หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดเก็บภาษี

นานาภาษีน่ารู้

"ภาษี" เป็นคำที่สร้างอาการ "ขนลุกขนพอง" ให้หลายๆ คน อาจเพราะภาษาที่เข้าใจยากบวกกับขั้นตอนกระบวนการที่ดูซับซ้อนน่าปวดเศียรเวียนเกล้า ทำให้ "คนไทย" ขยาดไปตามๆ กัน แต่ไม่ว่าอย่างไร... "การจ่ายภาษี" ก็เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน

Show

ยิ่งหาก จะทำธุรกิจ ไม่ว่าจะส่วนตัว กลุ่มบริษัท กลุ่มสหกรณ์ SMEs หรือ OTOP เป็นอันว่า ชีวิตต้องพัวพัน กับภาษีอย่างแน่นอน ดังนั้น ลองหันมาตั้งหลัก " ทำความเข้าใจ " เรื่องภาษีให้ถ่องแท้ เพื่อการจ่ายภาษีอย่างถูกต้องกันดีกว่า "เพียงจ่ายภาษีให้ครบถ้วนตามหน้าที่...คุณก็คือคนดีที่ช่วยชาติ"

ยินดีที่ได้รู้จัก

เมื่อตั้งใจว่าจะเป็น "คนไทยที่ดี" แล้ว ก็ต้องมาทำความรู้จัก "หน้าที่" ให้ดีก่อน ... เริ่มเลย ภาษีของประเทศไทยนั้นมีโครงสร้างอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่

  1. ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ต้องรับผิดชอบจ่ายภาษีเหล่านี้เอง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย เป็นต้น
  2. ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคได้ (โดยการบวกไว้ในราคาสินค้า) เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น

แค่โครงสร้างภาษี 2 แบบคงสร้างคำถามตัวเบ้อเริ่มแล้วว่าภาษีแต่ละอย่างมันคืออะไรบ้าง เพราะเยอะเหลือเกิน เอาเป็นว่าขออธิบายเฉพาะภาษีที่ได้ยินกันบ่อยๆ โดยแบ่งตามส่วนงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร

กรมสรรพากร

จัดเก็บ "ภาษีอากร" ในราชอาณาจักรไทย

สิทธิและหน้าที่ผู้เสียภาษีอากร ภาษีอากรที่กรมสรรพากรจัดเก็บแต่ละประเภท จะกำหนดสถานะผู้มีหน้าที่เสียภาษีและวิธีการเสียภาษีแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้นั้นครอบคลุมผู้มีรายได้ที่เป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลประเภทต่างๆ โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แตกต่างกันไป

ในการเข้าสู่ระบบการเสียภาษีอากรทุกประเภทของกรมสรรพากร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อใช้ติดต่อเสียภาษี นอกจากนี้ หากเป็นการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย

กรมสรรพากร กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทุกประเภททั้งที่เป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม กิจการร่วมค้า บุคคลต่างด้าว รวมทั้งผู้จ่ายเงินได้ ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้งการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผู้เสียภาษี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลักหน่วยงานที่ออกเลข
บุคคลธรรมดา ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรมการปกครอง
นิติบุคคลไทยและนิติบุคคล ต่างประเทศที่ต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • คณะบุคคล
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล
  • บุคคลต่างด้าว
  • กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
  • กิจการร่วมค้า
  • มูลนิธิ
  • สมาคม
  • ผู้จ่ายเงินได้
ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก กรมสรรพากร

  • ดูเอกสารขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทบุคคลธรรมดา (แบบ ล.ป.10.1) คลิก
  • ดูเอกสารขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล (แบบ ล.ป.10.2) คลิก
  • ดูเอกสารขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคล (แบบ ล.ป.10.3) คลิก
  • ดูเอกสารขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทผู้จ่ายเงินได้ (แบบ ล.ป.10.4) คลิก

**ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร คลิก

ประเภทภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภท ได้แก่

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย เช่น มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศ และการ นำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับก่อนหักรายจ่ายจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
  4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง แทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การค้าอสังหาริมทรัพย์
  5. อากรแสตมป์ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น สัญญาจ้าง สัญญากู้ยืมเงิน

"สิทธิตามกฎหมาย" ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร

  1. การผ่อนชำระภาษี
    • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีจำนวนเกินกว่า 3,000 บาท สามารถแบ่งจ่ายงวดละเท่าๆ กัน ไม่เกิน 3 งวด โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
    • ภาษีอากรที่ค้างชำระ โดยยื่นคำร้องขอผ่อนภายใต้หลักเกณฑ์การผ่อนชำระของกรมสรรพากร
  2. การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี

    กรณีผู้เสียภาษีถูกประเมินภาษีอากร และไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ (แบบ ภ.ส.6) ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน และหากได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วยังไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใดๆ และต้องชำระภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินให้ครบถ้วน

  3. ขอทุเลาการชำระภาษีอากรโดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรค้าง

    หากต้องการรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษา โดยยังไม่ต้องชำระภาษีตามที่ถูกประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษี โดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรด้วยหลักทรัพย์ต่างๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมสรรพากร

  4. ของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีอากร

    ผู้เสียภาษีที่มีหน้าที่ยื่นแบบฯ และชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย มิฉะนั้นต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย แต่หากการกระทำความผิดมีเหตุอันควรผ่อนผัน ผู้เสียภาษีอาจมีคำร้องเป็นหนังสือของดหรือลดเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ สำหรับเงินเพิ่มงดหรือลดให้ไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายแล้ว เงินเพิ่มจะลดลงมาเหลือเพียงกึ่งหนึ่ง

  5. ขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีของตนเองได้

"หน้าที่ตามกฎหมาย" ของผู้เสียภาษีอากร

  1. การผ่อนชำระภาษี
    • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีจำนวนเกินกว่า 3,000 บาท สามารถแบ่งจ่ายงวดละเท่าๆ กัน ไม่เกิน 3 งวด โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
    • ภาษีอากรที่ค้างชำระ โดยยื่นคำร้องขอผ่อนภายใต้หลักเกณฑ์การผ่อนชำระของกรมสรรพากร
  2. การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี

    กรณีผู้เสียภาษีถูกประเมินภาษีอากร และไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ (แบบ ภ.ส.6) ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน และหากได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วยังไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใดๆ และต้องชำระภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินให้ครบถ้วน

  3. ขอทุเลาการชำระภาษีอากรโดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรค้าง

    หากต้องการรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษา โดยยังไม่ต้องชำระภาษีตามที่ถูกประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษี โดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรด้วยหลักทรัพย์ต่างๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมสรรพากร

  4. ของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีอากร

    ผู้เสียภาษีที่มีหน้าที่ยื่นแบบฯ และชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย มิฉะนั้นต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย แต่หากการกระทำความผิดมีเหตุอันควรผ่อนผัน ผู้เสียภาษีอาจมีคำร้องเป็นหนังสือของดหรือลดเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ สำหรับเงินเพิ่มงดหรือลดให้ไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายแล้ว เงินเพิ่มจะลดลงมาเหลือเพียงกึ่งหนึ่ง

