ไทยส่งออกข้าวไปประเทศใดบ้าง

วันนี้ 11 ก.ย. ุ65  นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวไทยและสถานการณ์ข้าวไทย ณ เดือน ส.ค. 65 โดยคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ ได้รายงานปริมาณการส่งออกข้าวไทยเทียบกับประเทศผู้ส่งออกสำคัญ (อ้างอิงข้อมูลจากกรมศุลกากรและใบอนุญาตส่งออกข้าว) ว่า ในปี 2565 (ม.ค.- ส.ค.) อินเดียส่งออกข้าวได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 11.23 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ ไทย 4.75 ล้านตัน เวียดนาม 4.25 ล้านตัน ปากีสถาน 2.47 ล้านตัน และสหรัฐฯ 1.49 ล้านตันตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 64 (ม.ค.-ส.ค.) ในปี 65 ไทย มีปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น จาก 3.10 ล้านตัน เป็น 4.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.23 โดยมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับอ่อนค่า เมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ราคาข้าวไทยอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ มีราคาใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น เวียดนาม เมียนมา ผู้นำเข้าข้าวจึงให้ความสนใจนำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้น อีกทั้งการส่งออกข้าวของไทยไปยังกลุ่มประเทศผู้นำเข้าในภูมิภาคตะวันออกกลางโดยเฉพาะอิรัก ยังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ การส่งออกข้าวไทยในช่วงที่ผ่านมานั้น เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้มีการนำเข้าข้าวไทยไปใช้ทดแทนข้าวสาลีและข้าวโพดในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นด้วย

นายอนุชากล่าวถึง การส่งออกข้าวของไทยจำแนกตามชนิดข้าว ในช่วง ม.ค.-ก.ค. 65 ไทยมีปริมาณการส่งออกข้าวรวม 4.09 ล้านตัน โดยส่งออกข้าวขาวเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 1.93 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.19 ของปริมาณการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ข้าวหอมมะลิไทย 0.98 ล้านตัน (23.96%) ข้าวนึ่ง 0.70 ล้านตัน (17.11%) ข้าวหอมไทย 0.28 ล้านตัน (6.85%) ข้าวเหนียว 0.16 ล้านตัน (3.91%) และข้าวกล้อง 0.03 ล้านตัน (0.73%) ตามลำดับ

โดยประเทศที่นำเข้าข้าวที่สำคัญ ‘ข้าวขาว’ ได้แก่ อิรัก จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ โมซัมบิก อังโกลา มาเลเซีย แคเมอรูน สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนประเภท ‘ข้าวหอมมะลิไทย’ ได้แก่ สหรัฐ เซเนกัล ฮ่องกง จีน แคนาดา สิงคโปร์ โกตดิวัวร์ เยเมน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ส่วนตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทยแบ่งตามภูมิภาค ปี 2565 (ม.ค.-ก.ค.) อันดับหนึ่ง คือ ภูมิภาคแอฟริกา คิดเป็นสัดส่วน 29.83% ของปริมาณการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ตะวันออกกลาง 26.89% เอเชีย 23.23% อเมริกา 12.96% ยุโรป 4.40% และโอเชียเนีย 2.69% ตามลำดับ

นายอนุชากล่าวต่อไปถึงแนวโน้มสถานการณ์การส่งออกข้าวไทย ว่า เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้หารือและเห็นชอบร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ให้ปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกข้าวไทยปี 2565 จากเดิมที่กำหนดไว้ปริมาณ 7 ล้านตัน เป็น 7.5 ล้านตัน ซึ่งหากการส่งออกข้าวไทยเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะทำให้ไทยสามารถส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 จากปีก่อน โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค.-ก.ค.) ไทยส่งออกข้าวได้ปริมาณ 4.09 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.76 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้ว ทำให้การส่งออกข้าวไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีปัจจัยสนับสนุน อาทิ ปริมาณน้ำฝนและน้ำในอ่างเก็บน้ำมีเพียงพอต่อการเพาะปลูกทำให้มีผลผลิตมาก ราคาข้าวไทยอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ค่าเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่อ่อนค่า การฟื้นตัวของตลาดอิรักต่อการส่งออกข้าวไทย ทำให้ไทยส่งออกข้าวไปยังอิรักได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เฉลี่ยมากกว่า 100,000 ตันต่อเดือน และทำให้อิรักกลายมาเป็นตลาดผู้นำเข้าข้าวอันดับที่ 1 ของไทย และมีการนำเข้าข้าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศเพิ่มขึ้น

“นอกจากนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดการณ์สถานการณ์การเพาะปลูกข้าวไทย ปี 2565/66 รอบที่ 1 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 62.84 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.02 ล้านไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 60.58 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.73 ล้านไร่ และผลผลิต 26.92 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.55 ล้านตันข้าวเปลือก เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับราคาข้าวเปลือกยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมข้าวไทยมีโอกาสและปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนให้เติบโต ทั้งด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ความเชื่อมั่นต่อมาตรฐานของข้าวไทยที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาข้าวไทยสามารถแข่งขันได้ และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะกำกับให้ทุกฝ่ายร่วมกันส่งเสริมศักยภาพด้านการผลิตและการส่งออกข้าวของไทย ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้านการผลิตและการส่งออกอย่างเคร่งครัด เพื่อคงคุณภาพข้าวไทยในตลาดโลกให้ดีอยู่เสมอ รวมทั้งรัฐบาลจะเร่งรัดผลักดันศักยภาพการส่งออกข้าวไทยอย่างต่อเนื่อง” นายอนุชากล่าว

แม้ตลาดส่งออกข้าวไทยจะเคยรุ่งเรืองมาอย่างยาวนานในอดีต แต่ในปีที่ผ่านมาการส่งออกข้าวไทยประสบกับฝันร้าย จากจำนวนปริมาณการส่งออกที่เหลือเพียง 7.58 ล้านตัน และเป็นยอดการส่งออกที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2556 ที่ประเทศไทยส่งออกข้าวได้เพียง 6.61 ล้านตัน มูลค่า 133,839 ล้านบาท อ้างอิงจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ยอดส่งออกข้าวไทย ได้เท่าไร

2561

11.23 ล้านตัน

182,082 ล้านบาท

 

2562

7.58 ล้านตัน

130,544 ล้านบาท

 

มกราคม-มีนาคม 2563

1.47 ล้านตัน

28,497 ล้านบาท

 

การส่งออกข้าวของไทยในปีนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย มีความกังวลว่า ประเทศไทยอาจจะต้องเสียแชมป์อันดับสองการส่งออกข้าวให้กับเวียดนาม ที่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีความหอมนุ่มจนเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก

ในปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยพบว่าไทยมีการส่งออกข้าวอันดับสอง 7.58 ล้านตัน ส่วนเวียดนามอันดับสาม 6.37 ล้านตัน ส่วนอินเดียอันดับหนึ่ง 9.77 ล้านตัน

 

3 ประเทศที่ส่งออกข้าวสูงสุดปี 2562

อินเดีย 9.77 ล้านตัน

ไทย 7.58 ล้านตัน

เวียดนาม 6.37 ล้านตัน

 

ดูแล้วการส่งออกข้าวเวียดนามยังตามไทยอยู่ประมาณล้านตันกว่า แต่ถ้านำตัวเลขการส่งออกข้าวไทยในเดือนมกราคม ปี 2563 เปรียบเทียบกับมกราคม 2562 พบว่า เวียดนามมีการเติบโตของยอดส่งออกข้าวอย่างก้าวกระโดด ส่วนไทยและอินเดียมียอดการส่งออกที่ลดลงกว่าที่ผ่านมา

25622563อินเดีย0.98 ล้านตัน0.71 ล้านตันลดลง 27.6%ไทย0.95  ล้านตัน 0.57 ล้านตันลดลง 40.1%เวียดนาม0.37 ล้านตัน0.71 ล้านตันเพิ่มขึ้น 51%

*เฉพาะมกราคม

การที่ข้าวไทยส่งออกลดลงมาจากอะไร

1.คนทั่วโลกต้องการรับประทานข้าวที่นุ่มมากขึ้น แต่เวียดนามก็มี

ในวันนี้พฤติกรรมคนทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนไป จากการรับประทานข้าวที่แข็ง หรือข้าวอะไรก็ได้ เป็นข้าวที่มีความนุ่มหอมมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้แทนที่จะเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทย ประเทศที่มีการส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับต้นๆ ของโลก

 

