านใด

ก. สิทธิการเมืองการปกครองและสาธารณะ

ข. สิทธิในการรวมกลุ่มและในชุมชน

ค. สิทธิในความเสมอภาคและการส่งเสริมของรัฐ

ง. สิทธิส่วนบุคคล


5. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับน้ำมีประโยชน์อย่างไร

ก. ทำให้ประชาชนประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย

ข. ทำให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค

ค. ทำให้เกิดองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

ง. ทำให้ประชาชนมีน้ำใช้ได้อย่างไม่จำกัด


6. หน่วยงานใดมีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นกรณีพิพาทระหว่างเอกชนกับหน่วยงานราชการ

ก. สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน

ข. คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งแต่ละจังหวัด

ค. ศาลปกครอง

ง. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


7. ข้อใดเป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน

ก. นายจ้างพาแรงงานต่างด้าวไปขึ้นทะเบียน

ข. นายจ้าง แจ้งสวัสดิการต่าง ๆ แก่ลูกจ้าง

ค. ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้รับค่าโอที

ง. ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน


8. ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ทำได้ด้วยตนเอง

ก. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทางโทรทัศน์ วิทยุ

ข. จัดตั้งหน่วยงานเพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาของคนในชุมชน

ค. แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิที่พบเห็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการแก้ไข

ง. เข้าร่วมฟังการประชุมด้านสังคมและสิทธิมนุษยชนกับประเทศต่าง ๆ


9. เด็กหญิง ก. อาศัยอยู่กับแม่และน้าชาย เด็กหญิง ก. เป็นเด็กพิการทางสายตา อยู่มาวันหนึ่งน้าชายได้ ข่มขืนเด็กหญิง ก. และถูกน้าชายข่มขู่ว่าห้ามบอกใคร มิเช่นนั้นจะถูกฆ่าเด็กหญิง ก. อาศัยอยู่กับแม่และน้าชาย เด็กหญิง ก. เป็นเด็กพิการทางสายตา อยู่มาวันหนึ่งน้าชายได้ ข่มขืนเด็กหญิง ก. และถูกน้าชายข่มขู่ว่าห้ามบอกใคร มิเช่นนั้นจะถูกฆ่า? จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านใด

ก. ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรี

ข. ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการ

ค. ปัญหาการละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์

ง. ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว


10. ข้อใดเป็นการคุ้มครองด้านเสรีภาพ

ก. การพักผ่อนจากการทำงาน

ข. การรักษาพยาบาล

ค. การนับถือศาสนา

ง. การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ชื่อ-นามสกุล :
ชั้น :
เลขที่ :
 
ได้คะแนน :
คิดเป็น :
ผลการสอบ :
 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นของพวกเราทุกคน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ ไม่ว่าคุณจะมีความเชื่ออะไร หรือใช้ชีวิตแบบไหนก็ตาม

สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปได้ แต่บางครั้งสิทธิมนุษยชนอาจถูกจำกัด เช่น ถ้าคุณทำผิดกฎหมาย หรือกระทำการที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ เช่น ความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้น เพราะสิทธิมนุษยชนคือแนวคิดที่ได้รับการนิยาม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights)

ในปี 2491 หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง องค์การสหประชาชาติได้กำหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แบ่งสิทธิและเสรีภาพออกเป็น 30 หมวด เช่น สิทธิในการแสวงหาที่ลี้ภัย สิทธิในการมีเสรีภาพจากการทรมาน สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการศึกษา

ไม่มีใครสามารถพรากสิทธิและเสรีภาพนี้ไปจากเราได้ เพราะสิทธิและเสรีภาพนี้เป็นของพวกเราทุกคน

นับตั้งแต่มีการกำหนดปฏิญญานี้ขึ้นเมื่อเจ็ดสิบปีที่แล้ว ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ถูกใช้เป็นรากฐานของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทุกฉบับ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

 

สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

สิทธิมนุษยชนมีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชาคมโลก ดังนี้

มีความเป็นสากล: สิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์ทุกคน

พรากไปไม่ได้: สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปจากเราได้

ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เพราะสิทธิทุกสิทธิล้วนเกี่ยวข้องกัน: รัฐบาลไม่สามารถเลือกที่จะเคารพสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ สิทธิทุกสิทธิต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน

ทำไมคุณต้องสนใจสิทธิมนุษยชน?

สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎหมาย แต่สิทธิมนุษยชนคือการตัดสินใจ และสิ่งที่เราประสบพบเจอในแต่ละวัน

ถ้าเรารู้สึกไม่ชอบใจในสิ่งที่รัฐบาลทำ ส่วนใหญ่แล้วพวกเราคงไม่รีรอที่จะเอาไปพูดกับเพื่อนไม่ว่าจะในอินเตอร์เน็ต หรือในร้านเหล้า การกระทำนี้อาจดูไม่มีความหมาย แต่มันคือสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก

โดยส่วนใหญ่แล้วคนจะไม่ให้ความสำคัญมื่อมีการเคารพสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น เด็กๆ หลายคนไม่ยอมตื่นนอนไปโรงเรียนทั้งๆ ที่พวกเขาได้รับสิทธิในการศึกษา แต่เด็กๆ ที่ต้องอพยพออกจากประเทศตัวเอง และถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการศึกษาคงมีความสุขที่ได้ไปโรงเรียนทุกวัน


สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว จำนวน 7 ฉบับ จากทั้งหมด 9 ฉบับ ทําให้ประเทศไทยมีพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมไปถึงข้อตกลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประชุมระดับโลก โดยองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่หลักในการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย คือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ได้ระบุถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้หลายมาตราด้วยกัน เช่น ในมาตรา 4 นั้นระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" และ ในหมวดที่ 3 ซึ่งเป็นหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตราที่ 25 ถึง 49 ยังได้บรรยายขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในหลายด้านด้วยกัน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ เสรีภาพในการแสดงออก การไม่ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เป็นต้น


นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดทำ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งจัดทำฉบับแรกในปี 2551 ในขณะที่ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 3 พ.ศ.2557-2561 โดยรัฐบาลได้จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนนําไปใช้ในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิของประชาชนในประเทศต่อไป

การต่อสู้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

พวกเรามักละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการเรื่องความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ หลายครั้งเราจะลุกขึ้นมาต่อสู้และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนก็ต่อเมื่อสิทธิของเราถูกละเมิด

ในความเป็นจริง สิทธิมนุษยชนนั้นถูกละเมิดตลอดเวลา ยังมีคนนับพันทั่วโลกที่ไม่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และถูกจำคุกเพียงเพราะความคิดหรือความเชื่อบางอย่างของพวกเขา อีกทั้ง พลเมืองยังตกเป็นเป้าโจมตีในสงคราม เด็กๆถูกบังคับให้ออกไปรบ การข่มขืนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายคน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงไม่ควรละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และทำไมสิทธิมนุษยชนจึงควรถูกคุ้มครองตามกฎหมาย เพื่อที่เราจะได้เอาผิดและดำรงความยุติธรรมเมื่อรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชน

ข้อใดคือความหมายของสิทธิมนุษยชนได้ชัดเจนที่สุด

1. ข้อใดอธิบายความหมายของสิทธิมนุษยชนได้ชัดเจนที่สุด สิทธิในการปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้องในฐานะมนุษย์ สิทธิที่จะได้รับการบริการจากรัฐและสังคมตามควรแก่อัตภาพ สิทธิในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ชอบธรรม สิทธิที่ทุกคนมีอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์เป็นสิทธิทั้งในการดำรงอยู่ส่วนบุคคลและอยู่ร่วมกันในสังคม

ความสําคัญของสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียม กัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่ง

สิทธิมนุษยชนมีความหมายว่าอย่างไร

สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิดและความเสมอภาค ที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา

แนวคิดในเรื่องใดเป็นต้นกำเนิดของสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (Human Rights) มีพัฒนาการมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะทําให้ศักดิ์ศรี ของ มนุษยชนได้รับการเคารพ ได้การริเริ่มใส่ใจดูแลจากมวลหมู่ประชาชนด้วยการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความ เสมอภาคให้เกิดขึ้นในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก โดยจุดเริ่มต้นของแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเกิดจาก บรรดานักคิดที่มาจากหลากหลายประเพณีและศาสนา ต่อ ...

ข้อใดคือความหมายของสิทธิมนุษยชนได้ชัดเจนที่สุด ความสําคัญของสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง สิทธิมนุษยชนมีความหมายว่าอย่างไร แนวคิดในเรื่องใดเป็นต้นกำเนิดของสิทธิมนุษยชน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในข้อใดที่ทำให้รัฐบาลไทยถูกกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชน การกำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีอยู่ในกฎหมายใด การแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติให้ได้ผลดีตามเป้าหมายนั้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากใคร องค์การระหว่างประเทศที่เข้ามามีบทบาทด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมากที่สุด คือองค์การใด วันสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คือวันใด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนโดยบัญญัติไว้ในหมวดใด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่มีอำนาจบทบาทกว้างขวางมากที่สุด คือองค์กรใด