ประเทศใดมีถ่านหินมากที่สุด

     บริษัทฯ ประกอบธุรกิจการผลิตและจัดจำหน่ายถ่านหินเป็นธุรกิจหลักทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีฐานการผลิตและจัดจำหน่ายถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินธุรกิจบริการการขนส่งทางทะเลในประเทศสิงคโปร์เพื่อรองรับและจัดการการขนส่งถ่านหินมายังประเทศไทยและต่างประเทศ

ลักษณะของถ่านหิน
     ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติชนิดหนึ่งประกอบด้วยสารที่ระเหยได้ชนิดต่างๆ ความชื้นและแร่ธาตุที่สำคัญคือ คาร์บอน (CARBON) ซึ่งเป็นส่วนที่จะเผาไหม้ได้ เมื่อสารระเหยและความชื้นถูกขับไล่ออกไปจะมีขี้เถ้าจำนวนเล็กน้อยเหลืออยู่หลังจากเผาไหม้แล้ว ถ่านหินสามารถจัดแบ่งตามคุณภาพโดยพิจารณาค่าความร้อน (CALORIFIC VALUE) ปริมาณสารระเหย (VOLATILE MATTER) และปริมาณคาร์บอนคงที่ (FIXED CARBON) เรียงลำดับจากคุณภาพที่ดีที่สุดได้ 4 กลุ่มคือ (1) ANTHRACITE, (2) BITUMINOUS, (3) SUB-BITUMINOUS และ (4) LIGNITE สำหรับถ่านหินที่สำรวจพบ และพัฒนาขึ้นมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจะเป็นประเภทถ่านลิกไนต์ ส่วนถ่านหินที่นำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นประเภท BITUMINOUS ซึ่งมีค่าความร้อนสูงกว่าถ่านลิกไนต์ที่ผลิตในประเทศ
     คุณสมบัติถ่านหินที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาซื้อขายโดยปกติจะประกอบด้วยค่าความร้อน (CALORIFIC VALUE) ปริมาณความชื้น (MOISTURE) ปริมาณสารระเหย (VOLATILE MATTER) ปริมาณคาร์บอนคงที่ (FIXED CARBON) ปริมาณขี้เถ้า (ASH) ปริมาณกำมะถัน (SULPHUR) และขนาดของก้อนแร่ (SIZE) ที่ผลิตออกจำหน่าย

การผลิตถ่านหิน
     ถ่านหินเกิดจากการสะสมตัวของซากพืชที่ทับถมอยู่ในหนอง คลอง บึงเป็นเวลานานนับล้านปี และค่อยๆ จมตัวลงใต้ผิวดินจนซากพืชกลายสภาพมาเป็นถ่านหิน โดยผลของการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก และขบวนการตามธรรมชาติในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมา ดังนั้นการที่จะนำถ่านหินขึ้นมาใช้จึงต้องมีการสำรวจค้นหาโดยการศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาใต้ผิวดิน เพื่อให้ทราบถึงความหนาของชั้นถ่านหิน ขอบเขตพื้นที่การกระจายตัวของแหล่งถ่านหิน คุณภาพทางเคมี และปริมาณสำรองในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อพัฒนาแหล่งถ่านหินดังกล่าวต่อไป ดังนั้นการผลิตถ่านหินจึงแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้

(1) การสำรวจ : เริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูลธรณีวิทยาผิวดินและโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายในเบื้องต้นแล้วทำการเจาะสำรวจ (SCOUT DRILLING) เพื่อศึกษาการสะสมตัวของชั้นดิน หินและโครงสร้างทางธรณีวิทยาของพื้นที่เพื่อให้แน่ใจว่ามีถ่านหินสะสมตัวอยู่ รวมทั้งประเมินคุณภาพและปริมาณสำรองของถ่านหินในเชิงพาณิชย์ประกอบการตัดสินใจที่จะพัฒนาแหล่งถ่านหินดังกล่าวเพื่อเปิดการทำเหมืองต่อไป

(2) การทำเหมือง : ก่อนจะเปิดการทำเหมืองจำเป็นต้องทำการเจาะสำรวจในขั้นละเอียด (DETAIL DRILLING) เพื่อหาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของพื้นที่ ได้แก่ ปริมาณสำรองและคุณภาพในแต่ละระดับของการวางตัวของชั้นถ่านหินรวมทั้งชั้นดินที่ปิดทับอยู่ ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาใช้ในการกำหนดแผนแม่บทในการทำเหมือง (MINE MASTER PLAN) ซึ่งจะรวมถึงการศึกษาต้นทุนและวิธีการเปิดเหมืองตลอดจนศึกษาปริมาณและบริเวณที่จะขุดขนส่งหน้าดินหรือถ่านหินในแต่ละขั้นตอนและการเลือกเครื่องจักรเครื่องมือที่เหมาะสมกับการทำเหมืองด้วย