  5. ขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีของตนเองได้

"หน้าที่ตามกฎหมาย" ของผู้เสียภาษีอากร

  1. ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีตามที่กฎหมายกำหนด แล้วแต่กรณี และหากมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ จะต้องแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง
  2. ยื่นแบบฯ และเสียภาษีอากรที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและครบถ้วน
  3. จัดทำเอกสารหลักฐาน และบัญชีใดๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ใบรับ ใบส่งของ ใบกำกับภาษี บัญชีรายได้ รายจ่าย งบการเงิน บัญชีพิเศษ ฯลฯ แล้วแต่กรณี
  4. ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเมื่อถูกร้องขอในทุกกรณีอันเกี่ยวเนื่องกับการเสียภาษีอากร
  5. ชำระภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินภายในกำหนดเวลา หากมิได้ชำระภาษีหรือชำระไว้ไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานมีสิทธิยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร เพื่อนำไปชำระหนี้ภาษีได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล
  6. การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คือ ภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีจากบุคคลทั่วไป วิสาหกิจชุมชนที่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มเป็นนิติบุคคล คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด

โดยปกติภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะจัดเก็บเป็นรายปี ซึ่งเมื่อมีรายได้เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีเงินได้นั้นมีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป

เงินได้ที่ต้องเสียภาษีนั้น ในทางกฎหมาย เรียกว่า " เงินได้พึงประเมิน " หมายถึง เงินได้ (รายได้) ของบุคคลใดๆ หรือ หน่วยภาษีใด ที่เกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่

  1. เงิน (ที่ได้รับจริง)
  2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (ที่ได้รับจริง)
  3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (ที่ได้รับจริง)
  4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ (ที่ได้รับจริง)
  5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด (ที่ได้รับจริง)

เงินได้ที่ต้องเสียภาษีนั้น ในทางกฎหมาย เรียกว่า " เงินได้พึงประเมิน " หมายถึง เงินได้ (รายได้) ของบุคคลใดๆ หรือ หน่วยภาษีใด ที่เกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่

  1. เงิน (ที่ได้รับจริง)
  2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (ที่ได้รับจริง)
  3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (ที่ได้รับจริง)
  4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ (ที่ได้รับจริง)
  5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด (ที่ได้รับจริง)

ดังนั้น ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้

  1. ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ที่ได้รับในปีภาษี
    • กรณีไม่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท
    • กรณีที่มีคู่สมรส ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกันเกิน 100,000 บาท
  2. ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่ไม่ใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษี
    • กรณีไม่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
    • กรณีมีคู่สมรส ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกันเกิน 60,000 บาท
  3. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่งเกิน 30,000 บาท
  4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาท

ทั้งนี้ สามารถดูประเภทเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีได้ที่ คลิก

สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการให้เช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ การรับเหมา ธุรกิจการพาณิชย์ กฎหมายได้กำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ

และเงินได้พึงประเมินบางกรณีกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้นอีกด้วย

  • ดูเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้ทั่วไป (ภ.ง.ด.90) คลิก
  • ดูเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (ภ.ง.ด.91) คลิก
  • ดูเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ขอชำระภาษีล่วงหน้า (ภ.ง.ด.93) คลิก
  • ดูเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) คลิก

นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการหักลดหย่อนรายการต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มขึ้นหลังจากได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ก่อนนำเงินได้ที่เหลือ ซึ่งเรียกว่า เงินได้สุทธิ ไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย

ดูรายการที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ที่ คลิก

โอ๊ะ...โอ!!! ทำไงดีเกินกำหนดเสียภาษีแล้ว

  • หากลืมจ่ายภาษีจนเลยกำหนดการจ่ายไปแล้ว คุณจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนปัดเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนั้น นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการจนถึงวันชำระภาษี
  • หากมีหมายเรียกให้เสียภาษีโดยที่คุณไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ หรือยื่นแต่จ่ายภาษีไม่ครบ นอกจากจะต้องชำระเงินเพิ่มตามข้อ 1 แล้ว ยังต้องเสียเบี้ยปรับอีก 1 หรือ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ (ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งที่จดและไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้

ใคร? ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
    • ก. บริษัท จำกัด
    • ข. บริษัทมหาชน จำกัด
    • ค. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
    • ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    • ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
    • ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
    • ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย และกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ (มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร)
    • ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร)
    • จ. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
    • ฉ. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
  3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไรโดย
    • ก. รัฐบาลต่างประเทศ
    • ข. องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
    • ค. นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
  4. กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ
    • ก. บริษัทกับบริษัท
    • ข. บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    • ค. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    • ง. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
    • จ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
    • ฉ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
    • ช. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น
  5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
  6. นิติบุคคลที่อธิบดีกาหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะคิดจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 20 และภาษีร้อยละ 10 จากกำไรสุทธิเฉพาะกรณีที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน 2535

ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีดังนี้

  • การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ: จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
  • การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบ: ระยะเวลาบัญชีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

นอกจากนี้ ยังมีการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยการคำนวณจากฐานภาษีแบบอื่นอีก คือ

  • คำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย คลิก
  • เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย คลิก
  • การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย คลิก
  • ดูแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) คลิก
  • ดูแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแบบครึ่งรอบ (ภ.ง.ด.51) คลิก

ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล...ที่ไหน?

  1. กรุงเทพมหานคร
    • สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
    • ธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตกรุงเทพมหานคร
  2. จังหวัดอื่น
    • ที่ว่าการอำเภอที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ในกรณีสำนักงานสรรพากรอำเภอมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ
    • สำนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตอำเภอที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล คลิก

ดูวิธีคำนวณภาษีเงินได้ คลิก

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชำระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ทั้งนี้ เจ้าของธุรกิจต้องออกใบกำกับภาษีซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญ ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้า บริการ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ

ใคร? ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
  • ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
  • ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2536
  • ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ขอรับ "แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม" (แบบ ภ.พ.01)
    • กทม. ขอรับที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่
    • ต่างจังหวัด ขอรับที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง
  • เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
    2. สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนา
    3. บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
    4. สัญญาเช่าอาคารที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน / สัญญาซื้อขาย / คำขอหมายเลขบ้าน / ใบโอนกรรมสิทธิ์ / สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
    5. หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)
    6. หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
    7. บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
    8. แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด
    9. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
    10. กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กำหนด และประสงค์จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ยื่นแบบคำขอแจ้งใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01.1) พร้อมกับการยื่น ภ.พ.01 หรือสามารถยื่นก่อนการยื่น ภ.พ.01 ไม่เกิน 30 วัน
  • เมื่อยื่นขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ประกอบการจะได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ซึ่งแสดงว่าคุณได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม...เมื่อไร?

  • ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ยกเว้น มีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการ ทำให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ
  • เมื่อมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • สถานประกอบการใน กทม. ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  • สถานประกอบการนอก กทม. ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  • หากมีสถานประกอบการหลายแห่ง ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว
  • กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้

หน้าที่เมื่อ...เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า พร้อมออกใบกำกับภาษีไว้เป็นหลักฐาน
    • เรียกเก็บเพิ่มแยกจากราคาสินค้าหรือบริการ
    • บวกรวมกับราคาสินค้าหรือบริการ
  • จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด
    • รายงานภาษีซื้อ
    • รายงานภาษีขาย
    • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
  • ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (แบบ ภ.พ.30) พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) เป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม โดยให้ยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

กรณีนำเข้าสินค้า ต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้า อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

กรมสรรพสามิต

ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ ได้แก่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สินค้าสรรพสามิต

พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ.2527

  • เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • เครื่องดื่ม
  • เรือ*
  • รถยนต์
  • หินอ่อนและหินแกรนิตที่แปรรูปแล้ว*
  • สนามกอล์ฟ
  • ไนต์คลับและดิสโก้เธค
  • สถานอาบน้ำหรืออบตัว
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง

  • น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
  • แก้วและเครื่องแก้ว
  • พรมและสิ่งปูพื้นอื่นๆ
  • รถจักรยานยนต์
  • แบตเตอรี่
  • สนามแข่งม้า
  • สลากกินแบ่งฯ*
  • กิจการโทรคมนาคม*

พระราชบัญญัติสุราพ.ศ.2493
  • สุราแช่
  • สุรากลั่น
พระราชบัญญัติยาสูบพ.ศ.2509
  • ยาสูบ
พระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ.2486
  • ไพ่

ใคร...? มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต (ภาษีตัวสินค้า)

  • ผู้ประกอบอุตสาหกรรม
  • ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
  • ผู้นำเข้าซึ่งสินค้า
  • ผู้อื่นตามที่ พรบ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 กำหนด
    • ผู้ดัดแปลงรถยนต์ ม.144 เบญจ
    • เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ม.42
    • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการอันตั้งขึ้นใหม่ โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมเดิม ม.57
    • ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ตาม ม.102(3) สำหรับสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ม.12 วรรค 2(2)
    • ผู้ได้รับสิทธิ์ยกเว้น หรือลดอัตราภาษีสำหรับสินค้านำเข้า ม.11 วรรค 2(2), (3)
    • ผู้โอนและผู้รับโอน ที่ได้รับเอกสิทธิตาม ม.102(3) ที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้รับคืน หรือยกเว้นภาษี ม.12 วรรค 2 (1)
    • ผู้โอน และผู้รับโอนสินค้านำเข้าที่ได้รับยกเว้น หรือลดอัตราภาษี ม.11 วรรค 2(1)
    • ผู้จัดการมรดก หรือทายาท ผู้ได้รับมรดกสินค้านำเข้าที่ได้รับการยกเว้น หรือลดอัตราภาษี ม.11 วรรค 2(4)
    • ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ม.56
    • ผู้ชำระบัญชี และกรรมการผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเป็นนิติบุคคล และเลิกกิจการ โดยมีการชำระบัญชี ม.58
    • ผู้กระทำความผิดตาม ม.161, ม.162

หน้าที่ของผู้เสียภาษี

จดทะเบียนสรรพสามิต

1. การจดทะเบียนสรรพสามิตโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/พื้นที่สาขาที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ 1. แบบ ภษ.01-04
2. สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ตั้งโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ
3. แผนที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ
4. หลักฐานการแสดงกรรมสิทธิ์ของสถานที่ที่ขอจดทะเบียนสรรพสามิตหรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
5. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)
6. สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)กรณีผู้ยื่นเป็นนิติบุคคล
7. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
8. สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษึอากรและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ ยื่นแบบ ภษ.01-04 ภายใน 30 วัน ก่อนเริ่มผลิตสินค้าหรือบริการ
โดยยื่นคำขอ 2 ชุด พร้อมเอกสารประกอบ
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา 20 นาทีนับแต่ได้รับเอกสารที่ครบถ้วน

- ดูเอกสารคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต แบบ ภษ.01-04 คลิก

2. การขอใบแทนใบทะเบียนสรรพสามิต

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่ใบทะเบียนสรรพสามิตชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ 1. แบบ ภษ. 01-05 จำนวน 4 ฉบับ
2. หนังสือแจ้งความใบทะเบียนสรรพสามิตหายหรือใบทะเบียนสรรพสามิตที่ชำรุดในสาระสำคัญ
3. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ
และผู้รับมอบอำนาจ
4. สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)
5. บัญชีรายละเอียดวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบัญชีรายการค้างชำระภาษี
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา 20 นาทีนับแต่ได้รับเอกสารที่ครบถ้วน

- ดูเอกสารคำขอรับใบแทนใบทะเบียนสรรพสามิต แบบ ภษ.01-05 คลิก

3. การย้ายโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ 1. แบบ ภษ. 01-05 จำนวน 4 ฉบับ
2. ใบทะเบียนสรรพสามิต
3. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ
และผู้รับมอบอำนาจ
4. สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)
5. บัญชีรายละเอียดวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบัญชีรายการค้างชำระภาษี
6. ใบทะเบียนสรรพสามิตที่ชำรุดในสาระสำคัญ
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ก่อนวันย้ายไม่น้อยกว่า 15 วัน ยื่นแบบ ภษ.01-04 เพื่อขอจดทะเบียนใหม่ภายใน 30 วันก่อนวันเริ่มผลิตสินค้าหรือบริการ และเมื่อได้รับใบทะเบียนสรรพสามิตฉบับใหม่แล้ว ให้คืนใบทะเบียนสรรพสามิต
2. นัดผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเพื่อทำการตรวจเลิกกิจการ
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา 1 วันนับแต่วันที่ไปตรวจโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ

4. การโอนกิจการโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ 1. แบบ ภษ. 01-05
2. ใบทะเบียนสรรพสามิต
3. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ
และผู้รับมอบอำนาจ
4. สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)
5.บัญชีรายละเอียดวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบัญชีรายการค้างชำระภาษี
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้ผู้รับโอนยื่นจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 7 วันนับแต่วันที่รับโอนกิจการ และให้คืนใบทะเบียนสรรพสามิตแก่เจ้าพนักงาน ณ สถานที่ที่ได้แจ้งโอนกิจการภายใน15วันนับแต่วันหยุดกิจการ
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา 1 วันทำการ (ไม่รวมเวลาที่ผู้รับโอนกิจการยื่นจดทะเบียนใหม่)

5. การเลิกกิจการโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ 1.แบบ ภษ. 01-05 จำนวน 4 ฉบับ
2.ใบทะเบียนสรรพสามิต
3.หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ
และผู้รับมอบอำนาจ
4.สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)
5.บัญชีรายละเอียดวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบัญชีรายการค้างชำระภาษี
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ ก่อนวันเลิกกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้คืนใบทะเบียนสรรพสามิต แก่เจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ที่ได้แจ้งเลิกกิจการนั้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่หยุดประกอบกิจการ
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบสินค้าและภาษีค้างชำระ

