เมื่อใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้มากเกินไปต้นไม้จะไม่เจริญงอกงามตามต้องการแต่กลับเห

เมื่อใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้มากเกินไปต้นไม้จะไม่เจริญงอกงามตามต้องการแต่กลับเห

ประเภทของปุ๋ย

ปุ๋ยหมายถึง สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดิน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและให้ผลิตผลสูงขึ้นโดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์

1. ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสารปุ๋ยคอกที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก นาข้าวที่เป็นดินทราย เช่น ดินภาคอีสาน การใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ เท่าที่จะหาได้ในบริเวณใกล้เคียง จะช่วยให้การดำนาง่าย ข้าวตั้งตัวได้ดี และเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากดินทรายพวกนี้มีอินทรียวัตถุต่ำมาก การใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ลงไปจะทำให้ดินอุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดีขึ้น การปักดำกล้าทำได้ง่ายขึ้น เพราะ หลังทำเทือกแล้วดินจะไม่อัดกันแน่น

ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบ ๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5% N ฟอสฟอรัส 0.25% P2O5และโพแทสเซียม 0.5% K2Oปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว และขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายจะถูกชะล้างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซสูญหายไปดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกอย่างระมัดระวังก่อนนำไปใช้ จะช่วยรักษาคุณค่าของปุ๋ยคอกไม่ให้เสื่อมคุณค่าอย่างรวดเร็วการเก็บรักษาปุ๋ยคอกอาจทำได้ เช่น นำมากองรวมกันเป็นรูปฝาชี แล้วอัดให้แน่ ถ้าอยู่ภายใต้หลังคาก็ยิ่งดี ถ้าอยู่กลางแจ้งควรหาจากหรือทางมะพร้าวคลุมไว้ด้วยก็จะดี ปุ๋ยคอกที่ได้มาใหม่ ๆ และยังสดอยู่ถ้าจะใส่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดธรรมดา (20% P O ) ลงไปด้วยสักเล็กน้อยก็จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียไนโตรเจนโดยการระเหิดกลายเป็นก๊าซได้เป็นอย่างดี ถ้าเลี้ยงสัตว์อยู่ในคอกควรใช้แกลบ ขี้เลื่อยหรือฟางข้าวรองพื้นคอกให้ดูดซับปุ๋ยไว้ เมื่อฟางข้าวอิ่มตัวด้วยปุ๋ยก็รองเพิ่มเป็นชั้น ๆ เมื่อสะสมไว้มากพอก็ลอกเอาไปกองเก็บไว้ อัตราปุ๋ยคอกที่ใช้นั้นไม่เคร่งครัดเหมือนกับปุ๋ยเคมี ปกติแนะนำให้ใส่อัตรา 1-4 ตันต่อไร่ โดยใส่ค่อนข้างมากในดินเหนียวจัดหรือดินทรายจัด หลังจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วถ้ามีการไถหรือพรวนดินกลบลงไปในดิน ก็จะช่วยให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์แก่พืชได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นปุ๋ยหมัก

  ปุ๋ยพวกนี้ก็ได้แก่ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่าง ๆ นั้น ก็คือปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้าโรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้โดยการกองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้น ๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตร ควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น

กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง ถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไปก็รดน้ำ ทำเช่นนี้ 3-4 ครั้ง เศษพืชก็จะเน่าเปื่อยเป็นอย่างดีและมีสภาพเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ใส่ดินเป็นปุ๋ยให้กับพืชที่ปลูกได้ เศษหญ้าและใบไม้ต่าง ๆ ถ้าเก็บรวบรวมกองสุมไว้แล้วทำเป็นปุ๋ยหมัก จะดีกว่าเผาทิ้งไป ปุ๋ยหมักจะช่วยปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดีขึ้นและปลูกพืชเจริญงอกงามดีเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว และไม้ดอกไม้ประดับปุ๋ยพืชสด

  เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น

2. ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์

  ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ย หรือปุ๋ยเดี่ยวพวกหนึ่ง และปุ๋ยผสมอีกพวกหนึ่ง

ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย

  ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหารปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุ แล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหารปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโพแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K2O อยู่ร่วมกันสองธาตุ

ปุ๋ยผสมได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้ มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับชนิดพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นาน ๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่งปุ๋ยผสมประเภทนี้รู้จักและเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าปุ๋ยคอมปาวด์ส่วนการนำแม่ปุ๋ยมาผสมกันเฉย ๆ เพียงให้ได้สูตรตามที่ต้องการ หรืออาจมีการบดให้ละเอียดจนเข้ากันดียังคงเรียกว่าปุ๋ยผสมอยู่ตามเดิม ปัจจุบันมีการนำเอาแม่ปุ๋ยที่มีการปั้นเม็ดหรือมีเม็ดขนาดใกล้เคียงกันมาผสมกันให้ได้สูตรปุ๋ยตามที่ต้องการ แล้วนำไปใช้โดยตรงเรียกปุ๋ยชนิดนี้ว่าปุ๋ยผสมคลุกเคล้า (bulkblending) 

ปุ๋ยไนโตรเจน

ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้อาจจัดเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ และปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จาสิ่งที่มีชีวิต เกิดการเน่าเปื่อยผุพังไป เช่น ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยเทศบาล เป็นต้น ปุ๋ยประเภทนี้จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนต่ำ ฉะนั้นในการใช้แต่ละครั้งต้องใช้ในปริมาณมากแต่มีความจำเป็นต้องใช้เพราะให้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินให้โปร่ง ร่วนซุย ซึ่งเป็นสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของดินที่พืชต้องการ

ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่

1.ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3) หรือanhydrous ammoniaหรือliquidammonia(แอมโมเนียมเหลว) มีไนโตรเจนทั้งหมด 82%เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุด

2.ปุ๋ยยูเรีย(CO(NH2)2)เป็นเม็ดกลมสีขาว มีไนโตรเจนสูงรองจากปุ๋ยแอมโมเนีย คือ มีไนโตรเจนทั้งหมด 46%มีสมบัติดูดความชื้นได้ง่าย

3.ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต(NH4NO3) มีไนโตรเจนทั้งหมด35%

4.ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต(NH4)2SO4มีไนโตรเจนทั้งหมด21%

5.ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์(NH4Cl) มีไนโตรเจนทั้งหมด24-26%

6.ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต(NaNO3)มีไนโตรเจนทั้งหมด16%

7.ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN2)มีไนโตรเจนทั้งหมด21-22%เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เวลาใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง อาจใช้เป็นยาฆ่าหญ้า และฉีดพ่นให้ใบฝ้ายร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวได้ด้วย

8.ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต(Ca(NO3)2)มีไนโตรเจนทั้งหมด15.5%

9.ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตซัลเฟต(NH4NO3.(NH4)2SO4) มีไนโตรเจนทั้งหมด30%

10.ปุ๋ยไนโตรเจนอื่นๆ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต-ซัลเฟตปุ๋ยยูเรีย-ซัลเฟอร์ปุ๋ยยูเรีย-ฟอสเฟต เป็นต้น

ปกติธาตุไนโตรเจนในดินมีอยู่น้อยมากส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมอยู่ในอากาศ ซึ่งมีธาตุนี้อยู่ถึง 78%ของปริมาณอากาศทั้งหมดที่ห่อหุ้มโลกโดยอยู่ในรูปของโมเลกุลไนโตรเจน (N2) ซึ่งพืชส่วนใหญ่ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง นอกจากพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ดังนั้นไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสารประกอบ

อนินทรีย์เสียก่อน เช่น ในรูปของไนเตรต(NO3-) หรือแอมโมเนีย (NH4+) จึงจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้

กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยสามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจนในที่นี้จะเน้นการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต((NH4)2SO4) และปุ๋ยยูเรีย(NH2CONH2)

