การจดทะเบียนการค้าหรือเสียภาษีการค้าต้องไปที่ใด

การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ เรียกง่ายๆ ว่า ‘การจดทะเบียนการค้า’ นั้นสำคัญอย่างไร การจดทะเบียนการค้านั้นถือเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนที่จะประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เนื่องจากว่าเป็นเครื่องมือยืนยันตัวตนว่าเราเป็นใคร ทำธุรกิจประเภทใด มีสถานที่ประกอบกิจการเป็นหลักแหล่ง แต่ก็มีบางธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการค้าก็ได้ คือ พ่อค้า แม่ค้าแผงลอย ธุรกิจเพื่อการกุศลและศาสนารวมถึง กระทรวง ทบวง กรม มูลนิธิ สมาคม และสหกรณ์

Show

การจดทะเบียนการค้าสำหรับบุคคลธรมมดา

  • กิจการขายสินค้า ซึ่งคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้น ไป หรือมีสินค้าไว้เพื่อขายมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  • กิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรม  และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้ง สิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  • กิจการที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ อีคอมเมิร์ซ

การจดทะเบียนการค้าสำหรับนิติบุคคล

  • กิจการที่ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่น วีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
  • กิจการที่ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
  • กิจการที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครื่องข่ายอินเตอร์เน็ต
  • การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
  • การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

ทั้งนี้ ประเภทกิจการใดที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรม พัฒนาธุรกิจการค้า ที่หมวดคู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์ โดยกำหนดเวลากิจการต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต้องจดทะเบียนการค้าหรือไม่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันหลายๆคนมาเริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์ผ่านช่องทางที่มีอยู่มากมายเช่น Facebook Instagram ที่เป็นช่องทางที่มีคนใช้เยอะที่สุดในประเทศไทย เป็นกลุ่มลูกค้าวงกว้าง ดังนั้น ผู้ประกอบการค้าขายออนไลน์ก็ต้องคำนึงก่อนว่าตนเองนั้นจะจดเป็นิติบุคคลหรือไม่ หรือจะขายเป็นลักษณะบุคคลธรรมดาก็ต้องคำนึงตอนคำนวณภาษีสิ้นปีด้วย

ซึ่งการจดทะเบียนการค้าหากเราค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ สิ่งทีเราต้องคำนึงถึงก็คือ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว พ่อค้าแม่ก็จะได้รับเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำเครื่องหมาย Registered นำไปแสดงไว้ บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วข้อดี ของการจดทะเบียนการค้า จะช่วยให้เรามีความน่าเชื่อถือ เมื่อใครเห็นเว็บไซต์ของเราก็จะมั่นได้ว่าเราเชื่อถือได้ มีความปลอดภัยไม่ได้หลอกลวง

แต่หลายๆคนอาจจะไม่มั่นใจว่าเว็บไซต์ที่ตัวเองทำนั้นจำเป็นต้องจดทะเบียนหรือไม่ ดังนั้นเราจะมาสรุปเงื่อนไข ของเว็บไซต์ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับ ที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์

เว็บไซต์ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. มีระบบสั่งซื้อ เช่น ระบบแบบฟอร์ม ระบบตะกร้า E-mail หรืออื่นๆ

2. มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

3. มีระบบสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่นๆโดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นขายบริการ)

4. มีวัตถุประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการอื่นๆ และมีรายได้จากโฆษณานั้นๆ

5. รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าตัวเองเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์

6. เว็บไซต์ที่บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการผู้เล่น (เจ้าของเว็บต้องจดทะเบียน)

7. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ download เพลงโปรแกรม เกมส์ ringtone screensaver  SMS เป็นต้น

เว็บไซต์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ(ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจติดต่อ…. หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…..

2. การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางการค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม

3. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน

4. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือ สินค้า

5. เว็บไซต์(ส่วนตัว) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว

6. เว็บไซต์เป็นสื่อกลางข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใดๆ

จะเห็นได้ว่าการจดทะเบียนการค้า ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นประโยชน์มากๆแก่พ่อค้าแม่ค้าทุกท่าน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของท่านมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

การจดทะเบียนการค้า หรือ การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ หลักฐานสำคัญทางการค้า ที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า และสร้างความมั่นใจได้ว่าร้านค้านั้นมีตัวตนและมีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง ทำให้ลูกค้าสามารถรับ-คืน-เปลี่ยนสินค้าได้ หรือหากสินค้าชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ภายในระยะเวลารับประกัน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้กิจการบางประเภทต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแตกต่างกันไปตามข้อบังคับ เช่น บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการค้าขายทั่วไป พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ แต่สำหรับนิติบุคคล หากได้ระบุการค้าขายไว้ในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลก็ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์แต่อย่างใด

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

  • ใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนการค้า?
  • ธุรกิจใดบ้างที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้า?
  • ธุรกิจค้าขายออนไลน์ต้องจดทะเบียนการค้าหรือไม่?
  • ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้าทำอย่างไรบ้าง?
    • ขั้นตอนแรก: เตรียมเอกสารให้พร้อม
    • ขั้นตอนที่ 2: จดทะเบียนการค้าได้ที่สถานที่ต่างๆ
    • ขั้นตอนที่ 3: ชำระเงิน
    • ข้อบังคับการจดทะเบียนการค้ามีอะไร?
    • หากไม่จดทะเบียนการค้าผิดหรือไม่?

ใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนการค้า?

กรมธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ได้แบ่งผู้ที่มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ 5 ประเภท ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว)
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  3. กฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย
  4. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  5. บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

*ข้อควรรู้ : การจดทะเบียนการค้า ผู้ประกอบการ ต้องขอจดทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิยช์ภายใน 30 วัน นับต้องแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจหรือกิจการ

ธุรกิจใดบ้างที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้า?

ผู้ที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้ามีหลากหลาย แต่ผู้ที่ได้รับการยกเว้นการจดทะเบียนการค้าหลักๆจะมีดังนี้

  1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
  2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
  5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  6. พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515

ธุรกิจค้าขายออนไลน์ต้องจดทะเบียนการค้าหรือไม่?

ร้านค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนการค้าตามกฎหมายกำหนด แบ่งเป็นดังนี้

  • กรณีร้านค้าออนไลน์ที่ไม่สามารถชำระเงินบนแพลตฟอร์ม สามารถจดทะเบียนพาณิชย์แบบธรรมดา และยื่นภาษีตามปกติ
  • กรณีร้านค้าบนเว็บไซต์ที่มีระบบชำระเงินบนแพลตฟอร์ม ต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พร้อมขอเครื่องหมาย DBD Registered เพิ่มเติม

ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้าทำอย่างไรบ้าง?

ขั้นตอนแรก: เตรียมเอกสารให้พร้อม

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับจดทะเบียนการค้าหรือจดทะเบียนพาณิชย์ มีดังนี้

  1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) ดาวน์โหลด คลิก
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
  4. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  5. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  6. หนังสือชี้แจง (สำหรับร้านที่เปิดมานานแล้ว และไม่ได้ยื่นจดทะเบียนการค้านับตั้งแต่ 30 วัน หลังเปิดร้าน)

ขั้นตอนที่ 2: จดทะเบียนการค้าได้ที่สถานที่ต่างๆ

  1. กรณีผู้ประกอบการที่มีธุรกิจ ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ 
  • สำนักงานเขต 50 เขต โดยต้องยื่นจะทะเบียนการค้าในเขตธุรกิจที่เราตั้งอยู่เท่านั้น 
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 
  • สำนักการคลัง 
  • ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
  1. กรณีผู้ประกอบการที่มีธุรกิจตั้งอยู่ต่างจังหวัด
    • สามารถยื่นจดทะเบียนการค้าได้ที่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตที่ตั้งตั้งธุรกิจอยู่

ขั้นตอนที่ 3: ชำระเงิน

โดยค่าบริการการจดทะเบียนการค้ามีดังนี้

  1. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
  2. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
  3. จดทะเบียนยกเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
  4. ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
  5. ขอให้เจ้าหน้าที่คัดลอกสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ผู้ประกอบกิจการค้า) ฉบับละ 30 บาท

ข้อบังคับการจดทะเบียนการค้ามีอะไร?

  1. ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ เริ่มประกอบ เปลี่ยนแปลง หรือ เลิกกิจการ 
  2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
  3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย 
  4. ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหาย หรือชำรุด
  5. ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
  6. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

หากไม่จดทะเบียนการค้าผิดหรือไม่?

หากไม่ทำการจดทะเบียนการค้าตามกฎหมายกำหนด จะมีโทษดังนี้

  1. ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่อง
  2. ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
  3. ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงาน ที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง 
  4. ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
  5. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

ดังนั้น ควรจดทะเบียนการค้า หรือ จดทะเบียนพาณิชย์ให้เรียบร้อย เพราะขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม และดำเนินการให้ถูกต้องก็สามารถเป็นผู้ประกอบการอย่างถูกกฎหมายและมีความน่าเชื่อถือได้แล้ว และยังไม่ต้องเสี่ยงเสียค่าปรับหรือโดนบทลงโทษตามกฏหมายอีกด้วย

จดทะเบียนการค้าต้องไปที่ไหน

สาหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล หรือเมืองพัทยา (แล้วแต่กรณี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนกากับดูแลการจดทะเบียนพาณิชย์และภูมิภาค กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสานักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด

จดทะเบียนการค้าต้องเตรียมอะไรบ้าง

1 แบบ ทพ. 2 สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท 3 สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้ขอจดทะเบียน 4 สําเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอจดทะเบียน 5 ใบทะเบียนพาณิชย์ 6 กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เป็นเจ้าบ้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้ (1) หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่

ค้าขายต้องจดทะเบียนการค้าไหม

การจดทะเบียนการค้า หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า การจดทะเบียนพาณิชย์ จะเป็นหลักฐานสำคัญทางการค้า ซึ่งจะช่วยผู้ค้าขายสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า และจะทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า ร้านค้าของเรามีอยู่จริง ลูกค้าสามารถรับ คืน เปลี่ยนสินค้าได้ หากสินค้ามีการชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ภายในระยะเวลาที่ทางร้านรับประกัน นอกจากนี้ทะเบียน ...

การจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียวต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์ที่ไหน

บริการข้อมูลธุรกิจของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์องค์การบริหารส่วนตาบลท่ากระดาน มีดังต่อไปนี้ 1. กรณีขอตรวจค้นเอกสาร กรอกรายการตามแบบบริการ ข้อมูลธุรกิจ พร้อมยื่นเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมรับรองสำเนา อย่างละ 1 ฉบับ