แหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้อยู่บริเวณใด

1. ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (Southern Common Market) หรือ MERCOSUR (เมร์โกซูร์) เริ่มก่อร่างขึ้นโดยสนธิสัญญา Asunción ประเทศปารากวัยเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2534 (ค.ศ.1991) ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย (เวเนซุเอลาได้ลงนามเป็นสมาชิกตั้งแต่ 17 มิ.ย. 2006 และขณะนี้รอการให้สัตยาบันรับรองจากรัฐสภาของปารากวัย เพื่อเป็นสมาชิกเต็มตัว) สมาชิกสมทบ ได้แก่ ชิลี โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย และเอกวาดอร์

2. วัตถุประสงค์หลัก

2.1 เปิดเสรีทางการค้าภายในภูมิภาค มีการพัฒนาเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) (กำหนดวันที่ 1 ม.ค. ค.ศ.1995) เขตการค้าเสรี (ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวบางประเภท) (กำหนดภายในปี ค.ศ. 2005) และมีกำหนดจะใช้ระบบตลาดร่วม (Common Market) ซึ่งเป็นเป้าหมายของการรวมกลุ่มในปี 2558 (ค.ศ. 2015)

2.2 กำหนดนโยบายการค้าและอัตราภาษีศุลกากรต่อประเทศนอกกลุ่มในลักษณะเดียวกัน

2.3 ประสานและสร้างความกลมกลืนด้านนโยบายเศรษฐกิจของชาติในระดับมหภาค

2.4 การออกกฎระเบียบเพื่อนำปัจจัยและทรัพยากรการผลิตมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

3. การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิก MERCOSUR 4 ประเทศ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 12 ล้านตารางกิโลเมตรและมีประชากรรวมกันกว่าครึ่งของภูมิภาคลาตินอเมริกา คือประมาณ 267 ล้านคน GDP รวมกันประมาณ 2.89 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิก MERCOSUR มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาทั้งหมด และเป็นเศรษฐกิจอันดับที่ 5 ของโลก

4. สำนักงานเลขาธิการ (Secretariat)

MERCOSUR ไม่มีสำนักงานเลขาธิการถาวรแต่จะหมุน เวียนไปยังประเทศต่างๆ ทุก 6 เดือน ตามวาระประธานกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันปารากวัยดำรงตำแหน่งดังกล่าวถึงเดือน มิ.ย. 2554 แต่มีสำนักงานบริหาร (administrative office) ที่กรุงมอนเตวิเดโอ อุรุกวัย ทำหน้าที่ด้านการเอกสารและงานธุรการ

5. อุปสรรคและปัญหา

5.1 ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก บราซิลและอาร์เจนตินา มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าปารากวัยและอุรุกวัยมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อรวมกันเป็นเขตการค้าเสรีและตลาดร่วมต่อไป

5.2 ทิศทางของกลุ่มที่อาจถูกชี้นำโดยประเทศที่มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สูงกว่า คือบราซิลและอาร์เจนตินา ซึ่งทำให้ประเทศเล็กๆ เช่น อุรุกวัยและปารากวัยเกิดความไม่พอใจ นอกจากนี้การเข้า ถึงตลาดของบราซิลและอาร์เจนตินายังมีข้อจำกัด ส่งผลให้ปารากวัยและอุรุกวัยพยายามเจรจาความร่วมมือการค้าทวิภาคีกับประเทศอื่นๆ แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะกฏการเป็นสมาชิก MERCOSUR ห้าม มิให้มีการเจรจาทวิภาคีกับประเทศอื่นๆ

5.3 การจะเข้าเป็นสมาชิกของเวเนซุเอลาอาจเริ่มส่งผลกระทบต่อกลุ่ม MERCOSUR ดังจะเห็นได้จากการที่ปารากวัยยังไม่รับรองการเข้าเป็นสมาชิกของเวเนซุเอลา เนื่องจากกังวลต่ออิทธิพลแนวนโยบายสังคมนิยมซ้ายจัดของประธานาธิบดี Hugo Chavez ส่วนบราซิลและอาร์เจนตินาสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกของเวเนซุเอลาด้วยเหตุผลทางการค้าและความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเฉพาะอาร์เจนตินาเห็นว่า เวเนซุเอลาสามารถช่วยลดความสำคัญและบทบาทของบราซิลลงได้ด้วย หลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำ MERCOSUR ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2554 ก็ยังไม่มีการอนุมัติให้เวเนซุเอลาเข้าเป็นสมาชิก