ปุ๋ย(NH4)2SO4หรือปุ๋ยขาว เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊สNH3และสารละลายH2SO4

2NH3 (g)+ H2SO4 (aq)→ (NH4)2SO4 (s)

การผลิตปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)

เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊สNH3กับแก๊สCO2โดยใช้อุณหภูมิประมาณ180-210 องศาเซลเซียสและความดัน 140-250 บรรยากาศ จะได้แอมโมเนียมคาร์บาเมต(NH2CONH4)กับน้ำ ดังสมการ

2NH3 (g)+ CO2 (g)→ NH2CONH4 (aq)

NH2CONH4 (aq)→NH2CONH2 (aq)+ H2O(l)

NH3กับCO2เตรียมได้จากก๊าซธรรมชาติ

NH3เตรียมจากN2และH2ในอากาศโดยนำอากาศมากลั่นลำดับส่วนคือลดอุณหภูมิลงมากๆ พร้อมกับเพิ่มความดันจนอากาศกลายเป็นของเหลว

เริ่มต้นเตรียมN2จากอากาศโดยกระบวนการliquefactionคือ ทำให้อากาศกลายเป็ฯของเหลวทั้งหมดก่อนโดยการลดอุณหภูมิลงมากๆ และเพิ่มความดันสูงๆ จากนั้นนำอากาศเหลวซึ่งมีN2และO2เป็นส่วนใหญ่มากลั่นลำดับส่วนแยกออกจากกันN2ซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่าO2จะแยกออกมาก่อนแล้วO2จึงกลั่นออกมาภายหลัง

การเตรียมH2ในกรณีที่มีก๊าซปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติ โดยนำO2ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศมาทำปฏิกิริยาดังสมการโดยใช้ภาวะที่เหมาะสมและใช้Niเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้H2และCO2ซึ่งเรียกรวมกันว่าwater gas

2CH4 (g)+ O2 (g)→ 2CO(g)+ 4H2 (g)

หรืออาจใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับก๊าซCH4โดยตรง จะได้ก๊าซCOและH2เช่นเดียวกัน

CH4 (g)+ H2O(g)→ CO(g)+ 3H2 (g)

เมื่อแยกก๊าซH2ออกจากก๊าซผสมแล้ว จึงนำก๊าซCOที่เหลือไปทำปฏิกิริยากับก๊าซCH4อีกภายใต้อุณหภูมิสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาเหมาะสม จะได้ก๊าซCO2และH2

ก๊าซผสมทั้งหมด (CO+H2) สามารถแยกออกจากกันได้โดยผ่านเข้าไปในหอคอยที่มีน้ำพ่นลงมา ก๊าซCO2ละลายน้ำได้ เกิดเป็นกรดH2CO3ไหลออกทางส่วนล่างของหอคอยพร้อมกับน้ำCO2 (g)+ H2O(l)→ H2CO3 (aq)สำหรับก๊าซH2ซึ่งไม่ละลายน้ำจะผ่านขึ้นไปออกทางส่วนบนของหอคอยเก็บไว้ทำปฏิกิริยากับN2เพื่อเตรียมก๊าซNH3ต่อไปสำหรับกรดH2CO3นำไปแยกสลายให้กลับมาเป็นก๊าซCO2ได้ โดยนำH2CO3ไปลดความดันและเพิ่มอุณหภูมิก๊าซN2ที่เตรียมจากอากาศ และH2ที่ได้จากก๊าซธรรมชาตินำมาทำปฏิกิริยากันจะได้NH3เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีภาวะสมดุลจึงต้องเลือกภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ก๊าซ มากที่สุดโดยทั่วๆไปใช้อุณหภูมิประมาณ300 องศาเซลเซียส350 บรรยากาศ และใช้ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