ขออนุญาตต่อกรมสรรพสามิต

1. การขออนุญาตซื้อเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่จดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีกับกรมสรรพสามิต(ภษ.01-18)
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ แบบคำขออนุญาต
- แบบ ภษ.01-23 จำนวน 2 ฉบับและ ภษ.01-24
- กรณีชำระเป็นเงินสด
- วางประกันด้วยหนังสือค้ำประกันของธนาคาร
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ 1. เจ้าพนักงานสรรพสามิตรับคำขออนุญาตซื้อเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน ภษ.01-23 และ ภษ.01-24 พร้อมสำเนาเอกสารประกอบ
2. เจ้าหน้าที่ตรวจแบบ ภษ.01-23 และ ภษ.01-24 และเอกสารแนบ
3. เจ้าพนักงานสรรพสามิตติดต่อให้ผู้ขอซื้อชำระภาษีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน
4. เจ้าพนักงานสรรพสามิตทำบันทึกพร้อมแนบ ภษ.01-23 ภษ.01-24  ให้สรรพสามิตพื้นที่ลงนาม
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา ยังไม่มีการกำหนด
  • ดูเอกสารคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แบบ ภษ.01-18 คลิก
  • ดูเอกสารคำขอซื้อ และใบอนุญาตให้ซื้อเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน แบบ ภษ.01-23 คลิก
  • ดูเอกสารคำขอขน และใบขนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน ภษ.01-24 คลิก

2. การขออนุญาตนำเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนเข้ามาในราชอาณาจักร

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนำเข้าเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่ตนจดทะเบียนไว้กับกรมสรรพสามิตแล้ว
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
3. ยื่นต่อ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ครั้งละ 500 บาท
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ แบบคำขออนุญาต
- แบบ ภษ.01-22 จำนวน 3 ฉบับ
เอกสารประกอบ
1.สำเนาใบกำกับสินค้า
2.สำเนาใบสั่งซื้อ
3.สำเนาใบรายการบรรจุสินค้า
4.สำเนาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน ภษ.01-18 จากผู้นำเข้า
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ 1. เจ้าหน้าที่รับคำขออนุญาตนำเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนเข้ามาในราชอาณาจักร ตาม ภษ.01-22 จำนวน 3 ฉบับ พร้อมสำเนาเอกสารประกอบ
และรับรองสำเนาเอกสารด้วย
2. เจ้าหน้าที่ตรวจแบบ ภษ.01-22 และเอกสารแนบ
3. เจ้าหน้าที่ติดต่อให้ผู้นำเข้ามาชำระค่าธรรมเนียมนำเข้าและค่าภาษีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
4. เจ้าหน้าที่ทำบันทึกพร้อมแนบ ภษ.01-22 ให้สรรพสามิตพื้นที่ลงนามในหนังสืออนุญาตและในแบบ ภษ.01-22
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา 45 นาที
  • ดูเอกสารคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี แบบ ภษ.01-18 คลิก
  • ดูเอกสารคำขออนุญาตนำเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนเข้ามาในราชอาณาจักร แบบ ภษ.01-22 คลิก

3. การขออนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน (แก้ไขตามคู่มือของกรมสรรพสามิตเมื่อ 20 ส.ค. 2553)

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ที่ประสงค์จะขอตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่
4. อัตราค่าธรรมเนียม - ใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ฉบับละ 20,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าทัณฑ์บนรายปี ฉบับละ 2,000 บาท (เว้นปีที่ออกใบอนุญาตปีแรกไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปี)
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ แบบคำขออนุญาต
- แบบ ภษ.01-08 จำนวน 2 ฉบับ
เอกสารประกอบ
1. หลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองสถานที่
หรืออาคารที่ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน ของผู้ยื่นแบบคำขออนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน
3. สำเนาหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
4. สำเนารับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ (ในกรณีที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) พร้อมทั้งสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับ (ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด)
5. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
6. แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ระยะทางเส้นทางคมนาคมระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาหรือกรมสรรพสามิต
7. แผนผังแสดงสถานที่ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน พร้อมทั้งบริเวณและสถานที่ซึ่งเป็นอาณาเขตติดต่อกับคลังสินค้าทัณฑ์บน
8. แบบแปลนแผนผังแสดงบริเวณภายในคลังสินค้าทัณฑ์บน สถานที่เก็บสินค้า ช่องทางที่สินค้าจะเข้าหรือออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
9. รายการสินค้าที่จะนำเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ
  • 1. ผู้ขอตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนยื่นแบบ ภษ.01-08 จำนวน 2 ฉบับ
  • 2. เจ้าพนักงานสรรพสามิต รับแบบ ภษ.01-08 พร้อมกับเอกสารที่แนบคำขอที่กรอกข้อความเรียบร้อยแล้ว และตรวจข้อความในแบบ ภษ.01-08 พร้อมกับเอกสารที่แนบคำขอว่าถูกต้องหรือไม่
  • 3. ตรวจสอบคลังสินค้าทัณฑ์บน
    • 3.1 ในกรณีที่คลังสินค้าทัณฑ์บนยังไม่ได้ก่อสร้างให้ผู้ยื่นคำขอยื่นแบบแปลนแผนผังที่จะสร้างคลังสินค้าทัณฑ์บน
    • 3.2 เจ้าพนักงานสรรพสามิตส่งแบบแปลนแผนผังให้สรรพสามิตพื้นที่ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่ พิจารณาว่าถูกต้องตามปลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2527) หรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตส่งคืนให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขแบบแปลนแผนผังดังกล่าว แล้วให้ส่งกลับมาให้สรรพสามิตพื้นที่ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่พิจารณาอีกครั้ง
    • 3.3 ถ้าแบบแปลนแผนผังถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2527) เจ้าพนักงานสรรพสามิตจะเสนอเรื่องให้สรรพสามิตพื้นที่ลงนามในหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอก่อสร้างคลังสินค้าทัณฑ์บนได้
    • 3.4 เมื่อผู้ยื่นคำขอได้ก่อสร้างคลังสินค้าทัณฑ์บนเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานสรรพสามิตจะเสนอสรรพสามิตพื้นที่ให้แต่งตั้งกรรมการไปตรวจคลังสินค้าทัณฑ์บนว่าถูกต้องตามแบบแปลนแผนผังที่ให้ความเห็นชอบหรือไม่
    • 3.5 ถ้าคลังสินค้าทัณฑ์บนที่สร้างเสร็จแล้วไม่เป็นไปตามแบบแปลนแผนผังที่สรรพสามิตพื้นที่ให้ความเห็นชอบให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว แจ้งให้สรรพสามิตพื้นที่ทราบ เพื่อจะได้ส่งคณะกรรมการไปตรวจอีกครั้ง เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าได้มีการแก้ไข คลังสินค้าทัณฑ์บนให้เป็นไปตามแบบแปลนที่ให้ความเห็นชอบแล้ว คณะกรรมการจะจัดทำบันทึกการตรวจสอบเพื่อเสนอสรรพสามิตพื้นที่พิจารณาอนุญาตให้ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนต่อไป
    • 3.6 ในกรณีที่ผู้ขอตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนมีคลังสินค้าทัณฑ์บนอยู่แล้วให้ปฏิบัติตามข้อ 3.4 และ 3.5
  • 4. เจ้าพนักงานสรรพสามิตทำหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ เพื่อให้มาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ฉบับ ละ 20,000 บาท โดยผู้ยื่นคำขอต้องทำสัญญาวางเงินประกัน กรณีนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินทัณฑ์บน ตามแบบ ภษ.04-03 (หนังสือสัญญาคลังสินค้าทัณฑ์บน) สำหรับวงเงินประกันให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสรรพสามิต ที่ กค. 0713/ว 377 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2540
  • 5. เจ้าพนักงานสรรพสามิตมอบใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน แบบ ภษ.02-05 ให้แก่ผู้ยื่นคำขอโดยให้ผู้ยื่นคำขอลงลายมือชื่อรับไว้ในแบบ ภษ.01-08 ที่เจ้าพนักงานสรรพสามิตเก็บไว้
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา 20 วันทำการ
  • ดูกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2527) คลิก คลิก
  • ดูเอกสารคำขออนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน แบบ ภษ.01-08 คลิก
  • ดูเอกสารสัญญาคลังสินค้าทัณฑ์บน แบบ ภษ.04-03 คลิก
  • ดูเอกสารใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน แบบ ภษ.02-05 คลิก

