ประเทศยุโรปชาติใดบ้างที่เป็นเจ้าอาณานิคม

รูปปั้นของพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 ถูกขีดเขียนระหว่างการประท้วงภายใต้แคมเปญ 'Black Lives Matter' ในเบลเยียม

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป กษัตริย์แห่งเบลเยียมอยู่ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ประเทศที่บรรพบุรุษของเขาเคยไปเอาเปรียบในอดีต เพื่อหวังสานสัมพันธ์สองประเทศให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 60 ปี หลังจากที่คองโกประกาศอิสรภาพ

พระราชินีมาตีลด์รวมไปถึงคณะรัฐมนตรีบางส่วน อาทิ นายกรัฐมนตรีอาเล็กซันเดอร์ เดอ โกร ร่วมเดินทางในทริปที่กินเวลา 6 วัน ครั้งนี้ด้วย โดยการเดินทางครั้งนี้ฝั่งเบลเยียมตอบรับคำเชิญจากประธานาธิบดีเฟลิกซ์ ชีเซิกดี ของคองโก

นี่นับเป็นการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี ที่ทั้งพระราชาและพระราชินีแห่งเบลเยียมเยือนคองโก ด้วยกัน

การเดินทางครั้งนี้ยังเกิดขึ้นสองปีให้หลังจากที่สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปออกมาแสดงความ "เสียพระทัยต่ออย่างที่สุด" ต่อ "บาดแผล" ที่ประเทศของพระองค์สร้างเอาไว้ในอดีต

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป สืบสายโลหิตโดยตรงมาจากกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ภายใต้การปกครองของพระองค์นั้น ชาวแอฟริกันกว่า 10 ล้านคนถูกสังหาร นับเป็นหนึ่งในยสมัยที่โหดร้ายที่สุดของยุคล่าอาณานิคม

ในพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปีที่ประเทศได้รับเอกราชจากเบลเยียม สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแสดงความเสียใจเป็นครั้งแรก แต่ไม่มีการเอ่ยขอโทษออกมา การไปเยือนครั้งนี้มอบโอกาสให้กษัตริย์เบลเยียมได้กล่าวขอโทษชาวคองโกอย่างเป็นทางการ

ทว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผู้นำฝั่งตะวันตกต้องตากหน้ารับทราบเรื่องราวการข่มเหงที่เกิดขึ้นในยุคล่าอาณานิคม

บางประเทศออกมาแถลงขอโทษอย่างเป็นทางการ ขณะที่อีกหลายประเทศเพียงแค่แสดงความรับรู้ถึงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น

นักวิจารณ์จำนวนไม่น้อยออกมาแสดงความเห็นว่าคำขอโทษไม่เพียงพอสำหรับการกล่าวถึงประเด็นความรุนแรงในอดีตและมรดกตกทอดของลัทธิล่าอาณานิคมที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงที่ผ่านมา หลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี และฝรั่งเศสตกเป็นเป้าสายตาของสาธารณชนจากการกระทำของผู้นำประเทศในอดีต ในบทความนี้ บีบีซีย้อนไปมองกระแสตอบรับจากสังคมเมื่อฝั่งตะวันตกออกมาขอโทษและทำข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำระหว่างการล่าอาณานิคมในอดีต

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหน้าที่ในยุคล่าอาณานิคมลงโทษชาวคองโกด้วยการตัดมือ โทษดังกล่าวบังคับใช้กับเด็กเช่นกัน

กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ทรงได้รับพื้นที่ขนาดใหญ่บริเวณรอบ ๆ ลุ่มแม่น้ำคองโกจากผู้นำยุโรป ณ การประชุมใหญ่เบอร์ลินในปี 1885 เมื่อกลุ่มผู้นำยุโรปเหล่านั้นต่างแบ่งเขตแดนในทวีปแอฟริกา จนกลายเป็นเหตุกาณ์ที่รู้จักกันในชื่อ "อาณานิคมในแอฟริกา" (Scramble for Africa)

กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ตั้งชื่อดินแดนที่พระองค์ได้รับมาว่า "รัฐอิสระคองโก" สถานที่ซึ่งพระองค์มีอำนาจสูงสุด สามารถทำสิ่งใดก็ได้

รัฐอิสระคองโกกลายเป็นระบอบการปกครองแบบโหดร้ายซึ่งตั้งอยู่บนการใช้แรงงานผู้คนเพื่อค้าขายสินค้า เช่น ยาง งาช้าง และ แร่ต่าง ๆ

