เมื่ออากาศร้อน ร่างกาย มีสภาพเป็นอย่างไร

เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย โดยเฉพาะใกล้เข้าสู่เดือนเมษายนซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุด ซึ่งอาจส่งผลให้พบ “โรคลมแดด” ได้บ่อยขึ้น มาเรียนรู้กันว่าอาการของโรคลมแดดเป็นอย่างไร สัญญาณเตือนที่ควรสังเกตมีอะไรบ้าง และจะสามารถป้องกันโรคลมแดดได้อย่างไร

  • โรคลมแดดคืออะไร
  • อาการของโรคลมแดด
  • แนวทางการรักษาโรคลมแดด
  • เคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงโรคลมแดด
 

โรคลมแดดคืออะไร

โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะมีการรักษาความสมดุลของอุณหภูมิระหว่างความร้อนจากร่างกายและสภาพแวดล้อม โดยอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 36 ถึง 37.5 องศาเซลเซียสตลอดทั้งวัน ทั้งนี้การระบายเหงื่อถือเป็นกลไกสำคัญในการลดความร้อนที่มากเกินไป

โรคลมแดดเกิดจากความล้มเหลวในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ (thermoregulation) ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

โรคลมแดดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1) โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (classical heatstroke or non-exertional heatstroke: NEHS) โรคลมแดดประเภทนี้เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป มักพบได้ บ่อยในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังซึ่งทำให้ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและการขาดน้ำได้

โรคลมแดดประเภทนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับคนในทุกๆ วัย โดยเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด หรือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

2) โรคลมแดดที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (exertional heatstroke: EHS) เช่น การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป มักเกิดขึ้นกับคนอายุน้อย นักกีฬา และทหารเกณฑ์ที่ฝึกหนักในอากาศร้อนจัดและสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง

อาการของโรคลมแดด

โรคลมแดดไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่สัมผัสกับอากาศร้อน แต่เกิดขึ้นจากการอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานานหรือใช้กำลังกายในอุณหภูมิที่ร้อนสูง ซึ่งเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น อาจเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนแรงและคลื่นไส้ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น สับสน พูดไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย หรือเห็นภาพหลอน หากรุนแรงมากอาจทำให้เกิดการชักเกร็งและมีอาการโคม่าได้ในที่สุด สังเกตได้ว่าเมื่อสัมผัสผู้ที่มีอาการจะพบตัวร้อนมากและมีผิวสีแดงกว่าปกติ (flushing)

แนวทางการรักษาโรคลมแดด

ผู้ป่วยโรคลมแดดควรได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป้าหมายของการรักษาคือการลดอุณหภูมิภายในร่างกายของผู้ป่วย เช่น การใช้น้ำพรมตามร่างกายและใช้พัดลมเป่าให้น้ำระเหย หรือการใช้ถุงน้ำแข็งประคบตามรักแร้ คอ หลังและขาหนีบ

ทั้งนี้หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาโดยทันที อาจเกิดอาการที่รุนแรงและบางครั้งอาจไม่กลับมาเป็นปกติได้ ยิ่งผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษานานเท่าใด โอกาสในการเสียชีวิตจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

เคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงโรคลมแดด

หากอยู่ในที่อุณหภูมิสูง สามารถหลีกเลี่ยงโรคลมแดดได้โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสามารถทำตัวให้เย็นลงได้ตามธรรมชาติผ่านทางเหงื่อ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากเพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากขึ้น
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาบางและไม่รัดแน่นจนเกินไป ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่เย็นอย่างเหมาะสม
  • อย่าใช้กำลังกายมากเกินไปในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน ให้ทำงานที่ใช้กำลังมากที่สุดในตอนเช้าหรือตอนเย็นเมื่ออุณหภูมิเย็นลง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีแดดจัด รวมถึงการนั่งในรถยนต์ที่จอดไว้ถึงแม้จะเปิดกระจกทิ้งไว้หรือจอดรถยนต์ไว้ในที่ร่มก็ตาม เพราะอุณหภูมิในรถยนต์สามารถร้อนจัดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

เรียบเรียงโดย นพ.ชลทิตย์ จงบุญประเสริฐ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศูนย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์ฉุกเฉิน
    Tel: 02 011 5222

โรคลมร้อน หรือ Heatstroke มักพบในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันที โดยโรคนี้เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาทันทีเนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะเป็นโรคลมร้อน ได้แก่ ทหารที่ไม่ได้เตรียมร่างกายเพื่อเข้ารับการฝึก นักกีฬาที่ออกกำลัง และผู้ที่ทำงานในอากาศร้อนจัด