การแจ้งราคา

1. การแจ้งราคาขายสินค้า/บริการ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ 1. แบบ ภษ.01-44 ,แบบ ภษ.01-44ก
2. แบบโครงสร้างต้นทุนการผลิต/บริการ
3. หลักฐานเอกสารประกอบ เช่น ใบกำกับภาษีซื้อ ใบขนสินค้าขาเข้า
ใบสำคัญจ่าย เป็นต้น ซึ่งเป็นที่มาของโครงสร้างต้นทุนการผลิต/บริการ
4. รายละเอียดวิธีคำนวณค่าใช่จ่ายในการผลิต/บริการแต่ละรายการ
5. รูปแบบสินค้า/บริการ
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ 1.ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ยื่นแบบ ภษ.01-44 พร้อมเอกสารตามรายการที่ 5 ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการจำหน่ายหรือเปลี่ยนแปลงราคา
2.เจ้าหน้าที่พิจารณาโครงสร้างราคาขาย
3.หากพบข้อผิดพลาด แจ้งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมทบทวนแก้ไข
4.เสนอสรรพสามิตพื้นที่ทราบ
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา  
  • ดูเอกสารแบบแจ้งราคาขาย พร้อมโครงสร้างราคาขาย แบบ ภษ.01-44 คลิก
  • ดูเอกสารแบบแจ้งราคาค่าบริการ พร้อมโครงสร้างราคาค่าบริการ แบบ ภษ.01-44ก คลิก

การชำระภาษีสรรพสามิต

1. การขยายเวลาชำระภาษี

  • กรณีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ห้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษี ภายใน 10 วันนับแต่วันที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ในกรณีดังต่อไปนี้
    • กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี เกิดขึ้นในเวลานำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน
    • กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดพร้อมความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • กรณีเมื่อความรับผิดเกิดพร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ได้แก่สินค้าดังนี้
    • เครื่องไฟฟ้านอกจากเครื่องปรับอากาศ
    • แก้วและเครื่องแก้ว
    • รถยนต์
    • เรือ
    • ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
  • สินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาจขอชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน โดยมีหลักประกันดังนี้ ให้สินค้าดังต่อไปนี้เป็นสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาจขอชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกันได้ ได้แก่
    • เครื่องดื่มที่ทำหรือบรรจุหรือได้จากเครื่องขายเครื่องดื่ม
    • เครื่องไฟฟ้า นอกจากเครื่องปรับอากาศ
    • แก้วและเครื่องแก้ว
    • รถยนต์
    • เรือ
    • ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
    • พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่นๆ
    • รถจักรยานยนต์
    • หินอ่อนและหินแกรนิต
    • แบตเตอรี่

2. หลักเกณฑ์และวงเงินประกันค่าภาษี

ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษี พร้อมกับการชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน โดยมีหลักประกัน ดังนี้

ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใดประสงค์จะยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับการชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกัน ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • ยื่นคำขอตามแบบ ภษ.01-15 ต่ออธิบดี หรือสรรพสามิตพื้นที่
  • วางหลักประกันเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรขององค์การรัฐบาล หนังสือค้ำประกันของธนาคาร โฉนดที่ดิน หรือวางหลักทรัพย์ หรือหลักประกันอื่นที่อธิบดีเห็นชอบ เป็นประกันค่าภาษีสำหรับสินค้าที่จะนำออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนล่วงหน้า 1 เดือน
  • การกำหนดวงเงินประกันค่าภาษี ให้คิดเฉลี่ยจากยอดค่าภาษีในระยะ 6 เดือนที่ล่วงมาแล้ว ในกรณีที่ไม่เคยนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดวงเงินประกันค่าภาษีได้ตามความเหมาะสม และเมื่อครบ 6 เดือนแล้ว ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว
  • กำหนดในระยะประกันค่าภาษีมีเวลา 1 ปี นับแต่วันอนุมัติ
  • อธิบดีมีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงวงเงินประกันค่าภาษีได้ตามที่เห็นสมควร

3. สินค้าที่เสียภาษีโดยใช้แสตมป์สรรพสามิต หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ได้แก่

  • เครื่องดื่ม เว้นแต่ เครื่องดื่มที่ทำหรือบรรจุหรือได้จากเครื่องขายเครื่องดื่ม
  • เครื่องปรับอากาศ

4. การคำนวณภาษี

กรณีอัตราภาษีตามปริมาณ

ภาษีสรรพสามิต = ปริมาณสินค้า x อัตราภาษีสรรพสามิต

กรณีอัตราภาษีตามมูลค่า

ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต

กรณีระบุอัตราภาษีทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า ให้คำนวณค่าภาษีสรรพสามิตจากทั้ง 2 อัตราก่อน และให้ใช้อัตราที่คิดเป็นเงินสูงกว่า ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.พิกัดภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 โดยรายรับของสถานบริการ ได้แก่

  • กรณีรายรับของสนามม้า คือ
    1. ค่าผ่านประตู 2. รายรับที่หักไว้จากผู้เล่นการพนันแข่งม้า
  • กรณีรายรับของสนามกอล์ฟ คือ 1.ค่าสมาชิก 2.ค่าใช้บริการสนามกอล์ฟ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสรรพสามิต ที่ กค. 0701/ ว 560 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2540 ได้ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับค่าสมาชิก และค่าใช้บริการสนามกอล์ฟไว้ ดังนี้ ค่าสมาชิก ได้แก่
    1. รายรับจากค่าสมาชิก รวมถึงค่าสมัครสมาชิกด้วย
    2. รายรับจากค่าสมาชิกที่ผ่อนชำระเป็นงวดๆ ที่ได้รับตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป
    3. รายรับจากค่าธรรมเนียมการโอนค่าสมาชิก เฉพาะส่วนที่เป็นรายได้ของสนามกอล์ฟ
    4. รายรับอื่นใดที่เรียกเก็บจากสมาชิก เช่น ค่าบำรุงสนามที่เก็บเป็นรายปี หรือรายเดือน เป็นต้น

กรณีสินค้านำเข้า

มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.บ. (แต่ไม่รวมถึง VAT) + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย

ดังนั้น

ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่าดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต

หรือ

ภาษีสรรพสามิต = {(C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT) x อัตราภาษีสรรพสามิต) หารด้วย (1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)}

