การทําสนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นในสมัยใด

วันนี้ในอดีต 18 เมษายน พ.ศ. 2398 . ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ...

Posted by โบราณนานมา on Tuesday, April 18, 2017

หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง หรือสนธิสัญญาเบาว์ริง หรือในชื่อทางการว่าหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร โดยราชทูต เซอร์จอห์น เบาว์ริง ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา 

 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามอยู่ในสภาวะคับขันเพราะการขยายอำนาจของชาติจักรวรรดินิยมตะวันตก โดยหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้เพียง 3 ปี สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือบีบบังคับญี่ปุ่นให้เปิดประเทศ หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปิดประเทศมากว่า 200 ปี ส่วนอังกฤษใช้อิทธิพลกับจีนและประเทศอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน กอปรกับพระองค์มีพระราชดำริแตกต่างจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นพระเชษฐาหลายประการ โดยทรงเห็นว่าการเปิดให้ค้าข้าวกับต่างประเทศอย่างเสรีจะสร้างประโยชน์แก่บ้านเมืองมหาศาลกว่านโยบาย ‘ปิดข้าว’ ที่สร้างรายได้ให้แก่คนส่วนน้อย 

 

ขณะเดียวกัน เซอร์จอห์น เบาว์ริง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงติดต่อด้วยเป็นการส่วนพระองค์ แสดงท่าทีชัดเจนที่จะใช้กำลังบีบบังคับไทยให้เปิดประเทศทำนองเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาทำกับญี่ปุ่นก่อนหน้านี้

 

ในปี 2393 รัฐบาลสยามไม่ยอมแก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าขายกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความตึงเครียด มิชชันนารีทั้งหลายถึงกับเกรงว่าจะเกิดสงครามขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงอันตรายจากการที่ไทยไม่ยอมประนีประนอมกับชาติตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ต้อนรับคณะทูตอังกฤษอย่างสมเกียรติ และจำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษในปี 2398

 

เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สาระสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ สร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่เพิ่มเติมจากสนธิสัญญาเบอร์นีในปี 2369 นอกจากนี้ยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพมหานคร และรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้ 

 

สนธิสัญญาเบาว์ริงได้ชื่อว่าเป็น ‘สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม’ เนื่องจากสยามไม่อยู่ในสถานะที่จะเจรจาต่อรองได้ โดยมีการวิเคราะห์กันว่าความต้องการสำคัญของอังกฤษคือการเข้ามาค้าฝิ่นได้อย่างเสรีในสยามและไม่ต้องเสียภาษี และอังกฤษพร้อมทำสงครามกับสยามอยู่แล้วหากการเจรจาไม่ประสบผล

 

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีเนื้อหาคล้ายกับสนธิสัญญานานกิง ซึ่งจีนจำเป็นต้องลงนามร่วมกับอังกฤษภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งในปี 2385 และในปี 2397 สหรัฐอเมริกาบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศด้วยการลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะโดยใช้สนธิสัญญานานกิงเป็นต้นแบบ

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ เมื่อพ.ศ.2398 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความสำคัญต่อไทย คือ เป็นการเปิดกว้างประเทศไทย ทำให้ไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทำให้ไทยเริ่มการปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบสากล สนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ แต่ทำให้ไทยถูกจำกัดในเรื่องสิทธิการเก็บภาษีขาเข้า เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเรื่องคนในบังคับต่างชาติ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับชาติตะวันตก คือ อังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2369 โดยเป็นสนธิสัญญาที่เท่าเทียมกันไม่มีชาติใดเสียเปรียบต่อกัน ต่อมาใน พ.ศ. 2385 อังกฤษทำสนธิสัญญาหนานจิง (หรือนานกิง)กับจีน อังกฤษได้สิทธิพิเศษในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือคนในบังคับอังกฤษเมื่อทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลและถูกลงโทษตามกฎหมายจีน และข้อกำหนดอัตราภาษีขาเข้าที่ต่ำและชัดเจน ซึ่งต่อมากำหนดไว้ที่ร้อยละ 5 อังกฤษจึงต้องการปรับปรุงสนธิสัญญากับไทยให้ทำเหมือนอย่างจีน

สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี กับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2375 ก็ต้องการปรับปรุงสนธิสัญญากับไทยเหมือนกัน จึงได้ส่งทูตเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไม่ตรีในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ไม่ทรงยินยอมเพราะทรงเห็นว่าสนธิสัญญาที่มีอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ต่อมาอังกฤษได้ส่งทูตเข้ามาขอแก้ไขสนธิสัญญาอีกแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงยินยอมเช่นกัน

การที่ไทยไม่ยินยอมแก้ไขสนธิสัญญาทำให้ทั้งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่พอใจ จนคิดจะใช้กำลังบีบบังคับไทยเช่นเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือไปบีบบังคับญี่ปุ่นจนสำเร็จมาแล้ว (สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือบังคับญี่ปุ่นให้เปิดประเทศ และทำสนธิสัญญาคานากาวะ (Kanagawa) เมื่อ พ.ศ. 2397)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องยินยอมตามข้อเรียกร้องของชาติตะวันตก จึงทรงติดต่อกับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง(Sir John Bowring) ข้าหลวงอังกฤษประจำเกาะฮ่องกง ผู้ซึ่งจะเป็นราชทูตมาเจรจาไขสนธิสัญญากับไทยว่ายินดีที่จะแก้ไขสนธิสัญญา แต่ขอเวลาให้งานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จสิ้นก่อน  และขอทราบความต้องการของอังกฤษในการแก้ไขสนธิสัญญา เพื่อไทยจะได้ปรึกษาเป็นการภายในก่อน การแก้ไขสนธิสัญญาก็จะทำได้เร็วขึ้น