เจ้าหน้ารัฐใช้การตัดมือ แขน ขา คนงานหากพวกเขาไม่สามารถทำงานได้ตามโควตาที่เหล่าราชวงศ์ตั้งเอาไว้

ในจุดที่การประท้วงเพื่อชาวแอฟริกันดีภายใต้ชื่อแคมเปญ "คนดำมีค่า" หรือ Black Lives Matter ชาวเบลเยียมนับหมื่น ออกมาเดินขบวนบนท้องถนนเรียกร้องประเทศหันกลับไปมองประวัติศาสตร์ของตัวเอง รูปปั้นของกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ถูกทำลาย จนท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่รัฐต้องมาเคลื่อนย้ายรูปปั้นดังกล่าวออกจากพื้นที่สาธารณะ

"ความเสียใจอย่างสุดซึ้ง" ต่อทาสในจาเมกา

คำบรรยายภาพ,

เจ้าชายวิลเลียมตรัสว่าพระองค์ "เสียใจอย่างสุดซึ้ง" ต่อการค้าทาส ณ ตอนที่เสด็จไปเยือนจาเมกาในเดือนมีนาคม

ระหว่างการไปเยือนประเทศแถบแคริบเบียนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาของราชวงศ์อังกฤษ เจ้าชายวิลเลียมตรัสถึง "ความเสียใจอย่างสุดซึ้ง" ต่อประเด็นทาสระหว่างพิธีเลี้ยงพระกายาหารค่ำในจาเมกา

พระองค์ตรัสว่าทาสเป็นเรื่องน่ารังเกียจ "ไม่น่าเกิดขึ้นเลย" และ "เป็นตราบาปตลอดไปในประวัติศาสตร์ของเรา"

ทว่านักวิจารณ์หลายคนแสดงความเห็นว่า "ความเสียใจ" และ การตระหนักรู้ถึงประวัติศาสตร์ไม่เพียงพอ

ระหว่างการไปเยือน ราชวงศ์อังกฤษเจอเข้ากับการประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รางวงศ์ออกมาจ่ายค่าเสียหายให้กับการค้าทาสในอดีตและอนุญาตให้จาเมกาตัดราชินีออกจากสถานะประมุขแห่งรัฐ

เยอรมนียอมรับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวนามิเบียยุคอาณานิคมอย่างเป็นทางการ

คำบรรยายภาพ,

เชลยศึกถูกจับกุมหลังจากที่กลุ่มต่อต้านชาวโอวาเฮเรโร หากไม่ถูกสังหาร ก็ถูกทรมานอย่างโหดร้าย

เมื่อปี 2021 รัฐบาลเยอรมนีออกมายอมรับอย่างเป็นทางการว่าการสังหารประชากรนับหมื่น ๆ คน ในนามิเบียเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

มีการประเมินว่าชาวโอวาเฮเรโร (Ovaherero) ถึง 60,000 รายถูกสังหาร ตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นกว่า 80% ของตัวเลขชนเผ่าพื้นเมืองดังกล่าวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น อีกทั้ง ชาวนามา (Nama) อีกราว 10,000 คน ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด ถูกนักล่าอาณานิคมชาวเยอรมันสังหารระหว่างปี 1901 - 1908

ที่ดินและปศุสัตว์ของชนเผ่าพื้นเมืองยึงถูกนักล่าอาณานิคมยึดหลังจากพวกเขาลุกขึ้นมาต่อสู้

รัฐบาลเยอรมนีออกมาประกาศว่าจะ "แสดงออกถึงการยอมรับต่อความทุกข์ทรมานขั้นเลวร้ายที่เกิดขึ้น" ทว่ากลับไม่ได้ระบุเป็นค่าชดเชย รัฐบาลเยอรมนีเลือกที่ตกลงเพื่อให้เงินสนับสนุนเพื่อการพัฒนาประเทศมูลค่ามากกว่า 1,100 ล้านยูโร (ราว 40,000 ล้านบาท) แทน

คาดการณ์ว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะถูกทยอยส่งมอบให้ลูกหลานของชาวโอวาเฮเรโรและชาวนามาเป็นระยะเวลา 30 ปี ต่อจากนี้

ทว่าผู้สืบเชื้อสายชนเผ่าที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่าง อูอาฮิมิซา คาอาเปย ไม่รู้สึกยินดีกับข้อตกลงนั้น