(3) การแต่งแร่ : ถ่านหินที่ขุดได้จากการทำเหมืองจะต้องผ่านการแต่งแร่เพื่อให้ได้ถ่านหินที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือลูกค้า ซึ่งมีขั้นตอนตั้งแต่บด ย่อย คัดขนาด รวมทั้งคัดสิ่งเจือปนออก โดยการร่อน และล้างเป็นต้น

การกำหนดราคาถ่านหิน
     ราคาขายถ่านหินจะกำหนดตามค่าความร้อนเป็นหลักเช่นเดียวกับการกำหนดราคาขายเชื้อเพลิงชนิดอื่น ราคาขาย ถ่านหินสำหรับลูกค้าแต่ละรายจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ คือปริมาณที่สั่งซื้อ ข้อกำหนดด้านคุณภาพ เช่น ค่าความร้อน ระยะเวลาชำระเงินและเงื่อนไขอื่นที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดราคาขายถ่านหินสำหรับลูกค้าทุกรายโดยเสมอภาคกัน การกำหนดราคาขายถ่านหินที่นำเข้าจากต่างประเทศขึ้นอยู่กับการตกลงของลูกค้าแต่ละรายซึ่งอาจจะเป็นราคา FOB หรือ CIF หรือราคาส่งถึงโรงงานของผู้ซื้อ เป็นต้น

การจัดจำหน่าย
     วิธีการจัดจำหน่ายถ่านหินในประเทศจะจำหน่ายให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้โดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ส่วนการขายถ่านหินในต่างประเทศจะจำหน่ายให้ลูกค้าหรือผู้ใช้โดยตรงและขายผ่านพ่อค้าคนกลางด้วย ส่วนใหญ่จะขายเป็นเงินเชื่อซึ่งบริษัทฯ จะพิจารณาให้เครดิตเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ที่มีการซื้อขายกันมานานหลายปีและมีฐานะการเงินมั่นคงเท่านั้น ส่วนลูกค้าที่เพิ่งจะเริ่มทำการซื้อขายกันครั้งแรก บริษัทฯ จะให้ลูกค้าเปิด LETTER OF CREDIT (L/C) ซึ่งตั้งแต่เปิดกิจการในปี 2528 จนถึงปัจจุบันบริษัทฯ มีปัญหาหนี้สูญจากการจำหน่ายถ่านหินน้อยมาก

กลยุทธ์ในการแข่งขัน
     บริษัทฯ จะเน้นการให้บริการและการควบคุมคุณภาพถ่านหินเป็นกลยุทธ์หลักในการแข่งขันแทนการใช้กลยุทธ์ด้านราคา นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้พัฒนาวิธีการผลิตถ่านหินให้ได้คุณภาพดี โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบการผลิตถ่านหินอย่างสม่ำเสมอ

ภาวะการแข่งขัน
     ธุรกิจการจำหน่ายถ่านหินในประเทศเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการน้อยราย (OLIGOPOLY MARKET) โดยมีลูกค้าที่เป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และขนาดเล็กโดยมีคู่แข่งขันที่สำคัญคือบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้บริษัทฯ มีเหมืองถ่านหินที่มีคุณภาพสูงเป็นของตนเองและยังมีปริมาณสำรองในเชิงพาณิชย์อีกหลายสิบปี จึงมีจุดแข็งและศักยภาพในการแข่งขันที่ดี