5.4 ปัจจุบันประเทศในกลุ่ม MERCOSUR กำลังมีข้อขัดแย้งทวิภาคีระหว่างกันที่สำคัญ คือ ข้อพิพาทระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย เรื่องการก่อสร้างโรงงานกระดาษ (ซึ่งถึงแม้ศาลโลกจะมีคำพิพากษาให้อุรุกวัยเป็นฝ่ายชนะแล้ว แต่ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศก็ยังคงมีอยู่) การที่โบลิเวียประกาศให้อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติเป็นกิจการของรัฐซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนของบราซิล รวมทั้งความไม่พอใจ ของปารากวัยและอุรุกวัยต่อความไม่เท่าเทียมกันในกลุ่ม และบทบาทของเวเนซุเอลาในกลุ่ม MERCOSUR

5.5 นักวิเคราะห์หลายฝ่ายวิจารณ์ MERCOSUR ว่าใช้การเมืองเป็นตัวดำเนินงานมากเกินกว่าที่ควรจะเป็นส่งผลให้ทิศทางการดำเนินการขององค์เบี่ยงเบนไปจากเป้าประสงค์เดิมคือมุ่งดำเนินการสร้างเขตการค้าเสรีกับประเทศสมาชิก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเจรจาข้อตกลงการค้าร่วมระหว่าง MERCOSUR และสหภาพยุโรป (EU) ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2542 แต่ก็ถูกระงับไว้จนถึงปี 2547 เนื่องด้วยความขัดแย้งระหว่างทั้งสองกลุ่มในเรื่องภาษีสินค้าอุตสาหกรรม และกรณีภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มได้เริ่มการเจรจาใหม่เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2553

5.6 ในกรณีการเจรจา เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas: FTAA) ก็ประสบความล่าช้าเช่นเดียวกับกรณีสหภาพยุโรปเนื่องมาจากผู้นำ MERCOSUR หลายท่านต่อต้านนโยบายการค้าเสรีของสหรัฐอเมริกา

6. พัฒนาการล่าสุด

6.1 ปัจจุบันการนำเข้าสินค้าไปยังประเทศสมาชิก MERCOSUR ผู้นำเข้าจะต้องจ่ายภาษีศุลกากรให้กับกลุ่มประเทศสมาชิก และจะถูกจัดเก็บภาษีศุลกากรอีกครั้งเมื่อส่งสินค้าออกไปยังประเทศสมาชิกอีกประเทศหนึ่ง อย่างไรก็ตาม จากการประชุมสุดยอด MERCOSUR เมื่อเดือน ส.ค. 2553 ที่ผ่านมา ที่ประชุมฯ ได้มีการตกลงยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรซ้อน โดยแบ่งช่วงระยะเวลาการยกเลิกการจัดเก็บดังกล่าวออกเป็น 3 ระยะ คือ

- ระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค. 2555 ยกเลิกการจัดเก็บภาษีศุลกากรซ้อนจากสินค้านำเข้าสำเร็จรูปจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก MERCOSUR เช่น สินค้าประเภทรถยนต์

- ระยะที่ 2 เริ่มภายในปี 2557 ยกเลิกการจัดเก็บภาษีศุลกากรซ้อนสำหรับสินค้านำเข้าทุกชนิดที่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ระหว่างร้อยละ 2 – ร้อยละ 4) จากประเทศสมาชิก MERCOSUR ก่อนส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอื่น

- ระยะที่ 3 เริ่มภายในปี 2562 ยกเลิกการจัดเก็บภาษีศุลกากรซ้อนสำหรับสินค้าทุกชนิด

6.2 ล่าสุดผลจากการประชุมสุดยอด MERCOSUR ครั้งที่ 41 เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2554 ได้มีการตกลงให้ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีซ้อนจากประเทศนอกกลุ่มและการกระจายรายได้จากภาษีศุลกากร ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 เป็นต้นไป ในกรณีของปารากวัยซึ่งเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุดและไม่มีทางออกทะเล จึงต้องได้รับความช่วยเหลือและเงินสนับสนุนพิเศษจากประเทศสมาชิกอื่นๆ

