ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ก.ชนชั้นเจ้านายและขุนนาง
ข.ชนชั้นปกครองและชนชั้นใต้ปกครอง
ค.ชนชั้นปกครองและพระสงฆ์
ง.
ชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง
2. คำอธิบายเกี่ยวกับมูลนาย-ไพร่ ข้อใดผิด ก.มูลนายมีศักดินาสูงกว่า 500 ไร่ ส่วนไพร่ต่ำกว่า 400 ไร่
ข.มูลนายไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
ค.ไพร่ไม่มีโอกาสเลื่อนฐานะทางสังคมเป็นมูลนายได้
ง.
ลูกของมูลนาย แม้มีศักดินาต่ำกว่าเกณฑ์ก็ไม่ถือว่าเป็นไพร่
3. ลักษณะของสังคมไทยที่ยังมีความสำคัญในปัจจุบันคือข้อใด ก.สตรีมีบทบาทสำคัญในสังคม
ข.ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์
ค.การอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่
ง.
การทำอะไรตามใจ คือ ไทยแท้
4. คำอธิบายของไพร่ในตัวเลือกใดที่ผิดความเป็นจริง ก.ไพร่ที่มีสังกัดจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐ
ข.ไพร่ที่ต้องการเปลี่ยนมูลนายจะมีกฎหมายควบคุม
ค.ไพร่ทุกคนต้องสังกัดกรมทองและมูลนาย
ง.
ไพร่มีศักดินาสูงกว่า 400 ไร่
5. พระสงฆ์มีศักดินาจำนวนเท่าใด ก.มีเท่ากับขุนนางจำนวน 10000-400 ไร่
ข.มีมากกว่าขุนนางอยู่ในระหว่าง 10000-2400 ไร่
ค.ไม่มีศักดินา
ง.
มีน้อยกว่าขุนนางอยู่ในระหว่าง2400-100 ไร่
6. สมัยอยุธยาผู้ที่รับราชการขุนนางจะได้รับฐานันดรศักดิ์อย่างไรบ้าง ก.ยศ ราชทินนาม ตำแหน่ง
ข.ยศ ราชทินนาม ตำแหน่ง ศักดินา
ค.ยศ บรรดาศักดิ์ ราชทินนาม
ง.
ยศ ราชทินนาม ตำแหน่ง บรรดาศักดิ์
7. ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายหรือขุนนางคือไพร่ประเภทใด ก.ไพร่สม
ข.ไพร่ฟ้าข้าไท
ค.ไพร่ส่วย
ง.
ไพร่หลวง
8. " ทาสที่มีจำนวนมากและมีความสำคัญมากได้แก่ทาสประเภทใด ก.ทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง
ข.ทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์
ค.ทาสในเรือนเบี้ย
ง.
ทาสท่านให้
9. ทาสจะเป็นไทได้ในกรณีใด ก.นายเงินย้ายถิ่นฐานหรือเสียชีวิต
ข.ทาสไปรบแทนนาย จะแพ้หรือชนะกลับมาก็เป็นไททั้งสิ้น
ค.นายเงินอนุญาตให้ทาสไปบวชเป็นภิกษุ สามเณร หรือชี
ง.
ทาสหนีออกจากบ้านนายเงิน
10. สาเหตุใดบ้างที่ทำให้โครงสร้างทางสังคมไทยในอดีตเป็นแบบศักดินา
   1. เพราะพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเทวราชา
   2. เพราะพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นแบบเกษตรกรรม
   3. เพราะพระมหากษัตริย์ต้องเกณฑ์คนเข้ารับราชการในตำแหน่งสูงต่ำไม่เท่ากัน
   4. เพราะขุนนางต้องการกำลังคนไว้เสริมอำนาจ
ก.ข้อ 1 และ 2
ข.ข้อ 2 และ 3
ค.ข้อ 3 และ4
ง.
ข้อ 1 และ 3
 
 

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน


สังคมของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 4 ประเภทคือ


1.เจ้านาย
2.ขุนนาง หรือ ข้าราชการ
3.ไพร่ หรือ สามัญชน
4.ทาส


1. เจ้านาย คือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ แต่มิได้หมายความว่าผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ทุกคนจะเป็นเจ้านายหมด ลูกหลานของพระมหากษัตริย์จะถูกลดสกุลยศตามลำดับ และ ภายใน 5 ชั่วคน ลูกหลานของเจ้านายก็จะกลายเป็นสามัญชน ราชสกุลยศจะมีเพียง 5 ชั้นคือ เจ้าฟ้า เป็นชั้นสูงสุด เจ้าฟ้าคือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติจากอัครมเหษี
พระองค์เจ้า คือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติแด่พระสนม หรือเป็นพระโอรส ธิดาของเจ้าฟ้า


หม่อมเจ้า คือ พระโอรส ธิดา ของพระองค์เจ้า
หม่อมราชวงศ์ คือ บุตรธิดาของหม่อมเจ้า
หม่อมหลวง คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์
พอถึงชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ก็ถือว่าเป็นสามัญชนแล้วมิได้มีสิทธิพิเศษเช่นเจ้านายชั้นสูงแต่อย่างใด
เพื่อเฉลิมพระเกียรติและตอบแทนเจ้านายที่ได้ทำความดีความชอบในราชการ พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งเจ้านายนั้น ๆ ให้ทรงกรม ซึ่งมีลำดับขั้นเหมือนกับยศของขุนนางดังนี้