แนวโน้มอุตสาหกรรม

ประเทศใดมีถ่านหินมากที่สุด

     สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (“COVID-19”) ยังคงมีเกิดขึ้นอยู่ทั่วโลกตลอดช่วงปี 2564 ซึ่งนับเป็นปีที่สองต่อเนื่องจากปี 2563 ที่เป็นปีแรกที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 อย่างไรก็ตามด้วยมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 เริ่มคลี่คลายลงในหลายประเทศทั่วโลก ด้วยความจำเป็นทางเศรษฐกิจและเพื่อให้การใช้ชีวิตของประชาชนกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ประเทศต่างๆ เริ่มปรับตัวโดยผ่อนคลายมาตรการควบคุมพื้นที่และมีการเปิดประเทศกันมากขึ้น ส่งผลทำให้การบริโภคอุปโภค ภาคการผลิตในระบบอุตสาหกรรม การส่งออกรวมถึงการท่องเที่ยวและงานบริการต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น พลวัตทางเศรษฐกิจได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้นและสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งทำให้ยอดการใช้พลังงานทุกชนิดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปริมาณการใช้ถ่านหินทั่วโลกในปี 2564 ที่สูงขึ้นจากปี 2563 กว่าร้อยละ 6 หรืออยู่ที่ประมาณ 7,906 ล้านเมตริกตัน โดยเฉพาะที่ประเทศจีนมีปริมาณการใช้ถ่านหินสูงถึง 4,130 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4 จากปี 2563 และประเทศอินเดียมีปริมาณการใช้ถ่านหินในปี 2564 ประมาณ 1,056 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13 จากปี 2563 โดยยอดรวมการใช้ถ่านหินจากทั้ง 2 ประเทศดังกล่าวมีมากกว่าร้อยละ 65 หรือประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาณการใช้ถ่านหินของโลก ซึ่งยังไม่นับรวมถึงปริมาณการใช้จากประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ เช่น ประเทศปากีสถานและประเทศบังคลาเทศที่มีอัตราการเติบโตของปริมาณการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ สำหรับในส่วนของตลาดและราคาโดยเฉพาะตลาดส่งออกของประเทศผู้ผลิตถ่านหินหลัก อาทิเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศออสเตรเลีย และประเทศแอฟริกาใต้ก็ได้ทำสถิติราคาถ่านหินสูงที่สุดในประวัติการณ์และสูงกว่าปี 2551 ที่เป็นสถิติสูงที่สุดก่อนหน้า ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการการส่งมอบถ่านหินที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาเดียวกัน กอปรกับแรงกดดันในภาคการผลิตถ่านหินที่มีข้อจำกัดในการที่ผู้ประกอบการทำเหมืองถ่านหินจะสามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตถ่านหินที่ได้มีการปรับลดลงหรือชะลอการผลิตไปในช่วงปี 2563 ที่มีผลกระทบจากการแพร่ระบาดรุนแรงของโรคติดเชื้อ COVID-19 รวมถึงสภาวะอากาศที่มีมรสุมและฝนตกมากอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผู้ประกอบการขาดความพร้อมและมีเครื่องจักรมีจำนวนไม่เพียงพอสำหรับการเพิ่มกำลังการผลิต และปัญหาด้านระบบขนส่งโลจิสติกส์อันเกิดจากปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากจากความต้องการโดยรวม

     สำหรับแนวโน้มความต้องการใช้ถ่านหินจากผลการศึกษาของ Energy Information Administration (“EIA”) บนพื้นฐานจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปริมาณความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า กำลังการผลิตของแต่ละประเภทของการผลิตไฟฟ้า ต้นทุนเชื้อเพลิงและราคาพลังงานชนิดต่างๆ การใช้ถ่านหินในอุตสาหกรรมอื่น การใช้ถ่านหินในการผลิตความร้อนให้กับครัวเรือนในช่วงฤดูหนาว รวมถึงผลอันจะเกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่นานาประเทศได้ตกลงกันในปี 2558 เพื่อร่วมมือกันลดการปล่อยมลพิษก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อปกป้องธรรมชาติและลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดยคาดว่าหลังจากปี 2564 จนถึงปี 2567 จะมีปริมาณการใช้ถ่านหินของทั้งโลกเพิ่มสูงขึ้นจาก 7,906 ล้านเมตริกตันในปี 2564 เป็น 8,013 ล้านเมตริกตันในปี 2567 แต่เป็นอัตราการเติบโตของปริมาณการใช้ถ่านหินที่ช้าลง โดยปริมาณการใช้ถ่านหินที่เพิ่มขึ้นจะมาจากประเทศจีนเพิ่มขึ้น 135 ล้านเมตริกตัน ประเทศอินเดียเพิ่มขึ้น 129 ล้านเมตริกตันและจากกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้น 50 ล้านเมตริกตัน ในขณะที่ปริมาณการใช้ถ่านหินลดลงจากสหภาพยุโรป 102 ล้านเมตริกตันและจากประเทศสหรัฐอเมริกา 77 ล้านเมตริกตัน การคาดการณ์ข้างต้นอยู่ภายใต้การประมาณการ Global GDP ที่ 4% (Compound Average Annual Growth Rate) จากปี 2565 ถึงปี 2567 สำหรับปัจจัยหลักที่จะส่งผลทางลบต่อการประเมินปริมาณการใช้ถ่านหินโลกดังกล่าวจะมาจากการที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจอาจจะไม่เป็นไปตามการประมาณการข้างต้นและโดยเฉพาะกับผู้ใช้รายใหญ่ประเทศจีนที่มีผลกระทบอย่างมากต่อปริมาณการใช้ถ่านหินโดยรวมอีกตัวแปรหนึ่งที่จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการปรับสัดส่วนของชนิดพลังงานคือส่วนต่างของราคาแก๊สธรรมชาติกับถ่านหินที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