5. การชำระภาษีสถานบริการ

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรรพสามิตพื้นที่หรือพื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานบริการนั้นตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ เจ้าพนักงานสรรพสามิต
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ แบบรายการชำระภาษีสรรพสามิต ภษ. 01-12ก. พร้อมรายละเอียดสินค้า
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต เจ้าพนักงานสรรพสามิต
7. ขั้นตอนการดำเนินการ 1.ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (ภษ. 01-12ก) พร้อมรายละเอียดของการบริการ งบเดือนแสดงรายการรายรับของสถานบริการ(ภษ.01-42ก) พร้อมด้วยเงินค่าภาษีที่ต้องชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น
2.การชำระภาษีสามารถชำระด้วย
 -เงินสด
 -แคชเชียร์เช็ค
 -บัตรภาษี
 -เช็คประเภท ง. (เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินผลประโยชน์เป็นผู้สั่งจ่ายและใช้ชำระโดยตรง กรณีนี้ต้องขออนุมัติกรมสรรพสามิตก่อน)
3.เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและจำนวนเงินภาษีที่นำมาชำระ
4.รับชำระภาษีและออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระภาษี
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา 10 นาที/1 แบบรายการ
  • ดูเอกสารแบบรายการภาษีสรรพสามิต ตามมาตรา 48 แบบ ภษ.01-12ก คลิก
  • ดูเอกสารแบบรายการภาษีสรรพสามิต ตามมาตรา 48(2) แบบ ภษ.01-12 คลิก

การยกเว้นหรือคืนภาษี

1. การยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น 1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตมีสิทธิขอยกเว้นหรือคืนภาษีได้
2. ผู้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือ นำเข้าไปในเขตปลอดอากรและได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นให้ดำเนินการขอยกเว้นหรือ คืนภาษีมีสิทธิขอยกเว้นหรือคืนภาษีได้
3. นิติบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบ อุตสาหกรรมเป็นทอดแรกเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรโดยไม่ได้รับ มอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมให้ใช้วิธีการคืนภาษี
4. บุคคลอื่นที่มิได้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเป็นทอดแรก ให้ใช้วิธีการคืนภาษี
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมนั้นตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ - สรรพสามิตพื้นที่ โดยส่งทางโทรสาร นำส่งเอง หรือ
- ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ 1. แบบ ภษ.01-28
2. คู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกฉบับมุมน้ำเงิน
3. เอกสารการสั่งซื้อสินค้า
4. ใบแสดงรายการและราคาสินค้า
5. สำเนาหลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชำระราคาสินค้า
6. กรณีขอคืนภาษีจะต้องมีหลักฐานแสดงการเสียภาษีมาด้วยได้แก่ แบบรายการภาษีสรรพสามิต (ภษ.01-12) และใบเสร็จรับเงินค่าภาษีสรรพสามิต
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต 1. สรรพสามิตพื้นที่ในกรณี
- น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันไม่เกิน 100 ล้านบาท
- รถยนต์ไม่เกิน 50 ล้านบาท
- สินค้าอื่นๆ ไม่เกิน 10 ล้านบาทและบริการไม่เกิน 1 ล้านบาท
2. ผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตภาคกรณีเกินอำนาจสรรพสามิตพื้นที่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ผู้ส่งออกยื่นแบบ ภษ.01-28 จำนวน 2 ชุด พร้อมเอกสารประกอบก่อนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม คลังสินค้าทัณฑ์บน หรือสถานที่เก็บสินค้า 
2. เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับ พร้อมส่งคืนแบบ ภษ. 01-28 ให้ผู้ส่งออก 1 ชุด
3. ผู้ส่งออกนำแบบ ภษ.01-28 กำกับไปกับสินค้าที่จะส่งออกไปทำพิธีการทางศุลกากร (เจ้าพนักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าและลงนามรับรองการส่งออก)
4. เมื่อส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรแล้วผู้ส่งออกทำหนังสือ ขอคืนหรือยกเว้นภาษี พร้อมแบบ ภษ.01-28 ที่ผ่านพิธีการศุลกากรเรียบร้อยแล้วพร้อมเอกสารที่ เกี่ยวข้องคืนสำนักงานสรรพสามิตที่แห่งท้องที่ที่ขอส่งออกภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร หรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร  
5. เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบเอกสารแล้วทำหนังสือเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติยกเว้นหรือคืนภาษีแล้วแจ้งให้ผู้ส่งออกทราบ
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา เอกสารครบถ้วนตามข้อ5  2 ชั่วโมง ต่อ 1 คำขอ
  • ดูเอกสารแบบคำขอยกเว้นภาษี สำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราขอาณาจักร หรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร แบบ ภษ.01-28 คลิก

2. การขอยกเว้นสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยจะนำไปเก็บพักไว้ที่สถานที่เก็บสินค้า

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น 1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527
2. ผู้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรม
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ แบบคำขอ ภษ.01-28/1
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ผู้ประกอบการยื่นแบบคำขอยกเว้นภาษี ภษ. 01-28/1 จำนวน 3 ฉบับพร้อมเอกสาร ด้วยตนเอง หรือโทรสาร หรือ Internet ต่อสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เพื่อลงรับพร้อมคืนแบบ ภษ.01-28/1 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม/ผู้ส่งออก 2 ชุด เพื่อ
กำกับไปกับสินค้าที่จะนำไปเก็บไว้ที่สถานที่เก็บสินค้าเพื่อรอการส่งออก
2. สรรพสามิตพื้นที่สั่งให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตไปดำเนินการตรวจสอบสินค้าที่จะออกจากโรงอุตสาหกรรม
3. เจ้าพนักงานสรรพสามิตผู้รับผิดชอบไปดำเนินการตรวจนับสินค้าที่โรงอุตสาหกรรมและลงนามในแบบคำขอข้อ 7
4. ส่งแบบคำขอไปยังสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่สถานที่เก็บสินค้าตั้งอยู่ (ซึ่งได้รับอนุมัติให้เป็นสถานที่ที่เก็บสินค้าจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตแล้ว)
5. ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ส่งออกแจ้งให้สรรพสามิตพื้นที่ที่สถานที่เก็บสินค้านั้นตั้งอยู่ทราบเพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตมาตรวจสอบสินค้า
6. สรรพสามิตพื้นที่ที่สถานที่เก็บสินค้าตั้งอยู่สั่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตให้ไปตรวจสอบนับสินค้าที่สถานที่เก็บสินค้า และลงนามในแบบคำขอ ข้อ 8
7.ผู้ส่งออกส่งแบบ ภษ. 01-28/1 ไปยังสำนักสรรพสามิตพื้นที่ที่ได้ยื่นคำขอไว้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบคำขอดังกล่าวแล้วคืนให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ส่งออก
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา 30 นาที
  • ดูเอกสารแบบคำขอยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราขอาณาจักร หรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยจะนำไปเก็บพักไว้ที่สถานที่เก็บสินค้า แบบ ภษ.01-28/1 คลิก