ชั้นสูงสุดคือ กรมพระยา กรมพระ กรมหลวง กรมขุน กรมหมื่น ตามลำดับ
เจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ถ้าได้ทรงกรมจะเริ่มตั้งแต่ กรมขุน ขึ้นไป ตั้งแต่พระองค์เจ้าลงมาเมื่อได้ทรงกรม จะต้องเริ่มตั้งแต่ กรมหมื่น
สิทธิพิเศษของเจ้านายคือ เมื่อเกิดมีคดี ศาลอื่น ๆ จะตัดสินไม่ได้นอกจากศาลกรมวัง และจะขายเจ้านายลงเป็นทาสไม่ได้ เจ้านายจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงานด้วยประการใด ๆ
2. ขุนนาง หรือ ข้าราชการ ยศของขุนนางเรียงลำดับจากขั้นสูงสุดลงไปดังนี้

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน


สมเด็จเจ้าพระยา
เจ้าพระยา
พระยา
พระ
หลวง
ขุน
หมื่น
พัน
ทนาย

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน


พระมหากษัตริย์จะพระราชทานยศและเลื่อนยศ ให้ตามความดีความชอบ นอกจากยศแล้วพระมหากษัตริย์ยังพระราชทานราชทินนามต่อท้ายยศให้ขุนนางด้วย ราชทินนามจะเป็นเครื่องบอกหน้าที่ที่ได้ เช่น เจ้าพระยามหาเสนา พระยาจ่าแสนยากร มักจะเป็นขุนนางฝ่ายทหาร เจ้าพระยาจักรี พระยาธรรมา พระยาพลเทพ พระยาพระคลัง เป็นขุนนางฝ่ายพลเรือน สิทธิพิเศษของขุนนางคือไม่โดยเกณฑ์แรงงานและสิทธินี้ครอบคลุมไปถึงผู้เป็นลูกด้วย ขุนนางที่มีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป มีสิทธิแต่งตั้งทนายว่าความให้ในศาล ได้เข้าเฝ้า และมีสิทธิ์มีไพร่อยู่ในสังกัดได้

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

ชนชั้นใดที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน


3. ไพร่ หรือสามัญชน หมายถึง ผู้ชายที่มีอายุ 18 – 60 ปี ชายฉกรรจ์ที่เป็นสามัญชนจะต้องสักเลก เพื่อสังกัดเจ้านายหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า มูลนาย หากผู้ใดขัดขืน มิยอมสังกัดมูลนาย หรือไปรายงานตัวเป็นไพร่ จะมีโทษและจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย เช่นไม่มีสิทธิ์ในการถือครองที่ดินทำกิน จะฟ้องร้องใครไม่ได้ ไพร่มี 3 ประเภทดังนี้

3.1 ไพร่สม คือ ชายที่มีอายุ 18 – 20 ปี สังกัดมูลนายที่เป็นเจ้านายและขุนนางเพื่อให้ฝึกหัดใช้งาน
3.2 ไพร่หลวง คือ ชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี มีหน้าที่รับราชการแผ่นดิน ตามการเกณฑแรงงานตามสมัยแต่ถ้ามีลูกเข้าเกณฑ์แรงงานแทนตนถึง 3 คน ก็จะไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้ปลดออกจากราชการได้ก่อนอายุ 60 ปี
3.3 ไพร่ส่วย คือ ชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี ที่ไม่ประสงค์เข้ารับราชการ โดนเกณฑ์แรงงาน รัฐบาลอนุญาตให้นำเงินหรือสิ่งของมาชำระแทนแรงงานได้ เรียกเงินหรือสิ่งของที่ใช้แทนแรงงานว่า ส่วย หรือเงินค่าราชการ
4. ทาส มีอยู่ 7 ประเภทดังนี้
4.1 ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตัวเองหรือถูกผู้อื่นขายให้แก่นายเงินต้องทำงานจนกว่าจะหาเงินมาไถ่ค่าตัวได้ จึงจะหลุดพ้นเป็นไท
4.2 ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกของทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อ แม่กำลังเป็นทาสอยู่
4.3 ทาสได้มาแต่บิดามารดา คือ ลูกทาสที่ได้จากพ่อหรือแม่ของเด็กที่เป็นทาส
4.4 ทาสท่านให้ คือ ทาสที่เดิมเป็นของผู้หนึ่งแล้วถูกยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของอีกผู้หนึ่ง
4.5 ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑโทษ คือ ผู้ที่ถูกต้องโทษต้องเสียค่าปรับแต่ไม่มีเงินให้ แล้วมีนายเงินเอาเงิน
มาใช้แทนให้ ผู้ต้องโทษก็ต้องเป็นทาสของนายเงิน
4.6 ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ในเวลามีภัยธรรมชาติทำให้ข้าวยากหมากแพง ไพร่บางคน อดอยากไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ต้องอาศัยมูลนายกิน ในที่สุดก็ต้องยอมเป็นทาสของมูลนายนั้น
4.7 ทาสเชลยคือ ทาสที่ได้มาจากการรบทัพจับศึกหรือการทำสงคราม เมื่อได้ชัยชนะจะต้อน ผู้แพ้สงครามมาเป็นทาส