อยุธยาลงนามในสัญญาการค้ากับฝรั่งเศสที่ใด

อยุธยาลงนามในสัญญาการค้ากับฝรั่งเศสที่ใด

ปรีดี พิศภูมิวิถี

ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในราช อาณาจักรเป็นจำนวนมากโดยมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน และแม้ว่าก่อนรัชกาลของพระองค์จะมีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาในราชสำนักมากแล้วก็ตาม กลับปรากฏว่าการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของพระองค์ได้รับการกล่าวขานมากที่สุด ในที่นี้ไม่ว่าการหันมาผูกมิตรกับประเทศฝรั่งเศสจะมาจากสาเหตุใดก็ตามทั้งเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศหรือปัญหาความวุ่นวายภายในราชสำนัก จากหลักฐานเอกสารต่างๆ ปรากฏว่า สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงโปรดปรานชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษสุดท้ายก่อนสิ้นรัชกาล

ผู้ที่เปิดศักราชความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ราชอาณาจักร คือ บาทหลวงฝรั่งเศส พระสังฆราชเบริต ลอมแบรต์ เดอ ลา มอตต์ (Lambert de la Motte)และคณะ เดิมมีจุดประสงค์เพียงที่จะใช้สยามเป็นเส้นทางผ่านไปยังภูมิภาคอินโดจีนและตังเกี๋ยเท่านั้น แต่เมื่อพบว่าประเทศสยามมีความเหมาะสมที่จะเผยแผ่ศาสนา เจ้าผู้ครองแผ่นดินมิได้ทรงปฏิเสธ ทั้งพลเมืองก็มิได้มีปฏิกิริยาต่อต้านด้วย จึงดำริที่จะตั้งคณะธรรมทูตขึ้นเพื่อเผยแผ่ศริสต์ศาสนา

ครั้น พ.ศ.2216 พระสังฆราชเฮโลโปลิศจึงนำพระราชสาส์นจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และศุภอักษรของพระสันตะปาปาเคลมองต์ที่ 9 มาถวาย อันนับเป็นจุดเริ่มต้นของฉันทสัมพันธไมตรีระหว่าง 2 ราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ

จากนั้นเป็นต้นมาบรรดาบาทหลวงและพ่อค้าฝรั่งเศสจึงได้เดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งถึง พ.ศ. 2223 นายเดส์ลองด์ บรูโร (Deslandes Boureau) หัวหน้าสถานีการค้าของฝรั่งเศสที่เมืองสุหรัตได้เดินทางเข้ามายังอยุธยาพร้อมกับขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปิดสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส (La Compagnie des Indes Orientales) สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงอนุญาตทั้งยังได้พระราชทานสิทธิ์ให้ค้าขายได้อย่างเสรีด้วย ในปีเดียวกันนั้นเองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งคณะราชทูตชุดแรกไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสโดยมีออกพระพิพัฒน์ราชไมตรีเป็นราชทูต ออกหลวงศรีวิศาลสุนทรเป็นอุปทูต และออกขุนนครศรีวิชัยเป็นตรีทูต แต่คณะราชทูตชุดนี้ประสบเหตุเรืออับปางลงใกล้กับฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ฯทรงทราบ จึงทรงส่งคณะทูตชุดที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยขุนพิชัยวาทิตและออกขุนพิชิตไมตรีไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ.2227 เพื่อสืบข่าวของคณะราชทูตชุดแรกและกระชับสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คณะทูตชุดนี้เดินทางกลับมาถึงอยุธยาในต้น พ.ศ.2228 พร้อมกับคณะราชทูตชุดแรกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คือ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont)

ผลของการเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนี้ได้มีการลงนามในสัญญาทางการค้าและเราได้เห็นความพยายามของฝรั่งเศสในการชักจูงสมเด็จพระนารายณ์ฯ ให้ทรงเข้ารีต ซึ่งมิได้ประสบความสำเร็จมากนัก

เมื่อราชทูตฝรั่งเศสชุดนี้จะเดินทางกลับ สมเด็จพระนารายณ์ฯได้ทรงจัดส่งคณะราชทูตไทยไปยังฝรั่งเศสอีกครั้งโดยมีออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) เป็นราชทูต อุปทูตคือ ออกหลวงกัลยาราชไมตรีและออกขุนศรีวิสารวาจา เป็นตรีทูต ส่วนล่ามและผู้นำของคณะคือบาทหลวงเดอ ลิยอน (l’Abbé de Lionne)ทั้งหมดได้เดินทางไปถึงประเทศฝรั่งเศสในช่วงกลาง พ.ศ.2229