ไทยส่งข้าวอะไรไปขาย

ข้าวขาว 3.21 ล้านตัน ลดลง 45.9%

ข้าวนึ่ง 2.23 ล้านตัน ลดลง 20.4%

ข้าวหอมมะลิ 1.41 ล้านตัน ลดลง 15.6%

ข้าวหอมไทย 0.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 13.3%

ข้าวเหนียว 0.22 ล้านตัน ลดลง 43.6%

อ้างอิงปี 2562

 

แต่โอกาสนี้กับมีความท้าทายคือเวียดนามมีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ๆ เช่น ข้าวนางฮวา สายพันธุ์ ST21, ST24 และ DT8 ให้มีความหอมนุ่มยิ่งขึ้นใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิเข้ามาแข่งขันในตลาด จากเดิมที่เวียดนามมีเพียงข้าวขาวธรรมดาเท่านั้น และมีราคาจำหน่ายที่ถูกกว่าประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยมีค่าเงินบาทที่แข็งตัว

และทำให้ไทยต้องสูญเสียตลาดข้าวที่สำคัญอย่างฟิลิปปินส์ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย ให้กับเวียดนาม

จากเดิมที่ไทยเคยขายข้าวให้

ฟิลิปปินส์ จาก 1.03 ล้านตันในปี 2561 เหลือเพียง 0.33 ล้านตันในปี 2562

จีน 1.00 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือเพียง 0.47 ล้านตันในปี 2562

มาเลเซีย จาก 0.48 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ  0.92 ล้านตันในปี 2562

ฮ่องกง จาก 0.19 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ  0.17 ล้านตันในปี 2562

 

นอกจากนี้ เวียดนามยังได้เซ็นสัญญาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) และเป็นสมาชิกหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ทําให้เวียดนามมีโอกาสขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกในกลุ่ม CPTPP มากขึ้น จากโควตาที่สหภาพยุโรปให้กับเวียดนามสามารถนำเข้าข้าวได้ปีละ 80,000 ตัน ในอัตราภาษี 0% มาจำหน่าย

 

ยอดส่งออกข้าวไทย ส่งไปไหนกัน

แอฟริกา 3.99 ล้านตัน ลดลง 24.2%

เอเชีย 1.78 ล้านตัน ลดลง 56.5%

อเมริกาและแคนาดา  0.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.6%

ตะวันออกกลาง 0.48 ล้านตัน ลดลง 4.6%

ยุโรป 0.36 ล้านตัน ลดลง 5.4%

ออสเตรเลียและอื่นๆ 0.16 ล้านตัน ลดลง 25.2%

 

5 ประเทศซื้อข้าวไทยสูงสุด

เบนิน 1.07 ล้านตัน มูลค่า 13,000 ล้านบาท

แอฟริกาใต้ 0.73 ล้านตัน มูลค่า 9,168 ล้านบาท

สหรัฐอเมริกา 0.56 ล้านตัน มูลค่า 19,269 ล้านบาท

แคเมอรูน 0.53 ล้านตัน มูลค่า 6,708 ล้านบาท

จีน 0.47 ล้านตัน มูลค่า 9,336 ล้านบาท

อ้างอิงในปี 2562

ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 

2.ค่าเงินบาทที่แข็งค่า

ในปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และการแข่งค่าของเงินบาท เป็นความท้าทายที่สำคัญในธุรกิจส่งออกไทยในทุกๆ มิติ รวมถึงการส่งออกข้าวไทยที่มีราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น โดยข้อมูลจากสมาคมส่งออกข้าวไทยพบว่าประเทศไทยมีราคาจำหน่ายข้าวสูงกว่าประเทศคู่แข่ง 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 2,570 บาทต่อตัน จนในบางประเทศเปลี่ยนจากการสั่งข้าวไทยมาเป็นข้าวจากประเทศอื่นๆ ทดแทน เพื่อต้นทุนที่ถูกลงจากเดิม

 

ประเทศไทยปลูกข้าวได้เท่าไร

2559

นาปี 25.236 ล้านตัน

นาปรัง   3.109

 

2560

นาปี 24.934

นาปรัง 6.620

 

2561

นาปี 25.178

นาปรัง 7.964

 

2562

นาปี 24.304

นาปรัง 7.754

 

และนอกจากนี้ การที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง และราคาข้าวในประเทศสูงขึ้นตามดีมานด์ความต้องการบริโภคในประเทศ และทำให้การแข่งขันกับคู่แข่งยากลำบากขึ้นเช่นกัน