การเมืองการปกครอง

ความสัมพันธ์ระหว่าง MERCOSUR กับประเทศนอกกลุ่ม

ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มปัจจุบัน MERCOSUR ได้ลงนามความตกลงแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้ากับอินเดีย (เพื่อปูทางไปสู่การทำ FTA) และกับสหภาพศุลกากรของแอฟริกาใต้ (SACU) ซึ่งเป็นการจัดทำ FTA สามฝ่าย (SIM) นอกจากนี้เมื่อเดือน ต.ค. 2547 MERCOSUR ได้ลงนามความตกลงการจัดทำการค้าเสรีกับกลุ่ม Andean (เปรู โคลอมเบีย เอกกวาดอร์ เวเนซุเอลา และโบลิเวีย) และเมื่อเดือน ส.ค. 2553 กลุ่มประเทศสมาชิก MERCOSUR ได้จัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับอียิปต์ ซึ่งถือเป็นการทำความตกลงกับประเทศภายนอกภูมิภาคอเมริกาใต้ประเทศที่สอง หลังจากได้จัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศอิสราเอลเป็นประเทศแรกเมื่อปี 2548

MERCOSUR กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่ม CARICOM เกาหลีใต้ ตุรกีและจอร์แดน การเจรจาความตกลงเพื่อเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองในระยะสั้น ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการจัดตั้งสมาคมระหว่างภูมิภาค (Interregional Association Agreement) กับสหภาพยุโรปซึ่งยังคงมีแรงต่อต้านจากกลุ่มเกษตรกรชาวยุโรป แต่ก็มีความคืบหน้ามากขึ้น และกำลังพิจารณาทำ feasibility study สำหรับความตกลงทางการค้าเสรีกับจีน

เศรษฐกิจการค้า

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับ MERCOSUR

ในปี 2553 มูลค่าการค้าระหว่างไทย กับกลุ่ม MERCOSUR มีจำนวน 4,822.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.87 โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.28 ของการค้าไทยกับทั่วโลก โดยไทยส่งออก 2,420.70 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และสินแร่และเชื้อเพลิง และนำเข้า 2,401.44 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสินค้านำเข้า ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง และอาวุธยุทธปัจจัย ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 19.26 ดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่มีอุตสาหกรรมก้าวหน้ามากที่สุด และมีอุตสาหกรรมประเภทใด

13. ประเทศที่มีอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้ามากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ คือ บราซิล อุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กกล้า เมืองอุตสาหกรรม คือ เซาเปาลู รีอูดีจาเนรู

แหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่อยู่บริเวณใด

ประเทศที่มีอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าและมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้แก่บราซิลและอาร์เจนตินา เช่น การ ผลิตเหล็กและเหล็กกล้า การกลั่นน้ามันและปิโตรเคมีการผลิตรถยนต์อุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง ใหญ่หรือเมืองหลวง เช่น เซาเปาโล ริโอเดจาเนโร บูเอโนสไอเรสฯลฯ

แหล่งแร่ที่สําคัญของทวีปอเมริกาใต้อยู่บริเวณใดบ้าง

4. แหล่งแร่ที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้อยู่บริเวณใดบ้าง และทรัพยากรแร่ที่สำคัญ ได้แก่อะไรบ้าง แหล่งแร่สำคัญอยู่ทางตอนบนของทวีป ชายฝั่งตะวันออก และภาคตะวันตก ตั้งแต่ประเทศเปรูลงมาถึงชิลี แร่ที่สำคัญ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม เหล็ก ตะกั่ว ทองแดง

สินค้าเข้าที่สําคัญของทวีปอเมริกาใต้คืออะไร

4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า กากพืชน้ำมัน สินแร่ โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ ปลาป่นและสัตว์อื่น ๆ ป่น เส้นใยใช้ในการทอ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องจักรใช้ใน- อุตสาหกรรม หนังดิบและหนังฟอก ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป และไม้อื่น ๆ