"มันเป็นเรื่องตลกแห่งศตวรรษ" เขากล่าว

"เราต้องการให้พวกเขา [รัฐบาลเยอรมนี] เดินทางมาที่นี่และเอ่ยคำขอโทษ เงินนั่นมันเป็นแค่สิ่งที่พวกเขาพูดว่าเขาทำผิดกับเรา"

การประท้วงต่อต้านฝรั่งเศสในแอฟริกา

คำบรรยายภาพ,

การประท้วงต่อต้านฝรั่งเศสเกิดขี้นมากมายในประเทศอดีตอาณานิคม อย่างเช่น มาลี

เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศในทวีปแอฟริกาเคยตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

แม้ผ่านมาถึงหกทศวรรษหลังประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาประกาศอิสรภาพ ผลกระทบในอดีตยังคงส่งผลถึงคนในยุคปัจจุบัน

แอลจีเรียได้รับอิสรภาพครบรอบ 60 ปี ในปีนี้ ประเทศอยู่ภายใต้สงครามถึง 8 ปี ระหว่างปี 1954 - 1962 เพื่อสู้รบจนได้อิสรภาพมาไว้ในครอบครอง

เฉกเช่นเดียวกับประเทศผู้ล่าอาณานิคมในอดีต ฝรั่งเศสต่อต้านที่จะยอมรับบางมิติของประวัติศาสตร์การล่าอาณานิมคม

เมื่อเดือนมกราคมปี 2021 ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ออกมาแถลงอย่างเป็นทางการว่าฝรั่งเศส "จะไม่กลับใจหรือขอโทษ" ต่อการละเมิดที่เกิดขึ้นในแอลจีเรียระหว่าง 132 ปี ของการเป็นเจ้าอาณานิคม ทว่ารัฐบาลจะ "ดำเนินการทางสัญลักษณ์" เพื่อสนับสนุนความปรองดองของทั้งสองประเทศ

หนึ่งปีให้หลัง วุฒิสภาฝรั่งเศสแถลงขอโทษทหารแอลจีเรียอย่างเป็นทางการ ทหารกลุ่มนี้รู้จักกันในชื่อ "ฮาร์กี" พวกเขาต่อสู่ให้กับฝรั่งเศสระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของแอลจีเรีย การขอโทษดังกล่าวถูกมองเป็นจุดเริ่มต้นของการชดเชยสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต

คำขอบคุณ การปรองดอง และการชดเชย

คำบรรยายภาพ,

กษัตริย์ฟีลิปและพระราชานีมาตีลด์สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเสด็จไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี สำหรับคู่รักจากราชวงศ์

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง เคยออกมาวิงวอนขอ "การให้อภัย" และสัญญาว่าจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชดเชยประกาศใช้ออกมา

ระหว่างการปราศรัยของเขาที่กรุงปารีส เมื่อเดือนกันยายนปี 2021 ประธานาธิบดีมาครงถูกผู้ชมส่วนหนึ่งโห่ไล่

อย่างไรก็ดี บางคนยอมรับคำขอโทษนั้น

"มันราวกับว่าประธานาธิบดีของเรายึดถือเอาความจริงเป็นเครื่องนำทางเป็นครั้งแรก" เซิร์จ คาร์เรล อดีตฮาร์กี กล่าว

"ขอบคุณสำหรับความสนใจ สาธารณรัฐจงเจริญ ฝรั่งเศสจงเจริญ"

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่กลุ่มต่าง ๆ รวมถึงประเทศอาณานิคมในอดีตออกมาเรียกร้องให้ประเทศเจ้าอาณานิคมหันมาชดเชยแทนการขอโทษ

ขณะที่แถลงการณ์ขอโทษเป็นเรื่องที่เห็นได้บ่อยขึ้น การจ่ายค่าชดเชยหรือรูปแบบการชดเชยด้วยเม็ดเงินยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นน้อยอยู่

ประเทศบุรุนดีและคองโก ออกมาเรียกร้องเงินชดเชยราว 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) จากเบลเยียมและเยอรมนีตามลำดับ

ชาวคองโกมากมาย เช่นเดียวกับ จูเนียร์ บอมบี พ่อค้าในกินชาซาเมืองหลวงของคองโก ไม่ได้คาดหวังอะไรมากจากการมาเยือนของราชวงศ์เบลเยียมที่กำลังจะเกิดขึ้น