     สำหรับตลาดส่งออกถ่านหินยังมีโอกาสที่จะพบกับความผันผวนในอัตราที่สูงอันเนื่องจากประเทศผู้ใช้หลักโดยเฉพาะประเทศจีนที่ดำเนินการผลิตถ่านหินใช้เองในประเทศเป็นส่วนใหญ่และสามารถปรับเพิ่มหรือลดการนำเข้าถ่านหินได้จากการปรับกำลังการผลิตและการใช้ภายในประเทศของตนเองได้ รวมถึงนโยบายของรัฐ หรือจากส่วนต่างของราคาถ่านหินระหว่างตลาดในประเทศและการนำเข้าและสำหรับประเทศผู้ผลิตและส่งออกถ่านหินอย่างประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียก็มีข้อจำกัดในการปรับเพิ่มกำลังการผลิตและการลงทุนในโครงการเหมืองถ่านหินแหล่งใหม่ในขณะที่ราคาถ่านหินตกต่ำในปี 2563 กอปรกับแนวโน้มที่ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งจะเพิ่มปริมาณการใช้ถ่านหินในประเทศให้มากขึ้นและรัฐบาลเองมีกลไกในการกำหนดและควบคุมการส่งออกถ่านหินของประเทศที่สามารถนำมาใช้ได้ด้วย


ลักษณะการประกอบธุรกิจถ่านหิน

ธุรกิจถ่านหินในประเทศ
     บริษัทฯ นำเข้าถ่านหินจากเหมืองร่วมทุนและจากแหล่งอื่นในประเทศอินโดนีเซียมาจำหน่ายให้กับลูกค้าในประเทศไทย โดยขายแบบส่งตรงให้ลูกค้าและนำเข้ามาสต๊อกไว้ ณ ศูนย์จำหน่ายถ่านหินอยุธยาซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง โดยศูนย์จำหน่ายถ่านหินอยุธยามีเนื้อที่ทั้งสิ้น 31 ไร่ 29 ตารางวาสามารถรองรับการนำเข้าถ่านหินมาสต๊อกได้ถึง 200,000 เมตริกตัน โดยบริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดถ่านหินในประเทศสำหรับปี 2564 ประมาณร้อยละ 5 ของปริมาณถ่านหินที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมโดยไม่รวมถ่านหินที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ (IPP) และรายเล็ก (SPP) ซึ่งการใช้ถ่านหินในประเทศในปี 2564 ส่วนใหญ่จะใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์คิดเป็นร้อยละประมาณ 33 และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นคิดเป็นร้อยละประมาณ 67 ทั้งนี้ไม่รวมการผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (“ELECTRICITY GENERATING AUTHORITY OF THAILAND” หรือ “EGAT”) คาดว่าการใช้ถ่านหินซึ่งมีราคาต่อหน่วยของค่าความร้อนที่ต่ำกว่าน้ำมันและเชื้อเพลิงอื่นจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ประเทศใดมีถ่านหินมากที่สุด

ธุรกิจถ่านหินในต่างประเทศ
     บริษัทฯ ได้เข้าไปร่วมลงทุนทำเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียมาเป็นเวลามากกว่า 20 ปีแล้ว โดยบริษัทฯ ได้นำเข้าถ่านหินจากเหมืองร่วมทุนในประเทศอินโดนีเซียมาจำหน่ายให้กับลูกค้าในประเทศไทยและส่งไปจำหน่ายยังประเทศอื่นด้วยโดยเฉพาะตลาดในแถบภูมิภาคเอเชีย เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เป็นต้น โดยถ่านหินที่บริษัทฯ ผลิตออกจำหน่ายมีคุณภาพและมี BRAND เป็นที่เชื่อถือของลูกค้าทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่น่าเชื่อถือในธุรกิจถ่านหินในภูมิภาคเอเชีย

     PT. LANNA HARITA INDONESIA (“LHI”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่จดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซีย โดยบริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นทางตรงร้อยละ 55 ของทุนที่ชำระแล้ว ประกอบธุรกิจทำเหมืองถ่านหินที่อำเภอ ซามารินดา และอำเภอคูเตย จังหวัดกาลิมันตันตะวันออก โดยได้รับสัมปทาน (COAL CONTRACT OF WORK) จากรัฐบาลแห่งประเทศอินโดนีเซียเพื่อผลิตถ่านหินออกจำหน่ายมีกำหนดเวลา 30 ปี (เริ่มตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2574) โดยมีปริมาณสำรองถ่านหินคงเหลือไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเมตริกตัน และมีกำลังการผลิตถ่านหินออกจำหน่ายปีละประมาณ 3.5 ล้านเมตริกตัน