อาการของโรคลมร้อน

  • มีไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะ หน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจหมดสติได้
  • มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชัก เพ้อ เดินโซเซ ตอบสนองช้า พูดจาสับสน
  • ไม่มีเหงื่อออก จากผลของต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
  • อาจพบปัสสาวะสีเข้มผิดปกติจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย และอาจเกิดภาวะไตวายตามมาได้

เมื่ออากาศร้อน ร่างกาย มีสภาพเป็นอย่างไร

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หลักการสำคัญที่สุดในการปฐมพยาบาล คือ การทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงให้เร็วที่สุดก่อนนำส่งโรงพยาบาล เช่น ย้ายผู้ป่วยมาในที่ร่ม จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ยกขาสูง ถอดเสื้อผ้า แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ และนำพัดลมเป่าระบายความร้อน หากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเกลือให้มากที่สุดเพื่อทดแทนภาวะการขาดน้ำ จากนั้นรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

การป้องกันภาวะลมร้อน

  • ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายและบาง อากาศถ่ายเทได้ดี
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • หากเล่นกีฬาเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแดด ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด

ข้อมูลจาก : นพ. พีรวิชญ์ จีรทีปตานนท์

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

โรคลมร้อน หรือ Heatstroke มักพบในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันที โดยโรคนี้เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาทันทีเนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะเป็นโรคลมร้อน ได้แก่ ทหารที่ไม่ได้เตรียมร่างกายเพื่อเข้ารับการฝึก นักกีฬาที่ออกกำลัง และผู้ที่ทำงานในอากาศร้อนจัด

อาการของโรคลมร้อน

  • มีไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะ หน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจหมดสติได้
  • มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชัก เพ้อ เดินโซเซ ตอบสนองช้า พูดจาสับสน
  • ไม่มีเหงื่อออก จากผลของต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
  • อาจพบปัสสาวะสีเข้มผิดปกติจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย และอาจเกิดภาวะไตวายตามมาได้

เมื่ออากาศร้อน ร่างกาย มีสภาพเป็นอย่างไร

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หลักการสำคัญที่สุดในการปฐมพยาบาล คือ การทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงให้เร็วที่สุดก่อนนำส่งโรงพยาบาล เช่น ย้ายผู้ป่วยมาในที่ร่ม จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ยกขาสูง ถอดเสื้อผ้า แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ และนำพัดลมเป่าระบายความร้อน หากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเกลือให้มากที่สุดเพื่อทดแทนภาวะการขาดน้ำ จากนั้นรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

การป้องกันภาวะลมร้อน

  • ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายและบาง อากาศถ่ายเทได้ดี
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • หากเล่นกีฬาเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแดด ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด

ข้อมูลจาก : นพ. พีรวิชญ์ จีรทีปตานนท์

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

เมื่ออากาศร้อนจะเกิดอะไรขึ้น

ผลกระทบจากอากาศร้อน การเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายส่งเลือดไปเลี้ยงตามผิวหนังเพื่อคลายความร้อน ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมอง กล้ามเนื้อ รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ จึงมีผลต่อความแข็งแรงของร่างกายและสภาพจิตใจ ทั้งยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ดังนี้

อาการที่ร่างกายอยู่ในสภาวะร้อนเป็นอย่างไร

อาการที่เกิดขึ้นจากความร้อน แบ่งออกได้หลายระดับ ตั้งแต่ปวดเมื่อยเนื้อตัวธรรมดา รู้สึกอ่อนล้า จนถึงหมดสติไม่รู้สึกตัว เป็นอาการปกติไม่รู้สึกตัวจากความร้อน ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดที่สุดภาวะฮีทสโตรก ถ้าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้มีการเสียชีวิตได้

คนตัวร้อน เกิดจากอะไร

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิด Hyperthermia สาเหตุและปัจจัยต่อไปนี้อาจส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นและทำให้เกิด Hyperthermia. การสัมผัสกับอากาศร้อน เช่น อุณหภูมิช่วงหน้าร้อน แสงแดด การเข้าห้องซาวน่า การอยู่ในสถานที่ที่อบอ้าวและไม่มีอากาศถ่ายเท การดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนซึ่งทำให้ปัสสาวะบ่อย

Heat Stroke คืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง

อาการของโรคลมร้อน มีไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ หน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจหมดสติได้ มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชัก เพ้อ เดินโซเซ ตอบสนองช้า พูดจาสับสน ไม่มีเหงื่อออก จากผลของต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น