เมื่อราชทูตไทยจะเดินทางกลับ ราชสำนักฝรั่งเศสได้ส่งคณะราชทูตชุดที่ 2 ซึ่งมี เดอ ลา ลูแบร์ (De la Loubère) เป็นราชทูตและเซเบเรต์ (Cébéret)เป็นอุปทูต เดินทางเข้ามาเพื่อขอแก้ไขสนธิสัญญาทางการค้าฉบับก่อน พร้อมกับคณะทูตชุดนี้ ฝรั่งเศสได้ส่งกองกำลังทหารจำนวนหนึ่งเข้ามาประจำยังบางกอกและมะริด ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจในหมู่ขุนนางสยามเป็นอย่างมาก จนกระทั่งพระเพทราชาก่อการปฏิวัติขึ้นใน พ.ศ.2231 และส่งผลให้ความสัมพันธ์นั้นต้องหยุดชะงักลง จนเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.2310

อัพเดตเรื่องราวทัวร์ศิลปวัฒนธรรม ได้ที่ เพจเฟซบุ๊กทัวร์มติชนอคาเดมี

อยุธยาลงนามในสัญญาการค้ากับฝรั่งเศสที่ใด

อยุธยาลงนามในสัญญาการค้ากับฝรั่งเศสที่ใด

อยุธยาลงนามในสัญญาการค้ากับฝรั่งเศสที่ใด

อยุธยาค้าขายอะไรกับฝรั่งเศส

พ.ศ. ๒๒๒๓ พ่อค้าชาวฝรั่งเศสของบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส จึงได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าขึ้นใน กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก จุดมุ่งหมายเพื่อซื้อดีบุก พริกไทย และสินค้าที่มาจากจีน ญีปุ่น เมืองต่าง ๆ ที่ส่งเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยา การ เข้ามาครั้งนี้ทรงต้อนรับอย่างดี นอกจากให้ตั้งสถานีการค้าแล้วยังให้สิทธิพิเศษทางการค้า ...

อยุธยามีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสในลักษณะใด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเริ่มขึ้นจากการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ซึ่งฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้สนับสนุนให้มีการส่งคณะผู้สอนศาสนาเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชีย ซึ่งชุดแรกได้มาถึงกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) ต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “สังฆราช” เอลิโอโปลิสและ “สังฆราช” เดอ บริธ ได้เฝ้า ...

ฮอลันดาค้าขายอะไรกับอยุธยา

ฮอลันดาถือได้ว่าเป็นพ่อค้าชาติตะวันตกที่มีบทบาทโดดเด่นมากที่สุดใน กรุงศรีอยุธยาช่วงคริสต์ศตวรรษที่17-18 ฮอลันดาใช้อยุธยาเป็นสถานีกลางส าหรับ จัดหาสินค้าประเภทของป่า ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด โดยจะน าสินค้าประเภทเงิน ทองแดง เหล็ก กระสุน อาวุธ ผ้าชนิดต่าง ๆ เครื่องแก้ว สินค้าประเภทฟุ่มเฟือย เข้า มาแลกกับหนังกวาง ไม้ฝาง ...

กรุงศรีอยุธยาใช้การค้ารูปแบบใดในการติดต่อค้าขายกับประเทศจีน

การค้าที่ว่านี้ยังคงทำโดยใช้เรือสำเภาเป็นหลัก คือหมายถึงเรือสินค้าแบบของจีนเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยานั่นเอง แต่เรือสำเภาแบบจีนก็เริ่มเปลี่ยนไปเป็นใช้เรือกำปั่น (คือเรือที่ต่อแบบฝรั่ง) แทนในประมาณสมัยรัชกาลที่ 3 คือ เปลี่ยนจากการต่อเรือแบบจีนเป็นต่อเรือแบบฝรั่ง ดังนั้นจะเป็นได้จากการที่รัชกาลที่ 3 ทรงปรารภเกี่ยวกับการที่ ...