เมื่อนำก๊าซ NH3 ไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย CH3 (g)+ CO2 (g)→NH2CONH2 (s)+ H2O(l) นอกจากนี้ ถ้าใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นวัตถุดิบแทนก๊าซธรรมชาติ จะเตรียมCO2และH2ได้โดยการเผารวมกับO2จะได้CO29.4%,CO59.9%,H228.6%และก๊าซอื่นๆ 2.1%เมื่อแยกก๊าซอื่นๆที่ไม่ต้องการ เช่นH2SและNOออกไปแล้วจึงทำให้COกลายเป็นCO2โดยนำก๊าซผสมไปทำปฏิกิริยากับไอน้ำที่ความดันสูงๆ และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม CO จะรวมตัวกับ H2O ได้เป็น CO2 และ H2 หลังจากได้ก๊าซผสมCO2และH2แล้ว กระบวนการต่อๆ ไป

สำหรับเตรียมปุ๋ยยูเรีย จะเหมือนกับกรณีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4 เตรียมก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 ก่อนแล้วจึงนำมาทำปฏิกิริยากันเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตก๊าซNH3เตรียมได้โดยวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยยูเรียกรดH2SO4เตรียมได้โดยใช้Sเป็นสารตั้งต้นซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากถ่านลิกไนต์ โดยนำSมาหลอมเหลวแล้วเผารวมกับก๊าซO2จะได้ก๊าซSO2S(l)+ O2 (g)→SO2 (g) เมื่อนำก๊าซ SO2 ทำปฏิกิริยาต่อกับ O2 จะได้ก๊าซ SO3 แต่เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีสมดุลจึงต้องเลือกภาวะของอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม คือ330องศาเซลเซียสและใช้V2O5หรือPtเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเหมาะสมได้ก๊าซ มากที่สุด

เมื่อผ่านก๊าซSO3ลงในสารละลายกรดH2SO4เข้มข้น(เกือบบริสุทธิ์) จะเกิดปฏิกิริยาได้เป็นH2S2O7หรือH2SO4.SO3เรียกว่าโอเลียม(oleum)หรือfuming sulfuric acidH2SO4 (aq)+ SO3 (g)→H2S2O7(aq)เมื่อต้องการกรดH2SO4กลับคืน ให้นำH2S2O7ไปทำปฏิกิริยากับน้ำเมื่อนำก๊าซNH3และกรดH2SO4มาทำปฏิกิริยากันจะได้ปุ๋ย(NH4)2SO4ตามต้องการ2NH3 (g)+ H2SO4 (aq)→(NH4)2SO4(s)หมายเหตุการเตรียมกรดH2SO4จะไม่เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างSO3 (g)กับH2O(l)โดยตรงตามสมการH2O(l)+ SO3 (g)→H2SO4(aq)เนื่องจาก เกิดปฏิกิริยายาก และมีการคายความร้อนสูงมาก รวมทั้งยังมีก๊าซบางอย่างระเหยออกมาตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย

ปุ๋ยฟอสเฟต

ปุ๋ยฟอสเฟต เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสในรูปสารประกอบฟอสเฟตpHของดินมีผลต่ออนุมูลของฟอสเฟตพบว่า

-pHของดินในช่วง 5-8 ฟอสเฟตจะอยู่ในรูปH2PO4-(dihydrogen phosphate ion)และHPO42-(hydrogen phosphate ion)

-pHของดินต่ำกว่า 5 ฟอสเฟตจะอยู่ในรูปH3PO4(กรดฟอสฟอริก)

-pHของดินมากกว่า 8 ขึ้นไป ฟอสเฟตจะอยู่ในรูปPO43-(ฟอสเฟตไอออน)

ในสภาวะดินในช่วงpH5-8 ปุ๋ยฟอสเฟตในการช่วยเสริมการเจริญเติบโต และความแข็งแรงของพืชทั้งส่วนราก ลำต้น และใบ ตลอดจนการออกดอกออกผล

การผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ปัจจุบันนี้ใช้วัตถุดิบคือ หินฟอสเฟต (phosphaterock)หินฟอสเฟตในประเทศไทยมีมากในหลายจังหวัด เช่น ร้อยเอ็ด ลำพูน กาญจนบุรี เพชรบูรณ์ และราชบุรี หินฟอสเฟตจากแหล่งดินดังกล่าวมีฟอสฟอรัสคิดเป็นปริมาณของP2O5อยู่ร้อยละ 20-40 โดยมวลจึงมีการนำหินฟอสเฟตที่บดละเอียดแล้วใส่ลงในดินเพื่อใช้เป็นปุ๋ยโดยตรงแต่หินฟอสเฟตละลายน้ำได้น้อยมาก พืชจึงนำฟอสฟอรัสไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ทำให้ต้องใช้หินฟอสเฟตในปริมาณมากซึ่งไม่คุ้มค่า จึงมีการนำหินฟอสเฟตมาใช้ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต 

การเตรียมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต

นำหินฟอสเฟตที่บดแล้วมาทำปฏิกิริยากับกรดH2SO4เข้มข้น4-5 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร(ที่มากเกินพอ) ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้กรดH3PO4กรดกัดแก้ว (HFกรดไฮโดรฟูออริก)และแคลเซียมซัลเฟต ดังสมการ

CaF2.3Ca3(PO4)2+ 10H2SO4"6H3PO4+ 10CaSO4+ 2HF

กรดH3PO4ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับหินฟอสเฟตที่เหลือ ปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ต้องเก็บหรือบ่มไว้ประมาณ 1 เดือน จนปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้มอนอแคลเซียมฟอสเฟต หรือในท้องตลาดเรียกว่าtriple soperphosphate

CaF2.3Ca3(PO4)2+ 14H3PO4"10Ca(H2PO4)2+ 2HF

ปุ๋ยมอนอแคลเซียมฟอสเฟตละลายน้ำได้ดี พืชจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้อาจนำหินฟอสเฟตมาทำปฏิกิริยากับจะได้ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต ดังสมการ

CaF2.3Ca3(PO4)2+ 7H2SO4+ 17H2O "3Ca(H2PO4)2. H2O + 7CaSO4.2 H2O + 2HF

การเตรียมปุ๋ยฟอสเฟตในอุตสาหกรรมจะมีแก๊สHFเกิดขึ้นซึ่งระเหยกลายเป็นไอได้ง่ายและเป็นพิษจึงต้องมีการกำจัดHFดังปฏิกิริยา

SiO2+4HF "SiF4+ 2 H2O

SiF4ที่เกิดขึ้นจะรวมตัวกับน้ำส่วนที่ได้H2SiF6อาจนำแก๊สHFทำปฏิกิริยากับSiO2โดยตรงจะได้เหมือนกัน ดังสมการ

6HF + SiO2"H2SiF6+ 2 H2O

H2SiF6ใช้เป็นสารละลายในการเติมฟลูออไรด์ให้กับน้ำดื่ม หรือนำมาทำปฏิกิริยากับMgOได้แมกนีเซียมซิลิโกฟลูออไรด์ซึ่งใช้เป็นสารกำจัดแมลงดังสมการ

H2SiF6+ MgO"MgSiF6+ H2O

อาจกำจัดแก๊สHFโดยการผ่านลงในน้ำได้สารละลายกรดHFแล้วนำมาสะเทินด้วยโซดาแอช(Na2CO3)หรือหินปูน ดังสมการ

2HF + Na2CO3"2NaF + H2O + CO2

2HF + CaCO3"CaF2+H2O + CO2

การผลิตปุ๋ยฟอสเฟตนั้นอาจนำหินฟอสเฟตผสมกับทรายและโซดาแอช แล้วเผาที่อุณหภูมิ 1000-1200 อาศาเซลเซียส ประมาณ 2 ชั่วโมง จะเกิดปฏิกิริยา ดังสมการ