     PT. SINGLURUS PRATAMA (“SGP”) เป็นบริษัทย่อยที่จดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซียโดยบริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นทางตรงร้อยละ 65 ของทุนที่ชำระแล้ว ประกอบธุรกิจทำเหมืองถ่านหินที่อำเภอคูเตย จังหวัดกาลิมันตันตะวันออก โดยได้รับสัมปทาน (COAL CONTRACT OF WORK) จากรัฐบาลแห่งประเทศอินโดนีเซียเพื่อผลิตถ่านหินออกจำหน่ายมีกำหนดเวลา 30 ปี (เริ่มตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2582) โดยมีปริมาณสำรองถ่านหินคงเหลือไม่ต่ำกว่า 43 ล้านเมตริกตัน โดยได้เพิ่มกำลังการผลิตถ่านหินออกจำหน่ายจากปี 2564 ที่ประมาณ 3.5 ล้านเมตริกตันเพิ่มขึ้นเป็น 4-5 ล้านเมตริกตันในปีต่อๆไป โดย SGP ได้ดำเนินการพัฒนาถ่านหินแหล่งใหม่ (ARGOSARI BLOCK หรือ “AG”) ในพื้นที่สัมปทานเหมืองถ่านหินของ SGP เรียบร้อยแล้ว โดยได้ก่อสร้างถนนลำเลียงถ่านหิน (HAULING ROAD) และท่าเทียบเรือ (PORT AND JETTY) รวมทั้งโรงแต่งแร่และพื้นที่กองเก็บถ่านหินบริเวณท่าเทียบเรือที่สามารถกองเก็บถ่านหินได้ประมาณ 140,000 เมตริกตันและมีสายพานลำเลียงถ่านหินยาวประมาณ 1.70 กิโลเมตรทอดลงไปที่ท่าเทียบเรือในทะเล และได้เริ่มผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากแหล่ง AG แล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมา โดยวางแผนผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากแหล่ง AG ประมาณ 2-3 ล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพดีที่มีค่าความร้อนสูงประมาณ 4,600-5,000 KCAL/KG (GAR) และปริมาณ SULPHUR ต่ำซึ่งคาดว่าจะทำตลาดได้ง่ายและมีอัตรากำไรที่ดี นอกจากนั้น SGP อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาถ่านหินแหล่งใหม่ (MARGOMULYO BLOCK หรือ “MG”) โดยจะเริ่มผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากแหล่ง MG ภายในปี 2565 ที่ประมาณ 0.5 ล้านเมตริกตันก่อนที่จะเพิ่มเป็น 1-1.5 ล้านเมตริกตันในปีต่อๆไป

     PT. PESONA KHATULISTIWA NUSANTARA (“PKN”) เป็นบริษัทย่อยที่จดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซียโดยบริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นทางตรงร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ประกอบธุรกิจทำเหมืองถ่านหินที่เมืองบูลุงงัน จังหวัดกาลิมันตันเหนือ โดยได้รับสัมปทาน (COAL CONTRACT OF WORK) จากรัฐบาลแห่งประเทศอินโดนีเซียเพื่อผลิตถ่านหินออกจำหน่ายมีกำหนดเวลา 30 ปี (เริ่มตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2582) โดยมีปริมาณสำรองถ่านหินคงเหลือไม่ต่ำกว่า 36 ล้านเมตริกตัน และมีกำลังการผลิตถ่านหินออกจำหน่ายในปี 2564 ที่ประมาณ 3.5 ล้านเมตริกตัน และได้วางแผนผลิตถ่านหินออกจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 ล้านเมตริกตันในปี 2565

ประเทศใดมีถ่านหินมากที่สุด
   
ประเทศใดมีถ่านหินมากที่สุด

     UNITED BULK SHIPPING PTE. LTD. (“UBS”) เป็นบริษัทร่วมที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ โดยบริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นทางตรงร้อยละ 49 ของทุนที่ชำระแล้ว ประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลและซื้อขายถ่านหิน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและบริหารการขนส่งถ่านหินที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยและหรือส่งไปจำหน่ายยังประเทศอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำ

ประเทศใดมีถ่านหินมากที่สุด
   
ประเทศใดมีถ่านหินมากที่สุด