3. การลดหย่อนภาษีสรรพสามิต

รายการ

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน

1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ผู้ประกอบอุตสาหกรรม
2. สถานที่ยื่น สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่
3. ยื่นต่อ สรรพสามิตพื้นที่
4. อัตราค่าธรรมเนียม ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ 1. หนังสือแจ้งความประสงค์ขอลดหย่อนภาษี
2. แบบ ภษ.01-29
3. แบบ ภษ.01-30
4. โครงสร้างต้นทุน
5. สูตรการผลิต
6. ใบกำกับภาษีซื้อ
7. บัญชีรับจ่ายสินค้าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต
8. แบบแจ้งราคาขาย
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต สรรพสามิตพื้นที่
7. ขั้นตอนการดำเนินการ 1.ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอลดหย่อนภาษีพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นท
2.พิจารณาตรวจสอบ วิเคราะห์ฯ อนุมัติและแจ้งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมทราบ
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา ขึ้นอยู่กับเอกสารประกอบการพิจารณา ประมาณ 1 ชั่วโมงถึง 5 วัน เว้นแต่หน่วยงานของกรมฯ ไม่มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ต้องใช้หน่วยงานภายนอกอาจใช้เวลามากกว่า 1 เดือน
  • ดูเอกสารแบบรายการวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าที่จะขอลดหย่อนภาษีสรรพสามิต แบบ ภษ.01-29 คลิก
  • ดูเอกสารแบบคำขอหักลดหย่อนภาษีสรรพสามิต สำหรับวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า แบบ ภษ.01-30 คลิก

บทกำหนดโทษ

  • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต รวมถึงไม่แจ้งย้าย เลิกโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการภายในเวลาที่กำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
  • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการไม่แสดงใบทะเบียนสรรพสามิตไว้ในที่เปิดเผย หรือใบทะเบียนชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหายแล้วไม่ยื่นคำขอรับใบแทนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบ และภายใน 15 วัน ในกรณีใบอนุญาตคลังสินค้าทัณฑ์บนชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย มีโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท
  • ผู้ใดไม่แจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หรือราคาค่าบริการ ตามเวลาที่กำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
  • กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบรายการภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องเสียค่าปรับอีก 2 เท่าของค่าภาษี กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไป ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของภาษีที่ขาดไป
  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ โดยการคำนวณเพิ่มมิให้คิดทบต้นและไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
  • ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ตอบคำถามถ้อยคำอันเป็นเท็จ นำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงหรือยื่นบัญชีหรือเอกสารอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 300,000 บาท

ข้อมูลกรมสรรพสามิตเพิ่มเติม

ภาษีศุลกากร

คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีนำเข้าเรียกว่า "อากรขาเข้า" และในกรณีส่งออกเรียกว่า "อากรขาออก" โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ำหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่จะต้อง "ชำระอากรขาออก" เพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ นอกนั้นอัตราอากรเป็น 0% ทั้งหมด ส่วน "อากรขาเข้า" จัดเก็บตามพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรได้นำระบบฮาร์โมไนซ์มาใช้ในการจัดหมวดหมู่ของสินค้า โดยแบ่งย่อยเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย คือแบ่งเป็น 21 หมวด 91 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน ซึ่งการระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์จะกำหนดเป็นเลข 10 หลัก โดยที่ 7 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ส่วนเลข 3 หลักหลัง เป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ

ดังนั้น เมื่อจะนำสินค้าใดเข้าหรือส่งสินค้าใดออก คุณต้องตรวจสอบให้ถูกต้องชัดเจนก่อนว่าสินค้านั้นๆ จัดอยู่ในพิกัดใด อัตราอากรเท่าใด เพื่อที่จะนำไปคิดคำนวณภาษีอากรที่คุณต้องจ่ายนั่นเอง อีกทั้งคุณต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอนตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกให้ครบถ้วน ดังนี้

1. ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกผู้ผ่านพิธีการศุลกากร

ผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออกจะต้องไปแสดงตนขอลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกผู้ผ่านพิธีการศุลกากร สียก่อน ซึ่งจะเป็นการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ เพราะระบบจะจดจำว่าคุณได้ขอเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกแล้ว หลังจากนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด ขอเพียงมีคอมพิวเตอร์ก็สามารถขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกสินค้าได้

  • ดูแบบคำขอลงทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ประเภทบุคคลธรรมดา คลิก
  • ดูแบบคำขอลงทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ประเภทนิติบุคคล คลิก

1.1 กรณีการขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ

ตัวแทนออกของ (customs broker) คือ นิติบุคคลที่ทำหน้าที่ในการเป็นผู้ติดต่อกับกรมศุลกากรแทนผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออก หรือเป็นนายหน้าในการจัดการผ่านพิธีการศุลกากรนั่นเอง

  • ดูเอกสารแบบลงทะเบียนเป็นตัวแทนออกของ คลิก

2. พิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออก

การจะนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ ก็ตาม ผู้นำเข้าส่งออก (หรือตัวแทนออกของ) จะต้องทำพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกด้วย ซึ่งช่องทางสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ได้แก่ ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และทางไปรษณีย์

ทั้งนี้ การจัดเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า มีดังนี้

2.1 พิธีการนำเข้า

ประเภทใบขนสินค้าขาเข้า

เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะการนำเข้า

(1) แบบ กศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภทที่กรมศุลกากรไม่ได้กำหนดให้ใช้ใบขนสินค้าประเภทอื่น

(2) แบบ กศก. 102 ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษ พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทางอากาศยานหรือพิธีการอื่นที่กรมศุลกากรกำหนด สำหรับของที่นำเข้าในลักษณะเฉพาะ เช่น การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต เป็นต้น

(3) แบบ กศก. 103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าก่อนปฏิบัติพิธีการครบถ้วนตามที่กรมศุลกากรกำหนด

(4) แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าชั่วคราวประเภทต่างๆ ตามที่ระบุในอนุสัญญา

(5) แบบ JDA (Joint Development Area) ใบขนสินค้าสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย

(6) แบบใบแนบ 9 ใบขนสินค้าถ่ายลำ ใช้สำหรับพิธีการสินค้าถ่ายลำ

(7) แบบที่ 448 ใบขนสินค้าผ่านแดน ใช้สำหรับพิธีการสินค้าผ่านแดน

(8) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำรถยนต์และจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว

(9) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับเรือสำราญและกีฬาที่นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเรือสำราญและกีฬาเข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว

เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า

  • สำหรับพิธีการชำระอากร พิธีการวางประกัน พิธีการขนถ่ายข้างลำ พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ต้องมีเอกสารประกอบ ได้แก่
    1. ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า (กศก. 99/1) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ เว้นแต่กรณีที่กรมศุลกากรกำหนดให้มีการจัดทำคู่ฉบับเพิ่ม เช่น สำหรับการนำเข้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน กรณีดังกล่าวต้องมีสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับ
    2. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill)
    3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
    4. แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.2) (Foreign Transaction Form) กรณีมูลค่าของนำเข้าเกินกว่า 500,000 บาท
    5. แบบแสดงรายละเอียดราคาศุลกากร (กศก. 170)
    6. ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1)
    7. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
    8. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
    9. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
    10. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีขอลดอัตราอากร
    11. เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้า แค็ตตาล็อก เป็นต้น
  • พิธีการหลายเที่ยวเรือ ต้องเพิ่มพิมพ์เขียว (BLUE PRINT) แบบแปลน แบบพิมพ์ หรือเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้ทำใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ
  • พิธีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ต้องเพิ่มสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า (กศก.99/1) อีก 1 ฉบับ
  • พิธีการส่งเสริมการลงทุนต้องเพิ่มหนังสืออนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป ต้องเพิ่มเอกสาร ดังนี้
    1. คำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป (แบบที่ 369)
    2. คำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป ตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด
  • พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า กรณีนำเข้าโดยผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้รับอนุญาตจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ต้องเพิ่มคำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า
  • พิธีการสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) กรณีอยู่ในอารักขาของศุลกากร ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
    1. คำร้องขอผ่อนผันทำใบขนสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) ชำระอากร 1 ใน 10
    2. ใบขนสินค้าขาออก (กศก.101/1) พร้อมเอกสารประกอบ
  • พิธีการนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้
    1. แบบ กนอ.02-1 กรณีสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบ
    2. แบบ กนอ.02-1 และ กนอ.101 กรณีสินค้านำเข้าเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสินค้าดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือการค้าเพื่อส่งออก