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เดินทางเข้ามาถึงเมืองไทยในปลายเดือนมีนาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และทรงตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงธิราชสนิทเป็นประธาน ทำกันที่พระราชวังเดิม คือ พระราชวังเก่าของพระเจ้าตากสินมหราราช การเจรจาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และมีการลงนามในสนธิสัญญาในต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2398

สาระสำคัญของสนธิสัญญา  
                1.คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ ณ กรุงเทพฯหรือในสยามจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุม ของกงสุลอังกฤษโดยทางสยามจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวทำได้เพียงช่วยเหลือจับกุมให้อังกฤษ นับเป็นครั้งแรกที่สยามมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ประชากรต่างด้าว
                2.คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรี ในเมืองท่าทุกแห่งของสยามและสามารถพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นการถาวรได้  โดยสยามไม่ห้ามปรามและสามารถจ้างลูกจ้าง มาช่วยสร้างบ้านเรือนได้โดยไทยไม่ห้ามปราม คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าได้ (อาณาเขตสี่ไมล์สองร้อยเส้นไม่เกินกำลังเรือแจวเดินทางในยี่สิบสี่ชั่วโมงจากกำแพงพระนคร) คนในบังคับอังกฤษยังได้รับอนุญาตให้เดินทางได้อย่างเสรีในสยามโดยมีหนังสือที่ได้รับการรับรองจากกงสุล
                3.ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ร้อยละ3ยกเว้นฝิ่นที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษี ส่วนเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ของพ่อค้าไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน สินค้าส่งออกให้มีการเก็บภาษีชั้นเดียว โดยเลือกว่าจะเก็บภาษีชั้นใน(จังกอบภาษีป่าภาษีปากเรือ)หรือภาษีส่งออก
                4.พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงได้กับเอกชนสยาม โดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวางหรือเบียดเบียน
                5.รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ ในการห้ามส่งออกข้าวเกลือและปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีทีท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ
                6.คนในบังคับของอังกฤษจะมาค้าขายตามหัวเมืองชายฝั่งทะเลของสยามได้ แต่จะต้องอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯแลจังหวัดที่ระบุไว้ในสัญญา
                7.ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใดๆแก่ชาติอื่นๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ก็จะต้องยอมให้อังกฤษแลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน
                สนธิสัญญาเบาว์ริง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไทย ดังนี้

1.  เป็นการเริ่มต้นการค้าเสรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้ต่างชาติเข้ามาค้าขายเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก จนทำให้ผู้คนภายในประเทศมีฐานะดีขึ้นกว่าเดิม

2.  ข้าวกลายเป็นสินค้าสำคัญของไทย จนกระทั่งปัจจุบัน

3.  ไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น วัฒนธรรมไทยมีการปรับตัวให้เหมาะสมมีการรับวัฒนธรรมและวิทยาการของชาติตะวันตกเข้ามามากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผลเสียของสนธิสัญญาเบาว์ริงก็มีเหมือนกัน ดังนี้

1. ไทยถูกจำกัดการเก็บภาษีขาเข้าที่อัตราร้อยละ 3

2. เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและคนในบังคับ ทำให้ประเทศตะวันตกชักชวนคนชาติเอเชียไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ กฎหมายไทยจึงไม่สามารถควบคุมคนเหล่านั้นได้

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ได้ทรงพยายามเจรจากับชาติตะวันตกเพื่อขอแก้ไขสนธิสัญญาและประสบผลสำเร็จในบางส่วน พระมหากษัตริย์ในสมัยต่อมาทรงพยายามดำเนินงานต่อ จนประสบผลสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2481 ทำให้ไทยสามารถเพิ่มอัตราภาษีได้และสิทธิสภาพนอกอาณาเขตรวมทั้งปัญหาคนในบังคับจึงสิ้นสุดลง

สนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นในสมัยใดและทำสนธิสัญญากับชาติใด

[1] สนธิสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นในวันที่ 6 เมษายน 2399 ในรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่กับ (สยาม) และสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย (สหราชอาณาจักร).

สนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นได้อย่างไร

เกิดจากความพยายามของชาติตะวันตกที่ต้องการให้ไทยยกเลิกการผูกขาดทางการค้าให้เปลี่ยนมาเป็นการค้า แบบเสรี ได้มีการลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษเมื่อ ๑๘ เม.ย. พ.ศ.๒๓๙๘ (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว) โดยมีเซอร์จอห์น เบาว์ริง ข้าหลวงอังกฤษประจำฮ่องกงเป็นผู้เจรจา

ข้อใดคือผลที่ได้รับจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีผลทำให้สยามเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล มีการรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้พลเมือง เป็นสิทธิทางกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ที่สามารถใช้กฎหมายของประเทศตัวเอง ในดินแดนประเทศอื่นได้ กล่าวคือสยามยินยอมให้ชาวต่างชาติ และคนในบังคับของชาวต่างชาตินั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ซึ่งต่อมาไทยได้ใช้สนธิสัญญา ...

สนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยใด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

สนธิสัญญาเบาว์ริง” มีผลสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเปลี่ยนจาก “ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ” ให้เข้าสู่ “ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด” ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่เป็นกิจจะลักษณะและมีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ในขณะที่นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของสยามประเทศก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก “การค้าแบบ ...