2CaF2.3Ca3(PO4)2+ 5SiO2+ 6Na2CO3"12CaNaPO4+ 4Ca2SiO4+ SiF4+ 6CO2

นำสารผสมที่ได้จากการเผาเทลงในน้ำแล้วทำให้เย็นลงทันทีจะได้สารที่มีลักษณะพรุน เปราะ และบดให้ละเอียดได้ง่าย สามารถใช้เป็นปุ๋ยฟอสเฟตที่ให้P2O5ได้ถึงร้อยละ 27.5 โดยมวล จึงเป็นวิธีหนึ่งที่นำหินฟอสเฟตมาใช้อย่างคุ้มค่า

ปุ๋ยโพแทส

ปุ๋ยโพแทส คือ ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ สมัยก่อนแหล่งที่มาของปุ๋ยโพแทส คือ ขี้เถ้าปัจจุบันอาจได้จากการเผาใบไม้กิ่งไม้และหญ้าปุ๋ยโพแทสมีหลายชนิด เช่นKClK2SO4KNO3และK2SO4.2MgSO4การผลิตปุ๋ยแต่ละชนิดเหล่านี้จะมีกระบวนการที่แตกต่างกัน

ประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทสอยู่เป็นจำนวนมากในภาคอีสาน ในรูปของแร่คาร์นัลไลต์ และแร่ซอลวาไนต์ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยโพแทสชนิดต่างๆ 

1.การผลิตปุ๋ยKClโดยใช้แร่ซิลวาไนต์(KCl.NaCl)มาบดให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ90๐CเติมสารละลายNaClที่อิ่มตัวลงไประเหยน้ำออกจนกระทั่งKClตกผลึกออกมาหรืออาจจะผลิตจากน้ำทะเลโดยนำน้ำทะเลมาระเหยจนNaClตกผลึกแยกNaClออกจากนั้นระเหยน้ำต่อจนKClตกผลึก

2.การผลิตK2SO4ผลิตได้จาการนำแร่แลงไปไนต์(K2SO4.2MgSO4)มาบดให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ50๐Cจนเป็นสารละลายอิ่มตัวแล้วเติมสารละลายKClที่เข้มข้นลงไปจะได้ผลึกK2SO4ออกมาดังสมการ

K2SO4.2MgSO4+4KCl→3K2SO4+2MgCl2

3.การผลิตKNO3ผลิตได้โดยใช้KClทำปฏิกิริยากับNaNO3ดังสมการ

KCl+NaNO3→KNO3+NaCl

โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อพืชมาก ทำให้ผนังเซลล์ของพืชหนาขึ้น สร้างภูมิต้านทานโรค และเป็นตัวเร่งให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น ถ้าพืชขาดโพแทสเซียมจะทำให้มีปริมาณแป้งต่ำกว่าปกติ ผลผลิตลดน้อยลงขอบใบมีสีซีด ลำต้นอ่อน แคระแกร็นและเมล็ดลีบ

ปุ๋ยผสม

ปุ๋ยผสมได้จากการนำปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสเฟตและโพแทสมาผสมรวมกันเพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุอาหารพืชตาม ที่ต้องการ มี 2 ลักษณะ ดังนี้

การผลิตในลักษณะเชิงผสม

เป็นวิธีที่ใช้อยู่ในโรงงานส่วนใหญ่ในประเทศ โดยการนำแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่างๆ มาบดให้เข้ากันเป็นเม็ด หรืออีกแบบคือการนำแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่างๆ มาคลุกเคล้าให้เข้ากันหรือนำแม่ปุ๋ยที่มีขนาดเล็กใกล้เคียง กันมาผสมกัน เพื่อให้ได้สูตรตามต้องการ และอาจมีการบดให้ละเอียดจนเข้ากันดี ทำให้ปุ๋ยแต่ละเม็ดอาจมี ธาตุอาหารแตกต่างกัน

การผลิตในลักษณะเชิงประกอบ

เป็นการนำวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแม่ปู่ยมาผสมกันและให้ทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นสารประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ปุ๋ยตามสูตรที่ต้องการ