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้า

1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน Service Counter โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นข้อมูลใบขนสินค้าโดยอัตโนมัติ และให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนส่งเฉพาะข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2. เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าที่ส่งเข้ามา เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้นำของเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร ราคา เป็นต้น ถ้าพบว่าข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ส่งมาไม่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทนเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง

3. เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าที่ส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมกับตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาเข้าในขั้นตอนการตรวจสอบพิธีการเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ แล้วแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า ใบขนสินค้าขาเข้าที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์จะสั่งการตรวจ หลังจากนั้น ผู้นำเข้าหรือตัวแทนสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระค่าภาษีอากรและรับการตรวจปล่อยสินค้าได้ ใบขนสินค้าขาเข้าที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำของเข้า

4. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าตามวรรคแรกในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้

4.1 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM

4.2 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM

4.3 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST

2.2 พิธีการส่งออก

ในการส่งออกสินค้า ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกกำหนดไว้ให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการนำเข้า

ประเภทใบขนสินค้าขาออก

เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้ส่งออกต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการส่งออก ดังนี้

1. แบบ กศก.101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้

  • การส่งออกสินค้าทั่วไป
  • การส่งออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
  • การส่งออกสินค้าประเภทส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • การส่งออกสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
  • การส่งออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร
  • การส่งออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
  • การส่งออกสินค้าที่ต้องการใบสุทธินำกลับ
  • การส่งสินค้ากลับออกไป (RE-EXPORT)

2. แบบ กศก.103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการขอส่งสินค้าออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออกในลักษณะที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ.2544

3. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งของออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา

4. ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์และจักรยานยนต์ชั่วคราว

เอกสารที่ผู้ส่งออกควรจัดเตรียมในการส่งออกสินค้า

  1. ใบขนสินค้าขาออก ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ
  2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 2 ฉบับ
  3. แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form): ธต.1 จำนวน 2 ฉบับ กรณีสินค้าส่งออกมีราคา FOB เกิน 500,000 บาท
  4. ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก
  5. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกสินค้า

  1. ผู้ส่งออกหรือตัวแทนส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกและบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งออกหรือตัวแทนมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์
  2. เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าขาออกส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกและตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้และแจ้งกลับไปยังผู้ส่งออกหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า

ใบขนสินค้าขาออกที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้ส่งออกหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่ผ่านพิธีการ

ใบขนสินค้าขาออกที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าขาออกประเภทนี้ ผู้ส่งออกสามารถชำระค่าอากร (ถ้ามี) และดำเนินการนำสินค้าไปตรวจปล่อยเพื่อส่งออกได้เลยโดยไม่ต้องไปพบเจ้าหน้าที่ประเมินอากร

น่ารู้...เรื่องการส่งออกสินค้า

  1. ถ้าสินค้าที่ส่งออกเป็นสินค้าที่ผู้ส่งออกประสงค์จะนำกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกภายในหนึ่งปีโดยขอยกเว้นอากรขาเข้า ให้เพิ่มคู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกอีกหนึ่งฉบับเพื่อใช้เป็นหลักฐานที่เรียกว่า ‘ใบสุทธินำกลับ’ เพื่อเป็นหลักฐานในการนำสินค้ากลับเข้ามา
  2. การส่งน้ำมันหรือผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ผลิตในราชอาณาจักรไปจำหน่ายยังต่างประเทศและผู้ส่งออกต้องการขอคืนภาษีน้ำมันของกรมสรรพสามิต ให้เพิ่มคู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกอีกหนึ่งฉบับและเขียนหรือประทับตรายางมีข้อความว่า ‘ขอคืนภาษีน้ำมันหรือผลิตภัณฑ์น้ำมัน’ ไว้ตอนบนใบขนสินค้าขาออกและคู่ฉบับ
  3. สำหรับท่ากรุงเทพ การส่งสินค้า Re-Export ไปยังประเทศ สปป.ลาว และประสงค์จะขอคืนอากรขาเข้า ให้เพิ่มคู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกอีก 1 ฉบับ แนบติดกับต้นฉบับใบขนสินค้าขาออกด้วย
  4. การส่งออกที่ผู้ส่งออกประสงค์จะได้เอกสารส่งออกจากกรมศุลกากรเพื่อขอรับเงินชดเชยอากร จะต้องยื่นคู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกอีก 1 ฉบับ ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ มีสีน้ำเงินที่มุมทั้ง 4 มุม
  5. สินค้าส่งออกที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ จะต้องยื่นใบแนบใบขนสินค้าขาออก เพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
  6. สถานที่สำหรับตรวจสินค้าขาออก มีดังนี้
    • ท่าศุลกสถาน (สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าขาออก) หรือ ณ ทำเนียบท่าเรือที่ได้รับอนุมัติสำหรับการนำเข้า-ส่งออก
    • งานตรวจคอนเทนเนอร์และสถานีตรวจสอบขาออก (Main Gate) ฝ่ายตรวจสินค้าที่ 2 ภายในบริเวณท่าเรือกรุงเทพ
    • สถานีตรวจและบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์ เพื่อการส่งออก (สตส. LCY.)
    • สำหรับข้าว แร่ ยาง ณ โรงเก็บข้าว โรงสีข้าว โรงเก็บแร่ โรงเก็บ ยาง อันได้รับอนุมัติตามมาตรา 7(4) แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469
    • โรงพักสินค้าสำหรับตรวจของขาเข้า และบรรจุของขาออกที่ ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์ นอกเขตท่าทำเนียบท่าเรือ (รพท. หรือ I.C.D./INLAND CONTAINER DEPOT)
    • ทำเนียบท่าเรือเอกชน
    • เขตอุตสาหกรรมส่งออกต่างๆ
    • โรงงานหรือสถานประกอบการของผู้ส่งออก
    • ด่านศุลกากรภูมิภาคต่างๆ

ดูเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

  • พิธีการศุลกากรทางอากาศยาน คลิก
  • พิธีการศุลกากรทางเรือ คลิก
  • พิธีการศุลกากรทางบก คลิก
  • พิธีการศุลกากรทางไปรษณีย์ คลิก
  • ตัวอย่างใบแจ้งรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ คลิก
  • ตัวอย่างคำร้องขออุทธรณ์การประเมินราคา/ภาษีอากร คลิก