"ในความคิดของผม การมาเยือนครั้งนี้ไม่ได้นำไปสู่อะไร เพราะเชิญ [กษัตริย์เบลเยียม] มาคองโก เพื่อมาทำอะไร พวกนั้นทิ้งเราไว้อย่างโดดเดี่ยว พวกนั้นสูบเอาความมั่งคั่งของเราไป แล้ววันนี้คุณเชิญกษัติรย์เบลเยียมกลับมาอีกเนี่ยนะ"

ขณะที่อีกหลายกลุ่มมีความหวัง ในความคิดของพวกเขานี่คือก้าวแรกสู่ความปรองดองผ่านการยอมรับและระลึกถึงผู้ที่ถูกสังหารในยุคอาณานิคม

"ถ้าจะมีสิ่งสำคัญใดที่เราคาดหวัง สิ่งนั้นคือการที่ [สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป] จะนำชิ้นส่วนที่เหลือของแพทริค เอเมอรี ลูมัมบา กลับมาอย่างที่ให้สัญญาไว้ นี่คือความคาดหวังของเราจริง ๆ" อองตวน โรเจอร์ โลคอนโก ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์กล่าว

ลูมัมบาคือนายกรัฐมนตรีคนแรกของคองโก ทั้งยังเป็นผู้นำคองโกไปสู่อิสรภาพจากเบลเยียมในเดือนมิถุนายน ปี 1960 เขาถูกคุมขังและถูกสังหารเพียงหนึ่งปีให้หลัง

เจ้าหน้าตำรวจเบลเยียมนายหนึ่งยอมรับว่าได้ละลายร่างของลูมัมบาในกรดและเผาร่างที่เหลือทิ้ง ทว่าเขากล่าวว่ายังเก็บฟันของลูมัมบาเอาไว้

เบลเยียมยอมรับว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการสังหารลูลัมบาโดยหลายฝ่ายเชื่อว่าหน่วยข่าวกรองส่วนกลางหรือ CIA ของสหรัฐฯ มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

การนำชิ้นส่วนที่เหลือของร่างลูลัมบากลับคองโก ถูกเลื่อนออกไปจากวิกฤตโควิด-19 ทว่ามีการคาดการณ์ว่าพิธีการส่งมอบฟันโดยสัญลักษณ์จะเกิดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ในเดือนนี้

มีการคาดการณ์ว่าระหว่างการไปเยือนที่จะเกิดขึ้นนั้น จะมีการส่งมอบสิงประดิษฐ์กว่า 80,000 ชิ้นที่ถูกขโมยไปในยุคล่าอาณานิคมคืนให้กับคองโก อีกทั้งกษัตริย์เบลเยียมจะมีพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับการที่เบลเยียมและคองโก จะเริ่มต้นความสันพันธ์ใหม่อีกครั้งและ "เดินหน้าจากอดีตอันเจ็บปวด"

ยุโรปชาติใดบ้างที่เป็นเจ้าอาณานิคม

นอกจากโปรตุเกสและสเปน ในพุทธศตวรรษที่ 22 เนเธอแลนด์ อังกฤษ และฝรั่งเศสเป็นอีก 3 ประเทศหลักที่เข้ายึดครองอาณานิคมในโพ้นทะเลด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ใน พ.ศ. 2145 เนเธอแลนด์ได้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) ขึ้น เพื่อส่งคนเข้าไปตั้งสถานีการค้า และนำสินค้าที่มีค่าจากทวีปเอเชีย โดย ...

ประเทศใดบ้างที่ล่าอาณานิคม

ทวีปอเมริกาเหนือ.
ประเทศบาฮามาส.
ประเทศบาร์เบโดส.
หมู่เกาะเบ (บางส่วนของประเทศฮอนดูรัส).
บริติชอเมริกา (บางส่วนของประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา) อาณานิคมแคนาดา ... .
บริติชฮอนดูรัส (ประเทศเบลีซ).
อาณานิคมจาเมกา (ประเทศจาเมกา).
หมู่เกาะลีเวิร์ด ประเทศแอนติกาและบาร์บูดา ... .
ชายฝั่งมอสคีโท (บางส่วนของประเทศนิการากัวและประเทศฮอนดูรัส).

ประเทศอาณานิคมคืออะไร

น. เมืองขึ้น, ประเทศที่อยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศอื่น. อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]

ชาติใดที่ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา

นับตั้งแต่นั้นมาดินแดนในทวีปแอฟริกาก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ โดยการเข้าครอบครองของอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเยอรมนี ส่วนโปรตุเกสนั้นยังคงรักษาสถานีการค้าของตนไว้ได้ที่อังโกลาและโมซัมบิก